ปลาไหล วิธีเลี้ยงง่าย ขายได้ราคา เป็นทางเลือกที่ดีให้กับเกษตรกร

ปลาไหล (Eel) เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับงู ลำตัวกลมยาวและลื่นมาก ความยาวของส่วนหัวจะเป็นเศษหนึ่งส่วน 13-14 เท่าของความยาวเหยียดลำตัว สีของลำตัวจะเข้มกว่าสีของด้านท้อง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณห้วย หนอง คลองหรือพื้นที่ที่มีดินโคลน สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีแค่ไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่พบได้ในไทย โดยลักษณะของปลาไหลนั้นโดยปกติจะไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้นาน ดังนั้น ปลาไหลในช่วงฤดูร้อนจึงต้องขุดหลุมหรือรูเพื่อให้ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ ซึ่งพวกมันสามารถขุดโคลนลงไปประมาณ 1-2 เมตรเลยทีเดียว สำหรับพฤติกรรมของปลาไหลตามธรรมชาติก็มักจะออกมาหากินและขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ที่บริเวณรูก้นของปลาไหลจะมีช่องสืบพันธุ์เปิดออกร่วมด้วยแต่ไม่มีอวัยวะเพศภายนอก มีเพียงอวัยวะสืบพันธุ์ที่อยู่ภายในและแนบติดอยู่กับส่วนบนของลำไส้เท่านั้น

ปลาไหล

ในปัจจุบันปลาไหลที่อยู่ตามธรรมชาตินั้นเริ่มหายากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาไหลมีการกระทบ เช่น สารเคมี แหล่งน้ำที่ถูกถมสร้างเป็นที่อยู่อาศัยรวมถึงการรุกรานของมนุษย์เราด้วย ทำให้ความต้องการของปลาไหลมีสูงมากขึ้นทั้งตามท้องตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารหรือตามครัวเรือน โดยที่ราคาจะอยู่ที่ 60 – 300 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดของปลาเป็นหลัก ถึงแม้ว่าเรามักจะเห็นปลาไหลจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด แต่ก็เป็นปลาไหลที่คนส่วนใหญ่นิยมนำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งจริง ๆ แล้วยังมีปลาไหลขุนที่ตลาดต้องการมากเพื่อส่งออกตามห้างร้านจำหน่ายเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารตามภัตตาคารใหญ่ ๆ และด้วยประโยชน์ของปลาไหลที่ให้ทั้งวิตามิน กรดอะมิโนและโปรตีนเหลือล้นจึงมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานเนื้อปลาไหลมากกว่าที่ใครหลายคนคิดไว้ อีกทั้งถ้าเทียบเรื่องราคากับปลาน้ำจืดชนิดอื่นแล้วปลาไหลนับว่ามีราคาถูกและรสชาติอร่อยมาก ๆ เลยทีเดียว ซึ่งคนอีสานเป็นอีกภูมิภาคที่กินปลาไหลบ่อย

หลายคนอาจจะไม่ทันได้สังเกจว่าขริง ๆ แล้วปลาไหลของไทยค่อย ๆ ลดน้อยลงเนื่องด้วยปัฐหาของการรุกรานที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมัน จนเรียกได้ว่าในปี 2563 ที่ผ่านมาจากการศึกษาในสถิติการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการบริโภคประเทศไทยต้องนำเข้าปลาไหลจากประเทศเพื่อนบ้านมากถึง 25,478 กิโลกรัมซึ่งก็เป็นมูลค่ามหาศาลทีเดียว ดังนั้น มันจึงเป็นช่องทางโอกาสให้เกษตรกรไทยหันมาเพาะพันธุ์ปลาไหลขายส่งออกและทำการผูกขาดกับตลาดปลาในไทยแทน เพราะต้องบอกเลยว่าวิธีเลี้ยงปลาไหลก็ง่ายมาก ๆ แค่ใช้การเลียนแบบธรรมชาติแหล่งอาศัยเดิมของมัน อีกทั้งยังใช้การลงทุนน้อยแต่ทำให้เราได้เห็นช่องทางที่จะนำไปสู่รายได้ 5 – 6 หลัก เพราะฉะนั้นวันนี้ทาง Kaset today จะรวบรวมความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาไหลและตลาดการส่งออกมาไว้เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์กับคนที่กำลังอยากจะเลี้ยงปลาไหลด้วย

