ปลาเทวดา (Angel Fish) ปลาสวยงามที่เราจะมาทำความรู้จักกันวันนี้ ถ้าหากพูดถึงปลาเทวดาแล้ว กลุ่มคนที่ชื่นชอบปลาสวยงามต้องรู้จักอย่างแน่นอน ปลาตัวแบนทรงสามเหลี่ยม ปากเล็กจุ้มจิ่ม ว่ายช้าๆในตู้ให้คนเลี้ยงได้ชมความสง่างาม และยิ่งไปกว่านั้นหากคุณได้รู้วิธีเพาะพันธุ์ และรู้จักปลาเทวดาสายพันธุ์อื่นๆอีก ไม่แน่ว่าอนาคตคุณอาจจะมีฟาร์มปลาเทวดาและเป็นคนคิดสายพันธุ์แปลกๆขึ้นมาก็ได้…ใครจะรู้
ปลาเทวดา สำหรับบางคนที่ไม่รู้จักปลาชนิดนี้ก็เข้าใจว่าพวกมันเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม แต่ความจริงแล้วปลาเทวดานี้เป็นปลาสวยงามที่มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบน้ำจืด สำหรับคนรักปลาสวยงามมานานแล้ว โดยจะเลี้ยงไว้ในตู้กระจกที่มีการจัดและประดับด้วยต้นไม้น้ำ เช่น สาหร่ายและหินสวยงาม ให้ปลาเทวดาได้แวกว่ายโชว์ความสวยงามอยู่ตลอดเวลา โดยในอดีตที่ปลาเทวดายังคงถูกนำมาเลี้ยงใหม่ๆ โดยทั่วไปเป็นปลารักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ก็มีบางตัวที่แตกต่างมีนิสัยกร้าวร้าว ต้องแยกให้อยู่ตัวคนเดียว แต่ในปัจจุบัน Pterophyllum scalare เป็นสายพันธุ์ของปลาเทวดาที่ถูกพัฒนาจนมีความสวยงามโดดเด่นและมีอุปนิสัยเรียบง่าย รักสงบมากขึ้น จนเป็นที่นิยมและสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงเป็นกอบเป็นกำกับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพปศุสัตว์ปลาสวยงามในประเทศไทยที่ขายในประเทศและต่างประเทศ จัดเป็นปลาสวยงามที่มีราคาดีชนิดหนึ่ง ขายได้ตลอดปี ทำให้หลายคนต้องหลงเสน่ห์ของพวกมันจนทำให้หลายคนค้นหาที่จะได้มีไว้ครอบครอง อ่านมาถึงตรงนี้คงไม่ใช่แค่คุณเท่านั้นที่สนใจในปลาชนิดนี้ แต่ทาง keset today ก็เกิดความสนใจจนต้องไปเสาะแหวงหาสาระดีๆเกี่ยวกับปลาเทวดามาให้ทุกคนได้เพิ่มความรู้กันถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาเลย...
