เคี่ยมคะนอง ปลูกเพื่อเพิ่มป่า แล้วปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจได้ไหม

เคี่ยมคะนอง (White Meranti, Meranti Sutera) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สามารถสูงได้ถึง 30 เมตร ในปัจจุบันเด็กสมัยใหม่ไม่ค่อยรู้จักไม้ป่าชนิดนี้ ที่เรียกได้ว่า ประเทศไทยได้มีการนำไม้ชนิดนี้มาทำประโยชน์ได้ไม่น้อยเลย และเรามั่นใจว่า ตอนนี้ยังมีอีกหลายคนที่กำลังสับสน ระหว่าง “เคี่ยม และ เคี่ยมคะนอง” ว่าแตกต่างกันอย่างไร มีวิธีการยังไงในการแยกดูว่าอันไหน เคี่ยม หรือ เคี่ยมคะนอง

เคี่ยมคะนอง
credit : NanaGadend
การพูดถึง "เคี่ยมคะนอง" นั้นน่าจะมีข้อมูลดี ๆ มากมายที่น่าสนใจ ให้เรามาทำความรู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็น แหล่งกำเนิด ลักษณะต่างๆของเขา การปลูกการดูแล และเรายังมาการพูดถึงความแตกต่างระหว่าง "เคี่ยม และ เคี่ยมคะนองอีกด้วย" 

และยังไม่พอในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกันว่าทำไม เราถึงจัดให้ต้น เคี่ยมคะนอง เป็นอีกหนึ่งไม้เศรษฐกิจกัน และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ และการนำต้นหรือเนื้อไม้ต้นเคี่ยมคะนองไปใช้ ที่ Kaset today จะมาบอกกันแบบไม่ปิดกันเลย ถ้าอยากรู้แล้ว ต้องตามมา

ข้อมูลทั่วไปของเคี่ยมคะนอง

ชื่อภาษาไทย : เคี่ยมคะนอง

ชื่ออื่น ๆ :

  • เคี่ยม (นครราชสีมา, ปราจีนยุรี)  
  • เชื่อม (สระบุรี นครราชสีมา)
  • ชันรุ่ง สยา สายา (สงขลา)
  • พนอง (ชลบุรี)
  • เคียนทราย (ประจวบคีรีขันธ์,ภาคใต้)

ชื่อภาษาอังกฤษ : White Meranti, Meranti Sutera

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea henryana Pierre

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpacae


ถิ่นกำเนิดเคี่ยมคะนอง

พบในประเทศในทวีปเอเชีย เช่น กัมพูชา, ลาว, มาเลเชีย, พม่า, เวียดนาม และ ไทย โดยเฉพาะชอบเกิดในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น และจัดเป็นไม้น่าปลูกในสวนป่า

ซึ่งต้นเคี่ยมคะนองสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย เพราะดูแลง่าย และมีอัตราการโต และการขยายพันธุ์ง่ายกว่า ต้นเคี่ยม


ลักษณะทั้วไปของเคี่ยมคะนอง

  • ลำต้น

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบลำลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูหนาๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง แบบรูปร่ม ออกสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนยาวสีน้ำตาลแดงอมขมพู เปลือกสีน้ำตาลแก่ หรือน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่อง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามยาวลำต้น และมีน้ำยางใสๆ สีเหลืองซึมออกมา เปลือกในสีส้มหรือเหลืองอ่อน

เคี่ยมคะนอง
credit : หินสร้าง เครือบุตร
  • ใบ

หูใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนมน ปลายสอบเรียว ใบอ่อนมีขนนนุ่มทางด้านท้องใบ ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง บางทีออกสีชมพูอื่นๆ ก้านใบมีขนนุ่มหรือเกือบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 2.5 – 3 เซนติเมตร ยาว 6 – 8.5 เซนติเมตร ใบเมื่อแห้งจะมีสีดำ ตามก้านจะมีหูใบ (คล้ายติ่งอยู่)

