ปลาบู่ สัตว์น้ำเศรษฐกิจราคาดี กับเกร็ดความรู้ในการเพาะเลี้ยง

ปลาบู่ เป็นปลาที่ผู้คนให้ความสนใจ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ปัจจุบันปลาบู่เป็นสัตว์ที่มีความต้องการทางตลาดในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาปลาบู่ที่ส่งออกท้องตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ปลาบู่เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ง่ายสามารถอยู่ร่วมกับปลาชนิดอื่นๆได้ ในการขยายพันธุ์ปลาบู่ในยุคปัจจุบันมีหลายวิธี มีการพัฒนาต่อเนื่องในการผสมพันธุ์ มีอัตราการเจริญเติมโตรวดเร็ว ดังนั้นปลาบู่จึงเป็นสัตว์เลี้ยงได้ทั้งความสวยงาม และ การนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เพราะเนื้อขาวสะอาด มีก้างน้อย นุ่ม อร่อย รสชาติดีละมุน ชวนให้ผู้คนชอบในการกินปลาบู่มากขึ้น เนื่องจากเป็นปลาที่ให้คุณค่าและประโยชน์ทางอาหารสูง เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี จึงทำให้ผู้คนส่วนมากหันมานิยมเลี้ยงไว้ในกระชัง หรือบ่อเพื่อการบริโภคมากกว่าความสวยงาม เพราะช่วยในทำรายได้ให้กับผู้คน อีกอย่างแนวโน้มของการตลาดบอกได้เลยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ จึงทำให้ผู้คนสนใจเลี้ยงปลาบู่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปลาบู่

ปลาบู่มีชื่อไทยเรียกกันแตกต่าง เช่น ปลาบู่ทราย ปลาบู่จาก ปลาบู่ทอง ปลาบู่เอี้อย หรือปลาบู่สิงโต ปลาบู่เป็นสัตว์ที่มีราคาแพง นิยมจับมาเลี้ยงสำหรับบริโภครับประทานกัน สามารถทำเมนูได้หลากหลายได้แก่ ปลาบู่นึ่งบ๊วย ปลาบู่นึ่งแป๊ซะ ปลาบู่นึ่งซีอิ๊ว แกงส้มปลาบู่ ปลาบู่ชุปแป้งทอด และต้มยำปลาบู่กรอบ เป็นต้น มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดหาซื้อได้ง่าย ปลาบู่เป็นปลาที่อาศัยบริเวณน้ำจืดหรือน้ำกร่อยเล็กน้อย ปลาบู่เป็นสัตว์มีเกล็ด ทั้งกลม และแหลมและสามารถอาศัยร่วมกับปลาชนิดอื่นๆได้

ปลาบู่ ลักษณะ
pasusat.com

รูปร่างลักษณะ  

ปลาบู่มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว บริเวณหัวยาว 1 ใน 2.8 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ แบนราบ มีจุดสีดำประปราย ปากกว้าง ด้านบนของมุมปากเฉียงลงและยาวถึงกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวมากกว่าขากรรไกรด้านบน ส่วนของขากรรไกรด้านบนและล่างมีลักษณะฟันเป็นแถวเดียวซี่เล็กๆ มีความแหลมคม ส่วนลูกตาอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากเพียงเล็กน้อย มีลักษณะโปนกลม หรือเรียกอีกอย่างว่า ลูกตาล้นขอบดวงตานั้นเอง รูจมูกคู่เป็นหลอดยื่นติดกับร่องที่แบ่งจงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะมนใหญ่ มีลวดลายดำสลับขาว มีก้านครีบอ่อน 15-16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน ครีบหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรืออกเป็นก้านครีบอ่อน 5 ก้าน มีความแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆซึ่งเป็นรูปจาน ครีบก้นอยู่แนวเดียวกับครีบหลังอันที่สองมีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ส่วนของครีบมีลักษณะสีน้ำตาลดำแดงสลับขาวเป็นแถบๆ และมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วไป ลำตัวมีเกล็ดแบบหนามคล้ายชี่หวีและมีแถบสดำขวางลำตัว 4 แถบ ใต้ท้องมีสีอ่อน สีตัวมีหลายสีขึ้นกับปัจจัยที่อยู่อาศัย และปลาบู่มีขนาดปานกลาง ปกติมีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร เคยพบยาวถึง 60 เซนติเมตร

แหล่งกำเนิดและการกระจาย

ปลาบู่ เป็นปลาที่สามารถพบได้ทั่วไปในน้ำจืดและน้ำกร่อยเล็กน้อย โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกราะมลายู ได้แก่ บอร์เนียว เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน และไทย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยจะพบปลาบู่ขยายพันธุ์กระจายตามลำคลอง หนองบึง และอ่างเก็บน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา ปากน้ำโพ บึงบอระเพ็ด แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำท่าจีน อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิต์ จังหวัดอุตรดิตถ์

แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลาบู่จะพบในพื้นที่บริเวณน้ำจืด และน้ำกร่อยเล็กน้อย การอาศัยในน้ำชอบอยู่บนดินอ่อน พื้นทราย และหลบซ่อนตามก้อนหิน ตอไม้ เสาไม้ รากหญ้าหนาๆ เพื่อรอโจมตีเหยื่อ เนื่องจากปลาบู่เป็นสัตว์กินเนื้อ บางครั้งจะล่าสัตว์ที่เล็กกว่า ส่วนลูกปลาบู่ชอบซ่อนตัวบริเวณรากพืชพันธ์ุไม้น้ำที่มีความหนาสามารถปกคลุมให้ปลอดภัย ความอบอุ่นจากปลาชนิดอื่นๆได้

นิสัยปลาบู่
aqua.c1ub.net

การสืบพันธ์ุ

การสืบพันธ์ุปลาบู่พบว่าเราต้องแยกความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมียให้ออกถึงจะจับคู่ ในการสืบพันธ์ุจะต้องทราบรายละเอียด ช่วงฤดูวางไข่ การเจริญพันธุ์ การวางไข่ และความดกของไข่

  • การเจริญพันธุ์และฤดูกาลวางไข่ ปลาบู่ที่โตเต็มวัย เจริญสมบูรณ์มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรขึ้นไป สามารถขขยายพันธ์ุได้ตั้งแต่ 8 เซนติเมตร และวางไข่ได้ตลอดทั้งปียกเว้นในช่วงฤดูหนาว ตลอดฤดูกาลการวางไข่ วางได้ประมาณ 3 ครั้ง  จากข้อมูลปลาบู่เพศเมียมีรังไข่แก่เต็มที่มีขนาดความยาวปลายหาง 12.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 34 กรัม และเพศผู้มีถุงน้ำเชื้อแก่เต็มที่มีความยาว 14.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 44 กรัม ปลาบู่เริ่มสร้างอวัยวะเพศภายในตั้งแต่เดือนมกราคม ช่วงระยะแรกไม่สามารถแยกรังไข่และถุงน้ำเชื้อได้  เมื่อถึงเดือนมีนาคมเพศเมียจะเริ่มเห็นรังไข่มีจุดสีขาวเล็กๆ แล้วเจริญเป็นเม็ดไข่ โดยที่รังไข่แก่จะมีสีเหลืองเข้ม มีเม็ดไข่อยู่เต็มและเส้นเลือดหล่อเลี้ยง ส่วนเพศผู้จะเห็นถุงน้ำเชื้อเป็นสีขาวทึบมากกว่าเดิม เมื่อเวลาผ่านไปถุงน้ำเชื้อที่แก่จะมีลักษณะเป็นลายมีรอยหยักเพียงเล็กน้อยและสีขาวทึบชัดเจน
  • การผสมพันธุ์ปลาบู่ในธรรมชาติ ปลาบู่ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่ วัสดุจำพวก  ตอไม้ เสาไม้ ทางมะพร้าวและวัสดุชนิดอื่นๆที่ใช้ได้ ซึ่งตัวผู้ก็ไล่ต้อนตัวเมียให้เข้าไปที่รังเพื่อวางไข่  เวลาผสมพันธุ์ตั้งแต่ตอนค่ำจนถึงตอนเช้ามืด ผสมพันธุ์แบบภายนอกโดยจะให้ตุวเมียปล่อยไข่ออกมาติดกับวัสดุที่ตัวผู้เตรียมไว้แล้วตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมก็จะเห็นไข่ติดกับตอไม้ เสาไม้  และวัสดุอื่นๆ ตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่ โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโปกไปมาเพื่อป้องกันสิ่งต่างๆที่เข้ามา หลังจากนั้นไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะฟักเป็นตัวภายในเวลา 28 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียล
  • ความดกของไข่ ปลาบู่มีรังไข่ 2 แบบ มีขนาดความยาว 15.2 เซนติเมตร น้ำหนักไข่ 1.6 กรัม และจำนวนไข่ประมาณ 6,800 ฟอง ถ้าหากปลามีความยาวมาก จำนวนไข่ก็จะมาก เพราะฉะนั้นจำนวนไข่จะเยอะหรือน้อยขึ้นกับสัดส่วนของพ่อแม่พันธุ์ปลาบู่ 
  • วิวัฒนาการของไข่ปลาบู่ หลังจากฟักออกจากเปลือกไข่จะจมสู้พื้นประมาณ 32 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แล้วลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่อลูกปลาอายุ 2 วันหลังฟักเริ่มกินอาหาร มีการว่ายน้ำแนวดิ่ง พุ่งขึ้นและจมลง จะมีความยาวเฉลี่ย 4 มิลลิเมตร
  • อายุ7 วัน ลูกปลามีความยาวประมาณ  4.6 มิลลิเมตร บริเวณส่วนท้องถึงหางจะเปลี่ยนโดยมีลายสีดำเข้ม
  • อายุประมาณ 15 วัน ลูกปลามีความยาวเพิ่มขึ้น 5.05 มิลลิเมตร
  •  อายุประมาณ 20 วัน ลูกปลามีความยาวเพิ่มขึ้น 6 มิลลิเมตร
  • อายุประมาณ 30 วัน ลูกปลามีความยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตรลายพาดขวางลำตัวคล้ายพ่อแม่ ส่วนเนื้อใสเห็นอวัยวะภายใน
  • อายุประมาณ 37-45 วัน ลูกปลาจะเหมือนพ่อแม่แต่ขนาดเล็ก ส่วนเนื้อใสเปลี่ยนเป็นขุ่นสีน้ำตาลเหลือง
การสืบพันธุ์ปลาบู่
blog.arda.or.th

