ยางกล่อง อีกหนี่งไม้ยืนต้นหายากที่น่าสนใจ และพยากรณ์อากาศได้

ยางกล่อง (Keruing) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ และยังอยู่ในกลุ่มไม้ยางที่หลาย ๆ คน คงเคยได้เห็นได้ยินชื่อ เช่น ต้นยางนา ยางเหียง และยางชนิดที่หายากๆนั้นในไทยยังมีอีกหลายตัว แต่ยังมีต้นยางอีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจอีกหนึ่งชนิดชื่อว่าต้นยางกล่องเป็นต้นไม้ตระกูลต้นยางอีกชนิดหนึ่ง ซึ่ง นับว่าเป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยได้พบได้บ่อย ๆ  

ยางกล่อง
credit : npic-surat.com
ยากล่องยังมีเรื่องเล่าของ คนท้องถิ่น และ นักอนุรักษ์ป่า ว่าเป็นต้นไม้ที่สามารถ "พญากรณ์อากาศได้" เพราะมีผู้ใหญ่หลายคนสามารถบอกเวลาที่ฝนตก หรือพายุมาได้จากการดูต้นยางกล่อง หรือ ต้นไม้ตระกูลยาง และในบทความนี้ Kaset today จะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักการปลูก การดูแล หรือแม้แต่การขยายพันธุ์ ที่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จัก และยังมีการพูดถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของต้น ยางกล่องอีกด้วย 

ข้อมูลทั่วไปของยางกล่อง

ชื่อภาษาไทย : ยางกล่อง

ชื่ออื่น ๆ :

  • ยางร่วง
  •  ยางร่อง (ภาคตะวันออก)
  •  ยูงดำ (ชุมพร, กระบี่)
  •  ยูงเหียง (สุราษฎร์ธานี)
  • เยี่ยง (บุรีรัมย์)
  • อีโต้ (สตูล)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Keruing

ชื่อวิทยาศสาตร์ : Dipterocarpus dyeri Pierre ex Laness.

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE


แหล่งกำเนิด

ยางกล่องมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในพบขึ้นบริเวณป่าดิบแล้งทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 350 ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย

  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่-ป่าเขาไฟไหม้)
  • ป่าสงวนแห่งชาติป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม

ขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่พม่า กัมพูชา เวียตนาม และมาเลเซีย ขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง 50-350 เมตร ออกดอกและผลเดือน พฤศจิกายน – สิงหาคม


ความเชื่อ

เนื่องจากต้นยางกล่องเป็นไม้ในตระกูลยาง จึงมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อว่าเป็นต้นไหมที่เป็นที่สิงสถิตของอารักษ์ และวิญญาณบรรพบุรุษ  โดยโบราณนั้นชาวไท และชาวลัวะ (ชนพื้นเมืองทางภาคเหนือ)

เชื่อกันว่าต้นยาง  นั้นเป็นต้นไม้ “เสื้อบ้านเสื้อเมือง” และยังถือว่าเป็นต้นไม้ “หมายเมือง” ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชุมชน  ด้วยเพราะต้นยางนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ ที่ใช้เวลานานในการเจริญเติบโต ทำให้อยู่คู่กับวิถึชีวิตคนรุ่นต่อรุ่นนั่นเอง

ยางกล่อง
credit : mgronline
เกร็ดความรู้ ! ไม้หมายเมืองคืออะไร

ไม้หมายเมืองเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก เป็นต้นไม้ที่กษัตริย์คอยอุ้มชู เพราะเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่และแสดงถึงจิตวิญญาณของเมือง

การพยากรณ์ของต้นยางกล่อง

รู้ไหมว่า ต้นไม้ตระกูลยางนั้นมีความสามารถในการพยากรณ์อากาศ ซึ่งก็รวมต้นยางกล่องด้วยและก็ได้มีข้อมูลจาก อาจารย์นพพร ซึ่งกล่าวว่า ต้นไม้สามารถรับรู้มวลอากาศล่วงหน้าได้ แล้ววางแผนออกดอกเพื่อให้ผลแก่จัดและร่วงจากต้นพอดิบพอดีกับวันฝนตก น้ำหลาก หรือพายุลมแรง

ดังนั้นหากอยากรู้ว่าฝนจะตกมากหรือน้อย หรือมีพายุฝนเมื่อใด ก็สามารถดูจากได้ช่วงออกดอกจนถึงผลแก่จัดของต้นไม้ หากต้นไม้รู้ในโอกาสต่อมาว่าฝนจะไม่ตก ต้นไม้จะไม่ทิ้งดอกหรือผลไปโดยไม่ให้มีผลแก่บนต้น

ไม้ตระกูลยางนาต้องพึ่งพาลมและฝนพัดพาเมล็ดไปตกที่ไกลๆ และผลต้องงอกภาย 3 วัน หรือหากโดนแดด 3 วันผลยางจะเสีย ต้นไม้ตระกูลยางนาจึงเป็นต้นไม้พยากรณ์พายุฝนที่แม่นยำที่สุด ในวันที่ในตกอาจไม่มีเมล็ดต้นไม้วงศ์ยางนาแก่ก็ได้ แต่หากเมล็ดไม้วงศ์ยางนาแก่จะมีพายุลมฝนเสมอ อาจารย์นพพรกล่าว