เคี่ยมคะนอง
credit : NanaGadend
  • ดอก

ดอกเล็ก สีขาว หรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง

เคี่ยมคะนอง
credit : thaiidentity
  • ผล

ลักษณะของผลคล้ายกับลูกของต้นยาง แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เป็นรูปทรงกลม มีขนาดเล็ก ผลมีขนาดประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีปีก 5 ปีก แบ่งเป็นปีกยาว 2 ปีก ปลายปีกมนเรียวสอบมาทางโคน มีเส้นตามยาว 5 เส้น และปีกสั้นอีก 3 ปีก ลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 1 ใน 3 รองรับผลอยู่ และจะติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

เคี่ยมคะนอง
credit : Chairat Suratthani

ความแตกต่างระหว่าง “เคี่ยมคะนอง และ เคี่ยม”

ใครที่กำลังสับสนความแตกแต่างระหว่าง “ต้นเคี่ยมคะนอง” และ “ต้นเคี่ยม” ว่ามันต่างกันอย่างไร ทำไมถึงใช้ชื่อเหมือนกัน แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อใช้แยกความแตกต่าง และด้วยปัญหาเหล่านี้ ทาง Kaset today จึงมี — วิธี เพื่อช่วยให้คุณรู้จักและแยกต้นไม้ทั้ง 2 ต้นได้อย่างชัดเจน

ความต่างที่ 1 : สถานที่อยู่

  • เคี่ยมคะนอง : เป็นต้นไม้ชอบเกิดในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ เปนต้นไม้ที่สามารถพบเจอได้ทั่วประเทศ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าเราจะเห็นเลยว่า ต้นเคี่ยมคะนองมีชื่อเรียกหลากหลาย ในแต่ละท้องถิ่น และนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เรารู้ว่า ต้นไม้ชนิดนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ขึ้นเองตามธรรมชาติก็มีการเรียกชื่อตามท้องถิ่นนั้นเอง
  • เคี่ยม : ถ้าเรารู้จักต้นเคี่ยมดี เราจะรู้ว่าต้นเคี่ยมเป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนั้นก็ทำให้เรารู้ว่า ถิ่นกำเนิดของต้นเคี่ยมนั้น จะอยุ่ทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นส่วยใหญ่ และมีไปถึงประเทศอินดดนีเซีย อาจจะด้วยสายพันธุ์และลักษณะการใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการเจริญเติบโต เช่น ดิน ความชื้น ปริมาตรฝนในแต่ละปี และในปัจจุบันต้นเคี่ยมนั้นจัดว่าเป็นไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ เพราะการเพาะเมล็ดถึงจะเป็นวิธีที่คนนิยม แต่ก็เพาะยากเช่นกัน ซึ่งนั้นก็เพราะว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมของเมล็ดต่อการเพาะนั้นสั้นมาก

ความต่างที่ 2 : ลักษณะใบ

  • ใบของเคี่ยมคะนอง : จะยาวเรียว เห็นเส้นใบชัดเจน ใบเป็นมัน ขอบใบเรียบ ใบไม่หนาเท่าใบเคี่ยม ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบเคี่ยม ปลายใบเรียวแหลม ลักษณะการออกใบเป็นแบบใบเลี้ยงคู่ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
เคี่ยมคะนอง
credit : วรากรสมุนไพร
(เคี่ยมคะนอง)
  • ใบเคี่ยม : แผ่นใบทรงรีไข่เกือบกลม แผ่นใบเรียบหนาเป็นมัน ขอบใบรียบ จะเห็นเส้นใบชัดเพียง 1 เส้น คือ เส้นกลางใบ ตัวใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงตัวในแบบสลับใบซ้ายขวา เป็นไม้ผลัดใบ
เคี่ยมคะนอง
credit : วรากรสมุนไพร
(เคี่ยม)

