เชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นเคยกับมะเขือเทศสีดาเป็นอย่างแน่นอน เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่นิยมนำมาใส่ในอาหารประจำชาติอย่างส้มตำ แต่หลายคนอาจเคยสงสัยว่าแท้จริงแล้วมะเขือเทศสีดานั้นมีลักษณะต้นอย่างไร และที่มาของพันธุ์สีดานั้นมาจากไหน แล้วแตกต่างจากมะเขือเทศพันธุ์อื่นๆอย่างไร วันนี้บทความนี้มีคำตอบให้ทุกท่านหายสงสัยอย่างแน่นอน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และที่มาของมะเขือเทศสีดา
มะเขือเทศสีดา ภาษาอังกฤษชื่อว่า Seeda Tomato นิยมปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย มะเขือเทศสีดา ลักษณะนั้นมีผลดก ผิวสีแดงอมชมพู ผลมีขนาดกลาง รสชาติจืดและเปรี้ยวเป็นหลัก กลิ่นมะเขือเทศไม่แรง เนื้อสัมผัสค่อนข้างแข็งหากเทียบกับมะเขือเทศพันธุ์อื่นๆ เหมาะสำหรับกินสดและใช้ประกอบอาหารที่ไม่ต้องการกลิ่นและรสชาติของมะเขือเทศมากนัก ในต่างประเทศไม่ค่อยนิยมนำมะเขือเทศสีดมาประกอบอาหารเท่าไหร่ แตกต่างกับประเทศไทย ที่มักนิยมนำมาประกอบกับอาหารที่มีรสจัดจ้าน เช่น ส้มตำ
การปลูกและดูแลรักษามะเขือเทศสีดา
มะเขือเทศสีดานั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ดูแลรักษาง่าย ชอบพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องเข้าถึงตลอด ปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว เช่นเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยการปลูกนั้นจะเริ่มเพาะต้นกล้าในกระบะ หลังต้นกล้ามีอายุครบ 1 เดือน ให้ย้ายลงมาปลูกที่แปลงปลูก โดยแปลงปลูกนั้นต้องเป็นหลุม หลุมละ 1ต้น พออายุได้ประมาณ 20-25 วัน ให้ทำค้างเพื่อให้ผลลอยอยู่บนผิวดิน ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมของต้นและแถวจะอยู่ที่ 50×60 เซนติเมตร ควรปลูกในพื้นที่ที่อยู่กลางแจ้ง สำหรับการใส่ปุ๋ยนั้น ควรใส่ปุ๋ยเมื่อต้นมะเขือเทศสีดามีอายุได้ 40 วัน และ 60 วัน และปุ๋ยที่ใส่นั้นควรเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และควรรดนำอย่างสม่เสมอ ให้เหมาะกับพืชไม่ควรให้แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไป ข้อดีของมะเขือเทศสีดานั้นจะไม่พบโรคคอยก่อกวน แต่จะมีแมลงมรบกวน โดยการเจาะผลถ้าวางอยู่บนผิวดินจะมีเสี้ยนดินมากัดกินที่ตัวผล ดังนั้น ต้องหาทางป้องกันโดยการอย่าให้ผลวางบนดิน ควรทำค้างเพื่อให้ผลลอยอยู่บนผิวดิน มะเขือเทศสีดานั้นมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 115-120 วัน เมื่อมะเขือเทศสีดามีอายุ 115-120 วันแล้ว ผลจะเริ่มทยอยสุกเรื่อยๆ ให้เก็บผลสีแดงแล้วบ่มไว้ในร่มประมาณ 3-5 วันก่อน แล้วนำมาผ่าเอาเมล็ดออกแล้วบ่มต่อประมาณ 1-2 คืน แล้วล้างเมือกออกให้หมด ซึ่งถ้าล้างเมือกออกไม่หมดจะก่อให้เกิดเชื้อราได้ หลังจากนั้นล้างแล้วเทใส่ตะแกรงแล้วล้างอีกรอบ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ในร่มใหหมวดแล้วค่อยนำมาตากอีกประมาณ 2-3 แดด ตากนั้นเก็บมาผึ่งในร่มต่อให้เมล็ดเย็น แล้วค่อยเก็บใส่ถุงกระดาษ เขียนชื่อวันเดือนปีและพับเก็บใส่ในถุงพลาสติก หลังจากนั้นนำไปใส่ในตู้เย็นเพื่อรักษาอัตราการงอกและลดการหายใจของเมล็ดพันธุ์ให้น้อยที่สุด ซึ่งวิธีนี้สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้นานกว่า 2ปี ขึ้นไป
ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศสีดา
ในส่วนของมะเขือเทศสีดานั้น เรามักคุ้นชินกับการนำมาประกอบอาหารต่างๆ ไม่เพียงแค่ส้มตำทั้งนั้นแต่ยังรวมถึงอาหารรสจัดต่างๆ ไมว่าจะเป็น พล่า ซุป ต้มยำ ลาบ ยำ เป็นต้น หรือจะเป็นประเภทเครื่องจิ้มต่างๆเช่น ปลาร้าบอง น้ำพริกอ่อง นอกจากนี้มะเขือเทศสีดา สรรพคุณก็มีไม่ต่างจะมะเขือเทศพันธุ์อื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
- วิตามินซีสูง ที่ช่วยในการรักษาเหงือกและฟัน หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยลดอาการเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ เพราะช่วยป้องกันหลอดเลือดต่างๆ
- วิตามินเอ ที่ข่วยรักษาโรคตาแห้ง ตาฟาง และช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต
- กรดนิโคตินิคช่วยป้องกันรักษาผิวหนังให้เยื่อบุกระเพาะและลำไส้ทำงานเป็นปกติ
- กรดมาลิคและกรดซิตริก จะช่วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารย่อยอาหารจำพวกไขมัน เมื่อกินของมัน มีอาการเลี่ยน ให้กินมะเขือเทศ เพราะนอกจากจะช่วยย่อยไขมันแล้ว ยังสามารถป้องกันอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยอีกด้วย
ในทางศาสตร์แพทย์แผนจีนยังกล่าวอีกว่า มะเขือเทศสีดามีรสเปรี้ยว รสเย็นเล็กน้อย ซึ่งมีสรรพคุณดับร้อน ถอนพิษ และทำให้ตับสงบ ทำให้เลือดเย็นลง ลดอาการกระหายน้ำ และรักษาความดันโลหิตสูงได้
การพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ของมะเขือเทศสีดาในประเทศไทย
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญของมะเขือเทศสีดา จึงได้มีการปรับปรุงพันธุ์ของมะเขือเทศสีดาให้สามารถรับประทานผลสดได้ โดยจุดขายของพันธุ์ใหม่นี้จะให้วิตามินซีที่สูงขึ้น ถูกใจกับคนี่รักสุขภาพอย่างแน่นอน และผลผลิตยังสูงกว่าพันธุ์การค้าและพันธุ์เกษตรกร ให้รสชาติเปรี้ยวนำเหมาะสำหรับในการนำมาทำส้มตำ ปัจจุบันแหล่งปลูกที่สำคัญของมะเขือเทศสีดาในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครพนมและนครราชสีมา ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จึงได้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดาพันธุ์ผสมขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตและวิตามินซีสูง มีความสม่ำเสมอของสายพันธุ์ เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เอง ช่วยลดต้นทุนด้านเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร เป็นการเพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง.
ที่มา