สำรอง พันธุ์ไม้ยุคโบราณมีประโชน์มากมายมีลักษณะและปลูกอย่างไง

สำรอง (Malva nut) พันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพราะมีการซื้อขายกันในช่วงนั้นและถือว่าเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมทั้งในอาณาจักร และ นอกอาณาจักร ข้อมูลเหล่านี้นับว่าเป็นข้อมูลที่น้อยคนนักที่จะรู้ และคนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักต้นสำรอง ให้แบบ “ลูกสำรอง” เท่านั้น แต่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่า ต้นสำรองเป็นอย่างไร มีถิ่นที่อยุ่ที่ไหน แหล่งไหนที่ปลูกดีที่สุด และมีวิธีการปลูกและการขยายพันธุ์อย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักต้นสำรองให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กันเลย

สำรอง
credit : สำรอง
แล้วรู้ไหมว่า ต้นสำรอง กำลังจะถูกจัดอยู่ใน "พันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์" แต่ปัจจุบันก็ค่อย ๆ มีหลายคนกลับมาปลูก แต่สายพันธุ์ที่ดีที่สุดนั้นจะอยู่ที่ "จังหวัดจันทบุรี" และนั้นเป็นเพราะอะไร ก็ต้องตาม kaset.today ในวันนี้มาเลยกับ บทความให้ความรู้เกี่ยวกับต้นสำรอง...ต้นไม้ยุคโบราณ ประโยชน์หลากหลาย

ข้อมูลทั่วไปของสำรอง

ชื่อภาษาไทย : สำรอง, พุงทะลาย

ชื่อท้องถิ่น :

  • สำรอง (ทั่วไป และ ภาคกลาง)
  • ปักจอง (ภาคอีสาน)
  • แก่นเฉา, ท้ายเภา (ภาคใต้)
  • พุงทะลาย (ภาคตะวันออก)
  • ฮวงไต้ไฮ้ (จีน)’

ชื่อภาษาอังกฤษ : Malva nut และ Jelly nut

ชื่อภาษาจีน : ฮวงไต้ไฮ้ หรือ pang da hai หรือ pung tai hai

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaphium scahigeum (G.Don.) Guib. & Planch.

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Scaphium linearicarpum (Mast.) Pierre, Scaphium macropodum Beaum, Scaphium lychnophorum (Hance) Pierre

ชื่อวงศ์ : Malvaceae

ชื่อสกุล : Scaphium


ประวัติน่าสนใจเกี่ยวกับสำรอง

รู้กันไหมว่าต้นสำรอง หรือ ลูกสำรองเราพวกเราได้ยินกัน บ่อย ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่มักมีข่าวว่า กินน้ำลูกสำรองแล้วจะทำให้ผอม ทำให้ในช่วงนั้นคนไทยแห่กันกินทั้งบ้านทั้งเมือง แต่จะมีสักกี่คนที่ให้ความสนใจเกี่บงกับลักษณะต้น ใบ ดอก หรือ เมล็ด แม้แต่กระบวนการทำน้ำลูกสำรองก็ยังมีคนรู้ไม่เยอะ

และคุณรู้ไหมว่าต้นสำรองเริ่มรู้จักและเริ่มมีการค้าขายเกิดขึ้นในยุคไหน และเมื่อมีการค้าขายนั้นก็ต้องแปลว่า คนสมัยก่อนต้องรู้วิธีกินหรือปรุงลูกสำรองอย่างแน่นอน และก็มีหลักฐานเกี่ยวกับต้นสำรองว่า ชาวจันทบุรี มีชื่อเรียกต้นสำรอง ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นว่า “พุงทะลาย” นั้นก็เพราะว่าในจังหวัดจันทบุรีมีตำบลที่ชื่อว่า พุงทะลาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต้นสำรองขึ้นเป็นจำนวนมาก มีเริ่มมีการซื้อขายเกิดขึ้นในยุคของ “สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1” (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893-1912) แห่งอาณาจักรอยุธยา เมื่องเก่านี้จึงมีชื่อว่า “เมืองพุงทะลาย” หรือตำบลจัทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในปัจจุบัน


ถิ่นกำเนิดของสำรอง

เป็นต้นพืชที่กระจายตัวอยู่ในแถบประเทศดังต่อไปนี้ ได้แก่ ไทย พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ลาว และทางตอนใต้ของจีน ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้นซึ่งมีแสงแดดส่องถึงกับมีฝนตกชุก โดยในประเทศไทยจะพบได้มากที่สุดในภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรีและตราด


ลักษณะทั่วไปของสำรอง

  • ลำต้น

จัดอยู่ในประเภทไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงประมาณ 30-40 เมตร แล้วอาจจะสูงได้อีกถึง 45 เมตร โดยลักษณะของลำต้นจะสูงชะลูด กิ่งก้านแตกออกรอบๆ ต้นและเรียงเป็นชั้น สีของลำต้นมีสีเทาอมดำ เปลือกลำต้นจะหยาบและมีเส้นเป็นร่องอยู่ตามแนวดิ่ง

สำรอง
credit : วิกิพีเดีย
  • ใบ

เป็นลักษณะใบเดี่ยวที่ออกแบบเรียงสลับกัน รูปร่างของใบมีหลากหลาย อาทิ รูปไข่แกมใบหอก หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ส่วนปลายของใบเรียวแหลม โคนใบจะมนหรือเว้าคล้ายรูปหัวใจ และใบจะมีความแฉกกับเว้าลึกราว 2-5 แฉก ขอบใบเรียบ ความกว้างของใบประมาณ 5-20 เซนติเมตร ความยาว 10-30 เซนติเมตร ส่วนเนื้อของใบมีความแข็งและผิวเป็นมันเรียบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ใบเมื่อยังอ่อนจะเป็นหยักๆ 3-5 หยัก

สำรอง
credit : jhouseonline
  • ดอก

การออกดอกจะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ กลีบดอกจะเป็นแฉกเหมือนรูปดาวและมีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ส่วนปลายของกลีบดอกจะแหลมและมีสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงมีรูปร่างคล้ายทรงบอกกับมีขนสีแดงปกคลุม ดอกจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10-15 ก้าน และมีเกสรเพศเมียเพียง 1 ก้าน ระยะเวลาที่ออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

สำรอง
credit : disthai
  • ผลและเมล็ด

จะออกตามปลายของกิ่ง โดยหนึ่งกิ่งจะมีผลประมาณ 1-5 ผล ซึ่งผลจะมีรูปร่างคล้ายกับเรือหรือกระสวย ความกว้างของผล 5-6 เซนติเมตร และมีความยาว 18-24 เซนติเมตร ข้างในผลจะมีเมล็ดเป็นลักษณะกลมๆ รีๆ และมีเยื่อหุ้มที่เป็นสารเมือก ผลเมื่อแก่จะออกสีน้ำตาล ผิวเหี่ยวแห้งปนขรุขระ แล้วก็แตกออก โดยผลจะเริ่มแก่และร่วงในเดือนมีนาคมถึงเมษายน

สำรอง
credit : PHARGARDEN.COM

การขยายพันธุ์

สำรอง สามารถทำได้ง่ายๆ โดยวิธี “การเพาะเมล็ด” ซึ่งก็เป็นวิธีที่ทำได้เหมือนการเพาะเมล็ดพืชชนิดอื่นๆ ทั่วไป สำหรับการปลูกนั้น ต้นสำรองที่ปลูกใหม่ๆ จะมีความต้องการแสงแดดให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่ชอบที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง

ถ้าปลูกในช่วงที่เลม็ดสุกเต็มที่และทันที่ จะทำให้โอกาสงอกมีสูงถึง 90 % เลยทีเดียว


การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ชอบแดงแดดเต็มวัน ถ้าได้แสงแดดพอ จะทำให้โตเร็วและใบใหญ่

  • น้ำ

ชอบน้ำปานกลาง แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขัง หรือท่วม ดังนั้นควรปลูกบนพืนดอน หรือ บริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง

  • ดิน

ชอบดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี มีความร่วน ยกตัวอย่างดินของจังหวัดจันทบุรี ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก

  • ปุ๋ย

ไม่จำเป็นต้องดูแลเรื่องของปุ๋ยมาก แต่อาจจะใส่เป็นปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักเดือนละ 1 ครั้งก็เพียงพอ

