มะพูด พืชเศรษฐกิจที่มีหลากหลายทางชีวภาพ วิธีปลูกและดูแล

มะพูด เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่ได้รับความนิยม มีถิ่นกำเนิดของโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบการแพร่กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น และตามชายลำน้ำ ลำห้วย และพบมากในภาคตะวันออกของไทย ส่วนต่างประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา และอินโดนีเซีย มะพูดเป็นผลไม้ที่จำหน่ายส่งออกนอกประเทศ ซึ่งมีศักยภาพที่พัฒนาเป็นยาพื้นบ้าน เครื่องสำอาง อาหาร และสีย้อมผ้า ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากมะพูด ทำให้มะพูดอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพ โดยบางพื้นที่ผู้คนยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ของต้นมะพูดตามท้องถิ่น และในอนาคตมะพูดจะมีความสำคัญทางยาและอาหารเสริมมากขึ้นในการช่วยต้านทานโรคและอนุมูลอิสระต่างจากสรรพคุณที่หลากหลายของต้นมะพูดนั้นเอง

มะพูด ภาษาอังกฤษ Garcinia

มะพูด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz

    วงศ์มะพูด : Guttiferae

    ชื่อท้องถิ่นอื่นๆที่เรียกกัน เช่น มะพูด (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ไข่จระเข้ ตะพูด ส้มปอง ส้ม พะวาใบใหญ่ (ภาคตะวันออก), ปะหูด หมากพูด (ภาคอีสาน), ตะพูด พะวา ประหูด ประโหด ประโฮด มะนู (เขมร)

 มะพูด ภาษาอังกฤษ
www.thaikasetsart.com

ความเชื่อเกี่ยวกับมะพูด

มะพูดเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) เชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่ต้องการลดปริมาณแสงแดดในช่วงบ่าย เนื่องจากมะพูดมีทรงพุ่มกลมและหนา แต่คนทั่วไปมักปลูกเอาเคล็ดเพื่อหวังให้ลูกหลานเป็นคนช่างพูดช่างเจรจาในสิ่งที่ดีงามและพูดจาไพเราะเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน เป็นการแก้แด็กปากหนักไม่ยอมพูดกับใคร

ลักษณะของต้นมะพูด

  • ลำต้นมะพูด มีความสูงประมาณ 7 – 15 เมตร เรือนยอดมีลักษณะแบบกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มมีความแน่นทึบ ลำต้นตั้งตรง บริเวณของลำต้นและเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีความเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามความยาวลำต้น หากเปลือกต้นเกิดบาดแผลจะมียางสีขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไหลซึมออกมา ส่วนลำต้นจะแตกกิ่งก้านอยู่ต่ำๆเป็นพุ่มโปร่ง และก้านจะแตกออกจากลำต้นค่อนข้างถี่
  • ใบมะพูด เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกหรือแกมรูปขอบขนาน โคนใบกว้างมนตัดตรง เว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจและเรียวลงเล็กไปที่ปลายใบ ส่วนของขอบใบจะเรียบ มีขนาดประมาณ 8 – 12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15 – 25 เมตร แผ่นใบมักเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบเหนียวและหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนละเอียดหรือไม่มีขนก็ได้ เมื่อใบมีความแห้ง เป็นสีเหลืองอมสีเทา ส่วนก้านใบสั้นย่นขรุขระยาวประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร และมีขนบางๆขึ้นปกคลุม
  • ดอกมะพูด จะออกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 3 – 5 ดอก โดยจะออกดอกตามซอกใบหรือตามแผลใบและตามกิ่งก้าน ดอกมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลือง ภายในดอกจะแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบ 5 กลีบซ้อนกันอยู่มีลักษณะตูมเป็นรูปทรงกลมหนาและเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร และบานเป็นรูปถ้วยโถ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
  • ผลมะพูด มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 – 6 เซนติเมตร ผิวผลเรียบและเป็นมัน โดนที่ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองสดอมสีส้ม ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2 – 5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปวงรี สีน้ำตาล เนื้อมะพูดเป็นสีเหลือง มีรสสัมผัสเปรี๊ยวอมหวาน โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ดอกมะพูด
medthai.com

สายพันธุ์มะพูด

พบว่าเป็นสายพันธุ์เดี่ยว ไม่มีความหลากหลายในสายพันธุ์สามารถพบได้ทั่วไป  ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นต้นไม้สำหรับสวนในบ้าน มีการนำผลมาจำหน่าย นำไปใช้ประโยชน์และให้คุณค่าทางโภชนาการหลากหลายด้าน เช่น ด้านอาหาร ยา และสีย้อม   

การปลูก การดูแล และขยายพันธุ์ต้นมะพูด

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการใช้ต้นกล้าปักชำ ทำการนำเมล็ดของผลมะพูดที่สุกเต็มที่มาชำในถุงเพาะชำ ซึ่งภายในถุงประกอบด้วย ดิน ขี้เถ้าแกลบ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเล็กน้อย จากนั้นนำเมล็ดที่เตรียมไว้ใส่ในถุงเพาะชำ คอยดูแลและรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะใช้ระยะเวลาในการงอกประมาณ 30 – 45 วัน เมล็ดมะพูด 1 เมล็ด สามารถให้ต้นกล้ามะพูดได้ 1- 2 ต้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเมล็ดมะพูด

วิธีปลูกมะพูด

ศักยภาพทางการค้า

พบว่าต้นมะพูดจะมีสารสกัดจากเปลือกที่เรียกว่า แซนโทส สารสกัดแซนโทสบริสุทธิ์มีศักยภาพลดปัญหาสิว ต้านการอักเสบ อาการระคายเคือง ลดการเกิดแบคทีเรีย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยดำ และเพิ่มความกระจ่างใส มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ในช่องปาก อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา ดังนั้นเปลือกต้นมะพูดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเข้ามาทดแทนเปลือกมังคุดได้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะพูด

โดยมีน้ำหนักผลสด 100 กรัมพบว่าให้พลังงาน 49 Unit โปรตีน 0.4 กรัมคาร์โบไฮเดรต 12.2 กรัมเส้นใยอาหาร 1.0 มิลลิกรัมไขมัน 0.5 กรัมธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัมธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัมธาตุฟอสฟอรัส 13มิลลิกรัมวิตามินเอ 42 I.U. วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัมวิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัมวิตามินบี 3 0.3 มิลลิกรัมและวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ประโยชน์และสรรพคุณอื่นๆ

  • น้ำคั้นจากลูกใช้เป็นยาในการแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน
  • รากมะพูดใช้เป็นยาในการแก้ร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง
  • เปลือกมะพูดมีรสฝาดช้ำเป็นยาชำระบาดแผล
  • เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำส้มหรือเกลือ ใช้ทาแก้อาการบวม
  • ผลสุกมีรสหวานอมเปรี๊ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้หรือเครื่องดื่ม
  • ผลดิบมีรสสัมผัสเปรี๊ยว ใช้แทนมะนาวในการทำอาหาร
  • ใบและเปลือกต้นใช้สกัดย้อมสีเส้นไหม โดยจะให้สีเหลืองสด หรือสีน้ำตาล
  • ต้นมะพูดทรงเป็นพุ่มสวยใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อเป็นร่มเงาภายในสถานที่ต่างๆ เช่น บริเวณบ้าน ทางเดิน ริมน้ำ ส่วนสาธารณะ เป็นต้น
ประโยชน์มะพูด
www.bansuanporpeang.com

แหล่งอ้างอิง

http://www.rspg.or.th

www.stou.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้