ข้อมูลทั่วไปของปลาเทวดา
ชื่อไทย : ปลาเทวดา
ชื่ออังกฤษ : Angelfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterophyllum scalare
วงศ์ : ปลาหมอสี (Cichlidae)
ปลาเทวดาตามธรรมาติเป็นอย่างไร
สำหรับที่มาของปลาเทวดา จากการค้นคว้าของ รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ความรู้ว่า แต่เดิมทีนั้นปลาเทวดานั้นมีแหล่งอาศัยเดิมอยู่ทางแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่มักอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณที่น้ำไหลไม่แรงมากนัก รอบๆมีต้นไม้ขึ้นและมีรากไม้ห้อยระโยงรยาง สภาพน้ำมีความเป็นกรดประมาณ 5-5.5 ถ้าอากาศเป็นพิษปลาจะตายได้ง่าย
มีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนนั้นคนทำเหมืองจะทำการตรวจว่าในเหมืองที่จะทำการขุดนั้นมีสภาพอากาศที่เป็นพิษต่อคนงานหรือไม่ ก็จะใช้ปลาเทวดานี้เป็นการทดสอบ ด้วยการหย่อนโถใส่ปลาเทวดาลงไปก่อนแล้วดึงขึ้นมาถ้าปลาตายแสดงว่าในอุโมงค์มีก๊าซพิษ แต่ถ้าปลาไม่ตายแสดงว่าปลอดภัยคนจะลงไปทำเหมืองได้ เหตุนี้ปลาเทวดาจึงสามารถช่วยชีวิตคนให้รอดจากการดื่มน้ำที่เป็นพิษ ก็เลยถูกตั้งชื่อเป็นปลาเทวดาที่คอยปกปักษ์รักษาผู้คน โห! งั้นใครอยากปลอดภัยคุณต้องเลี้ยงปลาชนิดนี้เสริมดวงแล้วละ
เกร็ดความรู้เล็กๆ !!! อันที่จริงแล้วบางโรงงานในบ้านเราที่มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จะเลี้ยงปลาตะเพียนเผือกตาแดง เอาไว้เพื่อตรวจเช็คค่าของน้ำเช่นกัน เนื่องจากมันเป็นปลาที่ไวต่อสภาพความเป็นพิษของน้ำมากๆ ถ้ามันเกิดตายขึ้นมาก็สันนิษฐานได้เลยว่า ระบบบำบัดน้ำน่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น
ลักษณะทั่วไปของปลาเทวดา
ปลาเทวดา สายพันธุ์ดั้งเดิมนั้นจะมีลักษณะลำตัวแบบแบนข้าง ความกว้างและความยาวของลำตัวมีความยาวเกือบเท่ากัน ครีบหลังและครีบก้นแผ่ขยายออกและค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ตากลมโต ปากขนาดเล็ก ลำตัวสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว บางตัวก็จะมีจุดสีแดงเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่ ส่วนบริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก เมื่อโดนแดดจะเห็นประกายสีน้ำตาลแดงแวววาวปลาเทวดา เป็นปลาที่มีอุปนิสัยเรียบง่าย รักสงบ แต่ถ้าบางตัวมีลักษณะนิสัยก้าวร้าวก็ไม่สามารถนำไปเลี้ยงร่วมกับปลาสวยงามชนิดอื่นได้ โดยปลาชนิดนี้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายที่สวยงามมากขึ้น เช่น ปลาเทวดาหินอ่อน ที่มีสีสันเป็นสีดำสลับกับสีขาวตลอดทั้งตัว
การจำแนกเพศปลาเทวดา
ปลาเทวดา การสังเกตุความแตกต่างเพศผู้และเพศเมียจากลักษณะภายนอกจะทำได้ยากมากเราจึงไปศึกษาข้อมูลจาก รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ และได้ทราบหลักการสังเกตุลักษณะเด่นที่พอจะบ่งบอกความแตกต่างลักษณะเพศของปลาเทวดามีดังนี้
- จุดสังเกตที่บริเวณหน้าผาก ปลาเทวดาเพศผู้จะมีส่วนหัวด้านบน (หน้าผาก) โหนกนูนและสีเข้มกว่าปลาเพศเมีย
