กรรณิการ์ ไม้มงคลเสริมบารและตำนานต้นเหตุแห่งความรัก

ชื่อภาษาอังกฤษ

Coral jasmine/Night blooming jasmine/Night jasmine/Tree of sadness

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nyctanthes arbor-tristis L.

ความหมาย

ต้นกรรณิการ์ จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ

ความเชื่อ

เชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่มีศิริมงคลเพราะ ในความเชื่อของชาวฮินดูนั้นเชื่อกันว่า ดอกกรรณิการ์นั้นเป็นไม้มงคลที่ใช้บูชาเทพเจ้าต่างๆ

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นกรรณิการ์ ที่คนนิยมนำมาปลูก

สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับต้นกรรณิการนั้นที่ผู้คนนิยมนำมาปลูกนั้น เชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่มีศิริมงคลเพราะ ในความเชื่อของชาวฮินดูนั้นเชื่อกันว่า ดอกกรรณิการ์นั้นเป็นไม้มงคลที่ใช้บูชาเทพเจ้าต่างๆ

และสำหรับคนไทยนั้น มีความเชื่อว่า การที่บ้านหลังไหนได้ปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ในบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองและความสุขความ เจริญมาให้กับคนภายในบ้าน เหมาะที่จะปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบริเวณบ้าน ในขณะเดียวกันสามารถปลูกทางทิศใต้ก็ได้

ต้นกรรณิการ์ การปลูก

ตำนานและเรื่องเล่าของต้นกรรณิการ์

มีเรื่องเล่าเป็นตำนานว่าทำไมดอกรรณิการ์ถึงที่มาของกลิ่นหอม ในเวลากลางคืนนั้น ว่า นานแล้วนั้นมีหญิงสาวที่สวยมากเป็นบุตรีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นนางฟ้าแล้วมาจุติบนโลกมนุษย์

เป็นคู่รักกับพระอาทิตย์ ทั้งคู่ตกลงจะแต่งงานกันแต่จู่ๆ พระอาทิตย์เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา แล้วปันใจไปรักหญิงอื่น ลูกสาวมหาเศรษฐี เกิดความเสียใจ จนตรอมใจตายมหาเศรษฐีได้ทำพิธีเผาศพของบุตรสาวด้วยตนเอง เมื่อมาเก็บกระดูกได้สังเกตกองขี้เถ้า ว่ามีต้นไม้ผุดขึ้น นั่นคือดอกกรรณิการ์  ดอกกรรณิการ์นี้ไม่ชอบพระอาทิตย์ ก็จะหลบหน้าพระอาทิตย์ จึงเป็นเหตุให้ดอกกรรณิการ์นั้นบานในตอนกลางคืน และส่งกลิ่นหอมแต่ในเวลากลางคืน เท่านั้น เมื่อถือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นก็จะโรยรานั่นเอง

ตำแหน่งที่ควรปลูก

นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้านไว้เป็นไม้ประดับที่กลางแจ้งในพื้นที่แคบ หรือปลูกไว้เป็นฉากหลัง บังสายตาหรือปลูกเป็นกลุ่ม ระยะปลูกสำหรับจัดสวน ถี่ 1.5-2 ม. ห่าง 2-3 ม. 

ส่วนประกอบของต้นไม้ 

ลักษณะของกรรณิการ์

ต้นกรรณิการ์ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ในส่วนบริเวณลำต้นมีลักษณะผิวที่ขรุขระเปลือกเป็นสีขาว 

ใบ

เป็นไม้ใบเดี่ยวที่มีใบเรียงสลับกันสลับกันไปตามข้อของต้น ใบเป็น ปลายใบแหลม มนรี สีเขียว มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ทั่วใบ 

ดอก

ออกเป็นช่อดอกเล็กๆ ดอกสีขาว กระจายที่ตามส่วนปลายกิ่ง ในหนึ่งช่องจะมีดอกที่ 5 – 8 ดอก วงในดอกเป็นสีแสด ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 ซ.ม. หลอดดอกยาว 1.50 ซ.ม. ปลายแยกเป็น 5 – 8 แฉก 

ดอกกรรณิการ์นั้นจะบานในตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอม แต่พอรุ่งเช้าก็โรย ซึ่งดอกของต้นกรรณิการ์นั้นออกดอกตลอดปี และจะออกมากในช่วงย่างเข้าหน้าหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ต้นมกราคม

ผล

ต้นกรรณิการ์นั้นมีผลนะคะ โดยผลจะเป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด

ดอกกรรณิการ์สีอะไร

การปลูกกรรณิการ์

ต้นกรรณิการ์นี้จะขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำกิ่ง ชอบลักษณะของดินที่ร่วน ระบายน้ำดี ควรปลูกกลางแจ้ง และถ้าเมื่อโตเต็มที่จะแตกกิ่งก้านมากมายไม่เป็นระเบียบ จนดูเหมือนปะการัง จนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Coral Jasmine”

การดูแลรักษา

แสง

เป็นไม้ชอบแดดแสงแดด

น้ำ

การให้น้ำควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ เพราะต้องการน้ำเพียงปานกลางเท่านั้น และไม่ควร     ปล่อยให้มีน้ำขัง เพราะจะทำให้รากเน่าได้

ดิน

ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี 

ปุ๋ย

จะเป็นปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก เพราะจะระบายอากาศได้ดีไม่มีน้ำขังแฉะหรือแห้งเร็วเกินไป ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 10-10-10, 15-15-15 ในปริมาณน้อยๆ หรืออาจใช้ปุ๋ยละลายช้าเพื่อค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ต้นก็ได้

วิธี ขยายพันธุ์ ต้นกรรณิการ์

ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆ 

เริ่มต้นที่เปลือกสามารถนำเปลือกชั้นในไปต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้วิงเวียนศีรษะ ส่วนของใบก็ช่วยแก้ไข้ บำรุงน้ำดี โดยนำใบสดไปตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ถ้าดื่มมากจะเป็นยาระบาย ส่วนของดอกนำมาใช้แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ก้านดอกสีส้มออกแสด เมื่อนำมาคั้นน้ำแล้วจะออกสีเหลือง ใช้เป็นสีทำขนมและสีย้อมผ้าได้ รากของต้นก็มีประโยชน์ เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนังให้สดชื่น

โรคและแมลงศัตรูพืช

หากปลูกในที่แห้งแล้งจะมีดอกน้อย ดูแลรักษาค่อนข้างยาก เพราะหนอนชอบเจาะกิ่งทำให้ปลายใบแห้ง แต่ตามปกติแล้วนั้นไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน

ต้นกรรณิการ์ ราคา

ราคาต่อต้นโดยประมาณ

ราคาต่อต้นโดยประมาณของต้นกรรณิการ์จะอยู่ที่ประมาณ 150 บาท สำหรับต้นกรรณิการ์แบบธรรมดา แต่ดถ้าเป็นต้นกรรณิการ์ด่าง จะอยู่ทีต้นละ 180-200 บาท 

แหล่งอ้างอิง

: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=302

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