ลักษณะทั่วไปของยางกล่อง

  • ลำต้น

ต้นยางกล่องนั้นเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  ไม่ผลัดใบที่มีความสูงได้มากถึง 40-50 เมตร ลำต้นมีลักษณะตรง เปลือกต้นหนาและแตกเป็นสะเก็ด หรือบางต้นก็ค่อนข้างเรียบ  สีเทาอ่อน ส่วนเนื้อไม้จะมีสีแดง กิ่งอ่อนและหูใบมีขนยาวสีเหลืองคลุม โคนต้นมี พูพอน ต้นอยางกล่องนั้นไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก โดยมากมักเกิดขึ้นในป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น หรือเปล่าเบญจพรรณ รวมทั้งพื้นที่ต่ำใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป

ยางกล่อง
credit : tropical.theferns.info
  • ใบ

ลักษณะของใบต้นยางกล่องมีขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ถึงรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม เรียวยาวใบมีลักษณะตั้งโคนใบค่อย ๆ เรียวแคบลงมาคล้ายกับปลายใบผิวใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ 18–22 คู่มีความกว้าง 10-18 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17-40 เซนติเมตรใบอ่อนจะมีน้ำตาลแดง ก้านใบสีเขียว

ยางกล่อง
credit : สร้างโอกาส TV
  • ดอก

ดอกของต้นยางกล่องนั้นจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน สีดอกสีชมพู โดยจะออกรวมกันเป็นช่อยาวตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งอ่อน แต่ละช่อจะมีประมาณ 4-5 ดอก กลีบดอกมี 5 แฉก

  • ผล

ผลรูปกลมรีขนาดพอ ๆ กับไข่ไก่ ตัวผลนั้นจะมีผิวเกลี้ยง มีปีกยาวใหญ่คล้ายกับผลของต้นยางที่เรามักพบกันอยู่บ่อย ๆสีผลยางกล่องจะเป็นสีน้ำตาลอมแดง ภายในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีขนสั้นหุ้ม มีติ่งแหลม ต้นยางนาจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

ยางกล่อง
credit : npic-surat

ความแตกต่างระหว่างยางนาและยางกล่อง

ยางกล่อง
credit : สร้างโอกาส TV – ยางนา
ยางกล่อง
credit : สร้างโอกาส TV – ยางกล่อง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ต้นยางกล่องนั้น มักนิยมการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด โดยเมล็ดที่ใช้นั้นจะใช้เมล็ดที่ผ่าออกมาจากผลที่อยู่ในช่วงผลเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ให้เก็บเมล็ดจากต้น

แต่เนื่องจากต้นยางกล่องนั้นบางต้นมีขนาดที่สูงมาก ก็อาจใช้ผลที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นแต่ควรเลือกที่ยังค่อนข้างสดมาก ๆ เพราะหากปล่อยไว้นานหรือเลือกผลที่ร่วงมานานอาจทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าหรือมีอัตราการตายสูง

หากพบความชื้นในผลน้อยกว่า 30% ไม่ควรนำมาใช้ในการเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดอาจใช้เวลาในการงอกประมาณ 5-6 เดือน หลังจากนั้นจึงสามารถย้ายกล้าพันธุ์ลงแปลงปลูกได้


การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ชอบแสงแดดเต็มวัน แต่ในต้นกล้าไม้ควรปลูกโดยมีสแลนกากกันแดดไปก่อนสักพัก

  • น้ำ

ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงกล้าไม้ แต่พอโตแล้วสามารถรกน้ำ 4-5 ครั้งต่อ 1 อาทิตย์ได้ แต่ปกติแล้วเป็นไม้ที่ทนแล้งได้ จึงไม่น่าเป็นห่วง

  • ดิน

สามารถปลูกในดินได้ทุกแบบ เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินถม ที่สามารถระบายน้ำได้

  • ปุ๋ย

เป็นไม้ที่ไม่จำเป็นต้องบำรุงอะไรมากนัก แค่เติมปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก หรืออาจจะใส่ปุ่ยที่บำรุงต้นบำรุงใบก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนการปลูก

  • ระยะการปลูกเวลาที่เหมาะสมในการปลูกต้นยางกล่องนั้นควรที่จะเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน
  • การเตรีบมพื้นที่เหมาะสม และการเตรียมดิน ก่อนที่จะนำเมล็ดไปเพาะชำ ซึ่งสามารถเริ่มทำการเพาะในถุงดำก่อนก็ได้ ดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ด ในช่วงแรกนิยมใช้ทรายร่วนผสมด้วยยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราทำลายกล้าไม้ที่งอกหลังจากที่ตัดปลีกเมล็ดออกแล้วให้วางเรียงเมล็ด
  • การเตรียมเมล็ด ก่อนนำเมล็ดไปเพาะ ควรตัดปลีกออกก่อน แล้วนำไปเพาะลงในถาดเพาะโดยกดเมล็ดให้จมในทราย ปลายเมล็ดอยู่ในระดับผิวทรายแล้วโรยทับด้วยขุยมะพร้าว
  • ควรหมั่นรดน้ำทุกเช้าเย็นให้ เกิดความชุ่มชื่นที่เพียงพอจะทำให้เมล็ดงอกเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเมล็ดงอกแล้วสามารถย้ายลงไปปลูกในถุงเพาะชำต่อไป
  • ส่วนการขุดหลุมแนะนำให้ขุดหลุมขนาด 30 * 30 * 30 เซนติเมตร ที่ก้นหลุมควรใช้ดินร่วนซุยหรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้น เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรขุดหลุมในระดับผิวดินเพื่อป้องกันน้ำขัง  
  • การจัดระยะห่างในการเพาะต้นยางกล่อง ควรเว้นระยะห่างประมาณ 4×4 เมตร จะทำให้อัตราการรอดตายสูงและเจริญเติบโตได้ดี

