บ๊วย กับ 15 สรรพคุณ และวิธีดูแลให้สร้างผลผลิตระยะยาว

บ๊วย เป็นต้นไม้ที่เมื่อใครๆนึกถึงก็จะเปรียบเทียบกับความพ่ายแพ้ แต่จริงๆแล้วต้นบ๊วยผลิตผลที่มีสารอาหารและวิตามินต่างที่สำคัญ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ เป็นต้น และยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างใกล้เคียงกับเลือดมนุษย์ ทำให้ช่วยปรับสมดุลกับความเป็นกรด-ด่างในร่างกายได้ และยังเป็นต้นไม้ขึ้นชื่อเรื่องการยืนต้นในเมืองหนาว เพราะปลูกและดูแลรักษาได้ง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ให้ผลผลิตสูงขึ้นตามอายุและขนาดของลำต้น

ต้นบ๊วย ดอก

ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออังกฤษ : Prunus mume Siebold & Zucc.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia pennata (L.) Willd.

วงศ์ : Rosaceae

ถิ่นกำเนิด : ประเทศจีน

สายพันธุ์ของต้นบ๊วย

  • พันธุ์เชียงรายหรือแม่สาย พันธุ์พื้นเมือง มีผลขนาดเล็ก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป
  • พันธุ์ปิงติง พันธุ์ไต้หวัน เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป
  • พันธุ์เจียโถ พันธุ์ไต้หวัน พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 700 เมตร
  • พันธุ์บารมี1 หรือขุนวาง1 พันธุ์ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ปลูกได้ดีในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป ผลมีขนาดใหญ่
  • พันธุ์บารมี2 หรือขุนวาง2 พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป ให้ผลผลิตดก ขนาดผลใหญ่ เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่เช่นกัน

ส่วนประกอบของต้นบ๊วย

ลักษณะลำต้นบ๊วย

มีความสูงของลำต้นประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย

ใบของต้นบ๊วย

ใบมีขนาดเล็กเป็นใบเดี่ยว สีเขียวอมเทาขนาดเล็ก ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบปลายเรียวแหลมโคนใบมนกลมสามารเห็นเส้นใบได้ชัดเจน

ดอกบ๊วย

สีขาวหรือสีชมพู กลีบดอกมีประมาณ5-10กลีบ มีกลิ่นหอม

ผลบ๊วย

บ๊วย ภาษาอังกฤษ

มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม หรือกลมรี ผลสีเขียว และกลายเป็นสีเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ มีเนื้อภายในผลนิ่มเมื่อสุก รสขมอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 2.5 ซม. มีเมล็ดลักษณะแข็งสีน้ำตาลภายในผลเพียง 1 เมล็ด

วิธีการปลูกต้นบ๊วย

การปลูกต้นบ๊วยสามารถทำได้ด้วยการเสียบกิ่ง หรือการปักชำ ไม่นิยมการเพาะเมล็ดเพราะอาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์

ขั้นตอนการปลูก

  1. ขุดหลุมขนาด 70*70*70 หรือ 100*100*100 เว้นระยะห่าง 10*10 หรือ 12*12
  2. ผสมดินปลูกเข้ากับหินฟอสเฟต หลุมละ 100-200 กรัม และปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 5-10 กก.
  3. นำดินที่ผสมแล้วใส่ลงไปในหลุม 10-15 ซม.
  4. รดน้ำให้ดินชุ่ม
  5. นำกิ่งหรือต้นบ๊วยใส่ในหลุมและกลบ
  6. จากนั้นรดน้ำเป็นประจำทุก 1 สัปดาห์

วิธีการดูแลต้นบ๊วย

ดิน

ต้นบ๊วยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุสูงหน้าดินลึก ดินมีสภาพความเป็นกรด – ด่างประมาณ 5.5 – 6.5

สภาพอากาศ

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกต้องต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส

