เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ถั่วงอก หลายคนในที่นี้ คงนึกถึงผักชนิดหนึ่งที่มีลำต้นขนาดกะทัดรัด มีปลายด้านหนึ่งเป็นเมล็ดถั่วและอีกด้านหนึ่งเป็นราก ส่วนใหญ่มักเพาะมาจาก เมล็ดถั่วเขียว แต่เคยทราบกันไหมว่า ถั่วงอกยังเป็นคำเรียกชื่อสามัญ ของต้นถั่วอื่นๆ ที่มีรากงอกจากเมล็ดได้ด้วยเช่นกัน อาทิ ถั่วดำ ถั่วเหลือง (ถั่วงอกหัวโต) ถั่วลันเตา (โต้วเหมี่ยว) เป็นต้น ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยและเป็นผักทานคู่กับอาหารจานสำคัญที่หลายคนชื่นชอบนั่นก็คือก๋วยเตี๋ยวนั่นเอง แม้จะเป็นผักเคียงแกล้มรสชาติแต่ถั่วงอกนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูง แถมยังมีราคาที่ถูกจนแทบไม่น่าเชื่อ วันนี้เราจึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้ได้ดียิ่งขึ้นกัน
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ : Bean Sprout
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum
อยู่ในวงศ์ : Fabaceae
ลักษณะของต้นถั่วงอก ต้น ดอก ผล ใบ
ถั่วงอกคือต้นอ่อนของถั่วที่ได้จากการเพาะเมล็ดถั่วเขียวโดยไม่ให้ถูกแสง ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปมีดังนี้
ลำต้น
ต้นอ่อนของถั่ว ที่ได้จากการเพาะเมล็ดถั่วเขียว โดยไม่ให้ถูกแสง ต้นถั่วที่มีรากงอกจากเมล็ด มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลมอวบ เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีสีขาว
ใบ
เป็นใบประกอบ มีใบย่อยออกเป็นคู่ ใบมีลักษณะทรงกลมรี โคนใบมน ปลายใบเรียว มีก้านใบย่อยสั้น มีสีเหลือง
ราก
มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากฝอยรากแขนงเล็กๆ มีสีขาว
ประโยชน์ของถั่วงอก
ถั่วงอกเป็นผักอีกชนิดที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักเป็นพิเศษ เนื่องจากมีน้ำตาลที่น้อยมาก ๆ สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมบาง ผมหลุดร่วงง่ายลองหันมารับประทานถั่วงอกมากขึ้นเพราะในถั่วงอกมีธาตุซิลิกาซึ่งจะช่วยป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี และยังช่วยในการดูดซับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าหากไม่มีซิลิกา การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ก็จะไม่มีประโยชน์เลย เรียกว่าเป็นเคล็ดดีๆ ที่หลายคนมองข้ามอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้ยังมีการนำถั่วงอกมาใช้ในการรักษาสิวและจุดด่างดำได้อย่างเห็นผลอีกด้วย
ถั่วงอกยังมีคุณประโยชน์สำหรับผู้ที่มีงบประมาณไม่มากแต่ต้องการสารอาหารที่มีคุณค่าเกินราคา โดยสามารถนำเอาถั่วงอกมาใช้ประกอบอาหาร ได้อย่างหลากหลายสารพัดเมนู เช่น ยำถั่วงอกกุ้งสด ผัดถั่วงอก ผัดผักต่าง ๆ แกงจืดถั่วงอกหมูสับ แกงส้ม ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ เกาเหลาทุกชนิด ผัดหมี่ซั่ว หมี่กะทิ ปอเปี๊ยะ ขนมหัวผักกาด เกี๊ยวกุ้ง ต้มยำถั่วงอกใส่หมูสับ ขนมจีน ผัดไทย ถั่วงอกดอกกินกับน้ำพริก เป็นต้น โดยที่ถั่วงอกที่ปลูกจากถั่วเขียว ถั่วงอกที่ได้จะมีผิวที่ขาวกว่าถั่วชนิดอื่น และ มีวิตามินซีสูงที่สุดใน
วิธีการปลูก และ ดูแลการปลูก
การเพาะถั่วงอกสามารถทำได้โดยหลากหลายวิธี แต่วิธีที่สะดวกรวดเร็วที่สุดก็คือการปลูกถั่วงอกแบบไร้ดิน เพียงแค่คุณมีวัสดุ และอุปกรณ์ สำคัญๆ เช่น เมล็ดถั่วเขียว ตะกร้าพลาสติก กระสอบป่าน แผ่นพลาสติกทึบแสง สำหรับปิดปากตะกร้า ผ้าทึบแสง สีเข้มๆ และ กระบอกฉีดน้ำ เท่านี้คุณก็สามารถเพาะถั่วงอกไว้ทานได้อย่างง่ายๆ แล้ว โดยกระบวนการเริ่มจากล้างทำความสะอาดเมล็ดถั่วเขียวก่อน เลือกเมล็ดที่ลอยน้ำออก ล้างซัก 1-2 ครั้งก็ได้ แช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำประมาณ 4 ชม. เพื่อให้เปลือกด้านนอกนิ่ม และแตกออก ช่วยทำให้รากแทงออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ควรแช่น้ำนานเกินกว่าไปเพราะจะทำให้ถั่วเน่าเสียในระหว่างปลูกได้ จากนั้นให้เตรียมตะกร้าปลูก โดยการนำกระสอบป่านชุบน้ำให้ชุ่ม แล้ววางลงในตะกร้าที่เตรียมไว้ นำถั่วเขียวสะเด็ดน้ำออก แล้วเทลงตะกร้า เกลี่ยให้เมล็ดกระจายทั่วทั้งถาด ฉีดน้ำให้ทั่ว แล้วปิดด้วยพลาสติกทึบแสง คลุมด้วยผ้าอีกที ทิ้งไว้ในที่ ที่อากาศถ่ายเทสะดวก รดน้ำให้ชุ่ม 2-3 ครั้งต่อวัน วางไว้ในบริเวณ ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ประมาณ 4-5 วันก็สามารถเก็บถั่วงอกที่เพาะกินได้แล้ว หรือหากสังเกตว่าถั่วงอกยังไม่โตมากนักก็สามารถทิ้งไว้เพิ่มอีก 1-2 วันก็ได้ โดยรักษาให้ไม่โดนแสง เพราะการปิดด้วยพลาสติกทึบแสง และคลุมผ้าเป็นการช่วยให้ถั่วงอกขาว ไม่เปลี่ยนสีเป็นสีเขียว ทำให้ถั่วงอกที่ได้ขาวน่าทานโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีใดๆ
สายพันธุ์ถั่วงอก
ถั่วงอกที่นิยมใช้กันในการปรุงอาหารของคนไทย มีอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ดังต่อไปนี้
ถั่วงอกที่ปลูกจากถั่วเขียว
ถั่วงอกที่ได้จะมีผิวที่ขาวกว่าถั่วชนิดอื่น และ มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาถั่ว 3 ชนิด
ถั่วงอกที่ปลูกจากถั่วดำ
มีลักษณะค่อนข้างคล้ายถั่วเขียวงอก แต่ลำต้นจะผอมยาวกว่า มีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย แต่รสชาติจะหวาน กรอบกว่า
ถั่วงอกที่ปลูกจากถั่วเหลือง
มีลักษณะคล้ายถั่วเขียวงอกทุกอย่าง ต่างกันเพียงหัวที่จะโตกว่า ให้ความมันอร่อยกว่าถั่วงอกชนิดอื่น แต่ก็เน่าเสียไวกว่าเช่นกัน นิยมใช้ทำอาหารเกาหลี อย่าง นามุล (namul) หรือ อาหารจีนประเภทผัดบางอย่าง
ถั่วงอกที่ปลูกถั่วลันเตา (โต้วเหมี่ยว)
หรือถั่วลันเตางอก เป็นผักอีก1ชนิดที่ได้รับการนิยม ค่อนข้างสูง มีมาก่อนต้นอ่อน
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอก ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 30 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 5.94 กรัม
- น้ำ 90.4 กรัม
- น้ำตาล 4.13 กรัมถั่วงอก
- เส้นใย 1.8 กรัม
- ไขมัน 0.18 กรัม
- โปรตีน 3.04 กรัม
- วิตามินบี 1 0.084 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี 2 0.124 มิลลิกรัม 10%
- วิตามินบี 3 0.749 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 6 0.088 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี 9 61 ไมโครกรัม 15%
- วิตามินซี 13.2 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 33 ไมโครกรัม 31%
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.91 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุแมงกานีส 0.188 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุโพแทสเซียม 149 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม 4%
ข้อควรรู้ก่อนทานถั่วงอก
ทราบข้อดีที่แสนวิเศษของถั่วงอกกันมามากแล้ว ลองมาดูวิธีการเลือกซื้อถั่วงอก ให้ปลอดภัย เพราะโดยปกติแล้ว ถั่วงอกที่วางขายตามท้องตลาดส่วนมากแล้วจะมีสารปนเปื้อนอยู่มาก เพราะปลูกรวมถึงผู้ขายต้องการให้ถั่วงอกดูสด ขาว กรอบ และอวบ มีคุณสมบัติคงทนและเหี่ยวช้าเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางไกล
จึงได้มีการใส่สารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สารเร่งโต, สารอ้วน, สารคงความสด (ฟอร์มาลีน), สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์) เข้าไปซึ่งล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น โดยวิธีการสังเกตถั่วงอกที่ปราศจากสารเหล่านั้น ทำได้โดย ดูที่รากจะต้องไม่ยาวจนเกินปกติ ควรดูที่เปลือกนอกถั่วมีปะปนอยู่บ้างหรือไม่ เพราะถ้าขาวหมดจดอาจเพราะสารฟอกต่างๆ และหากซื้อในช่วงเย็นๆ แต่ยังพบเห็นว่า ถั่วยังมีสภาพที่พองตัวและขาวอวบ ให้ควรหลีกเลี่ยงเพราะผิดธรรมชาติ และประการสุดท้าย เมื่อซื้อมาแล้วก่อนจะนำไปบริโภคควรแช่น้ำทิ้งไว้สักประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจะทำให้สุกก็ได้เช่นกัน จะปลอดภัยมากกว่าการรับประทานดิบ ๆ แน่นอน และเนื่องจากถั่วงอกดิบจะมีปริมาณกรดไฟติกมาก สำหรับผู้ที่ปวดเข่าหรือมีโรคเกี่ยวกับข้อต่อต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื่องจากกรดชนิดนี้จะไปแย่งจับแคลเซียม การรับประทานจึงควรนำไปต้มหรือทำให้สุกเสียก่อน เท่านี้คุณก็สามารถได้คุณประโยชน์จากพืชราคาแสนถูกนี้ได้อย่างสบายใจแล้ว และหากต้องการเก็บให้สดนานๆ ควรนำถั่วงอกไปล้างน้ำให้สะอาดดี แล้วให้สะเด็ดน้ำออกให้หมด แล้วนำมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบาง แล้วใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะเก็บไว้ได้นาน เป็นสัปดาห์เลยทีเดียว