พุดภูเก็ต ไม้หอมเมืองใต้ ทำไมถึงยังนิยมแล้วมีลักษณะอย่างไร

พุดภูเก็ต (Phuket Gardenia) เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ไม้ดอกที่อยู่ในตระกูลพุด แต่มีจุดเด่นที่สีดอกและถิ่นที่อยู่ และสามารถสามารถที่สามารถปลูกในดินเค็มได้ และพันธุ์ไม้ที่เรากำลังพูดกันอยู่ก็คือ “พุดภูเกร็ด” เป็นไม้ดอกที่คนใตคุ้นชินกันดี ปลูกก็ง่าย ดอกก็หอมเย็นสบาย หอมยาวนาน และที่สำคัญยังสามารถปลูกริมทะเลได้ด้วย เท่สุด ๆ ไปเลย

พุดภูเก็ต
credit : Aventador Lee
เรียกได้ว่า ต้นพุดภูเก็ตนั้น ถ้าดูผ่าน ๆ แบบไม่สังเกตุดี ๆ เราจะเห็นว่าคล้ายกับต้น "พุดน้ำบุษ" มากเลย ทั้งลักษณะ ใบ และ ดอกก็ยังมีความคล้าย แต่ ! ไม่เหมือน ซึ่งลักษณะนั้นจะเป็นอย่างไร เดี่ยวเราค่อยมาศึกษาไปพร้อม ๆ กัน และ Kaset today ยังมีเนื้อหาดี ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายอย่างที่ทุกคนน่าจะชอบกัน

ข้อมูลทั่วไปของพุดภูเก็ต

ชื่อภาษาไทย : พุดภูเก็ต

ชื่ออื่น ๆ : พุดป่า รักนา คำมอกสงขลา

ชื่อภาษาอังกฤษ : Phuket Gardenia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia thailanica Tirveng

ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ชื่อสกุล : Gardenia


ความเชื่อ

สามารถใช้เป็นของขวัญหรือของกำนัลแก่ญาติผู้ใหญ่ ญาติพี่น้องหรือเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ได้ด้วย

ข้อมูลน่ารู้เพิ่มเติม: ในเรื่องความเชื่อนั้นพรรณไม้วงศ์พุดจะมีความเชื่อกันอยู่ว่าเป็นต้นไม้ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องความสำเร็จ เสริมบารมี ช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุข ช่วยให้มีความเจริญรุ่งเรืองและความสมบูรณ์มั่นคง


แหล่งกำเนิด

ต้นพืชชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศและจะพบได้ที่เมืองไทยเท่านั้น ผู้ค้นพบ คือ ดร.ชวลิต นิยมธรรม ซึ่งได้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2525 ที่อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต บริเวณที่พบเป็นป่าละเมาะเนินเขาชายทะลที่มีระดับความสูง 30 เมตร

โดยในปี พ.ศ.2526 ได้มีการตั้งชื่อพรรณไม้ขึ้น ทั้งนี้บริเวณที่พบมากที่สุดจะอยู่ในจังหวัดภูเก็ตและมีเป็นแห่งๆ ที่เกาะตะรุเตากับบางเกาะของจังหวัดพังงา แล้วในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณหาดกะตะของจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าดิบแล้งที่มีระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปถึงระดับความสูงที่ 150 เมตร


ลักษณะทั่วไปของพุดภูเก็ต

  • ลำต้น

เป็นไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็ก ความสูงอยู่ที่ 3-6 เมตร บริเวณลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล ลักษณะของต้นจะแตกกิ่งเล็กกิ่งน้อยและเป็นทรงพุ่มออกกลมๆ โปร่งๆ

พุดภูเก็ต
credit : หมีอ้วนกับหมูอวบ
  • ใบ

จะเป็นประเภทใบเดี่ยวและจะออกที่เฉพาะส่วนปลายของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปทรงไข่กลับหรือใบหอก มีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ความยาว 15-30 เซนติเมตร ส่วนโคนของใบจะสอบ ปลายใบมีความเรียวแหลม ขอบใบเรียบๆ เนื้อใบจะบาง ผิวของใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างใบจะมีสีเขียวอ่อนบวกมีความสากๆ คายๆ

พุดภูเก็ต
credit : Noo- chop- Lao
  • ดอก

การออกดอกจะทยอยออกได้ทั้งปี แต่จะออกดกในช่วงฤดูร้อน โดยเดือนเมษายนจะดกดื่นที่สุด ลักษณะของดอกจะออกเป็นดอกเดี่ยวที่บริเวณซอกใบใกล้ๆ กับปลายยอด ส่วนโคนของกลีบเชื่อมติดกันในลักษณะหลอดมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ส่วนปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ยามดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 5-6 เซนติเมตร ดอกขณะแรกแย้มจะมีสีขาวนวลและมีกลิ่นหอมได้เกือบทั้งวัน ต่อจากนั้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและเหลืองเข้มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ดอกจะบานได้เพียงวันเดียวแล้วก็จะโรย

พุดภูเก็ต
credit : Aventador Lee
  • ผล

จะเป็นผลรูปทรงกลมรีและมีสีเขียวค่อนข้างสด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลราว 2-2.5 เซนติเมตร ความยาว 3-4 เซนติเมตร โดยผลจะมีครีบอยู่ตามแนวยาวลักษณะเป็นสันจำนวน 5 สัน ข้างในผลมีเมล็ดขนาด 3-5 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นลักษณะกลมรีและมีสีน้ำตาลอ่อนๆ