การดูแล

การดูแลต้นสำรองนั้น โดยปกติตามธรรมชาติต้นสำรองมักจะขึ้นแซมตามต้นไม้พันธุ์อื่น ๆ ในป่า ดังนั้นเราควรที่จะ ทำสภาพแวดล้อมให้เหมือนถิ่นที่อยู่เดิมของเขา ยกตัวอย่างการปลูกต้นสำรองเพื่อการเก็บและขายผล

นั้นก็คือ “การปลูกแซมกับต้นยางพารา” ซึ่งสามารถปลูกได้ 4-5 ต้นต่อไร่ และการปลูกเช่นนี้ก็ได้รับการวิจัยมาแล้วว่า ให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกต้นสำรองในไร่เพียงชนิดเดียว นั้นก็เพราะว่าต้นยางพารางไม่แย่งสารอาหารจากต้นสำรองและยังมีช่องว่างให้แสงลอดผ่านมายังต้นสำรองได้รับแสงอย่างเพียงพออีกด้วย


ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์

  • ในด้านคุณประโยชน์ส่วนของผลหรือลูก สำรอง จัดว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากมาย
  • มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โซเดียม และโพแทสเซียม
  • เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะผู้ที่ใส่ใจด้านสุขภาพและรูปร่าง เพราะผลแก่ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักได้
  • เมื่อนำผลไปแช่น้ำ เนื้อบางๆ ที่หุ้มเมล็ดจะดูดน้ำและพองตัวออกเป็นแผ่นวุ้น ซึ่งสามารถนำแผ่นวุ่นนั้นไปแปรรูปหรือใช้ประกอบอาหารได้ รวมถึงสามารถรับประทานเป็นขนมหวานก็ได้
  • สามารถสกัดผลนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงตับ และเป็นยาแก้ร้อนในได้ด้วย

สรรพคุณ

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้วส่วนต่างๆ ของต้นก็ยังมีสรรพคุณทางด้านยาซึ่งไม่แพ้พืชผักชนิดอื่นๆ เลย เป็นต้นว่า

ราก คือส่วนที่มีรสเฝื่อนปนเปรี้ยวเล็กๆ สามารถใช้แก้ไอ แก้ท้องเสีย รักษาอาการกามโรค และแก้โรคพยาธิผิวหนัง

แก่นต้น จัดเป็นส่วนที่มีรสเฝื่อน ซึ่งสามารถใช้แก้โรคเรื้อน แก้โรคกุฏฐัง และรักษาอาการกามโรค

ใบ จะมีรสเฝื่อน ใช้แก้โรคพยาธิ และแก้ลม

ผลและเมล็ด มีรสฝาดแบบสุขุม สามารถใช้แก้ไข้ แก้โรคตานซาง แก้โรคตานขโมยในเด็ก แก้อาการท้องเสีย แก้โรคลมพิษ แก้ลม และแก้โรคธาตุพิการ

เปลือกต้น ก็จะมีรสเฝื่อนเช่นกัน สามารถใช้แก้ไข้ และแก้อาการท้องเสีย ส่วน

วุ้นใส ที่ได้จากเปลือกหุ้มเมล็ด สามารถใช้แก้อาการตาอักเสบบวมแดง โดยใช้วุ้นพอกที่ตาซึ่งวุ้นจะไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุตา

นอกจากนั้นยังมีรายงานจากประเทศอินเดียว่ามีการใช้ สำรอง ในการรักษาอาการอักเสบและใช้แก้ไขกับขับเสมหะด้วย สำหรับในประเทศจีนก็ได้ใช้ สำรอง ผสมร่วมกับชะเอม เพื่อช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยลดอาหาร และช่วยบำรุงไต

โทษ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสำรอง ปัจจุบันมีการนำลูกสำรอง มาทำ น้ำสำรอง รับประทาน เชื่อว่าจะช่วยลดความอ้วน และ เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดโทษได้ ซึ่งโทษของสำรอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำรองจะมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายเป็นปกติ แต่ไม่แนะนำสำหรับเด็ก ผู้เป็นภูมิแพ้ และ สตรีมีครรภ์ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีภูมิที่ไว อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น

แหล่งอ้างอิง

สำรอง
ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้