การเพาะพันธุ์ปลาบู่

การแยกเพศ

จากการศึกษาพบว่าปลาบู่เพศผู้และเพศเมียมีความแตกต่างกัน มีวิธีการสังเกตุเราจะต้องดูที่อวัยวะเพศที่อยู่ใกล้รูทวาร โดยที่ปลาเพศผู้มีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็ก ลักษณะสามเหลี่ยนปลายแหลม ส่วนตัวเมียมีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดใหญ่ ลักษณะตอนปลายไม่แหลมแต่เป็นรูขนาดใหญ่ เมื่อปลาบู่ทรายพร้อมผสมพันธ์ุตรงปลายอวัยวะเพศผู้และเพศเมียจะเห็นเส้นเลือดฝอยที่บริเวณอวัยวะเพศมีสีแดงชัดเจน

การคัดเลือกพ่อมาพันธุ์

พ่อแม่พันธุ์ที่ดีมีผลทำให้อัตราการฟักและอัตรารอดตายสูง และได้ลูกปลาที่แข็งแรง กลุ่มเกษตรกรปัจจุบันมีวิธีการคัดเลือกดังนี้ จะต้องเลือกพ่อแม่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 300-500 กรัม และห้ามเป็นปลาที่อ้วนหรือผอม  เลือกตัวปลามีสีนวลปราดเปรี๊ยว สามารถปรับสีสู่สภาพเดิมได้รวดเร็วเมื่อตกใจ ถ้าเห็นว่าตัวปลามีสีเหลืองซีดต้องรักษาก่อนถึงจะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ได้  ลักษณะทางร่างกายและลำตัวจากหัวจนถึงหางมีผิวที่ลื่น ตาไม่ขาวขุ่นไม่มีพยาธิภายนอกหรือเชื้อราเกาะตามตัว  บริเวณครีบอก ครีบหู ครีบหางและครีบท้องจะต้องไม่มีบาดแผลฉีกขาด ถ้าพบเจอให้รีบดูแลและรักษาทันทีก่อนนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ และปลาที่นำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องจับโดยวิธีทางธรรมชาติ  ห้ามใช้อุปกรณ์ในการช่วยเพราะจะทำให้สภาวะอัตราการผสมที่ไม่มีและเสี่ยงต่อชีวิต ดังนั้นการคัดเลือกพ่อแม่พันธ์ุเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากผู้เลี้ยงจะต้องมีความละเอียดและรอบคอบสูง

การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์

โดยเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งมีขนาดบ่อปานกลางไม่เล็กและใหญ่เกินไปเพื่อการจัดการที่สะดวกต่อการดูแล จากการวิจัยที่เหมาะสมพบว่า สำหรับบ่อขนาด 800 ตารางเมตร สามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 150 ตัวให้ผลผลิตที่ดีที่สุด หลังจากการเตรียมบ่อวิดน้ำให้แห้งแล้วตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน และภายในบ่อจะต้องไม่มีวัสดุอื่นๆหลงเหลืออยู่เด็ดขาด