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปลาไหล

ชื่อภาษาไทย: ปลาไหล

ชื่อภาษาอังกฤษ: Eel

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Monopterus albus

ตระกูลสัตว์: Synbranchidae

ทำความรู้จักกับสายพันธุ์ปลาไหล

ปลาไหลเป็นสัตว์ที่สามารถพบเจอได้ในหลากหลายสถานที่ที่มีแหล่งน้ำทั่วโลก ซึ่งในแต่ละแหล่งที่ปลาไหลอาศัยอยู่นั้น จะมีการแยกสายพันธุ์และลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เพื่อเป็นการปรับตัวให้อยู่รอดได้ ซึ่งสายพันธุ์ของปลาไหลมีอยู่มากจึงทำการแบ่งหมวดหมู่ตามทวีป คือ ปลาไหลสายพันธุ์ยุโรปแพร่กระจายในทวีปยุโรป ปลาไหลสายพันธุ์อเมริกันอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นอยู่ในทวีปเอเชียตั้งแต่ญี่ปุ่นถึงอินโดนีเซียและปลาไหลสายพันธุ์อินโดนีเซีย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ก็ยังสายพันธุ์ที่น่าสนใจอีกหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ปลาไหลยุโรป (European eels) เป็นปลาไหลที่น่าพิศวงมาก คือจะว่ายน้ำจากฝั่งยุโรปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่ทะเลซากัสโซ เพื่อทำการผสมพันธุ์และวางไข่เป็นระยะทางรวมกว่า 5,000 กิโลเมตร ในระหว่างทางนั้นปลาไหลยุโรปจะคอยกัดกระดูกตัวเอง ะไม่กินอะไรเลย โดยเมื่อวางไข่แล้วจะสามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาได้อีกด้วย ปลาไหลยุโรป มีอายุประมาณ 80 ปี ในตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้มากกว่า 3 ล้านฟองต่อตัวและยังสามารถเลื้อยข้ามไปอีกฝั่งของแหล่งน้ำโดยผ่านบนบกได้อีกด้วย ซึ่งนอกเหนือจากปลาไหลสายพันธุ์นี้แล้วเราก็ยังยก 6 สายพันธุ์ปลาไหลที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันด้วย มาดูกันว่ามีสายพันธุ์ไหนบ้าง

ปลาไหลไฟฟ้า

1) ปลาไหลไฟฟ้า (electric eel)

เป็นปลาไหลที่มีลักษณะพิเศษเป็นอย่างมากและน้อยคนจะไม่รู้จัก เพราะปลาไหลไฟฟ้าสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดถึง 600 โวลต์หรือในบางตัวก็สามารถปล่อยกระแสได้มากกว่านั้นอีก กลไกของการปล่อยไฟฟ้าของปลาไหลชนิดนี้จะใช้กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณลำตัวไปจนถึงปลายหางที่มีเซลล์พิเศษมาสร้างประจุไฟฟ้าได้ ถือเป็นสัตว์ที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงที่สุดในโลก ซึ่งมันมีลักษณะพิเศษนี้ขึ้นมาเพื่อใช้ป้องกันตัวและใช้นำทางในการหาอาหาร เพราะปลาไหลไฟฟ้ามักอาศัยอยู่ในน้ำที่ขุ่นมัวหรือในที่ที่มีแสงตกกระทบน้อย แต่ทั้งนี้รูปร่างของปลาไหลไฟฟ้าก็ถือว่ายังคล้ายคลึงกับปลาไหลทั่วไปที่เราเคยเห็นกัน ตามีขนาดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลเขียวเข้ม ใต้ท้องสีเหลือง หัวมีขนาดใหญ่ ปากกว้างและใต้ท้องมีครีบยาวตั้งแค่ส่วนนอกไปจนถึงปลายหาง

ปลาไหลมอเรย์

2) ปลาไหลมอเรย์ (Moray eel)

เป็นปลาไหลที่มีรูปร่างที่เรียวยาว มักจะอยู่ในที่ที่มีรู โพลงหรือที่อยู่อาศัยที่สามารถหลบภัยได้ ครีบหลังจะเชื่อมกับครีบก้นและครีบหาง ส่วนของปากปลาไหลมอเรย์จะแหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังหนาลำตัวปกคลุมด้วยเมือก ช่องเปิดเหงือกลดรูปจนเหลือแต่รูขนาดเล็ก มีอายุยืนตั้งแต่ 6-36 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและสิ่งแวดล้อม เป็นปลากินเนื้อ ออกหากินในเวลากลางคืน ล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก

ปลาไหล

3) ปลาไหลนา (Swamp eel)

เป็นปลาไหลที่ชอบอาศัยอยู่ในห้วย หนอง คูคลองต่าง ๆ ตามธรรมชาติชอบอาศัยตามพื้นที่ที่มีดินโคลนที่หรือมีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ ในประเทศไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ สีดำกับสีเหลืองและทั้งสองชนิดนี้จะมีรูปร่างลักษณะลำตัวกลมยาวคล้ายงู สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ำได้นาน ในฤดูร้อนปลาไหลจะขุดรูอาศัยลึกประมาณ 1.0 -1.5 เมตรและออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนถัดไป เป็นปลาไหลที่พบได้บ่อยตามท้องตลาดของไทย

ปลาไหลหลาด

4) ปลาไหลหลาด (Bengal swamp eel)

เป็นปลาไหลที่มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกับงูมากแต่ทั้งนี้ลักษณะโดยรวมที่คล้ายกับปลาไหลนา แตกต่างกันในส่วนที่ บริเวณส่วนหัวเรียวยาวกว่า ลำตัวเรียวยาวกว่า ปลายหางแบนและมีก้านครีบเห็นชัดเจน สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือง มีกระดูกเหงือก 4 คู่ มีขนาดทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร สำหรับคนไทยมักนิยมเรียก ปลาหลาดหรือปลาไหลงูเป็นสายพันธุ์ปลาไหลที่คนนิยมเลี้ยงเพาะพันธุ์ขายหรือส่งออกตามท้องตลาด

ปลาไหลหล่อย

5) ปลาหล่อย (Cantor)

ปลาไหลชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งก็คือปลาไหลแดง ลักษณะทั่วไปจะมีลำตัวมีสีเหลือง ขนาดเล็กที่สุดยาวประมาณ 17 – 20 เซนติเมตร หางเป็นรูปใบพาย พบทางภาคใต้บริเวณทะเลสาปลำปำ จังหวัดพัทลุง กระดูกเหงือกมี 4 คู่ มีตาอยู่เยื้องมาทางด้านหน้า กระดูกเหงือกมี 4 คู่ เป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์ปลาไหล เป็นสายพันธุ์ที่คนนิยมซื้อไปปล่อยมากที่สุด แต่ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมที่มันอยู่ดี ๆ เพราะถ้าหากปล่อยในแหล่งน้ำใหญ่ ๆ ก็อาจทำลายระบบนิเวศน์ได้

ปลาไหลญี่ปุ่น
https://dictip.com

6) ปลาไหลญี่ปุ่น (Anguila japonica)

เป็นปลาไหลที่นิยมกินกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี รวมถึงประเทศไทยในกลุ่มคนที่ชื่นชอบการบริโภคอาหารญี่ปุ่นด้วย ลักษณะของปลาไหลชนิดนี้จะมีความต่างจากปลาไหลนาก็ตรงที่มีครีบหู ข้างหลังตัวปลาจะเป็นสีน้ำตาลแก่หรือสีดำปนเทา แต่ส่วนท้องจะมีสีขาวนวล สีคลีบอาจเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้ม ลำตัวจะมีลักษณะกลมยาวส่วนหางจะแบนไปตามด้านข้าง เป็นปลาไหลมีเกล็ดขนาดเล็กมากฝั่งอยู่ให้ผิวหนัง เป็นปลาที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ตัวใหญ่ เนื้อแน่น ทำให้คนนิยมบิโภคมาก ๆ

การจัดการและวิธีการเลี้ยงปลาไหล

สำหรับการจัดการและเลี้ยงดูปลาไหลนั้นเรียกได้ว่าไม่ได้มีคยวามยุ่งยากอะไรเลย เพียงแค่ต้องอาศัยการเตรียมตัวและศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด โดยในคู่มือการเลี้ยงปลาไหลนาของทางกรมประมงได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงปลาไหลเพื่อเพาะพันธุ์ขายหรือส่งออกสู่ท้องตลาด พร้อมทั้งอธิบายเรื่องรูปแบบการเลี้ยงปลาไหลที่เราสามารถดลือกใช้รูปแบบนั้นได้ตามความเหมาะสมของต้นทุนและพื้นที่ เดี๋ยวเราไปดูกันว่าการเลี้ยงปลาไหลต้องมีการจัดการในส่วนใดบ้าง

