แมงลัก ผักสมุนไพรกลิ่งหอม ที่คุณควรปลูกในบ้านมีลักษณะอย่างไร

แมงลัก (hoary basil) ใครที่กำลังหาของทานเพื่อลดน้ำหนัก ต้นแมงลักก็น่าจะเป็น 1 ในตัวเลือกที่คุณน่าจะกำลังมองหาเลย เพราะในวันนี้เราจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับต้นแมงลักกันว่า มันมีลักษณะอะไรบ้างที่น่าสนใจ ส่วนไหนของต้นที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้ พร้อมกับวิธีการปลูกและการดูแล และเรายังมีสาระความรู้เกี่ยวกับอะไรที่น่าสนใจอีก ก็ต้องตามไปดูกัน

credit : jo-workman
เราเชื่อว่า คุณที่เข้ามาอ่านกันน่าจะเคยชินกับการกินเม็ดแมงลัก เพื่อให้อิ่มทำให้น้ำหนักลด และหิวน้อยลง แต่จากที่ Kaset today ตั้งใจสรรหาความรู้ดี ๆ เพื่อมาเล่าให้ทุกคนได้อ่าน เป็นงานวิจัยระดับมหาลัย ที่คุณยังไม่เคยรู้มาก่อน และงานวิจัยนี้ยังสามารถต่อยอดไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย ซึ่งเราเห็นว่ามันเป็นความรู้ที่น่าเอามาแชร์กัน ถ้าอยากรู้กันแล้ว งั้นก็ตามมาเลย

ข้อมูลทั่วไปของแมงลัก

ชื่อภาษาไทย : แมงลัก

ชื่ออื่น ๆ : ภาคเหนือ (ก้อมก้อข้าว) ภาคกลาง (แมงลัก, มังลัก) ภาคอีสาน (อีตู่)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Hoary basil, Lemon basil, Hairy basil, American basil และ Thai lemon basil’

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum americanum L.

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae

ชื่อสกุล : Ocimum

เกร็ดความรู้ ! สายพันธุ์แท้ในไทย

แมงลักในประเทศไทยนั้น มี "ศรแดง" เป็นสายพันธุ์หลักเพียงสายพันธุ์เดียว ที่เหลือเป็นพันธุ์ผสมบ้าง พันทางบ้าง ลักษณะของพันธุ์ศรแดงที่ดีนั้น ใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร

ลักษณะของแมงลัก

  • ลำต้น

จัดเป็นพืชประเภทล้มลุกที่มีอายุสั้น อายุโดยรวมอาจจะไม่ถึง 1 ปี ลักษณะของ ลำต้น มีเนื้อไม้แบบอ่อนและอวบน้ำ ความสูงอยู่ราวๆ 50 เซนติเมตร ตัวลำต้นและกิ่งก้านจะมีลักษณะออกทรงเหลี่ยม เปลือกของลำต้นเป็นสีเขียว รากของต้นสามารถอยู่ลึกลงไปได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นระบบรากแก้วกับรากฝอย

  • ใบ

เป็นใบเดี่ยว สีของใบมีสีเขียว ใบจะออกตามกิ่ง ปลายใบมีลักษณะแหลม โคนใบจะโค้งๆ มนๆ และมีขนอ่อนๆ ปกคลุม

  • ดอก

การออกดอกมีลักษณะเป็นช่อและออกเป็นกระจุก กลีบดอกจะมีสีเขียว

  • เมล็ด

จะอยู่ภายในดอกแก่ โดยจะมีลักษณะรูปรีแบนและเป็นสีดำ  


การขยายพันธุ์

สำหรับการขยายพันธุ์ของ แมงลัก ทำได้ด้วย การเพาะเมล็ด วิธีการ คือ

  • นำเมล็ดพันธุ์หว่านลงในแปลงหรือกระบะเพาะชำ
  • เมื่อต้นงอก (ต้นกล้า) และมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ให้ย้ายไปปลูกในแปลงที่มีการเตรียมดินไว้ แนะนำให้เป็นดินผสมแกลบดำ เพราะจะได้เป็นการป้องกันการเกิดราบนราก
  • ให้ตัดยอดและปลายรากของต้นกล้าที่ยาวเกินไปออก เพื่อที่จะให้ต้นได้แตกยอดเร็วขึ้น