การเลี้ยงและดูแลพ่อแม่พันธุ์

การดูแลที่ดีทำความรู้จักกับสูตรอาหารที่สำคัญกันก่อน โดยมีส่วนประกอบดังนี้ ปลาเป็ด 94 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและเกลือแร่ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเตรียมส่วนผสมครบถ้วนจะนำอาหารไปให้กับปลาในอัตรา 5 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักปลากทุกวัน หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาทุกสองวัน เมื่อปลาบู่มีความคุ้นชินกับอาหารสูตรผสม สามารถเปลี่ยนอาหารชนิดอื่นได้แต่ต้องเปลี่ยนในอัตราส่วนไม่เกิน 1:1 โดยน้ำหนัก เพื่อเป็นการปรับตัวให้กับปลาบู่ จะต้องให้อาหารปลาบู่ในช่วงเย็นซึ่งเป็นเวลาหากิน และในหนึ่งเดือนน้ำก็จะเริ่มขุ่นทำการเปลี่ยนน้ำหนึ่งในสี่ของปริมาตรน้ำทั้งหมดผ่านตัวกรอง ภายในบ่อล้อมรอบด้วยรั้ว เพื่อป้องกันสัตว์และสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าไปทำร้ายพ่อแม่พันธุ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พ่อแม่พันธุ์ปลาบู่
samrit2535va.blogspot.com

การเพาะพันธุ์

การหาปลาในอดีตผู้คนมักหาตามรากหญ้า บึงนา รากพันธุ์ไม้น้ำในลำคลอง หนองบึง แต่ยุคปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ผู้คนใช้วิธีการจับปลาผิดประเภท การทำประมงเกินศักยภาพ ส่งผลให้ปลาในธรรมชาติลดน้อยลง แต่เนื่องจากผู้คนมีความต้องการบริโภคปลาบู่และส่งออกมีจำนวนสุง จึงทำให้การขยายตัวด้านการเลี้ยงปลาบู่มีอัตราสุงขึ้นเช่นกัน การเพาะพันธุ์ปลาบู่กรมประมงจัดหาวิธีที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่เพียงพอตามความต้องการของผู้บริโภค จึงได้ทำการศึกษาหาวิธีที่พัฒนาจำนวนปลาให้ได้มากขึ้นโดยข้อมูลจากกรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไว้ดังนี้

วิธีการฉีดฮอร์โมน โดนนำปลาบู่เพศผู้ที่มีน้ำหนัก 168 และ 170 กรัม เพศเมีย 196 และ 202 กรัม ทำการฉีดฉอร์โมนครั้งเดียว หลังจากการฉีดฮอร์โมนนำพ่อแม่พันธุ์ไปปล่อยลงในบ่อซีเมนต์ ขนาด 2*3 ตารางเมตร น้ำลึก 75 เซนติเมตร ใช้วัสดุทางมะพร้าวให้แม่ปลาบู่วางไข่ประมาณ 10,000 ฟอง พบว่าอัตราการฟักไข่อยุ่ที่ 90 เปอร์เซ็นต์

วิธีการเลียนแบบธรรมชาติ โดยจะทำการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ในบ่อ 3 วัน หลังจากนั้นก็นำวัสดุที่เคลื่อนย้ายได้ มาปักไว้รอบบ่อเพื่อให้ปลาวางไข่ และทำความคุ้นเคยกับกระเบื้องแผ่นเรียบ ช่วงเวลาตอนเย้นจนถึงตอนเช้ามืดแม่ปลาบู่เริ่มวางไข่ ซึ่งลักษณะรังไข่เป็นรูปวงรี ไข่เป็นรูปหยดน้ำ มีสีใส่ บริเวณไข่จะมีกาวธรรมชาติเพื่อไว้ใช้ยึดติดกับวัสดุ เมื่อเวลาผ่านไปจะต้องสังเกตกระเบื้องทุกแผ่น หากพบเห็นการวางไข่ให้รีบน้ำขึ้นไปฟักทันที ระหว่างการเคลื่ยนย้ายไข่จะต้องแช่น้ำตลอดเวลา ถ้าผู้เลี้ยงนำไปฟักช้าจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ที่อยู่บริเวณนั้นมากินไข่ทั้งหมด หลังจาการฟักเสร็จจะต้องทำความสะอาดและกำจัดเชื้อรากระเบื้องแผ่นนั้นโดยจะต้องแช่น้ำทั้งคืนคืนก่อนนำไปใช้ใหม่ สารเคมีที่ใช้กำจัดเชื้อรา ได้แก่ ไตรฟูลาริน ความเข้มข้น 0.1 พีพีเอ็ม

การฟักไข่

ผู้เลี้ยงจะต้องฟักในตู้ขนาดกว้าง 47 เซนติเมตร ยาว 77 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร โดยใส่น้ำลึก 47 – 50 เซนติเมตร ในหนึ่งตู้ฟักรังไข่ปลาบู่ได้ 4 รัง แต่ก่อนนำรังไข่มาฟักจะต้องฆ่าเชื้อ ใช้มาลาไค้ท์กรีนชนิดปราศจากสังกะสี ที่ความเข้มข้น 1 พีพีเอ็ม โดยวิธีจุ่ม ระหว่างการฟักต้องให้อากาศผ่านตลอดเวลา ถ้าหากเห็นว่าลูกปลาฟักจนเป็นตัวหนาแน่นให้ย้ายลูกปลาไปบ่อซีเมนต์ขนาดเล็กทันที ส่วนรังไข่ที่ยังไม่ฟักปล่อยไว้ในตู้กระจกจนฟักเป็นตัวทั้งหมดเพื่อป้องกันการเน่าเสียและการตายของลูกปลา

