แห้ว กับประวัติที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมชวนมากินแห้วที่ไม่แห้วอย่างที่คิด

ต้นแห้ว

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่ากินแห้วแล้วจะสมหวังมาก่อน โดย แห้ว เป็นพืชชนิดหนึ่งสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ในน้ำเหมือนกับต้นข้าวและต้นเรียวเล็กคล้ายกับต้นหอมหรือใบกก ส่วนหัวแห้วมีลักษณะคล้ายกับหัวหอมใหญ่แต่จะมีขนาดเล็กกว่า หัวแห้วมีสีน้ำตาลไหม้และเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1- 4 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อขาวนวลสามารถรับประทานได้ โดยในวันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวของต้นแห้ว พืชเศรษฐกิจ ที่นิยมนำหัวแห้วมารับประทาน ไม่ว่าจะรับประทานหัวสดหรือนำมาใส่เป็นส่วนประกอบของขนมหวานทั่วไป ก็ได้รับความอร่อยไม่แพ้กัน

สมหวัง แห้ว
https://mgronline.com

ข้อมูลทั่วไปของแห้ว

  • แห้ว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า “Eleocharis dulcis”
  • แห้ว ภาษาอังกฤษ หรือชื่อสามัญ “Waternut,Chinese water chestnut”
  • แห้วจัดอยู่ในวงศ์ของ “Cyperaceae”

แห้ว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกและได้รับความนิยมในการปลูกที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยในประเทศไทยของเรามีการปลูกแห้วหลายสายพันธุ์และจะปลูกมากที่สุดในโซนภาคกลาง นอกจากหัวแห้วจะให้รสชาติที่อร่อยแล้วหรือสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเมนูต่างๆ ได้ ในขณะเดียวแห้ว ยังมีประโยชน์หรือมีสรรพคุณทางยาอีกหลายอย่าง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแห้ว

ต้น

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า ต้นแห้ว มีลักษณะคล้ายกับต้นหอมหรือใบกก โดยจะมีเงาสั้นอยู่ใต้ดินและมีหัวที่ปลายไหล หัวแห้ว มีลักษณะเป็นทรงกลมแบนคล้ายกับหอมใหญ่แต่จะมีขนาดเล็กกว่า และมีเปลือกสีน้ำตาลไหม้หรือสีดำหุ้ม ภายในมีเนื้อสีขาวนวล เนื้อแน่นฉ่ำน้ำ รสชาติมันกรุบกรอบ ซึ่งในแต่ละต้นจะมีหัวแห้วอยู่หลายหัว และมีหน่อเหง้าเล็กๆอยู่จำนวนมากที่สามารถใช้ในการขยายพันธุ์ครั้งต่อไปได้

ใบ

ใบของต้นแห้วจะมีลักษณะคล้ายใบกกและเป็นใบเดี่ยว ซึ่งจะแทงออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน  มีใบย่อส่วนเหลือเพียงโคนกาบหุ้ม ไม่มีแผ่นใบ

ดอก

แห้วจะออกดอกเป็นช่อเชิงลด ซึ่งเป็นดอกคล้ายซี่ร่ม โดยดอกจะหย่อนคล้ายกับเส้นด้ายและดอกมีสีน้ำตาลหรือสีขาว

ผล

ผลของแห้วจะมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลไหม้ บางผลมีสีดำ ลักษณะผลเป็นทรงรีเล็กๆ ผิวเรียบมัน ภายในผลมีเนื้อสีขาวนวลสามารถนำมารับประทานได้  

ขายต้นพันธุ์แห้ว
https://puechkaset.com

ประโยชน์ หรือสรรพคุณของแห้ว

เนื่องจากแห้วเป็นชื่อที่ฟังดูแล้วไม่เป็นสิริมงคล คนไทยจึงเปลี่ยนชื่อจากแห้วมาเป็น “สมหวัง” แทน แต่หลายๆ คนก็ยังคงติดกับการเรียกว่าแห้วอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ในทางโภชนาการนั้น ถือว่าแห้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งทางเลือกในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเลยทีเดียว

  • หากนำน้ำแห้ว มาต้มดื่ม จะช่วยในเรื่องอาหารไม่ย่อย และช่วยกระตุ้นความอยากอาหารสำหรับเด็ก
  • เนื้อแห้วสด สามารถนำมาบดและใช้ทาบริเวณผิวที่เป็นหูด จะช่วยทำให้หูดนิ่มหรืออ่อนลง
  • ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และสามารถแก้อาการไอได้
  • แห้วช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคมะเร็งได้
  • ตามตำรายาแพทย์แผนไทย ในโบราณมีความเชื่อว่าแห้วออกฤทธิ์เย็น จึงสามารถช่วยดับกระหายน้ำ หรือแก้ร้อนในได้
  • แห้วอุดมไปด้วยเส้นใยสารอาหารสูง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ตลอดจนช่วยรักษาโรคริดสีดวง
  • แห้วช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำลง
การเก็บรักษา แห้ว
https://www.matichon.co.th

วิธีการปลูกและขยายพันธุ์ต้นแห้ว

ในส่วนวิธีการปลูกและการขยายพันธุ์แห้วนั้น แห้วจะปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วนหรือดินเหนียวแห้วจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า แห้ว ชอบขึ้นอยู่ในน้ำหรือพื้นที่แฉะที่มีน้ำเพียงพอ คล้ายกับการปลูกต้นข้าว สำหรับวิธีการปลูกจะใช้ แห้วจะปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินเหนียวหรือดินร่วนจะเจริญเติบโตได้ดี ชอบขึ้นอยู่ในน้ำ ในพื้นที่แฉะ มีน้ำพอเพียง การปลูกจะใช้หน่อ ไหล และเมล็ดในการเพาะเมล็ดให้ออกเป็นต้นกล้าอ่อน จึงจะสามารถนำไหล หน่อ เมล็ด มาปลูกลงในดินแปลงที่เตรียมไว้ ปักลงในดินคล้ายกับการดำนา ซึ่งควรปลูกให้มีระยะห่างประมาณ 75 * 75 เซนติเมตร  