ปลาไหลหล่อย

การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์

ในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาไหลที่มีคุณภาพนั้นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การผสมพันธุ์เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ เนื่องจากการใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียมไม่สามารถทำให้ปลาไหลวางไข่ได้ และในการเพาะพันธุ์เลียนแบบธรรมชาติ ก่อนที่จะนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลาไหลนามาปล่อย เพื่อทำการผสมพันธุ์จะต้องมีการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์และปัจจัยอื่นๆที่ต้องคล้ายกับธรรมชาติมากที่สุด โดยวิธีการ คือ ใช้ถังไฟเบอร์ ขนาด 2 ตัน สูง 1 เมตร ใส่ดินเหนียวแบบแนวลาดเอียงสูงประมาณ 40 เซนติเมตร จากนั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ดินเหนียวโผล่ออกมาเหนือน้ำเป็นแนวเอียงประมาณ 10 เซนติเมตร ทำการปลูกต้นไม้ประเภทน้ำให้เหมือนกับธรรมชาติ อย่างเช่น จอกแหน ผักตบชวา เป็นต้น ให้พืชน้ำอยู่กันแน่นประมาณ 200-400 ตารางเมตร ในส่วนของด้านบนให้ปลูกพืชลอยน้ำที่เป็นที่วางไข่ของแม่ปลาไหลได้ จากนั้นปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ สัดส่วนที่ 1ต่อ3 ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร จากนั้นรอให้ปลาไหลวางไข่ประมาณ 2-3 เดือน โดยเมื่อลูกปลาจะมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โดยจะหาที่หลบภัยตามพืชที่ปลูกไว้ หรือจะเป็นอีกวิธี คือ นำบ่อปูน ขนาด 5x10x1 ลูกบาศก์เมตร แล้วใส่ดินในบ่อสูง 30 เซนติเมตร แล้วปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในสัดส่วน เท่ากับ 1ต่อ3 ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร เติมน้ำให้มีระดับสูงกว่าผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใส่พืชน้ำต่างๆเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนและวางไข่ โดยปลาไหลนาจะก่อหวอดคล้ายปลากัด สามารถรวบรวมปลาไหลนาได้หลังจากปลาไหลก่อหวอดประมาณ 5 วันแล้วจึงนำลูกปลาไหลไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือในท่อซีเมนต์กลม

การคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์

ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลาไหลนั้นจะต้องพิจารณาที่แม่พันธุ์ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 60-200 กรัมและมีความยาวของลำตัวประมาณ 40-50 เซนติเมตร โดยสังเกตจากท้องที่ใหญ่ อูมเป่ง ช่องคลอดเพศสีแดง  ส่วนพ่อพันธุ์จะต้องพิจารณาที่น้ำหนักตัวที่มากกว่า 300 กรัมขึ้นไป และมีความยาวของลำตัวที่มากกว่า 70 เซนติเมตร ซึ่งก่อนจะพิจารณาได้นั้นในช่วงแรกจะยากที่จะแยกเพศของปลาไหลได้ เนื่องจากปลาไหลเป็นปลาที่มีสองเพศในตัวเดียวกัน  

การวางไข่และการทำอนุบาลปลาไหล

ปลาไหลนามีช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่จะวางไข่มากในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงกลางฤดูฝนหรือถึงช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ไข่ปลาไหลจะมีลักษณะทรงกลม สีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เป็นไข่ชนิดจมน้ำ และไม่มีสารเหนียวคลุมไข่ โดยแม่ปลาไหล 1 ตัว จะวางไข่ประมาณ 100-1,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาไหล สำหรับการอนุบาลลูกปลาไหลนั้น สามารถทำได้โดยในหลังจากที่ลูกปลาไหลฟักออกแล้วประมาณ 4-5 วัน ให้ผู้เลี้ยงสามารถเริ่มให้อาหารด้วยไข่ต้มบด และไรแดง 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้า และเย็นเป็นเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หนอนแดงหรือไส้เดือนขนาดเล็กอีก 1 เดือนจึงพร้อมปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป

การดูแลและให้อาหารปลาไหล

ปลาไหลเป็นปลาที่กินเนื้อที่ชอบฉก หรือแทะเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วกิน ทั้งสภาพที่สดมีกลิ่นคาวจัด ไปจนถึงสภาพที่เน่าเปื่อยจนมีกลิ่นเหม็น รวมถึงลูกปลาขนาดเล็ก หนอน แมลง ไส้เดือน หอยเชอรี่ กุ้งฝอยหรือจะให้อาหารเป็นไรแดงวันละ 2 ครั้ง ในส่วนของปลาไหลที่กำลังโตฝึกกินอาหารสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดง ซึ่งปลาไหลมีนิสัยรวมกลุ่มอยู่อาศัยหรือกินอาหาร ชอบกินอาหารในมืด แทะเนื้อสัตว์กิน

ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหล
1) การนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของปลาไหลจากธรรมชาติมาเลี้ยง ควรระมัดระวังในการขนส่งเนื่องจากปลาไหลอาจจะตายหรือช้ำภายในได้
2) การนำปลาไหลมาเลี้ยงควรคัดขนาดและอายุที่ไม่แตกต่างกันมากเกินไปจนทำให้เกิดการกินกันเองเกิดขึ้น
3) การนำปลาไหมาเลี้ยงไม่ควรใส่บ่อเลี้ยงทันที จะต้องพักปลาไหลไว้ในถังหรือภาชนะประมาณ 3-4 วัน ก่อนจะลงบ่อเลี้ยง
4) อาหารที่ให้ปลาไหลในช่วงแรกไม่ควรแตกต่างจากที่เคยกินในธรรมชาติ เช่น หอย หรือปลาขนาดเล็ก
5) ถ้าปลาไหลแสดงอาการที่ผิดปกติหรือป่วยจะต้องรีบหาสาเหตุทันที เนื่องจากปลาไหลที่ไม่คุ้นชินกับสถานที่หรือสภาพแวดล้อม

รูปแบบและวิธีการเลี้ยงปลาไหล

อย่างที่ได้บอกไปว่านอกเหนือจากขั้นตอนต่าง ๆ ในการเลี้ยงปลาไหลแล้วรูปแบบการเลี้ยงที่เราเลือกกห็จะสอดคล้องกับเรื่องของพื้นที่และต้นทุนที่ผู้เลี้ยงเห็นว่าสมควร ซึ่งในการเลี้ยงปลาไหลนั้นจะมีรูปแบบให้เลือกเลี้ยงด้วยกันหลายวิธี ดังนั้น เราจะมาดูกันว่ารูปแบบไหนที่เหมาะกับเราและต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

1) เลี้ยงปลาไหลในบ่อปูนซีเมนต์

สำหรับการเลี้ยงปลาไหลแบบแรกถือว่าเป็นที่นิยมมาก เป็นการเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ซึ่งก็จะมีทั้งบ่อแบบสี่เหลี่ยมและวงกลม โดยใช้บ่อปูนซีเมนต์ขนาด 4×4 เมตร สูงประมาณ 70 เซนติเมตร ภายในบ่อฉากปูนในเรียบร้อย ใช้อุปกรณ์เสริมอย่างกระบอกไม้ไผ่เป็นที่อยู่อาศัยและมีท่อน้ำฝาปิดเจาะรูขนาดเล็กให้น้ำไหลออกได้รอบด้านในระดับ 50 เซนติเมตร บริเวณด้านบนมีตาข่ายปิดเพื่อป้องกันปลาไหลหนีออกไป สำหรับบ่อที่สร้างขึ้นใหม่ควรนำต้นกล้วยหั่นเป็นท่อนใส่ลงในบ่อแช่ไว้ประมาณ 3-4 วันจากนั้นก็ใส่ดินเหนียวรองก้นบ่อ 1 ชั้น นำหนังวัวหรือหนังควายสดใส่เป็นชั้นที่ 2 นำฟางข้าวมาวางทับชั้นที่ 3 แล้วชั้นที่ 4 เป็นชั้นบนสุด นำดินมากลบให้เรียบจากนั้นนำผักตบชวามาใส่ในบ่อเลี้ยงปลาไหลนาและเตรียมกระบอกไม้ไผ่ที่เจาะรูมาวางไว้ เพื่อให้ปลาไหลได้ทำเป็นที่อยู่อาศัย จากนั้นก็สามารถนำลูกปลาไหลขนาดเท่า ๆกันมาใส่ตารางเมตรละประมาณ 40-50 ตัว ในพื้นที่บ่อขนาด 4×4 ตารางเมตร ทำให้ใส่ลูกปลาไหลได้ประมาณ 800 ตัว