ปลาบู่ฟักไข่
suranan.wordpress.com

การอนุบาล

การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาดเล็ก

การอนุบาลลูกปลาบู่โดยแบ่งตามอายุของลูกปลาเป็น 3 ระยะ  ระยะแรกการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาดเล็ก เป็นช่วงที่สำคัญในการขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากมีอัตราการตายที่น้อย จะต้องควบคุมปัจจัย 4 ประการ ดังนี้

  • อัตราการปล่อยลูกปลา ควรปล่อยในปริมาณ 20,000 ตัวต่อ 6 ตารางเมตร หรือปริมาณ 3,300 ตัว/ตารางเมตร             
  • การจัดการน้ำในการอนุบาล ต้องทำอย่างนุ่มนวลเพื่อป้องกันปลาบอบช้ำ วันแรกควรกรองน้ำผ่านผ้าโอลอนแก้ว แล้วนำลูกปลาวัยอ่อนมาปล่อยหลังจากนั้นเพิ่มระดับวันล่ะ 5 เซนติเมตร จนได้ระดับน้ำเฉลี่ย 40-45 เซนติเมตร จึงเริ่มถ่ายน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาตรทั้งหมดจนอายุลูกปลาได้ 1 เดือน เวลาเติมควรเปิดน้ำเข้าช้าๆเพื่อไม่ให้ก้นบ่อฟุ่งกระจายเพราะจะเป็นอันตรายต่อลูกปลาวัยอ่อน ต้องการเปลี่ยนน้ำให้ใช้วิธีกาลักน้ำผ่านกรองน้ำ สามารถป้องกันแรงน้ำดูด     และตาแผงผ้ากรองจะต้องมีขนาดใหญ่ใหญ่กว่าลูกปลาบู่ ป้องกันการติดขณะลูกปลาไปโดน
  • การให้อากาศ ช่วงครึ่งเดือนแรกให้อากาศผ่านหัวทรายเข้าไปอย่างช้าๆ และค่อยๆ เพราะลูกปลายังไม่สามารถว่ายน้ำทวนกระแสตามแรงดันอากาศมากๆ ได้
  • ชนิดอาหารและการให้อาหาร อาหารหลักมีรูปแบบธรรมชาติ ส่วนระยะแรกเกิดจะเป็นอาหารพวกไรแดง และโรติเฟอร์  มีวิธีการเตรียมอาหารดังนี้ อาหารไข่ ตีไข่แดงไข่ขาวให้เป็นเนื้อเดียวกัน และใช้น้ำร้อนเติมลงไปขณะตีไข่ ในอัตราส่วนน้ำร้อน 150 ซีซีต่อไข่ 1 ฟอง กรอกผ่านผ้าโอลอนแก้วและกรองต่อด้วยผ้ารองแพลงก์ตอนขนาดตา 59 ไมครอน สำหรับลูกปลาช่วง 3 วันแรกของการอนุบาล ช่วงเวลา เช้า เที่ยง และเย็น ให้ในปริมาณโดยเฉลี่ย 40 ซีซี ต่อบ่อต่อครั้ง ส่วนอาหารโรติเฟอร์ เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยและน้ำจืด ในการอนุบาลลูกปลาบู่จะต้องเพาะสาหร่ายเซลล์เดียวที่เรียกว่า คอลเรลล่า หรือทั่วไปจะเรียกน้ำเขียว ระบุเพิ่มเติมในภาคผนวก

การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ 

เป็นลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1 เดือน อยู่ในระดับน้ำประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปล่อยลูกปลาให้เหมาะสมกับขนาดบ่อ ภายในบ่อลูกปลาต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน  การให้อาหารสัปดาห์แรกให้แบบธรรมชาติมีชีวิต ได้แก่ ไรแดง หนอนแดง ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา ช่วงสัปดาห์ที่สองฝึกให้กินอาหารสูตรผสมเอง (มีสูตรอยู่ในหัวข้ออาหารปลาบู่) การเลี้ยงปลาบู่บ่อกลางแจ้ง ระวังคราบเขี้ยว หรือเส้นใย เพราะจะลำบากในการดูแล เราควรใช้น้ำเขี้ยวเติมเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมของคุณภาพน้ำ  ความขุ่นและสีน้ำ

