น้อยโหน่ง ผลไม้ที่น้อยคนจะรู้จักพร้อมกับสรรพคุณมากมายที่เราคาดไม่ถึง

ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออังกฤษเชื่อ : Custard-apple, Bullock’s-heart

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona reticulata L.

น้อยโหน่ง รสชาติ

ส่วนประกอบของต้นไม้

ต้นน้อยโหน่ง

ต้นน้อยโหน่งนั้นมีลักษณะเป็นไม้ยืน ลักษณะของลำต้นมีขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นทรงโค้งคด เปลือกของต้นนั้นเป็นสีน้ำตาลกระขาว พอแก่จะกลายเป็นสีเทา ขนาดของต้นมีความสูงอยู่ที่ 6-7 เมตร

ใบน้อยโหน่ง

ลักษณะของใบน้อยโหน่งนั้นจะออกใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับกันไปมา รูปทรงของใบนั้นเป็นรูปหอกขอบขนานเรียวยาว ปลายใบมีความแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวเป็นมันอยู่ด้านใน และใบสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 2-2.5นิ้ว ความยาวอยู่ที่ 5-7 นิ้ว

ดอกน้อยโหน่ง

ดอกของต้นน้อยโหน่งจะออกเป็นช่อ บางครั้งจะออกเป็นเดี่ยวโดยใน 1 ช่อจะออกดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับใบ สีของดอกจะเป็นสีเหลืองอมเขียว มี 2 ชั้นๆละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะมีขนาดเล็กกว่าชั้นนอกก้านของดอกจะมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว

ผลน้อยโหน่ง

น้อยโหน่งผลไม้ขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า เมื่อผลยังสุกลักษณะของเปลือกจะเป็นสีเขียวอ่อนอมแดงแต่เมื่อผลแก่หรือสุกเผลือกของผลจะกลายเป็นสีแดงอมน้ำตาลรสชาติของผลนั้นจะมีรสชาติหวานแต่ไม่หวานเท่าน้อยหน่า และความมีกลิ่นที่ฉุนทำให้น้อยโหน่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

น้อยโหน่งสุก

วิธีการปลูก

การขยายพันธุ์ต้นน้อยโหน่งจะนิยมขยายพันธุ์แบบเมล็ดและการตอนกิ่ง ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพของดินด้วย ชอบความชื้นระดับปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน

1.การปลูกแบบเมล็ด

นำกระดาษทรายฝนบริเวณด้านข้างของเมล็ดและนำส่วนที่ฝนเรียบร้อยแล้วไปแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 คืน เตรียมขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาแช่เมล็ดมะพร้าวให้นำเมล็ดมะพร้าวใส่ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำหมาดๆมาใส่ในภาชนะที่เราเตรียมไว้ เมื่อครบะยะเวลาต้นเริ่มงอกย้ายลงกระถางปลูกลงดินต่อ

2.การปลูกแบบการตอนกิ่ง

เลือกกิ่งที่เราต้องการนำไปปลูกและนำคัทเตอร์หรือมีดไปกรีดหรือควั่นกิ่งยาวประมาณ 1 นิ้วลอกเปลือกออก และนำถุงที่ระใส่ขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้มาพันกิ่ง นำสายเคเบิ้ลมารัดหัวท้ายให้หนาแน่ทั้งบนและล่างรอจนเกิดรากออก

ก่อนจะนำต้นน้อยโหน่งลงปลูกบนดินควรเริ่มจากพรวนดินทิ้งไว้ก่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ทำการตากดินให้แห้งทำการนำต้นลงบนดิน โดยจะนำดินที่พรวนไว้ผสมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีหากปลูกในบริเวณที่ดินดีให้เว้นระยะห่างประมาณ 4*4 เมตร หากปลูกในดินที่ไม่ดีควรเว้นระยะห่างประมาณ 3*3 เมตรเพื่อให้กิ่งและต้นของน้อยโหน่งเติบโตได้เต็มที่ ไม่แย่งสารหารกัน ซึ่งจะส่งผลต่อขนาดของผลและประมาณของที่ที่จะออกผลออกมา

น้อยโหน่ง ปากช่อง

วิธีการดูแล

ดิน

ต้นน้อยโหน่งนั้นสามารถปลูกได้กับดินทุกสภาพปลูกได้ในทั้งดินเหนียว ดินทราย ดินหิน ดินปูนขอเพียงแค่น้ำสามารถผ่านเข้าไปหาต้นได้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว แต่ถ้าหากต้องการให้ผลของน้อยโหน่งนั้นมีขนาดใหญ่ให้ปลูกในดินที่น้ำเข้าถึงง่าย ระบายออกได้ง่ายก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่เราของแนะนำให้ใส่คือคควรใส่ร่วมกับปุ๋ยคอก ซึ่งจะนำมาใส่ในดินเมื่อจะทำการปลูกต้นน้อยโหน่งหลังตัดตอนกิ่งในอัตราส่วน 300-500 กิโลกรัม/ไร่/ หลังจากนั้นจึงจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งจะใส่ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยจะแบ่งการนำมาใส่ 2 ครั้ง เพื่อให้ดินดูดซึมสารอาหารและรับธาตุไปเลี้ยงต้อนน้อยโหน่ง ซึ่งจะถือว่าต้นน้อยโหน่งได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต เพราะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี แต่ก็ต้องให้เหมาะสมตามความต้องการของต้นน้อยโหน่ง

น้ำ

ชอบความชื้นปานกลาง ไม่ชอบน้ำเยอะหรือน้อยเกินไป หรือจะสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง พอเพราะต้นน้อยโหน่งไม่ชอบความชื่นมากเมื่อได้รับน้ำมากเกิดไปจะส่งผลให้ผลที่ออกมามีขนาดเล็ก ออกผลมาจำนวนไม่มาก

แสงแดด

ชอบบริเวณที่มีแสงแดดจัดมากหรือเต็มวัน

ประโยชน์และสรรพคุณ

ผลน้อยโหน่ง

ผลของน้อยโหน่งนั้นเราสามารถนำมาทำเป็นยาได้ทั้งผลดิบและผลแห้ง โดยเราจะนำมาเป็นยารักษาโรคชนิดเดียวกันเช่น แก้โรคท้องร่วง แก้บิด และ เป็นยาขับพยาธิใบไม้ นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคบิด ถ่ายพยาธิ พอกฝี

ใบน้อยโหน่ง

ใบของน้อยโหน่งนั้นเราสามารถนำมาคั้นเอาน้ำนำไปทำเป็นยาฆ่าเหาได้อย่างดี แก้ฟกช้ำและยังนำน้ำมาทำเป็นสีย้อมได้ จะทำให้สีติดทนนาน 

รากน้อยโหน่ง

ใช้นำมารักษาโรคเรื้อนและแก้เหงือกบวมได้

เมล็ดน้อยโหน่ง

เมล็ดน้อยโหน่งนั้นสามารถนำมาสมานแผลได้และยังสามารถนำไปเป็นย่าฆ่าแมลงได้อีกด้วยเพราะส่วนเนื้อในของเมล็ดนั้นเป็นยาพิษอย่างแรง

เปลือกต้นน้อยโหน่ง

ภายในเปลือกของต้นจะมีสารชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาห้ามเลือด และยังนำมาเป็นยารักษาสมานแผลสดได้อีกด้วย

น้อยโหน่ง ราคา

ราคาต่อต้นโดยประมาณ

จะอยู่ที่ 50 – 150 บาทต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นน้อยโหน่ง

แหล่งอ้างอิง

: http://natres.psu.ac.th/FNR/

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้