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อเอาไว้ทำพันธุ์

เมื่อ แมงลัก เริ่มออกดอก หลังจากนั้นราว 150 วัน ถ้าช่อดอกมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลในลักษณะแห้งๆ ก็ให้ตัดช่อที่แห้งและรูดปลายช่อดอกลงไปถึงขั้ว แล้วนำดอกที่รูดได้ไปตากแดดประมาณ 3-4 แดด จากนั้นก็ขยี้ดอกให้ละเอียดพร้อมกับเอาเศษผงออกให้หมดด้วยการเป่าหรือใช้กระด้งฝัดออก ก่อนจะเก็บใส่ถุงที่เขียนวันเดือนปีไว้ และนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อรักษาอัตราการงอกและลดการหายใจของเมล็ดพันธุ์ โดยวิธีนี้จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้นานมากกว่า 2 ปี


การปลูกและการดูแลแมงลัก

การปลูก

  • แสงแดด

สามารถอยู่ได้ทั้งแสงแดดจัดและแสงแดดรำไร หรือสามารถกางสแลนจัดแดงได้ เมื่ออยุ่ในช่วงฤดูร้อน ที่ฝนไม่ค่อยตก เพราะช่วงลดอุณหภูมิในแปลงปลูกได้ด้วย

  • น้ำ

ควรจะให้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรจะทิ้งให้แห้งหรือรดน้ำจนแฉะเกินไป (ควรสังเกตดินที่ปลูก)

  • ดิน

ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุเยอะ ๆ ก็สามารถเร่งการเจริญเติบโตได้

  • ปุ๋ย

ปุ๋ยที่ใช้ควรจะเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ผ่านการหมักแล้ว และควรใส่ปุ๋ยครั้งแรก เมื่อต้นมีอายุได้ 40 วัน แล้วสังเกตดูหลังจากนั้นประมาณ 60 วัน จะมีการออกดอก ซึ่งถือว่าได้ต้นที่สมบูรณ์แล้ว   

การดูแล

  • โรคและศัตรูพืช

อาจจะมีโรคใบหงิกเกิดขึ้นบ้าง และมีอาการราก หรือโคนเน่า หากได้รับน้ำมากเกินไป หรือ วัสดุปลูกแฉะและมีน้ำขัง

สามารถแก้โรคหงิกด้วยน้ำหมักหัวปลี ฉีดพ้นรดใบทั้งบนใบและหลังใบ 1-3 วันครึ่งช่วงเช้า เย็น หรือหลังฝนตก

  • การตัดแต่ง

ควรมีการตัดแต่งทุก ๆ 15 วัน เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่อย่างสม่ำเสมอ กำจัดใบบริเวณโคนต้น หรือ เอาใบเก่าใบแห้งออก เป็นอีกวิธีในการป้องกันรา และเลี่ยงการเป็นที่อยู่อาศัยของมด ซึ่งเป็นพาหะนำพวงเพลี้ยงมาไว้ที่ยอด หรือใต้ใบ ทำให้การเจริญเติบโตทำไม่ค่อยดี ใบเล็ก หรือใบเหี่ยวลงได้


ประโชนย์น่ารู้

ประโยชน์ของ แมงลัก นั้นมีมานาน เพราะเป็นพืชผักที่ใช้ในครัวในการทำอาหารหลายเมนู เป็นต้นว่า ส่วนของใบจะใส่ลงไปใน…ห่อหมก แกงเลียง แกงอ่อม แกงคั่ว ขนมจีนน้ำยา และแกงหน่อไม้ เป็นต้น ส่วนของเมล็ดจะนำไปใช้ทำขนม หรือผสมกับเครื่องดื่ม อาทิ น้ำเต้าหู้ น้ำขิง หรือน้ำใบเตย แถมเด็กและผู้ใหญ่ สามารถรับประทานได้แถมยังมีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรด้วย