การอนุบาลในบ่อขนาดใหญ่หรือในบ่อดิน

โดนลูกปลามีขนาด 2.5 เซนติเมตรขึ้นไป ให้อาหารสูตรผสมเอง ส่วนในการเลี้ยงบ่อดินความยาวลำตัวจาก 5 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นถึง 7.55 เซนติเมตร  ภายบ่อสามารถหมุนเวียนน้ำจากบ่อพักได้  ส่วนการเลี้ยงในบ่อดิน อัตราการรอดจะน้อย จากการศึกษาพบว่าอัตราการรอดที่มากที่สุด

อนุบาลลูกปลาบู่
ณรงค์พันธุ์ปลาน้ำจืด

การเลี้ยงปลาบู่

โดยการปศุสัตว์จะมีอยู่ในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และกระชัง ส่วนมากจะนิยมเลี้ยงในกระชังมากกว่าในบ่อดิน และบ่อซีเมนต์ เนื่องจากปัจจัยความแตกต่างของต้นทุนด้วย  

การเลี้ยงปลาบู่ในบ่อดิน

จะเป็นการเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ  ได้แก่ ปลานิล ปลาช่อน  ช่วยในการควบคุมจำนวนประชากร อาหารที่ให้จะต้องปั้นเป็นก้อน เมื่อเลี้ยงปลามีน้ำหนัก 400-800 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลา 8-12 เดือน สามารถเริ่มจำหน่ายได้เพราะผู้คนจะนิยมบริโภค หลังจากนั้นหาพันธุ์ปลาใหม่มาชดเชย เพื่อความสมดุลในภายบ่อ

การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง

ผู้เลี้ยงจะต้องเลี้ยงบริเวณที่มีน้ำไหลผ่านและน้ำมีความขุ่นช่วยทำให้ปลาไม่ตกใจ  รายละเอียดการเลี้ยงที่ดีโดยผู้เลี้ยงต้องคำนึงมีวิธีการดังนี้

  • การเลือกสถานที่
    ซึ่งตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำดี ไม่มีความขุ่น กระแสน้ำไหลแรง และปริมาณเพียงพอเหมาะสมช่วยให้ปลากินอาหารได้ง่ายไม่ตกใจส่งผลให้มีความเจริญเติมโตเร็ว อัตราการรอดสูงต้นทุนต่ำ หากไกลแหล่งอุตสาหรรมสารเคมี ความลึกของน้ำไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และไม่เกินความเดือดร้อนทางสังคม
  • ประเภทของกระชัง
    ส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ไผ่หรือไม้จริงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยประเภทแรกกระชังที่ใช้ไม้ไผ่ล้วนมีต้นทุนต่ำ อายุใช้งานประมาณ 1-1.5 ปี ราคากระชังละประมาณ 1,600-2,000 บาท ซึ่งมีข้อเสียภายในถ่ายเทไม่ดี เศษอาหารตกค้าง และทำความสะอาดยาก ประเภทที่สองกระชังทำด้วยไม้ไผ่แค่โครงใช้ไม้จริง น้ำไหลผ่านได้แต่ต้องทำลูกบวบ 25 ลำ อายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ราคากระชังประมาณ 2,800 – 3,200 บาท  และประเภทที่สามกระชังจากไม้จริงสำหรับผู้เลี้ยงที่มีต้นทุนสูง อายุการใช้งาน 5-7 ปี ทุ่นลอยใช้ลูกบวบประมาณ 100 ลำ ราคาอยู่ที่ 2,500 เมื่ออย่างเข้าปีที่ 3 ต้องสังเกตและซ่อมแซมใหม่ทุกๆ 2 ปี
  • ขนาดกระชัง
    ที่นิยมมีตั้งแต่ 2 x 3 เมตร 2 x 5 เมตร 2.5 x 3 เมตร 2.5 x 8 เมตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยงและเงินทุน ผู้เลี้ยงจะต้องดูแหล่งน้ำที่มีกระแสไหลไปมา กระชังต้องมีฝาเปิดปิดเพื่อป้องการลักกันขโมย
  • อัตราการปล่อย
    จะปล่อยปลาบู่ในอัตราประมาณ 70 – 100 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 10 – 30 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในแหล่งน้ำที่มีการไหลถ่ายเทของน้ำผ่านไปมาในกระชัง ถ้าหากน้ำไหลเวียนไม่ดี ควรปล่อยประมาณ 40 – 50 ตัวต่อตารางเมตร ก่อนการปล่อยทำการฆ่าเชื้อป้องโรคเสียก่อน
  • อาหารและการให้อาหาร
    ปลาบู่จัดเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ดีควรมีโปรตีน 38 – 40 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 5 – 8 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 9 – 12 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและแร่ธาตุ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์ อาหารจะมีทั้งรูปแบบพื้นบ้าน และอาหารสูตรสำเร็จแบบเปียก ซึ่งในการให้เราต้องเตรียมอาหารให้ย่อยง่าย ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังสามารถเติมยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติมโต และการให้อาหารต้องปั้นก้อน ให้ทุกๆวัน 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ สังเกตว่าปลากินหมดหรือไม่แล้วค่อยปรับเพิ่มอาหารหรือลดอาหาร
  • การจัดการ
    การเลี้ยงปลาบู่ในกระชังจะต้องหมั่นทำความสะอาด และคัดขนาดให้อยู่กระชั่งเดียวกันเพื่อป้องกันการแย่งกันกินอาหาร พฤติกรรมกัดกันเองหรือไล่ไปมา และอีกทั้งยังช่วยให้ปลามีความเจริญเติมโตเร็วให้ผลผลิตที่ดี
บ่อปลาบู่
www.blockdit.com

