เเก้วสารพัดนึก ภาษาอังกฤษ Alocasia Polly
เเก้วสารพัดนึก ชื่อวิทยาศาสตร์ Alocasia sanderiana Bull.
ชื่อวงศ์ ARACEAE
ชื่ออื่น ๆ ต้นแก้วสารพัดนึก,ว่านสารพัดนึก
ต้นแก้วสารพัดนึก เป็นพืชล้มลุกประเภทเดียวกับบอน นอกจากเรียกว่าแก้วสารพัดนึกแล้วยังเรียกว่าต้นแก้วหน้าม้า หรือว่านแก้วหน้าม้า มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมีอายุหลายปี ตามความเชื่อไม้มงคลชนิดนี้ ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าแก้วสารพัดนึกออกดอก จะหมายถึงสิ่งที่คิดหวังนั้นจะเป็นจริง รวมทั้งยังเชื่อว่าช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ สิ่งอัปมงคลนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ นิยมเลี้ยงไว้ในห้องนอนการปลูกก็นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง แก้วสารพัดนึกชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มชอบแสงสว่างแต่ไม่ชอบแสงแดด
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นแก้วสารพัดนึก
มีหลากหลายความเชื่อที่เกี่ยวกับต้นแก้วสารพัดนึก แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นการเสริมสิริมงคลในด้านโชคลาภและเมตตามหานิยม ช่วยให้สมความปรารถนาตามความหวังสมดังชื่อเรียกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันและปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายไม่ให้กล้ำกลายเข้ามาในชีวิตได้ แต่จะต้องบำรุงรดน้ำพรวนดินให้ต้นสมบูรณ์สวยงามอยู่เสมอ สำหรับคนที่กำลังคิดทำสิ่งใดและอยากให้เรื่องนั้นสำเร็จอย่างราบรื่น ก็มีการว่าคาถาเพื่ออธิษฐานกับต้นแก้วสารพัดนึกในประเด็นที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษได้ด้วย
ตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การปลูกภายในบริเวณบ้าน
เนื่องจากแก้วสารพัดนึกเป็นไม้มงคลในกลุ่มเสริมบารมีและเมตตามหานิยม ตำแหน่งที่ควรปลูกในบริเวณบ้านจึงเป็นทิศตะวันออกหรือทิศเหนือของตัวบ้านเท่านั้น หากตั้งกระถางไว้ภายในก็ให้ยึดเอาทิศของมุมห้องเป็นสำคัญ วันนำต้นกล้าลงดินก็เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะการปลูกในวันข้างขึ้นจะช่วยให้ต้นแก้วสารพัดนึกให้คุณได้ดีกว่า ยิ่งถ้าเป็นวันขึ้น 15 ค่ำด้วยก็ยิ่งดี
ลักษณะของต้นแก้วสารพัดนึก
- ลักษณะของลำต้น มีเหง้าและระบบรากอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่พ้นดินจะเป็นกาบใบที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ โคนล่างสุดเป็นสีน้ำตาลจากกาบใบที่เหี่ยวแห้งแล้ว ถัดขึ้นมาจึงเป็นก้านใบสีเขียวสด ลำต้นจะไม่ยืดสูงขึ้นแต่แตกกอออกด้านข้างแทน
- ใบ กรอบใบคล้ายรูปทรงหัวใจที่มีค่อนข้างยาว ช่วงโคนที่เชื่อมกับก้านใบจะเว้าเป็นร่องลึก ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเว้าหยักเป็นเส้นคลื่น เนื้อใบหนาสีเขียวเข้ม ผิวเป็นมันเงา ทั้งเส้นกลางใบ เส้นแขนง และเส้นกรอบนอกเป็นสีขาวหรือไม่ก็เขียวอ่อน
- ดอก ก้านดอกเป็นสีเขียวเข้ม ตั้งช่อตรงขึ้นกลางกอ มีกระเปาะทรงอ้วนป้อมก่อนจะขึ้นเป็นตัวดอก แกนกลางดอกเป็นสีขาวนวลทรงกระบอกเรียวยาว และมีกาบเดี่ยวสีเขียวอ่อนโอบด้านนอกไว้ กาบนั้นเนื้อบางทรงยาวรีและมีปลายเล็กแหลม
สายพันธุ์
- Alocasia cucullata Leur Schott มีชื่อเรียกว่า “ว่านนางกวัก” จัดเป็นไม้เก่าแก่ที่นิยมปลูกกันเป็นว่านมหาโชค ทั้งชาวไทยและชาวจีน มีใบกลมรีรูปหัวใจ สีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบยาว ทรงพุ่มแน่น ต้นสูงประมาณ 1 ฟุตขึ้นไป ถิ่นกำเนิด อินเดีย พม่า จีนใต้ มีปลูกในไทยและมาเลเซียมานานแล้ว
- Alocasia cuprea Koch ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สีบรอนซ์คล้ายโลหะ ลักษณะเป็นร่องโค้งตามเส้นใบ ซึ่งมีสีม่วงอมดำ ใบแข็งหนา จะ compact มากเมื่อเป็น Fhybrids ใต้ใบสีม่วงพบ ที่เกาะบอร์เนียว ก้านใบ : 1 ฟุต
