ข้อมูลทั่วไป
ชื่อท้องถิ่น : รังสาด ลังสาด รางสาด ลางสาด (ไทย), ลาซะ ดูกู (มลายู)
ชื่ออังกฤษ : Langsat (ลานสาท), Lancet (ลานเสท), Langsium (ลานเซียม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lansium parasiticum (Osbeck) K.C.Sahni & Bennet (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Aglaia domestica (Corrêa) Pellegr., Lansium domesticum Corrêa)
วงศ์ : MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด : เอชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทย
รู้หรือไม่ว่า…ลางสาดเป็นผลไม้ชนิดเดียวกันกับลองกอง และเป็นผลไม้ไทยที่อดพูดถึงไม่ได้ โดยเฉพาะในหน้าร้อนต่อหน้าฝนเลย ซึ่งเป็นผลไม้รสชาติดี และรู้หรือไม่ว่าลางสาด…สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทยอย่างยั่งยืน และสายพันธุ์ลางสาดที่นิยมปลูกกันมากที่สุด คือ สายพันธุ์อุตรดิตถ์ หรือที่เรียกว่า “ลางสาดเมืองลับแล” เป็นสายพันธุ์ที่หวานมากที่สุดในประเทศ และอุตรดิตถ์ยังเป็นแหล่งปลูกลางสาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่เมื่อลางสาดมีราคาถูกลงทำให้เกษตรกรหันไปนิยมปลูก “ลองกอง” แทน
หลายๆคนคงสับสนระหว่าง ลองกอง และลางสาด เพราะผลไม้ 2 ชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่หากสังเกตจะสามารถสังเกตได้ ดังนี้
ลองกอง | ลางสาด |
ผลค่อนข้างกลม | ลักษณะออกกลมรี |
เปลือกจะค่อนข้างหนา | เปลือกบาง |
ผิวจะหยาบเล็กน้อย | ผิวละเอียด |
เปลือกมีสีเหลืองซีด | เปลือกมีสีเหลืองสดใส |
ไม่มียาง | มียางสีขาวขุ่น |
แกะรับประทานได้ง่าย เปลือกล่อนออกจากเนื้อได้ดี | แกะรับประทานได้ยาก เปลือกล่อนได้ไม่ดี |
ผลมีจุก | ผลกลมเรียบไม่มีจุก |
มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย | มีเมล็ดมาก (ประมาณ 5 เมล็ด) |
เมล็ดจะไม่ขม | มีรสขมมาก |
มีรสหวาน | รสหวานอมเปรี้ยวกว่า |
ความหวานจะมีค่าตั้งแต่ 16-19 องศาบริกซ์ (หวานน้อยกว่า) | ความหวานมีค่าประมาณ 15-16 องศาบริกซ์ |
เนื้อของลองกองจะแห้งและขาวใสเป็นแก้ว | เมื่อสุก เนื้อจะฉ่ำน้ำ |
ใบลางสาดจะมีรสขมจัด | ใบจะไม่ขม |
ส่วนประกอบของต้นลางสาด
ลักษณะของลำต้นลางสาด
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตรง สูงประมาณ 5-10 เมตร ปลายกิ่งตั้ง แตกกิ่งก้านเป็นมุมแหลมกระจายกึ่งกลางลำต้นขึ้นไป ผิวเปลือกชั้นนอกมีสีเทาและมีผิวเปลือกขรุขระ
ใบลางสาด
เป็นใบประกอบ ก้านใบกลม แตกใบสลับเรียงระนาบกัน ใบเป็นรูปไข่วงรีโค้งมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมีไขนวลปกคลุม ใบมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างใบจะมีเส้นใบนูน
ดอกลางสาด
ออกเป็นช่อสีขาว เกิดตามลำต้น ลักษณะดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผลลางสาด
ลักษณะกลมรี ออกผลเป็นช่อ ๆ ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง เปลือกค่อนข้างบาง ผิวละเอียด ผลอ่อนนุ่ม มียางบริเวณเปลือกเป็นสีขาวขุ่น ๆ ส่วนเนื้อในนิ่ม ฉ่ำน้ำ มีรสหวานหอมอมเปรี้ยวเล็กน้อย เมล็ดมีสีน้ำตาล 1 ผลมีเมล็ด 4-6 เมล็ด ลักษณะกลมแบนรี มีเปลือกหุ้มบาง ๆ ผิวเมล็ดเรียบ มีเนื้อในสีขาว มีรสฝาดและขมจัด
วิธีปลูกต้นลางสาด
การปลูกลางสาดสามารถทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนแบบควั่นกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่ง
การตอนกิ่งจะนิยมมากกว่าการปลูกด้วยวิธีอื่นๆ เพราะจะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า โดยใช้กิ่งพันธุ์มาเพาะใส่ลงถุงชำ รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในดีร่ม ประมาณ 1 ปี ก็สามารถนำมาปลูกลงแปลงได้
ขั้นตอนการปลูก
- เตรียมต้นกล้าที่มีอายุมากกว่า 1 ปี และมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่ ก่อนปลูกค่อยๆ งดน้ำและปุ๋ย และเพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย
- การปรับพื้นที่ควรขุดตอและรากไม้เก่าออกให้หมด ไถตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ
- เตรียมหลุมปลูกขึ้นกับสภาพของดิน ขนาด 6*6 ซม. ระยะปลูกถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควรใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตรและ ระหว่างแถว 6-8 เมตร
- หลังจากกำหนดแนวและจุดปลูกแล้ว ให้โรยหินฟอสเฟตบริเวณก้นหลุม ประมาณ 500 กรัม พรวนคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
- วางระบบน้ำการปลูกลองกองเป็นการค้า จำเป็นต้องมีระบบน้ำ ควรใช้ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกอร์) เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและดูแลรักษา
- ปลูกพืชอื่นๆแซม พืชที่ให้ร่มเงา เช่น กล้วย ยอป่า ทองหลาง แคฝรั่ง และสะตอ เป็นต้น และควรมีพืชบังลม เช่น กระถิน ไผ่ และสน รอบ ๆ สวนด้วย
- คลุมด้วยวัสดุ เช่น ฟางข้าว แกลบ ใบกล้วย หรือทางมะพร้าว และทำให้ร่มด้วยตาข่ายพรางแสง
- หมั่นพรวนดินบริเวณรอบโขด เป็นวงกว้าง 1 เมตรรอบโขดเดิมหรือจากชายพุ่ม ทุกๆปี จะให้รากเติบโตได้ดีกว่า
วิธีดูแลต้นลางสาด
- ลางสาดเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยหรือในดินร่วนปนทราย
- ระยะปลูกถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควรใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตรและ ระหว่างแถว 6-8 เมตร
- อุณหภูมิที่ลางสาดสามารถเติบโตได้ดีคือ 20-30 องศาเซลเซียส
- ชอบแสงแดด อากาศชื้นปานกลาง และมีน้ำปานกลาง
- การเก็บเกี่ยวลาสาดจะเก็บได้หลัง 3-4 ปี จะออกผลผลิต เมื่อผลสุกมีสีเหลือง ให้ใช้กรรไกรตัดขั้วทั้งพวงออก ระมัดระวังอย่าทำหล่น เพราะอาจะทำให้ผลเสียให้และช้ำได้
- การเก็บรักษาผลที่ตัดออกมาแล้ว ควรนำใส่ภาชนะที่โปร่งระบายอากาศได้ดี แล้ววางไว้ในที่อากาศถ่ายเท และเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น
- ใส่ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น และรดน้ำตาม เมื่ออายุได้ 2-3 สัปดาห์แรก
– จากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ จะแทงช่อดอกให้เห็น ควรตัดแต่งช่อผลหลังแทงช่อ 2-3
– 7-8 สัปดาห์ ให้ช่อดอกแต่ละช่อห่างกัน 20-30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น
– หว่านใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว และรดน้ำตาม ระยะนี้อย่าให้ขาดน้ำ
ประโยชน์ต้นลางสาด
- นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ให้รสหวานอร่อย
- เมล็ดของลางสาดมีสารอัลคาลอยด์ (Acid Alkaloid) ซึ่งเป็นพิษกับหนอนและแมลง สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาฉีดพ่นกำจัดแมลงได้ โดยใช้เมล็ดลางสาดจำนวนครึ่งกิโลกรัมนำมาบดให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำประมาณ 20 ลิตรแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นนำมากรองเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้ฉีดพ่นตามแปลงผัก
- เปลือกผลแห้ง เมื่อนำมาเผาจะมีกลิ่นเหม็นสามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้
สรรพคุณของลางสาด
- มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี
- เมล็ดลางสาด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อาการหูอักเสบหรือเป็นฝีในหูได้
- เปลือกต้น มีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้
- เปลือกต้น ใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้
- เปลือกผล มีสารโอเลอเรซิน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
- เปลือกผล ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด ใช้กินครั้งละครึ่งถ้วย
- เปลือกต้น และเมล็ดสามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
- เมล็ด สามารถใช่รักษาโรคเริม
- เมล็ด ช่วยรักษาโรคงูสวัด
ราคาของลางสาด
ราคาของลางสาด ต้นสูง 30-60 ซม. จะมีราคาอยู่ที่ 150 – 250 บาท