พุดภูเก็ต
credit : Noo- chop- Lao

ความต่างระหว่างพุดภูเก็ตและพุดน้ำบุษย์

ลักษณะกลีบดอก

ลักษณะใบ


การขยายพันธุ์

ด้านการขยายพันธุ์ พุดภูเก็ต สามารถทำการขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธี

  • การเพาะเมล็ด
  • การตอนกิ่ง
  • การทาบกิ่ง
  • การปักชำกิ่ง

โดย ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ได้ให้ความรู้ไว้ว่า การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถทำได้ดีและค่อนข้างง่าย แล้วยังได้ต้นกล้าที่สวยงามสมบูรณ์พร้อมด้วย


การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ชอบแสงแดดเต็มวัน ถ้าได้แสงแดดจ้าก็จะยิ่งดี หรือถ้าบ้านไหนมีพื้นที่ ที่โดนแสงแดดไม่เต็มวันก็ขอให้ได้ครึ่งวันเช้า หรือ ครึ่งวันบ่าย

  • น้ำ

เนื่องจากพุดภูเก็ตเป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทย จึงสามารถทนน้ำกร่อย น้ำเค็มได้ดี สามารถปลูกตามริมทะเลได้ หรือในภาคอื่นๆ ของประเทศไทย ก็รดด้วยน้ำธรรมดาได้เลย แต่ก็ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

  • ดิน

สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดเพราะเป็นไม้ที่ทน แต่โตช้า และสามารถปรับตัวได้เกือบทุกพื้นที่ในประเทศไทย หากปลูกในกระถาง ก็สามารถผสม ดิน:กาบมะพร้าว:ปุ๋ยสูตรเสมอ (1:1:1)

  • ปุ๋ย

ต้นพุดภูเก็ตเป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกออกตลอดทั้งปี ดูแลง่าย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี 3 เดือนครั้งก็ได้ หรือโรยปุ๋ยคอกรอบๆโคน ห่างจากโคนประมาณ 1 ฝ่ามือ เดือนละครั้ง

การดูแล

  • โรคพืช และ แมลงศัตรูพืช

เราไม่ต้องกังวลกับปัญหาโรคพืช หรือ แมลงศัตรูพืชนัก อาจจะมีพวกเพลี้ยแป้งบ้าง แต่ไม่เป็นปัญหามากไปให้เป็นที่กังวล เพราะสามารถไล่ด้วยน้ำหมักชีวภาพ เช่น น้ำหมักปลีกล้วย ผสมน้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งลำต้น ใบดอก ตอนเย็น หรือ หลังฝนตก

  • การตัดแต่งทรง

สำหรับพื้นที่ในการปลูก สามารถปลูกได้ในพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่แค่ 1-2 ตารางเมตร ก็เติบโตได้แล้ว (ข้อแนะนำ : พุดภูเก็ต เป็นต้นไม้ที่ค่อนข้างจะเติบโตช้าจึงไม่ควรทำการตัดแต่งทรงพุ่มช่วงปีแรกของการปลูก เพราะจะยิ่งทำให้โตช้ามากยิ่งขึ้น) 


ประโยชน์

ประโยชน์ของ พุดภูเก็ต เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่มีดอกเป็นเอกลักษณ์คือ มีสีได้ถึง 3 สี ได้แก่ สีขาวนวล (แรกแย้ม) สีเหลือง (เริ่มบาน) และ สีเหลืองเข้ม (บานเต็มที่) จึงเหมาะแก่การเป็นไม้ดอกไม้ประดับแถมดอกยังมีกลิ่นหอมอบอวลอีกด้วยก็ยิ่งเหมาะที่จะปลูกประดับบ้านเรือน เพื่อที่จะได้รับความสดใสบวกกลิ่นหอมจรุงยามใครผ่านไปผ่านมาหรือแขกมาเยือนเรือนชานจะได้รับความสดชื่นเช่นเดียวกับเจ้าบ้าน

ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังสามารถใช้เป็นของขวัญหรือของกำนัลแก่ญาติผู้ใหญ่ ญาติพี่น้องหรือเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ได้ด้วย เพราะความเชื่อที่ว่า ไม้วงศ์พุดเป็นต้นไม้ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องความสำเร็จ เสริมบารมี ช่วยให้อยู่เย็นเป็นสุข ช่วยให้มีความเจริญรุ่งเรืองและความสมบูรณ์มั่นคง


ไอเดียการนำไปปลูก

พันธุ์ไม้ยืนต้นอย่างต้น “พุดภูเก็ต” สามารถนำไปปลูกได้หลายแบบ เพราะมีฟอร์มต้นที่สวยงาม ใบเขียวสด ดอกมีขนาดใหญ่ มีสี ทั้งหมด 3 ระยะคือ สีขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม

ต้นพุดภูเก็ตเหมาะนำไปปลูกเป็นไม้ประธาน หรือ ไม้รั้ว และเราสามารถนำไปจัดในสวนสไตล์บาหลี สไตล์ทรอปิคอล หรือจะเอาไปประดับในสวนเมดิเตอร์เรเนีย ก็ได้เพราะมีสรดอกที่สดใส

หรือการนำไปปลูกบริเวณริมน้ำ เช่น บ่อปลา สระว่ายน้ำ และยิ่งไปกว่านั้น ต้นพุดภูเก็ตยังสามารถปลูกใกล้ทะเลได้เพราะสามารถทนน้ำเค็มและน้ำกร่อยได้นั้นเอง


แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้