- จุดสังเกตที่บริเวณติ่งเพศ ปลาเทวดาเพศเมียจะมีติ่งเพศเป็นท่อยื่นยาวออกมาค่อนข้างมาก และมีขนาดใหญ่กว่าติ่งเพศของเพศผู้ ซึ่งจะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้น
ในปัจจุบันปลาเทวดามีกี่ชนิด
1. ปลาเทวดาอัลตั้ม (Pterophyllum altum)
เราสามารถเรียนปลาเทวดาในกลุ่มนี้ได้อีกชื่อคือ Deep Angelfish ซึ่งสามารถพบในแถบลุ่มแม่น้ำ Orinoco ใน South America หรือ Rio Negro ใน Colombia โดยสภาพแหล่งน้ำมีความเป็นกรด 4.8-6.2 ถ้ามองผ่าน ๆก็จะเหมือนกับปลาเทวดาทั่วไปแต่เมื่อ altumโตได้เต็มที่จะมีขนาดประมาณ 13-15 เซนติเมตร มีความยาวจากหัวถึงหางเพียง 8 เซนติเมตร จึงจัดว่าเป็นปลาเทวดาชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะของสายพันธุ์นี้มีหน้าผากลาดกว่าชนิดอื่น มีลวดลายเป็นเส้นสีดำเข้มหรือสีน้ำตาลไหม้พาดลำตัวเป็นแนวตั้ง ซึ่งเส้นที่ยาวที่สุดจะเป็นเส้นที่ 5 ซึ่งเป็นบริเวณโคนหาง ก่อนที่จะเจอเส้นสุดท้าย มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว
ปลาเทวดาอัลตั้มเมื่ออยู่ในระยะแรก จะถูกเรียกว่า “ปลาเทวดาป่า” หรือ “ปลาเทวดายักษ์” และยังมีชื่อเรียกอีกว่า “ปลาเทวดาอัลตั้มโคลัมเบีย” จริงๆแล้วเป็นชนิดปลาเทวดาที่คนอยากจะเลี้ยงกันมาก แต่ด้วยมีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ยากมาก เนื่องจากมีความเปราะบางมากต่อสภาพแวดล้อมและสภาพน้ำ จึงมีราคาซื้อขายที่สูงสุดในบรรดาปลาเทวดาทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถเพาะขยายพันธุ์จนส่งออกขายได้ คือ ญี่ปุ่น และไต้หวัน
2. ปลาเทวดาสกาแลร์ (Pterophyllum scalare)
ปลาเทวดาชนิดนี้ สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า Pterophyllum eimekei หรือ common anglefish species เป็นปลาเทวดาชนิดที่มีการนำมาเลี้ยงในปัจจุบันมากที่สุด และยังมีการ breed ออกมาอีกหลาย variety โดยมีลักษณะลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน และถ้าดูในส่วนยาวจากปลายปากถึงโคนหางจะยาวกว่าแนวตั้งของลำตัวเล็กน้อย ซึ่งจะแตกต่างจากปลาเทวดาอัลตัมที่มีแนวตั้งยาวกว่า หากสังเกตุลึกลงไปจะพบว่าแถวเกล็ดจากขอบเหงือกลากยาวไปจรดครีบหางมีทั้งสิ้น 33-38 เกล็ด ลายบนตัวจะเป็นเส้นคาดแนวตั้งใหญ่จำนวนสี่เส้นเห็นได้ชัดเจน และจะมีเส้นเล็ก ๆ ที่สั้นและจางกว่าคั่นแต่ละเส้นใหญ่นั้นอีกรวม 3 เส้น
ปลาเทวในกลุ่มดาสกาแลร์ (Pterophyllum scalare) ยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่มีกาพัฒนาขึ้นมา แต่ถ้าคกำลังมองหาปลาเทวดาลวดลายสวยๆ ลองตามมาเลย ตัวอย่างเช่น
- Silver Platinum Diamond Angelfish
- Silver Angelfish
- Black Angelfish
- Black Vieltail Angelfish
- Black Longfin Angelfish
- Zebra Angelfish
- Zebra lace Angelfish
- Marble Angelfish
- Marble Vieltail Angelfish
- Golden Marble Angelfish
- Gold Veiltal Angelfish