การดูแล

  • สำหรับโรค : โรคที่ต้องระวังในการเพาะต้นยางกล่อง ได้แก่ เชื้อรา และโรคเน่าคอดิน
  • แมลง : แมลงศัตรูพืชที่ควรระวัง คือ หนอนบุ้ง เนื่องจากมันชอบกัดกินใบให้เกิดความเสียหาย รวมถึงด้วงงวงที่มักจะเจาะกินเมล็ดด้วย

ประโยชน์ และสรรพคุณ

ประโยชน์

  • ต้นยางกล่องสามารถปลูกไว้เพื่อความสวยงาม และให้ร่มเงา ที่สำคัญยังปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านระบบนิเวศทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมอุณหภูมิในอากาศ หรือป้องกันการพังทลายของหน้าดินโดยทั่วไป ๆ นั้นบริเวณโคนต้นใกล้พูลคอน นั้นเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซ่า ทั้งในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ซึ่งเรียกว่า เห็ดยาง ในช่วงฝนแรกของทุกปี จะพบเห็ดเกิดขึ้นมาหลากหลายชนิดนำไปเป็นอาหารได้
  • ต้นยางกล่อง นั้นมีลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นยางชนิดอื่น คือ เป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นตรง ไม่ค่อยมีกิ่งก้าน เนื้อไม้ที่มีความแข็งแรงในระดับปานกลาง สามารถนำไปแปรรูป โดยใช้ประโยชน์ในด้านการก่อสร้างบ้านเรือน หรือนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ สามารถใช้งานภายนอกได้ทนทาน จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อมาได้ค่อนข้างมาก หากนำมาใส่กบ ให้ดูสวยงาม อาจสร้างมูลค่าจากการขายได้สูงเลยทีเดียว
  • น้ำมันยาง สามารถนำมาใช้อุดรอยรั่วของน้ำ หรือใช้ทาไม้ผสมขี้เลื่อยเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟ ที่สำคัญน้ำยางจากต้นยางนายังสามารถใช้ทำน้ำมันชักเงา สีทาบ้าน และหมึกพิมพ์

สรรพคุณทางยา

  • น้ำต้มจากเปลือก เป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถู นวดขณะร้อนๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ
  • น้ำมันยาง ใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่ายซึ่งคั่วให้เกรียม และบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟัน แก้ฟันผุ
  • เมล็ดและใบ ต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน น้ำมันยาง ผสมกับแอลกอฮอล์ รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้

ต้นยางกล่อง เป็นต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าและไม่ได้พบได้ทั่วไป เมื่อพูดถึงราคาซื้อขายของต้นยางกล่อง นั้น เรียกได้ว่าไม้ยางนาในปัจจุบันมีราคาที่สูง เนื่องจากว่าต้นยางกล่อง ในประเทศไทยที่มีขนาดลำต้นใหญ่ และตรงกับความต้องการนั้นหายาก ทำให้มีเกษตรหลาย ๆ คนได้ทำการเพาะชำต้นกล้าขาย

เรื่องราวของต้นไม้ยังมีอีกมากมายที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ พืชพรรณสมุนไพร ให้เราได้ติดตามและได้ทำความรู้จักอย่างวันนี้ที่เราได้นำเรื่องราวของต้นยางกล่องต้นไม้ที่เราไม่ค่อยได้พบได้บ่อย ๆ ต้นยางอีกหนึ่งชนิดที่มีความน่าสนใจมานำเสนอ สำหรับในครั้งต่อไปเราจะนำเรื่องราวของต้นไม้ พืชพรรณอะไรมานำเสนออย่างลืมติดตามกันนะ

และตอนนี้ทางเราก็มีช่องทางติดตาม อีก 1 ช่องทาง นั้นก็คือ “เพจเฟสบุ๊ค” นั้นเอง ในนั้นเราก็จะมีบทความและสินค้าที่น้าสนใจ ที่จะเสนอกับเหล่า Kaset today’Fan กัน ถ้าไม่อยากพลาดขรับข่าวสารดี ๆ ก็อย่าลืมไปกดติดตามกันนะ

แหล่งอ้างอิง

ยางกล่อง
ยางนาพรรณไม้ในพระราชา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
greenworld
tropical.theferns
กล้าไม้
สวนพฤษศาสตร์ระยอง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้