นอกจากใช้ไม่ไผ้แล้วยังสามารถใช้ท่อ PVC เป็นที่อยู่อาศัย โดยใช้บ่อปูนซีเมนต์ขนาด 3×3 ตารางเมตร สูงประมาณ 1.2 เมตร ให้ใส่น้ำในบ่อให้เต็มแล้วนำกล้วยมาตัดเป็นท่อน ๆ จากนั้นนำไปแช่ในบ่อไว้ประมาณ 15 วัน ทำแบบเดิมอีกครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการปรับค่า pH หรือกรด-ด่างในบ่อ นำต้นกล้วยออกไปทิ้งแล้วนำน้ำออกไปทิ้งด้วย จากนั้นทิ้งบ่อไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อแล้วนำน้ำมาใส่ในบ่อให้สูง 4-5 นิ้ว นำท่อ PVC ที่เตรียมไว้มาใส่บ่อ เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาไหลแบบไม่ต้องใส่โคลนลงไป เพียงแค่นำปลาไหลที่จับด้วยวิธีที่ธรรมชาติปล่อยลงในบ่อแล้วให้อาหารเป็นปลาสับวันละ 1 มื้อในช่วงเช้า อย่าลืมที่จะถ่ายน้ำเดือนละ 2 ครั้ง

2) เลี้ยงปลาไหลแบบคอนโด

เป็นการเลี้ยงปลาไหลที่เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่ไม่มากแต่อยากเลี้ยงปลาไหลได้จำนวนมากเช่นกัน เพียงแค่ใช้ยางรถยนต์วางไว้ในพื้นที่ที่เหมาะสม แล้วนำทรายมาใส่ไว้ตรงกลางยางรถยนต์ให้อัดแน่นมาก จากนั้นยกยางออกนำแผ่นพลาสติกปูทับทรายเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยให้คล้ายกับธรรมชาติมากที่สุด เติมน้ำให้สูงเต็มประมาณ 1 ล้อและค่อย ๆ วางล้อยางขึ้นไปประมาณ 3 – 4 ชั้น จากนั้นการให้อาหารปลาไหลควรให้วันละ 2 ครั้ง เช่น หอยทุบ ซากปลา ควรถ่ายน้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์

การเลี้ยงด้วยล้อยางรถจักรยานยนต์ในขั้นตอนแรกเตรียมวัสดุในการเลี้ยงปลาไหล ซึ่งนำยางรถจักรยานยนต์เอาเส้นที่ไม่มีการฉีกขาดนำมาแช่น้ำประมาณ 15 วัน เพื่อลดกลิ่นยางที่ติดอยู่ จากนั้นให้ล้างให้สะอาดและตัดส่วนที่เป็นโลหะออก เพื่อป้องกันการเกิดสนิม จากนั้นก็นำข้อต่อท่อ PVC 4 ทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว เพื่อไว้ต่อยางในรถจักรยานยนต์ให้เป็นวงกลมเหมือนเดิมและมีปากท่อด้านบนไว้สำหรับให้อาหารก่อนที่จะเชื่อมต่อกัน นำข้อต่อรูด้านล่างแช่น้ำร้อนประมาณ 3 นาที จนท่อด้านล่างอ่อนลงแล้วหนีบด้วยไม้กระดานให้ปลายตีบแบน เพื่อป้องกันปลาไหลหนีและเป็นแอ่งอาหารข้อต่อ PVC ทางด้านบนเจาะรูขนาด 2-3 หุน จำนวน 2-3 รูเพื่อเป็นที่ระบายอากาศ จากนั้นนำท่อ PVC ขนาด 1.5 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาว 10 เซนติเมตร นำไปแช่น้ำร้อนประมาณ 3 นาที แล้วหนีบให้แบนไม่ให้ปลาไหลหนีอออกไป จากนั้นเติมน้ำลงบ่อให้เกือบเต็ม โดยล้อยางใส่ปลาไหลได้ 1 ตัวและอาหารของปลาไหลจะใช้ปลาเป็ดบดหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ วันละ 1 ครั้งในช่วงเย็น

3) เลี้ยงปลาไหลในบ่อพลาสติก

เป็นการเลี้ยงปลาไหลที่เราทุกคนสามารถทำตามได้เลย ให้ขุดบ่อดินลึก 70 เซนติเมตรกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร เมื่อได้บ่อดินแล้วปูพื้นด้วยกระสอบเก่าแล้วนำพลาสติกสีดำมาปูที่พื้นบ่อ จากนั้นให้นำฟางข้าวที่แช่น้ำมาใส่ตรงกลางบ่อให้หนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร นำดินมาเทถมให้ลาดเอียง 5-30 เซนติเมตร ทำการเติมน้ำลงไปให้ดินโผล่เหนือน้ำ 5-10 เซนติเมตร นำผักตบชวาใส่บ่อแล้วล้อมด้วยมุ้งตาข่ายสีฟ้า ทำหลังคาคุลมพื้นที่หนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ปล่อยปลาในอัตรา 30 – 40 ตัวต่อตารางเมตร สามารถให้อาหารเม็ดที่เป็นหัวอาหารวันละ 1 มื้อในช่วงเย็น