- Alocasia indica var metallica Schott (กระดาษดำ) ใบใหญ่ สีม่วงอมไทาเงิน ไม่ทนโรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย สูง 5 ฟุต ก้านใบสีม่วง ตัวใบขนาด 17×6 นิ้ว ถิ่นกำเนิด ชวา
- Alocasia longiloba Mig ใบมีสีเขียวตามเส้นใบ ส่วนตัวใบมีสีเทาเงิน เจริญเติบโตดี พบที่เกาะชวา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคใต้ของไทย ต้นสูงถึง 3 ฟุต 1
- Alocasia indica (Roxb) Schott ก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 2 ฟุต ตัวใบขนาด 12×6 นิ้ว พบที่ อินเดีย -ไมโครนีเซีย
- Alocasia lowii Hook ต้นสูง 2 ฟุต ใบมีสีเขียวอมดำ ประดับด้วยเส้นใบสีเงิน ใต้ใบมีสีม่วง ก้านใบสีชมพู นับเป็นชนิดที่สวยงามมากที่สุด พบที่เกาะบอร์เนียว
- Alocasia macrorhiza Schott (กระดาษ) มีขนาดใหญ่สูงถึง 4 ฟุต ใบใหญ่หยิกเป็นคลื่น ก้านใบมีสีเขียวนวล นิยมปลูกตามลานสนามหน้าบ้าน พบทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีชนิด Var. variegata Hort กระดาษด้างลายขาว ปลูกกันทั่วไป เป็นไม้ด่างที่สวยงามต้นหนึ่ง ที่ผู้คนละเลยมองข้ามไปจนไม่แพร่หลายในปัจจุบัน
- Alocasia (Schizocasia) portei Becc มีขนาดต้นใหญ่ ถึง 8 ฟุต ใบอาจยาวถึง 4 ฟุตก็มี ใบสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ลำต้นสูงเห็นเด่นชัด เหนือดิน แตกหน่อที่โคน ในอินโดนีเซีย (เกาะชวา) มีมาก
- Alocasia putzeii N.E.Br. ใบสีเขียวคล้ำ เส้นใบขาว พบมากที่เกาะสุมาตรา ต้นสูง 3 ฟุต
- Alocasia villeneuvii Lind and Rodig. ตัวใบสีเขียวอ่อน ประกอบด้วยรอยสีจางกว่า และมีจุดแดง ก้านใบมีจุดสีน้ำตาล ยาว 12-20 นิ้ว
- Alocasia sandiriana Bull ต้นสูง 2 ฟุตครึ่ง ใบยาวขอบหยัก ย่นเป็นริ้ว คล้ายกริช สีเขียวเข้มอมเทา ขอบใบและเส้นใบสีขาว พบในประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแม่ไม้ที่ใช้ผสมดีต้นหนึ่ง
- Alocasia thibautiana Mast เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ ใบยาว 2 ฟุต กว้าง สีเขียวมะกอก มีเส้นใบสีเงินปนเทา สีม่วงใต้ใบ พบที่เกาะบอร์เนียว
- Alocasia korthalsii Schott ใบคล้าย Alocasia sandiriana ก้านใบยาว 12 นิ้ว ขอบใบหยัก ก้านใบสีเขียว พบที่เกาะบอร์เนียว
- Alocasia veitchii Schott ใบกลมรี ค่อนข้างแคบ สีเขียวเข้ม เส้นใบและเส้นร่างแหสีเทาเงินปรากฏทั่วไป พบที่เกาะชวา, อินโดนีเซีย
- Alocasia odora (Roxb) C. Koch ก้านใบเขียว ยาว 3 ฟุต ตัวใบขนาด 3 x 2.5 ฟุต พบที่ฟิลิปปินส์และเอเซียตอนใต้
- Alocasia watsoniana Hort เป็นชนิดที่มีความงามมากที่สุด ใบกว้างกลมรี ปลายแหลม ใบหยักย่น เป็นคลื่น กว้าง 2.5 ฟุต ยาว 3.5 ฟุต ตัวใบสีเขียวปนดำ ประดับด้วยเส้นสีเทา ดูคล้ายทำจากโลหะ ใต้ใบสีม่วงเข้ม พนที่เกาะสุมาตรา, อินโดนีเซีย
- Alocasia wavriniana Mast ใบแคบตั้งตรง ใบคอดสีเขียวมะกอก ใต้ใบม่วง พบที่เกาะซิลิเบส
- Alocasia regina (N.E.Br.) ตัวใบสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบแดงเลือดหมู ตัวใบขนาด 11 x 8.5 นิ้ว ก้านใบยาว 10 นิ้ว พบที่เกาะบอร์เนียว
- Alocasia zebrina (Koch + Veitch) ใบสีเขียวมะกอก ทรงสามเหลี่ยม ก้านใบมีลายสีน้ำตาลเข้มสลับขาว ยาว 14-18 นิ้ว มีผู้สั่งเข้ามาเลี้ยงเมื่อ 2520 นี่เอง แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ต้องการที่ร่มและความชื้นสูงจัด ถิ่นกำเนิดฟิลิปปินส์
วิธีการปลูก
ใช้ดินร่วนระบายน้ำได้ดี 3 ส่วน ใบก้ามปู 2 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน ส่วนการรดน้ำต้นแก้วสารพัดนึกนั้นชอบความชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ทุกๆ 1-2 เดือน หมั่นพรวนดินให้ดินร่วนซุยเพื่อให้มีช่องอากาศพาน้ำและสารอาหารซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น
วิธีการขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์นำไข่รอบๆ จากรากที่แทงออกมาจากโคนต้นมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับการปลูกนั้นนิยมใช้ดินร่วนระบายน้ำได้ดี 3 ส่วน ใบก้ามปู 2 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน ส่วนการรดน้ำต้นแก้วสารพัดนึกนั้นชอบความชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ทุก ๆ 1-2 เดือน หมั่นพรวนดินให้ดินร่วนซุยเพื่อให้มีช่องอากาศพาน้ำและสารอาหารซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น
การดูแลรักษา
การปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก และการดูแลรักษาต้นว่านแก้วสารพัดนึกนี้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากว่าเป็น ต้นไม้ ที่ปลูกในที่ร่ม ไม่ชอบโดนแดด หรืออยู่ในที่ร้อนจัดโดยการปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก อาจจะปลูกในบ้านก็ได้ ทำให้ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อยากปลูกแต่ไม่มีพื้นที่โดยรอบบ้าน การปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก จะต้องมีการดูแลรักษา โดยการรดน้ำก็ควรรดน้ำให้ชุ่ม เพราะเป็นต้นไม้ประเภทบอนที่อุ้มน้ำ จึงชอบน้ำเป็นพิเศษ หากว่าปลูกดี หมั่นดูแลอย่างดี ก็จะได้ต้นใหญ่สวยงาม และแตกกอขยายใหญ่ๆ เมื่อนำไปขายก็สามารขายได้หลักพันบาทต่อหนึ่งต้น ต้นแก้วสารพัดนึกดูแลไม่ยุ่งยาก เป็นต้นที่ชอบความชื้น ให้รดน้ำ 2 – 3 วันสักครั้ง พรวนดินเดือนละหน ที่สำคัญให้ตั้งไว้ในห้องที่แสงสว่างเข้าถึง หรือมุมแดดรำไร เพราะน้องไม่ชอบแดดจัดๆ นั่นเอง
แก้วสารพัดนึก เป็นต้นไม้ฟอกอากาศ ที่มีชื่อเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับเจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัว สารพัดนึก คิดหวังอะไร ได้สมดังที่หวังที่ตั้งใจ ซึ่งมีหลายเรทราคา ตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึง 20,000 กว่าบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งหากใบยิ่งใหญ่ ราคาจะยิ่งแพงขึ้นด้วยเช่นกัน และปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย
คุณประโยชน์ที่ได้จากต้นแก้วสารพัดนึก
นับเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ไม้ใบที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากรูปร่างใบค่อนข้างแปลกตา และปลูกในร่มได้ดีแม้แต่ในห้องนอน มีคุณสมบัติเป็นไม้ฟอกอากาศขนาดกลาง ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มากขึ้น พร้อมกับดูดซับสารพิษบางชนิดที่ปะปนอยู่ในอากาศได้ หากต้องการลดกลิ่นอับชื้นหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่เกิดจากการใช้งานพื้นที่ ก็สามารถปลูกไม้ชนิดนี้เพื่อช่วยดูดซับกลิ่นได้เช่นกัน
ต้นแก้วสารพัดนึกแต่ละต้นมีการแยกเพศชัดเจน
ในบรรดาต้นแก้วสารพัดนึกที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด จะมีทั้งแบบที่เป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย ซึ่งมีวิธีการเพาะเลี้ยง อัตราการเติบโต และการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย การสังเกตเพื่อเลือกเพศจึงค่อนข้างสำคัญ เพราะจะช่วยให้เราได้พันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ โดยจุดที่เราต้องพิจารณาก็คือส่วนใบ ต้นเพศผู้จะมีใบใหญ่ หน้าใบกว้าง สีเข้มชัดเสมอกันทั้งใบ และขอบใบหยักเป็นเส้นคลื่นชัดเจน ขณะที่ต้นเพศเมียจะมีหน้าใบแคบกว่า ใบเป็นทรงเรียวยาวและมีขอบใบเรียบ หากวางเทียบกันก็จะเห็นว่าเนื้อใบมีสีที่อ่อนกว่าต้นเพศผู้ด้วย