- Half black Angelfish
- Half black Vieltail Angelfish
- White or ghost Angelfish
- Gold or Lutino Angelfish
- Blushing or gray Vieltail Angelfish
- Blushing Angelfish
- Spotted Angelfish
- Half Striped Angelfish
- Partial Half Black Viel Tail Angelfish
- Koi Angelfish
- Blue Red Cheek Angelfsh
- Dalmaton Longfin Angelfin
- Gold Longfin Angelfsh
3. ปลาเทวดาจมูกยาว หรือ ปลาเทวดาหน้ายาว (Pterophyllum leopoldi)
ปลาเทวดาชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มปลาเทวดาที่มีขนาดเล็กที่สุด ครีบต่าง ๆ ทั้งครีบบน และครีบล่างสั้นกว่าปลาเทวดาชนิดอื่น ทำให้แลดูตัวสั้นม่อต้อ บอบบางกว่าปลาเทวดาชนิดอื่น และก็เป็นชนิดที่มีหน้าและจมูกยาวกว่าชนิดอื่นเช่นเดียวกัน หรือก็คือ มีส่วนลาดของหน้าผากยื่นยาวมากกว่าปลาเทวดาทั่วไปเมื่อโตเต็มท่จะมีขนาดได้ถึง 10 เซนติเมตร
สรุปการดูลักษณะของปลาเทวดาทั้ง 3 ชนิด
ปลาเทวดาน้ำเค็มกับปลาเทวดาน้ำจืดต่างกันยังไง
ตามที่ได้บอกไว้เบื้องต้นแล้วว่า ปลาเทวดาไม่ได้มีแค่เพียงน้ำจืดเท่านั้น แต่มีสายพันธุ์น้ำเค็มด้วย โดยปลาเทวดาน้ำเค็มจะอาศัยอยู่ในแนวปะการังเขตร้อนตื้นของมหาสมุทรแอตแลนติก อินเดีย และแปซิฟิกตะวันตก พวกมันมีขนาดระหว่าง 8 ถึง 10 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่ามาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและสภาพแดล้อม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าสีสันของปลาเทวดาน้ำเค็มจะมีสีที่ฉูดฉาดกว่าปลาเทวดาน้ำจืด ปกติแล้วพวกมันจะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในตู้ปลาหากถูกนำขึ้นมาเลี้ยงได้เป็นอย่างดีและยอมรับอาหารแช่แข็งประเภทต่างๆ ทั้งนี้หากคุณอยากจะเลี้ยงปลาเทวดาน้ำเค็มก็จำเป็นต้องรู้ปัจจัยสำคัญในกาทำน้ำทะเลด้วย
เมื่อเราพูดถึงปลาเทวดาน้ำเค็มกันแล้ว ทางเราก็เลยถือโอกาสนี้อธิบายเพิ่มเติมเพื่อสอดแทรดเกร็ดความรู้ดีๆให้กับนักอ่านกัน งั้นเรามาทำความรู้จักกับปลาเทวดาน้ำเค็มที่สามารถแบ่งออกได้ 3 ขนาด คือ
- Small Species
ปลาเทวดาน้ำเค็มในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กที่สุด มีชื่อว่า “the Centropyge species” มีขนาดตัวประมาณ 8 – 14 เซนติเมตร ปลาเทวดาน้ำเค็มกลุ่มนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับใครที่เป็นมือใหม่และอยากเริ่มเลี้ยงปลาเทวดาน้ำเค็มหรือเทวดาทะเล เพราะมีความยากในการเลี้ยงอยู่ในระดับเริ่มต้นจนถึงระดับกลาง
The spruce pets
- Medium Species
ปลาเทวดาน้ำเค็มในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีขนาดปานกลาง มีชื่อว่า “the Genicanthus, Chaetodontoplus and Apolemichthys species” มีขนาดตัวประมาณ 14 – 25 เซนติเมตร เป็นปลาเทวดาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 หากคนที่เคยเลี้ยงปลาน้ำเค็มมาก่อนและมีพื้นฐาน การเลี้ยงปลาเทวดากลุ่มนี้ถือว่าไม่มีปัญหา แต่ก็ต้องบอกว่าหากใครเป็นมือใหม่นั้น และต้องการเลี้ยงปลาในกลุ่มนี้ เราไม่ขอแนะนำเลย แต่จะแนะนำให้คุณไปลองเลี้ยงในกลุ่มก่อนหน้านี้ก่อน นั้นทำให้ปลากลุ่มนี้เหมาะกับคนที่มีพื้นฐานในการเลี้ยงปลาน้ำเค็มแล้วเท่านั้น และเราได้ยกตัวอย่างปลาเทวดาน้ำเค็มในกลุ่มนี้คือ
