ชมพู่ รู้หรือไม่? มีประโยชน์มากกว่าที่คิด…

ชมพู่ เพี้ยนมาจากคำว่า “จัมบู” หรือ “จามู” ในภาษามลายู ผลไม้รสเลิศ ที่มีเนื้อฉ่ำ ทานแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี และยังมีคุณค่าโภชนาการมากมาย ทั้งวิตามิน เอ บี ซี และดี และสารอาหารนานาชนิด และยังปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน นับได้ว่าเป็นผลไม้ที่หาทานได้ง่าย และยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากมาย

ต้นชมพู่ ปลูกในบ้าน

ข้อมูลที่น่าสนใจ

ชื่ออังกฤษ : Rose Apple Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium jambos (L.) Alston

วงศ์ : MYRTACEAE

ส่วนประกอบของต้นชมพู่

ลำต้น

ลำต้นของชมพู่จะมีความสูง 5-20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาลหรือเทา มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น

ใบ

เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวกันแบบตรงข้าม ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ปนสีแดงหรือม่วง

ดอก

จะออกตามใบ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว เหลือง ชมพู หรือแดง ชั้นกลีบเลี้ยงจำนวน 4-5 กลีบ และอยู่ติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกบานชั้นกลีบจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมวก เกสรตัวผู้มีจำนวนมากมาย และอัปเกสรสีทองอยู่ที่ปลายดอก

ผล

ชมพู่มีลักษณะคล้ายระฆัง ปลายผลมีชั้นกลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ตลอด เนื้อ สี รูปร่าง ขนาด และรสชาติแตกต่างกันตามพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีตั้งแต่ 1-5 เมล็ด หรือบางสายพันธุ์อาจไม่มี

สายพันธุ์ของชมพู่

ชมพู่มีหลากหลายสายพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองได้แก่

  • ชมพู่มะเหมี่ยว ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ
  • ชมพู่สาแหรก ลักษณะภายนอกคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า บริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปากนำ เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำ
  • ชมพู่แก้วแหม่ม ผลสีสีขาวออกชพุ เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย รสจือ มีกลิ่นหอม
  • ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนิ้อน้ยอ รสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
  • ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้ ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม อันเป็นที่มาของชื่อ น้ำดอกไม้
รากต้นชมพู่

ชมพู่ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่

  • ชมพู่เพชรสุวรรณ ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน
  • ชมพู่เพชรสายรุ้ง ปลูกในจังหวัดเพชรบุรี เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพุ่กะหลาป่าของอินโดนีเซียกับชมพู่แดงของไทย เป็นชมพู่ที่มีรสหวานกรอบ และราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจน เนื้อแข็งกรอบ รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกชนิด
  • ชมพู่ทับทิมจันทน์ ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
  • ชมพู่ทูลเกล้า เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
  • ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อย

วิธีการปลูกชมพู่

การเพาะขยายพันธุ์

การเพาะขยายพันธุ์สามารถได้หลายวิธี แต่ที่นิยม คือ การปลูกด้วยต้นพันธุ์จากการตอนกิ่ง และการเสียบยอด และสามารถให้ผลผลิตเร็ว และลำต้นไม่สูงมากนัก

การตอนกิ่ง

จะต้องคัดเลือกกิ่งชมพู่ที่มีความแข็ง ขนาดกิ่งยาวประมาณนิ้วชี้ – นิ้วหัวแม่มือ เปลือกกิ่งจะต้องมีสีน้ำตาล จากนั้น ใช้มีดตัดควั่นรอบกิ่งเป็น 2 รอย ที่ระยะห่าง 2-3 ซม. หรือเท่ากับเส้นรอบวงของกิ่ง จากนั้น ลอกเปลือกออก และขูดเยื่อที่ผิวแก่นของกิ่งออกให้หมดจนเหลือแต่เนื้อไม้ แล้วนำถุงพลาสติก พร้อมขุยมะพร้าวชุ่มน้ำ ผ่าถุงตามแนวขวางให้ลึกเกือบถึงขอบอีกด้าน และแบะถุงก่อนนำถุงมาหุ้มทับบริเวณรอยกรีดให้มิด และใช้เชือกฟางรัดหัวท้ายให้แน่น หลังจากนั้น 30-45 วัน จะเริ่มมีรากงอก เมื่อรากแก่ (ประมาณ 2 เดือน) รากสีน้ำตาลจึงค่อยตัดกิ่งลงปลูกในแปลงหรือปลูกดูแลในถุงเพาะ

การเสียบยอด

ใช้วิธีเพาะเมล็ดอ่อนให้ต้นโตก่อน โดยดูแลให้ต้นโต ประมาณ 3 นิ้ว เพื่อใช้เป็นต้นตอ หลังจากนั้น ตัดต้นตอ แล้วค่อยตัดกิ่งชมพู่ที่มีขนาดเท่ากันมาเสียบยอดเป็นต้นใหม่

ขั้นตอนการปลูก

  1. ไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืชออก และขุดหลุมปลูก 50*50*50 ซม. แล้วตากหลุมทิ้งไว้ 7 วัน
  2. นำปุ๋ยคอกมารองก้นหลุมพร้อมคลุกผสมกับหน้าดินให้เข้ากัน
  3. นำกิ่งชมพู่ลงมาปลูกในหลุม พร้อมกลบหน้าดินให้พูนขึ้นเล็กน้อย
  4. นำไม้ไผ่มาปักเป็นคานอิง และรัดด้วยเชือกฟาง
  5. นำฟางข้าว หรือเศษใบไม้มาคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในหน้าดิน

