กาหลง พืชดอกที่มากกว่าความสวยงามคือเต็มไปด้วยสรรพคุณ

หลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับ กาหลง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล แต่ทว่าหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ากาหลงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่อัดแน่นไปด้วยสรรพคุณต่างๆ ดังนั้นบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกาหลงให้มากขึ้น

ต้นกาหลง
https://prayod.com

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และแหล่งที่มาของกาหลง

กาหลง ภาษาอังกฤษ White orchid tree หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata L.ถูกจัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE เดิมทีมีถิ่นกำเนิดมาจากแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่าน่าจะประเทศไทย ลาว พม่า อินเดีย มาเลยเซีย โดยลักษณะของต้นกาหลงนั้นถูกจัดว่าเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก โดยมีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ตัวเปลือกของลำต้นนั้นเรียบ มีสีน้ำตาล ส่วนของกิ่งอ่อนและยอดอ่อนของกาหลงนั้นจะมีขนสีขาวขึ้นมาปกคลุมโดยทั่ว แต่ถ้าหากเป็นกิ่งแก่จะไม่มีขนสีขาวนี้ขึ้นมาปกคลุม ลักษณะใบของกาหลงนั้นเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ตัวใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ บางทีก็เกือบกลม ปลายของใบนั้นจะมีเว้าลงสู่เส้นตรงกลางใบลึกลงเกือบครึ่งแผ่น ทำให้มีปลายแฉกสองแฉกที่ค่อนข้างแหลม โคนใบมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจ ชอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนตัดกับเส้นของใบที่มีสีเขียวสด ดอกของกาหลงนั้นมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง โดยภายในหนึ่งช่อจะประกอบไปด้วยดอกจำนวน 3-10 ดอก โคนของดอกนั้นจะมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ จำนวนกลีบเลี้ยงของดอกกาหลงจะมี 5 กลีบ มีลักษณะติดกันคล้ายกาบ ปลายเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะส่งกลิ่นหอม และมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โดยกาหลงนั้นจะออกดอกตลอดทั้งปี ในส่วนของผลกาหลงนั้น จะมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายโคนฝักสอบเข้าหกันและแหลม มีเมล็ดขนาดเล็ก

กาหลง ความเชื่อ
https://medthai.com

วิธีการปลูกและดูแลรักษาต้นกาหลง

เดิมทีนั้นต้นกาหลงมีถิ่นกำเนิดในป่าเมืองร้อน ดังนั้นจึงเหมาะกับการปลูกในประเทศไทย การเตรียมวิธีปลูกต้นกาหลงนั้นสามารถทำได้ง่าย โดยเริ่มนำเมล็ดของกาหลงมาตัดตรงปลายออกเล็กน้อยแล้วนำเมล็ดแข่ลงในถ้วยที่ใส่น้ำอุ่นไว้เพื่อให้เมล็ดพองตัวขึ้นมา หลังจากแช่ไว้ประมาณ 1 วัน ให้นำเมล็ดลงในกระถางที่เตรียมดินปลูกไว้โดยเป็นดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมัก แล้วรดน้ำให้ชุ่มหน้าดิน หว่านเมล็ดลงไปในกระถางที่เตรียมไว้สำหรับปลูก โดยให้ส่วนสันที่เราขลิบออกตอนแรกคว่ำหน้าลงไปในดิน แล้วค่อยๆดันเมล็ดให้ลึกลงไปเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกที หลังจากนั้นรอจนกว่าต้นกล้าจะขึ้นหรือใบจริงเริ่มงอกค่อยย้ายลงไปในแปรงปลูกอีกที การดูแลรักษาต้นกาหลงนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก เนื่องจากต้นกาหลงนั้นสามารถปลูกขึ้นง่ายในดินทั่วไป แต่ดินนั้นต้องมีความชื้นและอุดมสมบูรณ์

สายพันธุ์ของต้นกาหลงที่นิยมปลูกในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้นนิยมปลูกกาหลงอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ กาหลงขาว และ กาหลงแดง โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันตรงที่

กาหลงขาว

เรียกได้ว่าเป็นอีกกหนึ่งพืชสมุนไพรประเภทหนึ่ง ลักษณะทั่วไปคือลำต้นจะสูงประมาณ 1-3 เมตร ตัวล้ำต้นจะมีเปลือกเรียบสีน้ำตาล ในส่วนของดอกนั้นจะมีสีขาวออกดอกเป็นช่อสั้นๆอยู่ที่ปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะออกดอกประมณ 2-3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยกาหลงขาวนี้มักจะออกผลในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนธันวาคม

กาหลงขาว
https://mgronline.com

กาหลงแดง

จะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สามารถสูงได้ถึง 3 เมตร ลักษณะของดอกนั้นจะออกดอกเป็นช่อ อยู่ตรงข้ามใบก้านของช่อกาหลงแดงนั้นมีความหนาเพียง 0.5-1 เซนติเมตร ในหนึ่งช่อจะออกดอกประมาณ 2-10 ดอก ก้านของดอกมีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ตัวกลีบเลี้ยงจะมีลักษณะพับงอกลับ ดอกมีสีแดงเข้ม กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมยาว 3-4.5 เซนติเมตร ขนาดไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้ 3 ตัว ยาวประมาณ 3 เซนติเมตรและเกสรตัวเมียที่เป็นหมัน 

กาหลง ไม้มงคล
https://adeq.or.th

คุณประโยชน์และสรรพคุณของกาหลง

กาหลงนั้นมีประโยชน์มากมาย โดยแต่ก่อนชาวเขานิยมนำยอดอ่อนมารับประทานกันหรือบางครั้งตามความเชื่อเดิมของชาวจีนก็คือ มักปลูกต้นกาหลงไว้ประจำบ้าน เพราะเชื่อว่าต้นกาหลงนั้นเป็นอีกต้นไม้ที่ให้คุณแก่เจ้าบ้าน แต่ทั้งนี้กาหลงเองยังมีสรรพคุณมากมายที่ช่วยรักษาโรคได้ โดยสรรพคุณต้นกาหลงมีดังนี้

  1. ดอกของกาหลงนั้นมีสรรพคุณในเรื่องของช่วยลดความดันโลหิต
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  3. ใบของกาหลงนั้นสามารถนำมาใช้รักษาแผลภายในจมูกได้
  4. รากของกาหลงนั้นสามารถนำมาบดแล้วต้มกับน้ำเพื่อรักษาอาการไอเรื้อรัง และอาการของโรคบิด
  5. ต้นของกาหลงนั้นมีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการโรคของสตรี ลักปิดลักเปิด รวมถึงช่วยในการขับเสมหะออก

ข้อควรระวังของต้นกาหลง ถึงแม้กาหลงนั้นจะมีคุณประโยชน์และสรรพคุณมากมายก็ตามแต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังในการใช้ นั่นก็คือ บริเวณใบและกิ่งของต้นกาหลงนั้นจะมีขนสีขาวอ่อนๆ ปกคุมอยู่อย่างประปราย ดังนั้นหากเผลอไปสัมผัสหรือโดนเข้า อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตามผิวหนังได้ ดังนั้นหากจะต้องการเก็บใบหรือดอกของกาหลงต้องระวังบริเวณนี้ไว้

สรรพคุณต้นกาหลง
https://medthai.com

ที่มา

https://prayod.com

https://adeq.or.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้