โรคพยาธิและการป้องกัน

โรคพยาธิของปลาบู่

ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตสภาพแวดล้อมโดยรอบของกระชัง เอาใจใส่ดูแลสุขภาพปลาบู่ และการจัดการที่ดีทำให้ปลามุขภาพแข็งแรง สำหรับโรคพยาธิที่พบในปลาบู่เป็น 6 ประเภท ดังนี้

  • พยาธิภายนอกมองเห็นด้วยตาเปล่า
    ได้แก่ หนอนสมอตามซอกเกล็ด ครีบ และในช่องปาก เออกาซิลัสจะคอยดูดเลือดเหงือกปลาส่งผลต่อระบบหัวใจ และโกลซิเดียเป็นตัวอ่อนทำให้ลดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน
  • พยาธิภายที่ไม่สามารถมองเห็ยด้วยตาเปล่า
    ได้แก่ ทริกโคไดนา ฮีนีกูยา อีพิสไทลิส ชิโลโดเนลา ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ปลาบู่จะลอยหัว เกล็ดหลุด เหงือกซีด และจุดขาวประปราย
  • พยาธิภายใน
    ได้แก่ พยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม เป็นอาการที่ไม่กินอาหารส่งผลทำให้ปลาผอม
  • เชื้อรา
    ได้แก่ แซปโปรเลกเนีย จะเป็นจุดมาก ฝังลึกบริเวณผิวหนังทำให้เกล็ดหลุดเป็นแผล
  • เชื้อบักเตรี
    ได้แก่ แอโรโมแนสไฮโดรฟิลิก คอรีนีแบคที่เรียม สเตรปโตเรคอคคัส อาการที่จะแสดงคือ ท้องบวม ตาโปน แผลตามลำตัว
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    อาการของโรคนี้สังเกตจาก บริเวณแผ่นปิดเหงือกเริ่มกางออกเนื่องจากครีบหูบวมพองเป็นก้อน ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษา
  • โรคตับไต
    สังเกตจากภายนอกไม่ได้ ต้องสังเกตบริเวณเหงือกจะซีดกว่าปกติ ตับไตมีสีเหลืองอ่อน ม้ามมีขนาดใหญ่และเลือดออก โรคนี้จะเกิดการได้รับอาหารไม่ถูกต้อง

การรักษาโรค

จะต้องกำจัดพยาธิภายนอกด้วยสารเคมี ฟอร์มาลิน 25-30 พีพีเอ็ม แช่วันล่ะ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน หรือใช้ด่างทับทิม 3-5 พีพีเอ็มแช่ตลอด แต่ถ้าความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม แช่ 30 นาที ส่วนเมทธิลีนใช้ฆ่าโปรโตซัวได้ดีโดยเฉพาะโรคอิ๊ก กำจัดพยาธิภายในควรใช้ยาถ่ายพยาธิพวกดีเวอร์มินผสมในอาหาร 0.1 – 0.2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักอาหาร 3 วันติดต่อกัน  การกำจัดเชื้อราใช้มาลาไค้ท์กรีน 1-5 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนใช้เวลาในการแช่ 1 ชั่วโมง  3 ครั้งติดต่อกัน การกำจัดเชื้อบักตรีใช้ยาปฏิชีวนะพวก ซัลฟาเมอราชิน อิริโทรมัยชิน และคลอแรมฟินิคอล การป้องกันโรคที่ดี ขึ้นกับสภาพแวดล้อม และความเอาใจใส่ของผู้เลี้ยงดู

การจับลูกปลาบู่ในธรรมชาติ

โดยผู้คนจะอาศัยเครื่องมือ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่ ข่าย เบ็ดราว สวิง ลอบ กร่ำ แห และยอยก ใช้งานแตกต่างแตกกันดังนี้

