พริก ไม่ใช่แค่เผ็ด แต่แฝงด้วยประโยชน์มากมาย

พริก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli หรือ Chille  โดยคำว่า Chille มาจากภาษาสเปน  เนื่องจากชาวสเปนเป็นผู้ค้นพบพริกเป็นครั้งแรก  ต่อมา เมื่อประเทศอื่นๆมีการรู้จักพริกมากขึ้นจึงเรียกพริกว่า Chilli หรือ Chilli peppers ซึ่งพริก ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum spp 

อาหารไทย  ต้องมีพริกคู่ครัว

แม้ว่าคนสเปนจะรู้จักพริกเป็นกลุ่มแรกๆ  แต่คนที่นำพริกเข้ามายังทวีปเอเชียนั้นกลับไม่ใช่คนสเปน  ถึงจะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าชนชาติใดเป็นผู้นำพริกเข้ามา  แต่เหตุที่ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ใช่คนสเปน  เนื่องจาก  กว่าสเปนจะข้ามแปซิฟิกมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ณ ตอนนั้น  คนทั่วทั้งทวีปเอเชียก็รู้จักพริกกันแล้ว  นั่นหมายความว่า  น่าจะมีคนนำพริกเข้ามายังทวีปเอเชียก่อนชาวสเปน  

พริก ชื่อวิทยาศาสตร์

คนไทยนั้น  ก่อนที่จะรู้จักพริก เราใช้ “ดีปลี”  หรือ  “พริกยาว” เป็นตัวให้รสเผ็ดในอาหาร  แต่เมื่อได้รู้จักพริก  ก็นิยมใช้พริกมากกว่า  ถึงขนาดที่ต้องปลูกกันทุกครัวเรือน

พริกที่ใช่ ให้รสชาติที่ดี

ถ้าถามว่าพริกมีกี่ชนิด พริกมีหลากหลายสายพันธุ์  แต่ละประเทศก็จะมีพริกที่ถูกคัดเลือก  จนเหลือเฉพาะสายพันธุ์หลักๆไว้ให้ปลูกตามสภาพภูมิศาสตร์ และความนิยม  ประเทศไทยก็เช่นกัน  โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกและถูกปากคนไทย 3 อันดับแรก มีดังนี้

  1. พริกชี้ฟ้า เป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี  ทรงพุ่มขนาดเล็ก ผลพริก ลักษณะทรงกลมเรียวยาว  เมื่อออกผล  ลักษณะผลพริกจะชี้ขึ้นไปบนฟ้าเสียส่วนใหญ่  จึงได้ชื่อว่าพริกชี้ฟ้า  ผลสดเป็นสีเขียวเปลือกมันวาว  ส่วนเมื่อสุกจะเป็นสีแดง  พริกชี้ฟ้ามีรสชาติเผ็ดกลางๆ  ผลสุกนิยมนำมาทำเป็นซอสพริก
พริก ลักษณะ
https://www.thaikasetsart.com/
  1. พริกจินดา หนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ  เนื่องจากปลูกได้ตลอดทั้งปี โตไว ทนทานต่อโรค  ผลพริกจินดามีขนาดเล็ก รูปร่างเรียวยาว นิยมใช้ทั้งในรูปพริกสด และพริกแห้ง โดยเฉพาะผลสุกสีแดง  หรือที่นิยมเรียกว่า “พริกแดง” นิยมนำมาตากแห้ง เพราะให้สีสวย กรอบ ตำให้แหลกง่าย ทำให้อาหารมีสีสันจัดจ้าน  
พริกจินดา
  1. พริกขี้หนูสวน เป็นไม้ล้มลุก ทรงพุ่มเล็ก ผลทรงกลมเรียวขนาดเล็ก เปลือกหนา ลื่นเป็นมัน  ผลพริกสดของพันธุ์นี้จะเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดง  เปลือกหนาลื่นเป็นมัน รสชาติจัดจ้าน ให้กลิ่นหอมเฉพาะตัว  
พริกขี้หนู

คนไทยเชื่อว่า  การเลือกพริกสำหรับทำอาหาร  หากเลือกได้เหมาะสม จะชูรสให้อาหารจานนั้นโดดเด่นขึ้นมา  พริกที่เลือกใช้ นอกจากจะต้องเลือกตามความเผ็ดแล้ว  ยังเลือกตามลักษณะของพริกอีกด้วย  เช่น  จะใช้แบบพริกสด หรือพริกแห้ง หากใช้แบบสด จะเลือกพริกเขียวหรือพริกแดง เพื่อให้อาหารมีสีสันตามต้องการ  ความละเมียละไมนี้ ส่งให้อาหารไทยเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามและอร่อยที่สุดในโลก

พริก ปลูกง่าย รายได้ดี

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย  เพราะนอกจากจะมีความต้องการของตลาดในประเทศอย่างต่อเนื่องแล้ว  ตลาดต่างประเทศก็มีความต้องการพริกมากไม่แพ้กัน โดยการปลูกพริกสามารถทำได้ 2 วิธี  ดังนี้