ความต่างที่ 3 : ลักษณะลำต้น

  • ลำต้นของเคี่ยมคะนอง : เป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องและมีสะเก็ตยาว มีความคล้ายต้น “พะยอม” มีขนอ่อนสีน้ำตาลที่ยอด ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน บริเวณโคนต้นจะ “มีพูพอน” บาง ๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 1-1.2 เมตร ในต้นที่มีอายุมาก ๆในป่า สามารถสูงได้ถึง 20-30 เมตร
  • ลำต้นของเคี่ยม : เป็นสีน้ำตาลอมแดง หรือบางทีก็จะเห็นเหมือนสีกะปิ ลำต้นค่อนข้างเรียบกว่าต้นเคี่ยมคะนอง บริเวณโคนต้น “ไม่มีพูพอน” มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 1.7-1.9 เมตร ในต้นที่มีอายุมาก และมักจะพบในป่าเท่านั้น สามารถสูงได้ถึง 30-50 เมตร สูงกว่าต้นเคี่ยมคะนอง

แต่สิ่งที่เหมือนกัน

ต้นเคี่ยม Cotylelobium melanoxylon Pierre.
กับ ต้นเคี่ยมคะนอง Shorea henryana Pierre มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ ไม้ทั้ง 2 ตัว จัดเป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์เดี่ยวกันนั้นก็คือ DIPTEROCARPACEAE และทั้ง 2 ก็เป็นเป็นเศรษฐกิจที่ยังคงไม้รับความนิยมอยุ่


การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ต้นเคี่ยมคะนอง หรือ เคี่ยม นั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธี

  • การเพาะเมล็ด
  • วิธีการตอนกิ่ง

และถึงแม้ทั้ง 2 วิธีจะเป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก แต่ก็ต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ ถ้าเป็นการเพาะพันธุ์ต้นเคี่ยมคะนอง จะขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าการขยายพันธุ์ของต้นเคี่ยม

วัสดุที่แนะนำให้ใช้ตอนเพาะพันธุ์คือ ทรายหยาบ ขุยมะพร้าว หรือ พีสมอสสำหรับคนที่มีทุนสูง แต่ขอให้เป็นวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดีแต่ก็ต้องระบายน้ำได้ดีเช่นกัน


การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ชอบแสง แต่ในระยะแรกของการปลูกปี 1-2 ต้องการแสงประมาณ 70-75%

  • ดิน

เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.2-4.5

  • น้ำ

จะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้รับน้ำปานกลางถึงมาก แต่ระบายน้ำได้ดี และความบรรยากาศที่มีความชื้นสูง

  • ปุ๋ย

เป็นไม้ที่ไม่ต้องดูแลในเรื่องของปุ๋ยมากนัก อาจจะมีการเติมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เดือนละครั้ง ก็พอ หรือจะเอาเศษอาหารไปกลบฝั่งให้ห่างจากต้นประมาณ 30-100 ซม. เพื่อเสริมธาตุอาหารรอง

ขั้นตอนการปลูก

  • สำหรับวิธีการปลูกต้นตะเคี่ยมคะนอง  ควรเลือกพื้นที่หรือเตรียมดินปลูกที่เหมาะสม ก่อนนำเมล็ดไปเพาะ ควรตัดปลีกออกก่อน และดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ด ในช่วงแรกนิยมใช้ทรายร่วนผสมด้วยยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราทำลายกล้าไม้ที่งอกหลังจากที่ตัดปลีกเมล็ดออกแล้วให้วางเรียงเมล็ด โดยกดเมล็ดให้จมในทราย ปลายเมล็ดอยู่ในระดับผิวทรายแล้วโรยทับด้วยขุยมะพร้าว เมล็ดจะงอกภายในระยะเวลาประมาณ 8 วัน
  • ควรหมั่นรดน้ำทุกเช้าเย็นให้ เกิดความชุ่มชื่นที่เพียงพอจะทำให้เมล็ดงอกเร็วยิ่งขึ้น เมื่อเมล็ดงอกแล้วช่วงระยะเวลา 8 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 35 ซม. สามารถย้ายปลูกต่อไป
  • ระยะการปลูกที่เหมาะสมนั้นเป็นช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน
  • ส่วนการขุดหลุมแนะนำให้ขุดหลุมขนาด 30 * 30 * 30 เซนติเมตร ที่ก้นหลุมควรใช้ดินร่วนซุยหรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้น เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรขุดหลุมในระดับผิวดินเพื่อป้องกันน้ำขัง  

