รำเพย ไม้ยืนต้นดอกสีเหลือง ควรปลูกดีไหม มีพิษจริงรึเปล่า

รำเพย พันธุ์ไม้ยืนต้นดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนสลับการอย่างสวยงาม แต่ที่ขริงแล้วดอกรำเพยมีสีมากกว่า 3 สีที่พบเห็นในประเทศไทย มีสีอะไรบ้างต้องตามอ่านกันจนให้จบนะทุกคน ต้นไม้ชนิดนี้มีทรงต้นที่สวย ปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี และอะไรที่ทำให้ต้นรำเพยยังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป และยังมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย

credit : samunpri
รำเพย ไม้ประดับยืนต้นขนาดกลางที่ Kaset today เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยเห็นกันมาแล้ว เพราะเกือบทุกโรงเรียนมัธยม จะมีปลูกกันทั่วประเทศ เนื่องด้วยมันเป็นไม่ที่ไม่ผลัดใบ หรือใบร่วงน้อยมาก มีดอกที่สวยงาม แต่ก็มีคำเตือยเกี่ยวกับการปลูกในบริเวณที่มีเด็กเล็ก หรืออยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ช่วงรู้ช่างเห็น ทำไมถึงเป็นแบบนั้นละ ว่าบางคนก็บอกว่าต้นรำเผยมีพิษ แต่ส่วนไหนของต้นที่มีพิษ วันนี้เราจะพาไปหาความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ชนิดนี้กัน

และเรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกการดูแล และการขยายพันธุ์แบบง่าย ๆ ที่ทุกคนก็สามารถทำได้ ในตอนทุกท้ายเราจะเอาไอเดียดี ๆ ในการนำต้นรำเพยไปจัเสวน ยังไงให้สวนและคุ่มค่ากับพื้นที่ของคุณมากที่สุด ใครไม่อยากพลาดข้อมุลดี ๆ ก็ต้องอ่านให้จบเลยนะ

ข้อมูลทั่วไปของรำเพย

ชื่อภาษาไทย : รำเพย

ชื่ออื่น :

  • กะทอก, บานบุรี (กรุงเทพฯ)
  • แซน่าวา, แซะศาลา, รำพน (ภาคเหนือ)
  • ยี่โถฝรั่ง (กรุงเทพฯ และ ภาคกลาง)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Trumpet flower, Lucky Bean, Lucky Nut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thevetia peruviana (Pers.) K.Schum.

ชื่อสกุล : APOCYNACEAE’ ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับโมก ลีลาวดี และยี่โถ


รำเพย…มีอะไรน่าสนใจ

รำเพยเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน เทพศิรินทร์ ชื่อรำเพยนี้ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงตั้งตามพระนามของพระราชนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ซึ่งก็คือ หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ หรือต่อมาคือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาและพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู แล้วถูกจัดเป็นไม้ขนาดกลาง และในปัจจุบันก็มีกระจายพันธุ์ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ลักษณะทั่วไปของรำเพย

  • ลำต้น

เป็นประเภทไม้ไม่ผลัดใบที่มีขนาดความสูงประมาณ 2-3 เมตร บางทีเป็นลักษณะทรงพุ่มและเรือนยอดเป็นทรงกลม เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลและเรียบ ทุกส่วนของต้นจะมีน้ำยางสีขาวที่มีความเป็นพิษ

รำเพย

credit : 6070646
  • ใบ

จะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งออกในลักษณะเรียงสลับกันถี่ และใบเป็นรูปขอบขนานที่เรียวแคบ ความกว้างของใบราวๆ 0.6-0.8 เซนติเมตร ความยาว 8-10 เซนติเมตร โคนใบจะสอบ ปลายใบมีความแหลม ขอบใบเรียบๆ ตัวแผ่นใบจะหนาและมีสีเขียวเรียบกับเป็นมัน ส่วนก้านใบจะสั้น

รำเพย
credit : nanagarden
  • ดอก

จะออกเป็นช่อตรงที่ส่วนปลายของกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 3-4 ดอก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางดอกราว 3-4 เซนติเมตร  กลีบดอกมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก แล้วกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวและเป็นแฉกเหมือนรูปดาว ซึ่งมีอยู่จำนวน 5 กลีบ  ดอกมีสีโอรสกับมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ระยะการออกดอกจะออกได้ตลอดทั้งปี

ทุกคนรู้ไหมว่าดอกรำเพยมีทั้งหมด 3 สี ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ สีขาว สีเหลือง และ สีโอรส

รำเพย
credit : wikipedia
รำเพย
credit : wikipedia
รำเพย
credit : wikipedia
  • ผล

มีรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร แล้วเป็นสันหนาและมีรอยผ่าเป็นแนวตรงกลาง ผิวของผลจะเรียบกับมีสีเขียว ผลเมื่อสุกจะเป็นสีดำ ข้างในผลมีเมล็ดอยู่จำนวน 1-2 เมล็ด (หมายเหตุ : ผลมีความเป็นพิษทั้งผล)

รำเพย
credit : wikipedia
รำเพย
credit : wikipedia

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ก็เช่นเดียวกับไม้ขนาดกลางอื่นๆ ซึ่งทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ และ การตอนกิ่ง สามารถเลือกขยายพันธุ์ได้ตามความชำนาญ


การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

เรื่องแสงควรจะปลูกไว้กลางแจ้งหรือที่ที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน

  • น้ำ

ส่วนความต้องการน้ำก็จะอยู่ในระดับปานกลาง เพราะต้นรำเพย ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

  • ดิน

เป็นพืชที่ปลูกง่ายและมีความทนทานต่อสภาวะอากาศได้ดี โดยสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทรายจะมีการเจริญเติบโตที่ดี

  • ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นใบช่วง หน้าร้อน เป็นสูงเสมอ พอเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หรือฤดูหนาว ก็เริ่มใส่ปุ๋ยบำรุงดอก จะทำให้โอกาสออกดอกมีมาก และดอกจะดกเต็มต้น

การดูแล

เป็นต้นไม้ที่เลี้ยงดูง่าย ทำให้ยิ่งเรามีการตัดแต่งกิ่งมากเท่าไร พุ่มต้นก็จะหน้าใบเยอะ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช ถึงแม้วว่าเป็นต้นไม้ที่ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ แต่ถ้าได้น้ำทุกวัน หรือปลูกใกล้แหล่งน้ำ ก็จะดีต่อการเจริญเติบโตมากทีเดียว


ประโยชน์

ด้านคุณประโยชน์ ทุกส่วนของต้นจะมีคุณสมบัติทางสมุนไพร ได้แก่

  • ต้น ใช้แก้โรคผิวหนัง
  • เปลือกใช้แก้ไข้ ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาถ่าย และใช้เพิ่มความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ
  • ใบใช้เป็นยาถ่าย ใช้ทำให้อาเจียน และใช้ช่วยในการรักษาโรคเอดส์
  • เมล็ด ใช้เพียงเล็กน้อยจะเป็นยาช่วยบำรุงหัวใจ หากใช้มากจะทำให้หัวใจเป็นอัมพาตกับลำไส้เล็กบีบตัวและตัวเย็น เป็นเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิต (หมายเหตุ : เมล็ดและยางเป็นส่วนที่มีพิษถึงแก่ชีวิตจึงควรระมัดระวังอย่างมาก) แล้วเนื่องจากเมล็ดและยางมีพิษ มันจึงสามารถปลูกไว้เพื่อไล่หนูได้ แล้วด้วยลักษณะของใบที่มีความเรียวยาวแหลมจึงทำให้ย่อยสลายได้ง่ายเหมาะแก่การนำไปทำปุ๋ยหมักมาก

รำเพยปลูกแล้วเป็นอันตรายไหม

เนื่องจากต้นรำเพยเป็นต้นไม้ในวงศ์ของต้นลีลาวดี และต้นยี่โถ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกสวยงาม แต่ก็มีสิ่งที่เป็นอันตรานั้นก็คือ “น้ำยางสีขาว” เนื่องจากในน้ำยางมีพิษอ่อน ๆ แต่ถ้าได้รับเพียงนิดเดียวก็ไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก แต่ก็สร้างความระคายเคืองผิวได้อาจคุณได้สัมผัส

เมล็ดและยางเป็นส่วนที่มีพิษหากรักษาไม่ทันท่วงทีอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นควรจะรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยลักษณะอาการเมื่อโดนพิษมีดังนี้

  • น้ำยางถูกบริเวณผิวหนัง จะเกิดอาการแพ้ แดง ผืนคัน แสบ
  • ถ้ากินเมล็ดเข้าไป จะมีอาการชาที่ลิ้นและปาก แล้วก็เกิดปวดแสบปวดร้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ง่วงนอน ม่านตาขยาย ความดันโลหิตลดต่ำลง หัวใจเต้นผิดปกติ ชีพจรเต้นช้าลง และอาจจะมีท้องเสีย

โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่ยังมีผิวหนังที่ยังไม่แข็งแรงมากนัก การโดยน้ำยางสีขาวเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดผื่นแดง หรือ อาการแสบคันได้ จึงควรต้องระมัดระวัง หรือ บอกและสอนให้พวกเขาได้เข้าใจ เพราะถ้าเกิดความเข้าใจ ต้นไม้ก็จะเป็นเพียงสิ่งที่ให้ความสดชื่นแก่คนในบ้าน โดยไม่สร้างปัญหากับลูก ๆ ของทุกคนแน่นอน


ไอเดียการนำรำเพยไปจัดสวย

นอกจากนี้ รำเพย (ดอกสีโอรส) ยังถูกนำไปใช้เป็นไม้ประดับสำหรับด้านภูมิทัศน์ด้วย เช่น ปลูกเป็นกลุ่มพุ่มเพื่อใช้บดบังสายตากับใช้เป็นฉากหลังและปลูกริมถนนกับริมทะเลได้ อีกทั้งยังสามารถปลูกในสวนได้หลากหลายสไตล์ เป็นต้นว่า สวนสไตล์ทรอปิคอล สวนสไตล์ไทย สวนสไตล์อังกฤษ สวนสไตล์บาหลี หรือสวนสไตล์ญี่ปุ่น

(ข้อควรระวัง : ไม่ควรจะปลูกใกล้บริเวณสนามเด็กเล่น เพราะเมล็ดและยางมีพิษจะทำให้เป็นอันตรายต่อเด็ก)


แหล่งอ้างอิง
อุทยานหลวงราชพฤษ์
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้