แมงลัก
credit : thailandplus

ด้านสรรพคุณทางยาของ แมงลัก ก็มีมากมาย ดังนี้

  • ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยอาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด ไม่สบายท้อง โดยให้นำต้นและใบไปต้ม แล้วดื่มน้ำ
  • ช่วยขับเหงื่อ เมื่อใดที่มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่สบายตัว ให้ดื่มน้ำต้มของส่วนต้นและใบ
  • ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยใช้ใบ 1 กำมือ ล้างน้ำสะอาด แล้วโขลกและคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล
  • ช่วยบรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ โดยใช้ใบ 1 กำมือ ล้างน้ำสะอาด แล้วโขลกและคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล ให้ดื่ม3 เวลา (เช้า-กลางวัน-เย็น)
  • ช่วยบรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษจากสัตว์กัดต่อย หรืออาการคันจากเชื้อรา โดยใช้ใบสดโขลก แล้วพอกบริเวณที่มีอาการ
  • แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย โดยใช้ใบ 2 กำมือ ล้างให้สะอาดแล้วโขลกและบีบคั้นน้ำดื่ม
  • ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ คุณแม่ให้นมบุตรควรรับประทานแกงเลียงหัวปลีใส่ใบแมงลัก เพื่อเพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การทานใบแมงลักจึงเป็นการช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงเลือดและช่วยแก้โรคโลหิตจาง ใบแมงลักอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เมื่อทานใบแมงลักจึงช่วยบำรุงเลือดได้
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีธาตุแคลเซียมสูง ทำให้เมื่อทานใบแมงลักก็ช่วยเสริมสร้างกระดูกด้วย
  • ใช้เป็นยาระบาย โดยใช้เมล็ดแมงลักแก่ดื่มเพื่อแก้ท้องผูก
  • ช่วยลดความอ้วน เนื่องจากเมล็ดแมงลักมีสารเมือกที่สามารถพอตัวในน้ำได้ถึง 45 เท่า จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการ
  • จะลดความอ้วน เมื่อทานแล้วจะช่วยลดการทานอาหาร เพราะเมล็ดแมงลักจะทำให้รู้สึกอิ่มแถมยังช่วยลดอาการท้องผูกด้วย

แมงลัก…งานวิจัยที่น่าต่อยอด

มาถึงในหัวข้อที่น่าจะมีใครหลาย ๆ คนกำลังให้ความสนใจกัน นั้นก็คือ งานวิจัยเกี่ยวกับแมงลัก ซึ่งในที่นี้เราก็ยกตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับ “เม็ดแมงลัก” มา1ชิ้นที่เราคิดว่ามันน่าสนใจมากตัวหนึ่ง

การใช้ผงเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นพรีไบโอติกในการผลิตไอศกรีมโยเกิร์ต

ในงานวิจันนี้ เราจะมาสรุปใจความสำคัญ ๆ ให้อ่านกัน กล่าวคือ การที่เราจะผลิตไอศกรีม โยเกิร์ตให้ได้คุณภาพนั้น เราต้องคงสภาพจุลินทรีย์ในโยเกิร์ยให้ได้นานที่สุด ซึ่งจุลินทรีย์ที่อยู่ในโยเกิร์ตนั้นก็คือ “โพรไบโอติก”

และถ้าเราต้องการส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติก เราต้องมีอาหารที่มาช่วยในส่วนนี้คือ กลุ่มอาหารที่เรียกว่า “พรีไบโอติก” (prebiotics) และกลุ่มอาหารนี้มีอยู่ใน “เมือกของเม็ดแมงลัก” ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ ไม่ถูกย่อยด้วยกรดในกระเพาะอาหารและเอนไซม์ในล้าไส้เล็ก และสามารถเคลื่อนไปยังล้าไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์ ทั้งนี้การ รับประทานอาหารกลุ่มพรีไบโอติกจะช่วยกระตุ้น ส่งเสริมการเจริญและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติก แต่จะไม่ส่งเสริมของจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดโรค

และสารฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ และอินูลินเป็นพรีไบโอติกที่ได้จากเมือกของเม็ดแมงลัก เพื่อนำไปใช้ในการผลิตโยเกิร์ตซึ่งมีผลท้าให้มีความหนืดมากขึ้น และลดปัญหาการแยกชั้นลง และเมื่อน้ามาใช้ ในการผลิตไอศกรีม พบว่าโอลิโกฟรุกโตสและอินูลินสามารถเพิ่มความหนืดและร้อยละการขึ้นฟูมากขึ้น ไอศกรีมละลายช้าลง และยังมีแลคติกแบคทีเรียเหลือรอดหลังจากแช่แข็ง


แหล่งอ้างอิง

ข้อมูลพืชสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
CHULALONGKORN UNIVERSITY
RESEARCH AND INNOVATION FOR SOCIETY

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้