การดูแล

  • โรคพืช

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าต้นตะเคี่ยมคะนองนั้นเป็นต้นไม้ยืนต้นที่อยู่ในวงศ์เดียวกับต้นยาง ดังนั้นโรคและศัตูรที่มักพบบ่อย ๆ นั้นต้นไม้วงศ์นี้ก็จะได้แก่ โรคเชื้อรา โดยเฉพาะระยะที่เป็นเมล็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้ส่วนระยะที่เป็นกล้าแล้ว โรคที่ต้องระวังได้แก่ โรคเน่าคอดิน รวมถึงแมลงศัตรูพืชต่างๆ อาจเจาะกินเมล็ดและรากทำให้ต้นเกิดการเสียหายได้

  • แมลงศัตรูพืช

ศัตรูพืชอีกหนึ่งชนิดที่ควรระวัง คือ หนอนบุ้ง เนื่องจากมันชอบกัดกินใบให้เกิดความเสียหาย รวมถึงด้วงงวงที่มักจะเจาะกินเมล็ดด้วย


ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์ของเคี่ยมคะนอง

  • เนื้อไม้มีความละเอียด แข็ง หนัก และเหนียว มีความทนทานสูงมาก ใช้ในน้ำมีความทนทานดี เช่น การใช้ทำเป็นเรือ หรือจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมาก ๆ เหมาะสำหรับใช้ทำไม้พื้น ไม้กระดาน เสาเรือด รอดตง อกไก่ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ต้องตากแดดตากฝน ฯลฯ และมีการใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพานรองหนุนเสาเรือ เพื่อใช้ลากเรือนทั้งหลังในการย้ายบ้าน หรือใช้ทำเลื่อนในการชักพระ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ สะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ ทำหมอนรองรางรถไฟ รวมทั้งการนำไปทำลูกประสัก พายเรือแจว กรรเชียง ล้อเกวียน กระเดื่อง ครก สาก ตัวถังรถ ทำด้ามเครื่องมือ ฯลฯ โดยเลือกไม้ที่ยังสดอยู่ เพราะจะบิดและแตกได้ง่าย การเลื่อยหรือตบแต่งจึงควรทำในขณะที่ยังสดอยู่
  • ในการตีพร้านาป้อ (พร้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตรัง) จะใช้ถ่านที่ทำจากไม้เคี่ยม เพราะประหยัดและให้ความร้อนสูงไม่แพ้กับถ่านหิน
  • เปลือกต้นใช้ทุบผสมกับชันใช้สำหรับยาเรือ ชันเคียมใช้ผสมในน้ำยางทาไม้ น้ำมันทาไม้ และน้ำมันชักเงา
  • เปลือกไม้เคี่ยม นำมาตัดเป็นชิ้นขนาดประมาณ 1 x 2 นิ้ว หรือตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใส่ในกระบอกตาลรองรับน้ำตาลจากต้นตาล เพื่อใช้รสฝาด โดยรสฝาดของไม้เคี่ยมจะช่วยรักษาน้ำตาลไม่ให้บูดเร็วหรือบูดก่อนการนำมาเคี่ยว อีกทั้งยังใช้ใส่ในน้ำตาลเมาเพื่อให้มีรสกลมกล่อมอีกด้วย
  • ในทางด้านนิเวศน์และทางด้านภูมิสถาปัตย์ สามารถใช้เป็นดรรชนีเพื่อชี้วัดได้ว่าพื้นดินเหมาะสมต่อการทำเกษตรและที่อยู่อาศัย ใช้ปลูกเป็นกลุ่ม ๆ ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ใกล้ทะเล

