ทดสอบปุ่มแก้ไขบทความ

2.สามารถตอบปัญหา QUERY ของผู้ใช้เว็บไซต์ได้ โดยตอนนี้คำถามทั้งหมดถูกถามผ่านมาจากเว็บ google ส่วนในอนาคต อยากทำแบรนดิ้ง ให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น หรือช่องทางติดต่ออื่นๆเลยโดยที่ไม่ต้องผ่านกูเกิ้ล

การตอบปัญหาดังกล่าว ให้รวมไปถึงการแนะนำร้านปุ๋ย ดิน หิน วัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่มีความคุ้มค่าที่สุด ที่สามารถจัดส่งให้กับลูกค้าได้ ในพื้นที่ที่ลูกค้าอยู่ 

-ในเรื่องการพัฒนาเนื้อหา คิดว่าคงไม่ต้องลึกถึงขนาดที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาเขียนเอง(แต่ถ้าทำได้ก็ดี ถ้าได้เนื้อหาวิดีโอจะดีที่สุด เพราะการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นคอนเท้นท์ที่ค่อนข้างคุ้มค่า)
-ดีลกับนักเขียนใหม่ แจ้งรูปแบบคอนเท้นท์ที่เราต้องการโดยละเอียด หลักๆก็คือ เอาสิ่งที่มีหลักวิชาการยืนยันมาสรุปให้เข้าใจง่าย ต้องเป็นบทความที่ได้ทำการ research ลึกกว่าบทความปกติทั่วไป มีอ้างอิงที่เชื่อถือได้ (ปัจจุบัน PDF ที่แจกในอินเตอร์เน็ตมีอยู่ค่อนข้างเยอะ) ส่วนตรงนี้อาจต้องพิจารณาว่าจะเอานักเขียน inhouse ด้วยหรือไม่

ตอนนี้ ทำการร่วมรวม source แล้วส่งให้กับนักเขียน ลองดูว่าจะเขียนดีขึ้นมั้ย > เขียนได้ดีทีเดียว

-จัดทีมทำคอนเท้นท์วิดีโอ 1 ทีม อาจจะต้องมีอย่างน้อย 2 คน (ถ่ายคนนึง สัมภาษณ์คนนึง )  โดยทีมนี้ เมื่อรับหัวข้อจาก kw research ทีมไปแล้ว ต้องนำหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้วไปสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ โดยอาจจะแบ่งเป็นวันศุกร์คิดหัวข้อที่จะไปสัมภาษณ์ ส่วนจันทร์-พฤหัส ก็ออกเดินทางสัมภาษณ์ (ตรงนี้ อาจดีลกับผู้ที่มีความรู้จริงเรื่องนั้นๆไว้สัก ด้านละคน แล้วก็สัมภาษณ์คนนั้นอย่างเดียวในเรื่องที่อยู่ในแอเรียความรู้ของเขา ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย) > การคัดเลือกคนที่จะให้สัมภาษณ์ ส่วนหนึ่ง อาจคัดเลือกจากผู้ที่มาลงเนื้อหาเพิ่มในเว็บ แล้วดูมีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ในเรื่องนั้น (อาจจะใช้ ZOOM ในการสัมภาษณ์)

อัพเดท 16 สค > คิดว่าถ้าคอนเท้นท์บนหน้าเว็บที่เป็น article ดีพอ (เหมือนกับที่ทำๆออกมาล่าสุด) วิดีโออาจจะใช้เป็นตัว แอนิเมชั่น หรือว่าเป็นการตัดต่อภาพ เพื่ออธิบายเนื้อหาซึ่งถูกอธิบายผ่านทางเสียงแทน (เรียบเรียงเนื้อหาในบทความมาเรียบเรียงใหม่เป็นคำพูด แล้วทำภาพวิดีโอประกอบ)

-คุณภาพคอนเท้นท์น่าจะพัฒนาได้โดยการ ทำปุ่ม “ในบทความนี้มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือต้องการเพิ่มเนื้อหาบางอย่างให้บทความสมบูรณ์ขึ้น” แล้วพอคลิก ก็อาจจะเป็น frontend submission หรือ qoirio bot
แจ้งว่าเพื่อเป็นความอนุเคราะห์ให้กับสังคมเกษตรของประเทศไทย โปรดช่วยเรามอบข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ผู้อ่าน แล้วก็ให้เลือกระหว่างแก้ใขบทความเดิมและเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ แล้วก็เป็นฟอร์มให้ใส่
> ส่วนนี้ที่ต้องศึกษาเพิ่มคือ incentive ที่ทำให้คนเขียนอยากเขียน และ วิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้นๆ
> อาจจะทำให้ติ้ก ยินยอมว่า อนุญาตให้ทีมงานสัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าวผ่านทางโปรแกรม zoom เพื่อนำวิดีโอมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่อไปหรือไม่

หลักการคิดด้านบนนี้คือการ เอาคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นเอาข้อมูลของตนมาชนกับผู้ที่อยากรู้โดยเราอาจจะต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ให้เค้า เช่น ชื่อเสียง หรือ อาจจะเป็นคะแนนสะสม เพื่อแลกกับอะไรบางอย่าง gamification หรีอส่วนลด หรือส่วนแบ่งกำไร บางอย่าง
หรือการให้โควต้า ในการส่ง request review ฟรี
-ในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ทั้งหมด เราพลาดไปพอสมควร เพราะเรา เขียนเนื้อหาได้ไม่ดีพอ เน้นเอาเร็วไว้ก่อน แต่ผลที่ตามมาก็คือติดคีย์จริง มีทราฟฟิคจริง แต่ว่าความน่าเชื่อถือน้อย แล้วคีย์ที่ติดก็ไม่น่าจะมีความยั่งยืน 

แบบฟอร์มส่งแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในบทความนี้

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้