4) เลี้ยงปลาไหลในถังไฟเบอร์

เป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาไหลที่ยังไม่ได้แพร่หลายแต่ก็อยากแนะนำเพราะใช้การลงทุนไม่มาก โดยให้เราเตรียมถังพลาสติกขนาดใหญ่ตั้งไว้ในแนวนอน เจาะช่องตรงกลางถังให้มีขนาดที่ให้หญ้าเข้าไปได้ จากนั้นให้นำหยวกกล้วยที่ผ่านการสับแล้วใส่ลงไป ใส่อาหารเลี้ยงและมูลสัตว์ตามลงไป ทำแบบนี้สลับเป็นชั้น ๆ จนเต็มถัง ต่อมาให้ใส่น้ำมีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตรแล้วนำเศษผักต่าง ๆ มาใส่เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ แล้วรดน้ำด้วยน้ำหมัก EM ลงไป หมักส่วนที่ผสมทั้งหมดทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 15 วัน จากนั้นก็สามารถนำปลาไหลลงเลี้ยงได้ทันที โดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ในการให้อาหารด้วยไข่ต้มบดและไรแดง 2 ครั้งต่อวัน

แหล่งซื้อขายปลาไหลที่สำคัญในไทย

สำหรับคนที่กำลังกังวลว่าการเลี้ยงปลาไหลจะไม่เป็นที่ต้องการของตบาดหรือไม่มีตลาดรองรับ จากการศึกษาในเอกสารเรื่ององค์ความรู้ปลาไหลนาก็ได้มีการแนะนำแหล่งซื้อขายปลาไหลที่ให้ราคาดีและเป็นเหมือนตลาดขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่รองรับปลาไหลจากทั่วสารทิศ โดยจะมีทั้งหมด 4 สถานที่หลัก ๆ ดังต่อไปนี้

สุไหงโกลก
สุไหง-โกลก
ตลาดไท
ตลาดไท

สุไหง-โกลก: เป็นศูนย์กลางตลาดปลาไหลที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่ราบลุ่ม จังหวัดนราธิวาส ถูกรวบรวมและจำหน่ายที่ตลาดเทศบาลสุไหงโกลกและตลาดในพื้นที่ตำบลนานาด ตากใบ ปริมาณในการจับรวมทั้งหมด 35 เมตริกตันต่อปีคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท ิีกทั้งยังมีปลาไหลที่นำเข้ามาจากมาเลเซีย ซึ่งอยู่ติดกับภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมมีรายได้มากกว่า 20-30 รายต่อวัน

แหล่งตลาดไท: เป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี เป็นศูนย์กลางที่รวบรวมปลาไหลทั้งที่จับจากธรรมชาติ และในพื้นที่ที่เลี้ยงทั้งภาคเหนือ กลาง อีสานถือว่าเป็นแหล่งที่ค้าขายปลาไหลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมปริมาณผลผลิตปลาไหลไม่ต่ำหว่า 350 เมตริกตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านบาทต่อปี

แหล่งชะอวด: เป็นแหล่งปลาไหลที่ได้จากตานกลางของภาคใต้ ทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปริมาณในการจับไม่ต่ำกว่า 45 เมตริกตันต่อปีมูลค่า 2 ล้านบาทต่อปี โดยมีตลาดอำเภอชะอวดเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายรองลงมาคือ ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง

แพปลาไหล: เป็นแหล่งรับซื้อปลาไหลเพื่อตอบสนองปริมาณปลาไหลที่ชาวบ้านหาได้ปริมาณมากในแต่ละวัน ซึ่งคนที่นำปลามาขายให้กับแพแห่งนี้จะมีรายได้ตั้งแต่วันละ 500-2,000 บาท โดยราคาปลาไหลจะขึ้นลงตามฤดูกาลในช่วงหน้าฝน ราคาจะอยู่ที่ 80-120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนหน้าแล้งปลาไหลหายากราคาจะสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 140-170 บาท