การให้น้ำต้นบ๊วย

  • ช่วงแรกควรให้น้ำประมาณสัปดาห์ละครั้ง
  • ในช่วงหน้าแล้ง หรือหลังจากออกดอกให้ผลผลิตแล้วควรให้น้ำอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มขนาดของผล
  • ในฤดูฝนให้เว้นการให้น้ำเพราะหากชุ่มมากเกินไปจะทำให้ผลร่วงได้

การให้ปุ๋ยต้นบ๊วย

  • วิธีการใส่ให้ขุดร่องรอบๆ ทรงพุ่ม แล้วโรยปุ๋ยลงไป ใช้ดินกลบ รดน้ำพอชุ่ม
  • ใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้งต่อปี ใน 1-4 ปีแรก โดยใช้สูตร 46-0-0 ร่วมกับสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 100 กรัม
  • ในฤดูฝนช่วงที่มีการติดดอก ส่วนในปีต่อๆ ไปก็ให้ใส่เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าทุกปี
  • ในช่วงปีที่ 5-7 หลังจากการเก็บผลผลิต ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และสูตร 12-24-12 ในอัตรา 1-3 กก./ต้น
    ปีต่อๆไป ใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีก 1 กก.

การตัดแต่งกิ่ง

  • 3-6 เดือนแรก ควรมีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึงภายในทรงพุ่ม และอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยเลือกตัดยอดกิ่งที่ทำมุมกับลำต้นประมาณ 45 องศา และสูงกว่าพื้นดินประมาณ 60-90 ซม. เป็นจำนวน 3-4 กิ่ง ซึ่งจะช่วยให้เจริญเติบโตและติดดอกออกผลได้ดีขึ้น
  • หลังการเก็บเกี่ยว ควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ

การกำจัดแมลงและศัตรูพืช

ควรป้องกันก่อนการระบาดด้วยการฉีดพ่นสารเคมีในระยะที่ดอกเริ่มตูม

การเก็บเกี่ยวบ๊วย

ให้เก็บผิวผลที่มีสีเหลืองเกือบทั้งผล ผลบ๊วยจะสุกไม่พร้อมกันทั้งต้น สามารถทยอยเก็บไปได้ประมาณ 1 เดือน มักนิยมเลือกเก็บผลด้วยมือแบบวันเว้นวัน หรือ 2 วัน/ครั้งก็ได้

ประโยชน์ต้นบ๊วย

  1. ใช้แปรรูปเป็นอาหาร เช่น บ๊วยแช่อิ่ม, บ๊วยดอง, บ๊วยเค็ม
  2. นำไปทำเป็นอาหาร เช่น น้ำจิ้มบ๊วย, ซอสบ๊วย, ปลานึ่งบ๊วย เป็นต้น
บ๊วยสด

สรรพคุณต้นบ๊วย

ต้นบ๊วยเต็มไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, วิตามินบี 1-6, วิตามินซี , วิตามินอี, วิตามินเค, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรีส, โพแทสเซียม, โซเดียม, สังกะสี หรือจะเรียกได้ว่ามีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ก็ว่าได้ ซึ่งสามารถนำไปทานเพื่อ

  1. ช่วยเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  2. ช่วยลดการกระหายน้ำและลดการสูญเสียเหงื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันเป็นลมแดด
  4. ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  5. ช่วยลดกรดในกระเพาะ
  6. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ โรคฟัน แก้ปัญหาเรื่องการเกิดกลิ่นปาก
  7. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  8. ช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง
  9. ช่วยเสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย
  10. ช่วยรักษาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้
  11. ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
  12. ช่วยขับพยาธิบางชนิดในลำไส้ได้
  13. ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  14. ช่วยแก้อาการแพ้ท้องของสตรีมีครรภ์
  15. รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้

ราคาต้นบ๊วย

ต้นบ๊วยที่จำหน่ายในท้องตลาดมักจะเป็นต้นที่อายุ 3-7 เดือน ราคาขึ้นอยู่กับขนาดต้น เริ่มต้นที่ 300 – 700 บาทต่อต้น

แหล่งอ้างอิง

: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2407

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้