The spruce pets
- Genicanthus personatus (masked angelfish)
- Chaetodontoplus melanosoma (black-velvet angelfish
- Apolemichthys xanthurus (Indian yellowtail angelfish)
- Genicanthus bellus (ornate angelfish)
- Chaetodontoplus caeruleopunctatus (blue-spotted angelfish)
- Apolemichthys griffisi (Griffis angelfish)
- Large Species
และกลุ่มสุดท้ายเป็ฯปลาเทวดาน้ำเค็มในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่อว่า “the Holacanthus and Pomacanthus species” แม้ว่าจะมีปลาเทวดาบางตัวที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้แต่มีขนาดเพียง 12.5 เซนติเมตร แต่ปลาเทวดาตัวอื่นในกลุ่มนี้ก็มีแต่ขนาดตัวที่ใหญ่มาก มีขนาดประมาณ 20 – 70 เซนติเมตร ซึ่งถือว่ากลุ่มคนที่อยากจะเลี้ยงปลากลุ่มนี้ต้องมีความพร้อมในด้านสถานที่ เพราะต้องใช้น้ำถึง 200 – 300 แกลลอน และตัวปลาเองก็ไม่สามารถปรับตัวได้ในสถานที่แคบหรือบ่อเลี้ยง และนั้นเป็นเหตุผลว่าคนที่ต้องการเลี้ยงต้องมีความเชียวชาญอย่างสูง หรือมีบุคลากรผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำระดับสูงเท่านั้น โดยบางสายพันธุ์ควรปล่อยทิ้งไว้ในป่าจะดีกว่า และเราได้ยกตัวอย่างปลาเทวดาน้ำเค็มในกลุ่มนี้คือ
The spruce pets
- Holacanthus passer (King angelfish)
- Holacanthus bermudensis (Bermuda blue angelfish)
- Holacanthus ciliaris (Queen angelfish)
- All others
การเลี้ยงปลาเทวดาต้องเตรียมอะไรบ้าง
สำหรับคนที่สนใจและต้องการที่จะเลี้ยงปลาเทวดานั้นทำได้ไม่ยากผู้เลี้ยงสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ ดังนี้
1. การเตรียมบ่อเพาะ บ่อที่จะใช้เพาะพันธุ์ปลาเทวดาอาจใช้ตู้กระจก หรืออ่างซีเมนต์ก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดและเหมาะสมมากที่สุด คือ ตู้กระจกเพราะเมื่อปลาวางไข่จะทำให้สามารถดูได้ง่ายกว่าและรวมถึงสามารถดูพัฒนาการของปลาได้ชัดเจนกว่าสำหรับขนาดของตู้ที่ใช้ก็จะเริ่มตั้งแต่ขนาด 14 – 36 นิ้วขึ้นไป ซึ่งถ้าตู้เล็กจะปล่อยปลาตู้ละ 1 คู่ แต่ถ้าตู้ใหญ่จะใส่ปลาได้ 2 – 3 คู่ ภายในตู้ควรปล่อยพื้นตู้โล่งๆ
2. การเติมอากาศ ใส่น้ำที่ปราศจากคลอรีนและมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยการใช้ปั๊มลม (air pump) และต้องมีระบบกรองน้ำเพื่อทำให้น้ำในตู้สะอาดตลอดเวลา
3. คุณภาพน้ำ ในการเตรียมน้ำเราควรวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ที่ 4.8-5.5 และควรพักน้ำประปาไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อที่คลอรีนจะได้ระเหยออกไป