สร้างรายได้จากการเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่น

เนื้อปลาไหล
เนื้อปลาไหล
เนื้อปลาไหล

อย่างที่เราได้บอกไปว่าปลาไหลญี่ปุ่นกำลังเป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ แต่มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้การเพาะเลี้ยงปลาไหลในประเทศญี่ปุ่นนั่นมีความยากลำบากและใช้ต้นทุนที่สูงอย่างมาก อีกทั้งปลาไหลของญี่ปุ่นนั้นยังไม่สามารถจับตามบริเวณชายฝั่งได้ตลอดทั้งปีทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงและราคาของปลาไหลตามท้องตลาดในญี่ปุ่นก้แพงมาก ๆ ซึ่งเป็นผลจากการที่ไม่สามารถนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาผสมพันธุ์เพื่อออกไข่ปลาไหลจึงค่อนข้างมีอยู่อย่างจำกัดสวนทางกับความต้องการบริโภคของคนในประเทศ ดังนั้น ประเทศญี่ปุ่นจึงต้องมีการนำเข้าปลาไหลจากต่างประเทศ ส่วนในประเทศเกาหลีและไต้หวันก็มีกฎหมายห้ามส่งปลาไหลออกนอกประเทศ ดังนั้น ถ้าเรามีการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาไหลที่สายพันธุ์ใกล้เคียงกับญี่ปุ่นและมีคุณภาพที่สามารถเทียบเท่าประเทศเหล่านี้ได้ก็จะสามารถสร้างรายได้หลักล้านให้แก่เราได้ จากการศึกษาในรายงานของบริษัท เอ ดี เค ฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยที่ส่งปลาไหลไปจำหน่าย ในญี่ปุ่นต้องสั่งปลาไหลจากต่างประเทศถึงปีละ 14,000 ตัน ในจำนวนนี้คิดเฉลี่ยแล้วประเทศไทยส่งปลาไหลให้ญี่ปุ่นเพียง 0.50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าถ้าหากประเทศไทยสามารถผลิตปลาไหลได้มากกว่าเดิมแล้ว โอกาสในการหาลู่ทางขยายตลาดต่างประเทศก็ยังมีมาก

สำหรับการเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่นจากการศึกษาตามเอกสารของสมศักดิ์ ศรีกุศลและคณะก็ได้กล่าวถึงการเตรียมตัวว่า ต้องเตรียมบ่อเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่นเบีนบ่อผนังซีเมนต์พื้นเป็นดินส่วนมากเบ๊นบ่อที่สร้างอยู่บนพื้นดินและลึกประมาณ 1 เมตร โดยมีขอบบ่อจะต้องสูงจากระดับพื้นดิน 75 เซ็นติเมตรและอยู่ใต้ดินเพียง 25 เซ็นติเมตร ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำออกและในการปรับพื้นบ่อไห้แข็งไม่เป็นโคลนตม บ่อเลี้ยงปลาไหลจะมีหลายขนาด ขนาดเล็กตั้งแต่ 1/4 เฮกแตร์ (1เฮกแตร์เท่ากับ 6.25 ไร่ ) พื้นบ่อกระทุ้งให้แน่นและต้องหมั่นตรวจสอบอ๊อกซิเจนในบ่อตลอดด้วย ซึ่งก่อนจะเลี้ยงเราก็ควรศึกษาถึงการเตรียมตัวและความเสี่ยงต่าง ๆ ในการเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่นด้วย เพื่อให้มันสามารถเป็นอาชีพที่สรางรายได้ให้กับเราได้ในระยะยาว

ปลาไหลที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันตามท้องตลาดต้องเรียกได้ว่าส่วนใหญ่มาจากการเพาะพันธุ์ขายล้วน ๆ เพราะการจับปลาไหลตามแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นสามารถทำได้ยากแล้ว อีกทั้งการเลี้ยงปลาไหลเองก็จะทำให้เราสามารถขายส่งออกตลาดได้เป็นจำนวนมากต่อครั้งด้วย ซึ่งทาง Kaset today การเลี้ยงปลาไหลก็นับว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจและเมื่อลองเปรียบเทียบแล้วปลาไหลก็สามารถสร้างรายได้ให้เราได้ดีและมีตลาดปลารองรับไม่ต่างจากปลานิล ปลาดุกหรือการเลี้ยงปลาสายพันธุ์อื่น ๆ เลย ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องขาดทุนแน่นอน

แหล่งที่มา
ปลาไหลนา, กรมประมง
การเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่น, สมศักดิ์ สรีกุศลและคณะ
องค์ความรู้เรื่องปลาไหลนา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้