  1. การปลูกแบบลงแปลงโดยตรง  วิธีการคือ  เตรียมแปลงสำหรับปลูก จากนั้น หยอดเมล็ด 3-5 เมล็ดลงในหลุมแต่ละหลุม  เอาดินกลบ  แล้วรดน้ำให้สม่ำเสมอ  ประมาณ 12-15 วัน เมล็ดพริกก็จะงอก  วิธีนี้  เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่แต่ไม่มีแรงงานมากพอสำหรับเคลื่อนย้ายต้นกล้า  ข้อเสียสำหรับวิธีนี้คือ  ต้นพริกจะไม่ค่อยแข็งแรง  ทำให้ง่ายต่อการโดนโจมตีจากแมลง  และต้องคอยกำจัดต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก หรือปลูกซ่อมอยู่เรื่อยๆ ทำให้ต้นพริกไม่อยู่ในรุ่นเดียวกัน  ยากต่อการดูแล  
  2. การปลูกแบบเพราะต้นกล้า  วิธีนี้เป็นการคัดเลือกต้นที่สมบูรณ์ก่อนย้ายลงแปลง  ทำได้โดย  เพาะเมล็ดลงในภาชนะ  เช่น  กะละมัง  หรือกระบะเพาะ  เมื่อเวลาผ่านไป 10-12 วัน  ต้นพริกงอก  จึงเริ่มคัดเลือกต้นพริกที่สมบูรณ์ลงกระบะเพาะอีกชุดหนึ่ง  ใช้เวลาต่อประมาณ 14-18 วัน  จึงเริ่มเคลื่อนย้ายต้นกล้าของพริกลงแปลงใหญ่  การปลูกด้วยวิธีนี้  แม้จะใช้กำลังคนค่อนข้างเยอะ  แต่ผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากว่า  ทั้งนี้ก่อนเคลื่อนย้ายต้นกล้าลงแปลงใหญ่  เราต้องเตรียมแปลงโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 100 กรัม ต่อตารางเมตร  ทำการโรยปุ๋ย แล้วถากหน้าดินขึ้นมาคลุกๆเตรียมไว้  ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของวิธีนี้คือ  สามารถกำหนดระยะห่างของต้นได้  โดยระยะที่แนะนำ  คือให้ละต้นห่างกันด้านละไม่ต่ำกว่า 50 cm และหากเป็นพันธุ์พุ่มใหญ่อย่าง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู  ควรเว้นระยะประมาณ 80 cm เป็นต้น
พริก สรรพคุณ

การดูแลรักษา

พริกเป็นพืชที่ชอบความชื้น  แต่ไม่ชอบพื้นที่แฉะ หรือมีน้ำขัง  การรดน้ำพริกในฤดูปกติควรรดวันเว้นวัน  หรืออาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง  ส่วนช่วงฤดูฝน  ต้องคอยดูแลพื้นที่ไม่ให้มีน้ำท่วมขัง

การใส่ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะหลังย้ายต้นพริกลงแปลงประมาณ 15 วัน    และใส่อีกครั้งเมื่อพริกเริ่มออกดอก  ประมาณ 70-75 วันหลังปลูกพริกก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

มีดีกว่าความเผ็ด

พริก สรรพคุณต่างๆยังมีมากมาย ซึ่งในปากเราไม่มีต่อมรับรสเผ็ด  แต่เมื่อเราทานพริกแล้วรู้สึกเผ็ด  นั่นเพราะความเผ็ดร้อนที่มาจากสารตัวหนึ่งในพริกที่ชื่อว่า  แคปไซซิน (Capsicin) ซึ่งมีมากที่สุดในไส้พริกสีขาวๆ  และสารแคปไซซินนี้เอง  ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย  ยกตัวอย่างเช่น

  1. มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  ชะลอริ้วรอย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
  2. เมื่อรับประทานพริก  สมองจะหลังสารแห่งความสุขที่ชื่อว่า  สารเอ็นโดรฟิน  ออกฤทธิ์ทำให้เราอารมณ์ดี  ผ่อนคลาย  และบรรเทาความเจ็บปวดได้
  3. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด  โดยทำให้เกิดขั้นตอนหลักๆ 2 ขั้นตอนคือ  ขยายหลอดเลือด  และลดการจับตัวเป็นกลุ่มของเกล็ดเลือด  ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ดีขึ้น
  4. กระตุ้นความอยากอาหาร  
  5. ความร้อนจากพริก ช่วยเร่งการเผาผลาญ  ช่วยลดน้ำหนักได้

นอกจากนี้  ในพริกยังมีวิตามินเอ  วิตามินซี  และเบต้าแคโรทีนสูง  ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน  ป้องกันหวัด  และยังช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้อีกด้วย.

ที่มา

องค์ความรู้เกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ

https://www.ubu.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้