4. ที่วางไข่ของปลา จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้ปลาใช้เป็นที่วางไข่ ได้แก่ ก้อนหรือแผ่นหิน ตอไม้ พรรณไม้น้ำชนิดต่าง ๆ ในน้ำที่มีใบแข็งแรง โดมกระเบื้อง หรือกระถางต้นไม้ ที่มีเนื้อเนียนและใช้กระจกหรือพลาสติกแผ่นเรียบวางเอียงกับพื้นตู้ประมาณ 30-60 องศา
5. การควบคุมอุณหภูมิ ด้วยการใช้ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นตัวกำหนดควบคุมอุณหภูมิของน้ำโดยอุณหภูมิที่เหมาะควรอยู่ที่ 28 – 32 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ปลาวางไข่ได้เกือบตลอดปี
6. ต้นไม้ที่ควรใส่ในตู้ปลา คือ
- Japanese Dwarf Rush (Acorus graminese) เป็นชนิดต้นไม้ที่อยู่ได้ในน้ำอุ่นและน้ำเย็น เป็นต้นไม้ที่โตค่อนข้างช้า
- Madagascar Lace Plant (Aponogeton madagascariensis)
- Fanwort (Cabomba aquatica)
- Horwort (Ceratophyllum demersum) ต้นไม้ชนิดนี้ใบแข็งแรงทำให้ทนทานต่อการทึ้งของปลาต่างๆ
7. การคัดพ่อแม่พันธุ์ปลา การเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลานั้นก็เหมือนกับการเลือกพ่อแม่พันธุ์สัตว์ชนิดอื่น ๆ คือควรเลือกพ่อแม่ปลาที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ ลักษณะดี ไม่เป็นปลาที่พิการ และอายุประมาณ 8 – 10 เดือนขึ้นไป
อาหารสำหรับปลาเทวดา
โดยธรรมชาติปลาเทวดาตามธรรมชาติเป็นสัตว์กินเนื้อ กินสิ่งที่มีขนาดเล็กกว่ามากเพราะมันมีปากที่เล็ก แต่ในปัจจุบันคนเลี้ยงสามารถให้ทั้งอาหารแบบธรรมชาติ ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกน้ำ ไรน้ำ แพลงตอนสัตว์ และสลับกับการให้อาหารเม็ดสำหรับปลาสวยงาม เพราะปลาเทวดารุ่นหลังๆได้ถูกฝึกให้กินอาหารเม็ดตั้งแต่เด็ก ๆ
การเพาะเลี้ยงปลาเทวดาให้ได้ผลผลิตตลอดปี
การเพาะเลี้ยงปลาเทวดาเป็นหัวข้อที่นักเลี้ยงปลาสวยงามหรือมือใหม่หัดเลี้ยงกำลังหาแหล่งข้อมูลดีๆ ดังนั้นเราจะไปค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือโดยศึกษาจาก คุณฐาปกรณ์ โสนะมิตร์ เกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลามาหลายสิบปี แห่งอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ได้ให้คำแนะนำการเพาะเลี้ยงปลาเทวดานั้นไม่ยากแต่ควรเริ่มต้นจากการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งควรมีอายุ 10 เดือน ขึ้นไป หลักการดูเพศของปลาเทวดานั้น คุณฐาปกรณ์ บอกว่า มีหลักคล้ายๆ กับปลาเนื้อชนิดอื่นๆ แต่เนื่องจากปลาชนิดนี้เน้นเป็นปลาสวยงาม ตัวมีขนาดเล็ก ลักษณะการดูเพศก็จะมีขนาดที่เล็กกว่า แต่ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดชนิดอื่นแต่อย่างใด
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ก็ต้องเลือกตัวเมียที่มีลักษณะท้องพูนๆ ที่เหมือนจะมีไข่อยู่ในท้อง และเลือกตัวผู้ที่ตัวมีลักษณะค่อนข้างสมบูรณ์ไม่พิการ นะเอามาเพาะพันธุ์เข้าด้วยกัน การคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาโดยเอาพ่อแม่พันธุ์มาจับใส่ลงในตะกร้าแยกภายในบ่อแบบคู่ใครคู่มัน ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ปลาตัวเมียก็จะวางไข่ลงบนแผ่นกระเบื้องที่วางไว้ให้ภายในตะกร้า