  • เบ็ดราว ใช้ทำการประมง ประเภทไม่มีเงี่ยง ทำให้ลูกปลาได้รับการบาดเจ็บน้อย
  •  สวิง ใช้ช้อนสัตว์น้ำขนาดเล็ก  ปริมาณที่ได้จะน้อย
  •  ลอบ ใช้ประกอบเครื่องกั้น เป็นวิธีที่ปลาบู่เจ็บน้อยที่สุด
  •  กร่ำ นำกิ่งไม้มาสร้างกองใหญ่ในแหล่งน้ำเพื่อให้ปลาเข้ามาอาศัย หลังจากนั้นใช้อวนล้อมเพื่อจับปลา
  •  แห ใช้จับสัตว์น้ำพื้นบ้าน เหมาะสำหรับประมงในช่วงฤดูน้ำลดที่มีน้ำน้อย
  • ยอยก ใช้ลอยตามกระแสน้ำ วึ่งติดกับเเพ ว่างไว้ให้จม หลังจากเวบาผ่านไป ค่อยใช้ไฟล่อปลาตอนกลางคืน ปลาที่ได้บอกช้ำน้อย
จับลูกปลาบู่
Facebook, จำหน่ายพันธ์ุปลาน้ำจืดทุกชนิด ราคาถูก อยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี

แนวโน้มของการตลาดของปลาบู่

ปัจจุบันเป็นอาหารที่นิยมสำหรับกลุ่มต่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคเชื่อว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง ทำให้ร่างกายแข็งแรงและเพิ่มพลัง แต่ในปัจจุบันพันธุ์ปลาหาได้ยาก สภาพแวดล้อมเปลี่ยน จำนวนผู้เลี้ยงและผลผลิตลดลง เมื่อความนิยมบริโภคปริมาณสูงขึ้น ทำให้ราคาปลาสูงขึ้นตามท้องตลาด ราคาปลาบู่ประมาณ 200-350 บาทต่อกิโลกรัม

การขนส่งและการลำเลียงปลาบู่

เริ่มตั้งแต่การลำเลียงลูกพันธุ์ปลาบู่ขนาดเล็ก 1-2  นิ้ว ไปยังผู้เลี้ยง และการลำเลียงปลาไปยั่งกลุ่มผู้ใช้บริโภค โดยผ่านกระบวน การลำเลียงใช้ถุงพลาสติกอัดออกซิเจน เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายลูกปลา 1-2 นิ้ว และปลาบู่ขนาด 50-250 กรัม   ใช้ถุงพลาสติกขนาด 20*30 เซนติเมตร ใส่น้ำภายในประมาณ 10-15  เซนติเมตร บรรจุลูกปลาจำนวน 500-700 ตัว อัดด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์รัดปากถุง ใส่น้ำพอดีกับจำนวนปลา หากใส่มากปลากระแทกไปมาบอบช้ำมากขึ้น และการลำเลียงโดยใช้ถาดสังกะสี เหมาะสำหรับการใช้ลำเลียงไปส่งให้กับผู้บริโภค โดยที่ขนาดถาดลำเลียงมีความกว้าง ความยาว และความสูงที่ 45  70 และ 9  เซนติเมตร ตามลำดับ  ด้านข้างมีรูกลมขนาด 1.5-2.0 เซนติเมตร เรียงเป็นแถวเดี่ยว  ส่วนด้านกว้างมีหูหิ้วสองข้าง ภายในกั้นตรงกลางเเบ่งเป็นสองช่อง หลังจากนั้นนำปลาไปวางไว้ในถาดจนเต็มแล้วเติมน้ำพอท่วมท้องปลา ปิดฝาให้เรียบร้อย เมื่อนำส่งถึงจุดหมายปลายทาง ให้นำปลาไปพักไว้ในบ่อ วิธีนี้สามารถขนย้ายปลาได้จำนวนมาก และปลาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้นานพอสมควรหลังจากลำเลียง จากการศึกษาพบว่าการลำเลียงพันธุ์ปลาจากธรรมชาติไปเลี้ยงในกระชังควรบรรจุในถุงพลาสติกอัดออกซิเจนดีกว่าลำเลียงด้วยถาดสังกะสี

การใช้ประโยชน์ปลาบู่

ปลาบู่เป็นสัตว์เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ ภายในบ่อเดียวกันช่วยในการควบคุมจำนวนประชากรของปลาไม่ให้มากเกินไป และปลาบู่เลี้ยงเพื่อการบริโภคเพราะมีคุณสมบัตทางอาหารที่ดี เนื้อขาวสะอาดนุ่มอร่อย รสชาติดี นำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลายชนิด บางสถานที่มีความเชื่อว่าช่วยบำรุงกำลังร่างกายให้แข็งแรง สุขภาพ จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นในปัจจุบัน ปลาบู่นำไปแปรรูปเป็นอาหารที่หน้าสนใจมีดังนี้ ปลาบู่นึ่งบ๊วย ปลาบู่นึ่งแป๊ซะ ปลาบู่นึ่งซีอิ๊ว และต้มยำปลาบู่กรอบ

เมนูปลาบู่
th.tripadvisor.com

แหล่งอ้างอิง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้