สรรพคุณของเคี่ยมคะนอง

  • ยอด ราก ดอก และลำต้นใช้ผสมกับเปลือกหว้าต้มเป็นยาบ้วนปาก ช่วยแก้อาการปากเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง
  • เปลือกต้นใช้เป็นยากลางบ้าน สำหรับช่วยห้ามเลือดจากบาดแผลสด (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นใช้เป็นยากลางบ้าน สำหรับช่วยห้ามเลือดจากบาดแผลสด (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นใช้ยาสำหรับชะล้างแผล (เปลือกต้น)
  • ชันจากไม้เคี่ยมใช้เป็นยาสมานแผล
  • ยอด ราก ดอก และลำต้นใช้ตำพอกรักษาแผล แก้อาการฟกบวม เน่าเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)

ทำไมถึงจัดให้เคี่ยมคะนองเป็นไม้เศรษฐกิจ

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้น่าจะพอจะนึกกันออกแล้วใช่ไหมว่าการปลูกต้นเคี่ยมคะนองนั้นสร้างประโยชน์ให้กับเรามากแค่ไหน ทั้งด้านยา และด้านของเครื่องใช้ทั้งภาบในและภายนอก แถวต้นเคี่ยมคะนองยังเป็นหนึ่งในไม้ป่าที่นิยมนำไปปลูก เพื่อพลิกฟื้นผืนป่ากัน เพราะมีรากที่สามารถลดการสไลต์ตัวของหน้าดินได้ดี เพราะมี “พูพอน” ถึงจะมีพูพอนไม่ใหญ่เท่าต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นพระเจ้าห้าพระองค์ ก็ตาม

และด้วยประโยชน์ที่นับไม่ถ้วนนี้ ทำให้ต้นเคี่ยมคะนอง หรือจะเป็นต้นเคี่ยม ที่เราพูดถึงกันมาเบื้องต้นแล้ว ทั้ง 2 ต้นจัดถูกจัดอยู่ใน “ไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย” และยังเป็น 1 ใน 58 พันธุ์ไม้ที่รัฐบาลเปิดทางให้ใช้ค้ำประกันธุรกิจได้ในอนาคต และสามารถใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยื้มเงินในอนาคต ซึ่งเดี่ยวเรามาดูกันว่ามีต้นอะไรบ้าง

  1. ไม้สัก
  2. พะยูง
  3. ชิงชัน
  4. กระซิก
  5. กระพี้เขาควาย
  6. สาธร
  7. แดง
  8. ประดู่ป่า
  9. ประดู่บ้าน
  10. มะค่าโมง
  11. มะค่าแต้
  12. เคี่ยม
  13. เคี่ยมคะนอง
  14. เต็ง
  15. รัง
  16. พะยอม
  17. ตะเคียนทอง
  18. ตะเคียนหิน
  19. ตะเคียนชันตาแมว
  20. ไม้สกุลยาง
  21. สะเดา
  22. สะเดาเทียม
  23. ตะกู
  24. ยมหิน
  25. ยมหอม
  26. นางพญาเสือโคร่ง
  27. นนทรี
  28. สัตบรรณ
  29. ตีนเป็ดทะเล
  30. พฤกษ์
  31. ปีบ
  32. ตะแบกนา
  33. เสลา
  34. อินทนิลน้ำ
  35. ตะแบกเลือด
  36. นากบุด
  37. ไม้สกุลจำปี
  38. แคนา
  39. กัลปพฤกษ์
  40. ราชพฤกษ์
  41. สุพรรณิการ์
  42. เหลืองปรีดียาธร
  43. มะหาด
  44. มะขามป้อม
  45. หว้า
  46. จามจุรี
  47. พลับพลา
  48. กันเกรา
  49. กระทังใบใหญ่
  50. หลุมพอ
  51. กฤษณา
  52. ไม้หอม
  53. เทพทาโร
  54. ฝาง
  55. ไผ่ทุกชนิด
  56. ไม้สกุลมะม่วง
  57. ไม้สกุลทุเรียน
  58. มะขาม
credit : gfms.gistda.or.th
credit : gfms.gistda.or.th

แหล่งอ้างอิง

suansavarose
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
วรากรสมุนไพร
เอกสารวิจัย

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้