การผสมพันธุ์ เราก็จะเน้นให้ลูกที่ออกมามีลักษณะเป็นพื้นฐานแบบที่ตลาดต้องการโดยเอาพ่อแม่พันธุ์มาจับใส่ลงในตะกร้าแยกภายในบ่อแบบคู่ใครคู่มัน ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ปลาตัวเมียก็จะวางไข่ลงบนแผ่นกระเบื้องที่วางไว้ให้ภายในตะกร้า การดูแลไข่ปลานั้นสามารถทำได้สองวิธี คือปล่อยให้พ่อแม่ปลาดูแลไข่เอง ข้อสำคัญ คือ จะต้องงดอาหารระหว่างที่ปลาดูแลรักษาไข่ เพราะถ้าปลาได้รับอาหารก็มักจะกินไข่ของตัวเองด้วย หรือทำการแยกไข่ออกมาทำการเพาะและอนุบาลต่างหาก แต่จะต้องเสียเวลาในการดูแลรักษาไข่ค่อนข้างมาก ซึ่งไข่เราก็จะสามารถเก็บได้วันต่อวัน
จากนั้นนำไข่ที่ติดกระเบื้องมาใส่ไว้ในที่สำหรับฟัก พร้อมทั้งเปิดออกซิเจนใส่ภายในน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยไข่จะอยู่ภายในที่ฟัก ประมาณ 7 วัน ก็จะเริ่มฟักออกมาเป็นตัวให้เห็น โดยในระยะฟักนี้ต้องค่อยหมั่นเช็กไข่อยู่ทุกวัน เพราะในกระเบื้องที่วางไข่บางแผ่นจะมีไข่ที่เสียไม่ได้รับการผสม จึงจำเป็นต้องนำออกไปทิ้งทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับไข่ที่อยู่ในกระเบื้องแผ่นอื่นๆ
การอนุบาลลูกปลาเทวดา
การแยกลูกปลาออกมาอนุบาล จะทำเมื่อลูกปลาโตและเริ่มกินอาหารได้โดยจะแยกออกมาอนุบาลที่บ่อซีเมนต์ หรือ ตู้กระจกก็ได้ สำหรับอาหารที่จะใช้เลี้ยงลูกปลาในระยะนี้ จะเน้นให้กินลูกไร หรืออาร์ทีเมีย เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน แล้วจึงหัดให้กินอาหารเม็ดควบคู่ไปกับการกินลูกไร ลูกปลาจะกินอาหารเป็นอย่างดีและเจริญเติบโตรวดเร็วมาก
เมื่อมองเห็นว่าลูกปลาเทวดากินอาหารเม็ดจนเก่ง และเมื่อผ่านไปประมาณ 3-5 วันปลาจะคุ้นกับการกินอาหารเม็ดเป็นอย่างดี เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดเล็กพิเศษประมาณ 10 วัน ก็เปลี่ยนมาเป็นอาหารปลาสวยงามชนิดธรรมดา หรือใช้อาหารเลี้ยงปลาดุกเล็กซึ่งเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำเช่นกัน
ลูกปลาเทวดาจะขายได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ความยาวตัวปลาก็จะได้อยู่ที่ 2 นิ้ว แต่ส่วนมากเราก็จะเลี้ยงให้ใหญ่กว่านี้ขึ้นไปหน่อย ส่วนเรื่องโรคไม่ค่อยเจอปัญหามากนัก แต่ต้องระวังมากที่สุดก็จะเป็นเรื่องการย้ายปลาส่งขาย โดยเราจะต้องนำมาพักในบ่อซีเมนต์อย่างน้อย 2-3 วันก่อน แล้วจึงค่อยส่งขายเพื่อให้ปลาได้ปรับสภาพความคุ้นชินก่อนที่จะถึงมือลูกค้า
ปลาเทวดามีนิสัยดุร้ายจริงหรือ
ปลาเทวดาจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่รักสงบ มีอุปนิสัยที่เรียบร้อย ชอบอยู่แบบนิ่งๆ เป็นปลาที่ไม่ตกใจง่าย แต่ในบางครั้งปลาเทวดาอาจมีนิสัยก้าวร้าว ขี้ตกใจและหวาดระแวง ก็ไม่สามารถนำไปเลี้ยงร่วมกับปลาสวยงามชนิดอื่นได้ และเมื่อถึงช่วงที่ปลาเทวดาว่างไข่ก็จะกลายเป็นปลาเจ้าอารมณ์ ดุ กัด หวงถิ่น