วิธีการดูแลชมพู่

สภาพแวดล้อม

ชมพู่สามารถเติบโตได้ดีในเขตร้อน และกึ่งร้อน และปลูกได้ดีทุกภาคทั่วไทย และทุกฤดูกาล

ดิน

– ชมพู่ชอบดินร่วนหรือดินปนทรายร่วนปนอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำได้ดี เนื้อดินไม่
– ระบบรากหากินบริเวณผิวดิน จึงไม่ค่อยทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง
– ต้องการความชื้นสูงทั้งในดิน และอากาศ
– ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อยและออกดอกติดผลสม่ำเสมอ

การให้น้ำ

– ช่วงแรกๆ ควรให้น้ำวันละครั้ง หรือ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าต้นชมพู่จะตั้งตัวได้
– ในฤดูฝนไม่ควรให้น้ำ
– หลังจากที่ต้นติด หรือตั้งต้นได้แล้ว ให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
– การให้น้ำจะให้ตามปกติขณะที่ต้นชมพู่ยังไม่ติดดอกออกผล
– ถ้าหากเป็นช่วงฤดูแล้งจะต้องให้น้ำอย่างน้อย 5-7 วัน/ครั้ง
– สังเกตความชื้นที่ดินเป็นหลัก น้ำต้องเต็มแอ่งรอบโคนต้นชมพู่ จนกว่าต้นจะออกดอก
– หากต้นออกดอกให้ทิ้งระยะให้น้ำแห้งไปประมาณ 10-14 วัน เพราะหากดินชื้นจะทำให้ออกดอกน้อย
– หลังจากที่ดอกติดแล้ว และออกครบทั้งต้นจึงค่อยให้น้ำปกติ
– ระหว่างที่รอผลออก ห้ามให้ต้นชมพู่ขาดน้ำเด็ดขาดจนกว่าผลจะแก่
– งดให้น้ำ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยวจะเพิ่มความหวานได้

การควบคุมวัชพืช

– ระยะแรกให้ใช้จอบถากเดือนละครั้ง
– ควรไถพรวนดินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
– หลังจากครบ 2 ปี ให้กำจัดวัชพืช 2-3 เดือน/ครั้ง
– หากทรงพุ่มใหญ่แล้วให้กำจัดวัชพืช ปีละครั้ง

การใส่ปุ๋ย

– ระยะต้นยังไม่ให้ผลผลิต (1 ปี) ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใส่ 2-3 ครั้ง ต้นละ 500 กรัม/ปี
– ปีที่ 2-3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 1 ครั้ง อัตรา 15-20 กก./ต้น และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปีละ 2 ครั้ง อัตรา 300-500 กรัม/ต้น/ครั้ง
– ปีที่ 3 ที่ชมพู่เริ่มออกผลผลิต ใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงต้นและผล โดยจะใส่หลังจากตัดแต่งกิ่งต้นชมพู่ ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยทุกครั้งที่ออกผลปีละ 3-5 ครั้ง

การตัดแต่งกิ่ง

– ครั้งแรกตัดตอนต้นชมพู่ขนาดเล็ก เพื่อให้ได้รูปทรงของลำต้น และกิ่งแตกออกได้สัดส่วน
– การตัดแต่งกิ่งจะทำให้หลังจากการปลูกต้นชมพู่ไปได้สักพัก จนชมพู่ตั้งต้นได้ และเริ่มมีการแตกกิ่งใหม่
– การตัดแต่งจะตัดเฉพาะกิ่งที่มีลักษณะกระโดงออก เหลือไว้แค่ติ่งด้านข้างให้กระจายออกไปในแนวกว้าง เพื่อให้ได้ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย
– หลังจากออกผลผลิตจะทำการตัดเพื่อลดภาระการเลี้ยงดูของต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกผล ควรทำระยะหลังจากเก็บเกี่ยวปีละครั้ง (ช่วงมิถุนายน) พร้อมการใส่ปุ๋ยบำรุง
– ส่วนที่ไม่สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวควรตัดทิ้งเพื่อไม่ให้ต้นมีภาระที่ไม่จำเป็นมากเกินไป

คุณค่าทางโภชนาการของชมพู่

  1. เป็นผลไม้เนื้อฉ่ำน้ำที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด และให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
  2. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะมี “แจมโบไซน์” (Jambosine) ช่วยกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  3. ชมพู่มีค่าดัชนี้น้ำตาลต่ำ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสามารถทานได้
  4. ช่วยในการขับถ่าย บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก เพราะมีไฟเบอร์สูง
  5. ดีต่อสุขภาพหัวใจ เพราะมีสารอาหารนานาชนิด ไฟเบอร์ และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และโพแทสเซียมสูง ช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  6. มีวิตามินซี ช่วยกระตึ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานแข็งแรง และกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจน
  7. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกัน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิดได้
ต้นชมพู่ ราคา

ราคาต้นชมพู่

ราคาของต้นชมพู่ต่างกันตามขนาดและอายุ ราคาอยู่ที่ 100 – 1,500 บาท

แหล่งอ้างอิง

http://www.paiboonrayong.com/articles/

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้