ตำลึง พืชริมรั้วมากสรรพคุณ

ตำลึง ภาษาอังกฤษ: Ivy gourd

ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis (L.) Voigt.

วงศ์ของตำลึง: CUCURBITACEAE ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวของแตง

ชื่อท้องถิ่น: สี่บาท (ภาคกลาง), ผักตำนิน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักแคบ (ภาคเหนือ), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ความเป็นมาของตำลึง

ใบตำลึง
https://mgronline.com

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของตำลึงอยู่แถบคาบสมุทรมาเลเซียและอินโดจีน แต่ปัจจุบันนั้นตำลึงเจริญเติบโตในพื้นที่ที่เขตร้อนชื้นในหลายประเทศ เช่น ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศที่รู้จักตำลึงและนำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพร ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นพืชไม้เถา ทำให้ผู้คนมักเลือกตำลึงมาปลูกเป็นรั้วตำลึงเป็นบ้านหรือที่อยู่อาศัยอีกด้วย ตำลึงเป็นผักริมรั้วที่หากินได้ง่าย มีให้กินตลอดทั้งปี แถมยังราคาถูก นำมาประกอบอาหารก็ทำได้หลากหลายเมนู ด้วยความสวยงามของเถาและดอกของตำลึงเอง ซึ่งสายพันธุ์ของตำลึงก็มีอยู่มากมาย เช่น ตำลึงหวาน ตำลึงทอง เป็นต้น

ลักษณะของตำลึง

รั้วตำลึง
https://www.technologychaoban.com

เป็นพืชที่เป็นประเภทไม้เถาล้มลุก มีอายุได้หลายปี ของเถาแก่จะมีขนาดใหญ่และแข็ง ส่วนเถาของตำลึงโดยทั่วไปจะมีลักษณะกลม สีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวงอกสลับกัน รูปร่างลักษณะของใบตำลึงจะเป็น 5 เหลี่ยม บริเวณขอบใบจะเว้าเล็กน้อย แต่สำหรับบางใบก็อาจจะเว้ามากมองเห็นเป็น 5 เหลี่ยมอย่างชัดเจน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีก้านที่ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวที่เจริญเติบโตออกมาจากบริเวณซอกใบ ดอกจะแยกเพศกันในแต่ละต้น ดอกของต้นตำลึงจะมีสีเขียว โคนตัดกันเป็นกรวย เกสรตัวผู้จะมีด้วยกัน 3 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีด้วยกัน 1 อัน ผลของตำลึงมีรูปร่างที่กลมรี คล้ายกับแตงกว่าแต่มีขนาดที่เล็กกว่า ผลจะมีขนาดความกว้างโดยประมาณ 3 เซนติเมตร มีความยาวโดยประมาณ 5 เซนติเมตร ผลของตำลึงมีสีเขียว จะมีก้านที่ยื่นออกมายาวและอ่อน มีสีขาว เมื่อผลของตำลึงแก่จัดๆจะมีสีแดงหรือสีส้มอมแดง จะมีเมล็ดอยู่ภายในผลของตำลึงเป็นลักษณะแบน เมล็ดภายในมีขนาดอยู่ที่ 2-3 เซนติเมตร 

วิธีการปลูกต้นตำลึง

โทษของตำลึง
https://www.pd.co.th/th

สามารถปลูกได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ดและเพาะชำเถาแก่ ซึ่งจะบอกวิธี ดังนี้

วิธีเพาะเมล็ด

โดยการนำเมล็ดตำลึงที่ถึงวัยในการเพาะปลูกนั่นคือ วัยที่แก่จัด นำมาผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง จากนั้นให้เตรียมดินสำหรับการปลูก ด้วยการผสมปุ๋ยคอก ขุดหลุมให้ลึกโดยประมาณ 10-20 เซนติเมตร ซึ่งระยะของแต่ละเมล็ดควรอยู่ที่ 50 เซนติเมตรต่อหลุม แล้วนำเมล็ดมาฝังลงฝนหลุม หลุมละ 1-3 เมล็ด  จากนั้นกลบให้หลุมให้มิด 

วิธีเพาะชำ

ให้นำเถาแก่ของตำลึงให้มีบริเวณของข้อเถาด้วย มาตัดท่อนยาวโดยประมาณ 16-20 เซนติเมตร จากนั้นเตรียมดินที่ผสมกับปุ๋ยคอบรรจุในถุงเพาะ แล้วนำเถาแก่มาเพาะในถุงเพาะ

การดูแลรักษา

เมื่อเพาะทั้งสองวิธีเสร็จสิ้นให้หมั่นรดน้ำให้ชุ่มทั้งเวลาเช้าและเย็น แต่ไม่ควรให้น้ำขังเกินไป เมื่อตำลึงเจริญเติบโตให้ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร สามารถนำตำลึงไป

ตำลึง สรรพคุณ

ตำลึง สรรพคุณ

  • นอกจากตำลึงจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายและนิยมนำมาประกอบอาหารแล้วนั้น ยังมีสรรพคุณและประโยชน์ที่เยอะมากอีกด้วย เช่น ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันการเกิดโรคอัมพาต ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยบำรุงรักษาสายตา ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดแข็งตัว เป็นพืชเย็น ช่วยดับร้อน ป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาหารอาเจียนและคลื่นไส้ ช่วยแก้อาการตาแดง สำหรับวิธีที่ลดโรคเบาหวาน โดยใช้การใช้เถาแก่ปริมาณ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่คั้นมาดื่มวันละ 2 รอบ ในช่วงเวลาเช้า เย็น จะช่วยลดระดับน้ำในเลือด และเพิ่มระดับอินซูลิน
  • สามารถนำตำลึงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ทรีตเม้นท์ที่ใช้สำหรับในการบำรุงผิวหน้า โดยวิธีที่ว่านำยอดตำลึงปริมาณครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ปริมาณครึ่งถ้วย จากนั้นนำมาผสมกันแล้วนำมาปั่นในโถให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกบริเวณหน้า ทิ้งไว้ใช้ระยะเวลา 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดกลิ่น ซึ่งกำจัดได้ทั้งกลิ่นตัว กลิ่นรักแร้ โดยการนำใบตำลึงหรือเถาตำลึง มาตำผสมกับปูนแดง จากนั้นนำมาทาบริเวณที่ต้องการกำจัดกลิ่น เป็นต้น
  • ดอกตำลึง ช่วยแก้คัน โดยการคั้นน้ำจากดอกตำลึงมาทาบริเวณที่คัน 
  • นำตำลึงมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ต้มเลือดหมูตำลึง แกงจืดเต้าหู้หมูสับ น้ำตำลึง ซอสตำลึง ตำลึงผัดไข่ ผัดตำลึงน้ำมันรำข้าว หมูทอดใบตำลึง แกงจืดตำลึงบะช่อหมูสับ เกาเหลาตำลึง เป็นต้น.
ผลตำลึง สรรพคุณ
https://health.kapook.com

ที่มา

https://www.doctor.or.th

http://clgc.agri.kps.ku.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้