ปลาอะไรที่สามารถเลี้ยงด้วยกันกับปลาเทวดาได้
ถึงปลาเทวดาจะเป็นปลาที่รักสงบ แต่ตัวผู้นั้นค่อนข้างจะเจ้าอารมณ์สักหน่อย บางครั้งก็ดุ และกัด เพราะหวงถิ่น และถ้าเลี้ยงคู่กับปลาชนิดอื่น ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงที่เป็นขนาดเล็กว่า อย่างปลาหางนกยุง เพราะไม่ใช่แค่จะโดนกัดเท่านั้น อาจจะโดนกินด้วยซ้ำ ดังนั้นถ้าจะเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้ว แนะนำว่าควรเลี้ยงที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน หรือ เป็นปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกันอย่าง
- ปลากลางน้ำ ถ้าปลาเทวดาตัวไม่ใหญ่มากบวกกับไม่ดุร้ายสามารถลงเลี้ยงกับปลาฝูงตัวเล็กได้ เช่น รัมมี่โนส, พิสเทลล่า, เซเป้หางพวง, มงฮอคเซีย, น่าจะโอเค
- หรือสามารถเอาปลาเสือ ปลาก้นตู้, ปลาหมูอินโด, หมูกระโดงสูง หรือ ปลาเสือ
- หรือจะเป็นปลาเทวดา แต่หลายๆสีหลายสายพันธุ์แทนก็ได้
แหล่งซื้อขายปลาเทวดาในประเทศไทยและราคา
แหล่งซื้อขายปลาสวยงามในประเทศไทยมีหลายที่แต่จากการศึกษาบทสัมภาษณ์ของคุณฐาปกรณ์ โสนะมิตร์ ได้เล่าว่า ปลาเทวดาที่เพาะพันธุ์นั้นจะส่งไปยังตลาด กลางปลาสวยงามอยู่ที่จังหวัดราชบุรี และตลาดอีกส่วนหนึ่งจะเป็นแม่ค้าจากตลาดนัดจตุจักรมารับถึงที่ฟาร์ม โดยตลาดหลักๆที่คนไทยรู้จักกัน
สำหรับตลาดปลาสวยงามยังมีความต้องการปลาเทวดาที่นับว่าค่อนข้างไปได้ดีอยู่พอสมควร เพราะส่วนมากแล้วคนก็ยังมีความชอบเลี้ยง ซึ่งจากการที่ศึกษาฟาร์มของคุณปกรณ์เองนั้นก็มีราคาขายส่งหน้าฟาร์มที่ตัวละ 2.50 บาท หรือบางขนาดก็ขึ้นไปถึง 5 บาทได้เลยทีเดียว เป็นราคาที่ดีเลยสำหรับการขายหน้าฟาร์ม ซึ่งราคาปลาชนิดนี้ขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด อย่างบางคนเขาก็จะรับไปทำไซส์ใหญ่โดยการซื้อไปเลี้ยงต่อ เพื่อที่จะเอาไปขายเป็นไซส์ใหญ่ ราคาอยู่ที่ 10-15 บาท หรือสูงกว่านั้นหากไปรับซื้อที่ฟาร์มซึ่งเพาะพันธุ์ปลาเทวดาที่หายาก
และสำหรับราคาทั่วไปของร้านขายปลาสวยงามราคาขายปลีกก็จะขายเป็นขนาด โดยเริ่มต้นที่ขนาด 1-1.5 นิ้ว จะมีราคาตัวละ 10 บาท ซื้อ50 ตัว = 250 บ. (ตัวละ 5 บ.) 100ตัว = 400 บ. (ตัวละ 4 บ.) ทั้งนี้ราคาก็ขึ้นอยู่กับร้านค้า และแหล่งที่คุณไปซื้อ
สำหรับใครที่ได้อ่านบนความนี้แล้วและสนใจที่จะเลี้ยงไว้เป็นตู้สวยงาม หรือมีไอเดียที่จะเลี้ยงปลาเทวดาไว้จำหน่ายก็สามารถทำได้ โดยการเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเพื่อได้ทราบถึงลักษณะนิสัยของปลาเป็นอย่างดีแล้ว ขั้นต่อไปก็เรียนรู้เรื่องการผสมพันธุ์ ก็จะสามารถทำได้ง่ายๆ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักที่สร้างรายได้เป็นเงินให้เห็นได้อย่างแน่นอน และ kaset.today ก็ยังมีบทความการทำปศุสัตว์ดีๆอีกหลายชนิด ถ้าคุณได้อ่านต้องชอบแน่ๆ
แหล่งอ้างอิง
โครงกาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านกาเกษตรเฉลิมพะเกียรติพะบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น