วิธีการดูแลแห้ว

แห้วเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในน้ำ และชอบแสงแดด ดังนั้น ควรปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ หรือมีน้ำขังตลอดทุกฤดูกาล ยิ่งโดนแสงแดดได้ตลอด จะทำให้แห้วเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

 ต้นแห้ว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตของแห้ว

ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยทั่วไปแล้วแห้วจะมีอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากปลูกลงแปลง แต่ให้สังเกตดูให้ดีถ้ามีใบเหี่ยวหรือใบมีสีเหลืองและสีน้ำตาล ให้ปล่อยน้ำออกและรอให้ดินแห้งประมาณ 3-4 อาทิตย์ ก่อนถอนขุดหัวแห้วออกมา ระวังอย่าให้หัวแห้วเป็นแผล จากนั้นให้นำไปล้างให้สะอาดและรอให้สะเด็ดน้ำ นำไปจากแดดให้แห้วแห้งสนิท จึงเก็บใส่ภาชนะได้

การเก็บรักษาหัวแห้ว

การเก็บรักษาหัวแห้วจะต้องทำความสะอาดให้ดีและวางพักให้แห้งในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท หรือมีแสงแดด หลังจากที่ตากแห้งสนิทแล้ว ควรเก็บใส่ภาชนะแบบปิดฝา และปิดให้สนิท โดยแห้วสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน

ปลูกแห้วในกระถาง

ความเชื่อเกี่ยวกับแห้ว

แม้ว่า แห้ว จะมีรสชาติที่อร่อยและมีเนื้อที่กรุบกรอบ รวมถึงมีคุณประโยชน์หรือสรรพคุณมากมายก็ตาม แต่ขึ้นชื่อว่าแห้วแล้ว หลายคนก็คงไม่อยากรับประทานหรืออาจฟังดูแล้วไม่ชอบใจนัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนพยายามเปลี่ยนชื่อจากแห้วเป็นสมหวังแทน ในขณะเดียวกันแห้ว ไม่นิยมนำมาเป็นของฝากหรือของขวัญ เนื่องในงานสำคัญหรือโอกาสต่างๆเพราะแห้วมีความหมายเป็นอีกนัยยะหนึ่งว่า ความไม่สมหวังหรือความผิดพลาดจากสิ่งที่หวังไว้ต่างๆ นั่นเอง

สาเหตุที่แห้ว เป็นคำที่ใช้แทนความไม่สมหวัง ก็สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2482 หนังสือเล่มหนึ่ง มีชื่อเรื่องว่า “สามเกลอ”แต่งโดย  พล,นิกร,กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต บอกเล่าถึงเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า  “แห้ว โหระพากุล” นายแห้ว เป็นคนรับใช้ที่อยู่ในบ้านเศรษฐีและมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี แต่มีอุปนิสัยที่ทะเล้น ทะลึ่ง เป็นคนตลกเฮฮาและมักทำอะไรผิดพลาด ไม่มีความสมหวังหรือไม่ประสบความสำเร็จอยู่เสมอ นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า แห้ว และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน จึงได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครหลายเรื่อง ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของคำว่าแห้ว ที่ถูกนำมาใช้แทนความหมายของความผิดหวังในปัจจุบันนั่นเอง

ถึงแม้ว่าแห้วจะเป็นตัวแทนของความไม่สมหวัง แต่หัวแห้วก็มีรสชาติที่อร่อย สามารถนำมารับประทาน หรือนำมาทานเล่นได้ ตลอดจนมีสรรพคุณหรือประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ชนิดที่คุณอาจคาดไม่ถึงมาก่อน ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น รวมทั้งเกษตรกรที่เพราะปลูกแห้ว ก็สามารถสร้างรายได้จำนวนมากในแต่ละปีจากการปลูกแห้วขาย รวมทั้งมีการแปรรูปแห้วให้มาเป็นแห้วผสมน้ำเชื่อม ในกระป๋องสำเร็จรูปพร้อมทาน ในขณะเดียวกันก็มีการรณรงค์ผ่านสื่อหรือมีโครงการต่างๆ มากมายที่ชี้นำให้คนเปลี่ยนชื่อจากแห้วเป็นสมหวังแทน หรืออาจให้สโลแกนพูดกันจนติดปากว่า “กินแห้วแล้วจะสมหวัง” จากความไม่สมหวังที่ว่านี้ กลับกลายเป็นรายได้มหาศาลที่ทำให้เกษตรกรสามารถหาเลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง

ปลูกต้นแห้ว

ทั้งหมดนี้ก็คือ เรื่องราวและสาระสำคัญเกี่ยวกับต้นแห้ว หรือสมหวังเป็นยังไงกันบ้าง เชื่อว่าข้อมูลต่างๆ ที่เราได้นำมาบอกเล่าในวันนี้ หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน รวมทั้งสรรพคุณของแห้วที่ถึงแม้ว่าจะมีชื่อที่ไม่มีความสีริมงคลมากนัก แต่ก็มีประโยชน์ในด้านสุขภาพอย่างมากมาย ซึ่งหากเราไม่คิดอะไรมาก การรับประทานแห้วหรือการซื้อเป็นของฝากก็เป็นเรื่องที่ดีและสามารถทำได้ แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธความเชื่อ หรือวิจารณญาณของแต่ละคนได้เพราะเราต้องให้ความเคารพความคิดของผู้อื่นอยู่เสมอ

ที่มา

Home

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้