ควรปลูกบริเวณใดของบ้าน
ต้นชิงชัน โดยส่วนใหญ่มักจะพบในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-700 เมตร ภายในบ้านจะนิยมปลูกกันที่หน้าบ้านหรือมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน เนื่องจากจะให้ร่มเงาแก่บ้าน ให้อยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้น ต้องเป็นที่ระบายน้ำได้ดีด้วย และควรให้ห่างไกลจากตัวบ้านพอสมควร เนื่องจากเป็นต้นไม้ใหญ่ รากจะชอนไชทำให้โครงสร้างของบ้านเสียหายได้ในภายหลัง
ส่วนประกอบของต้นไม้
ลำต้น
เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น ที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร แต่สำหรับบางต้นก็สามารถสูงได้มากที่สุดถึง 30 เมตร ขึ้นอยู่กับการดูแลและสภาพแวดล้อม มีอายุอยู่หลายปี เปลือกของต้นชิงชันมีสีเทาปนน้ำตาลเล็กน้อย ผิวสัมผัสเป็นเกล็ดบางๆ บริเวณเปลือกภายในนั้นจะเป็นสีเหลือง เนื้อไม้สีน้ำตาอ่อนอมเหลืองมีเส้นแทรกสีดำ เนื้อละเอียดปานกลาง แข็งและเหนียวมาก
ดอก
ดอกของต้นชิงชันเป็นดอกแบบช่อ เป็นดอกที่ช่อเชิงประกอบ จะออกตามปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวอมม่วง สิ่งที่น่าสนใจก็คือดอกชิงชันจะออกมาพร้อมกับการผลิตใบใหม่อยู่เสมอ มีเกสรตัวผู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดอก แต่ละกลุ่มก็จะประกอบกัน 5 อัน ดอกชิงชันจะมีช่วงเดือนที่ออกดอก นั่นคือ มีนาคมไปจนถึงพฤษภาคม
ใบ
เป็นประเภทของไม้ผลัดใบ ใบจะประกอบเป็นแบบแผงขนนก ซึ่งมีใบย่อยประมาณ 11-18 ใบ เรียงสลับกันไปมา ลักษณะของใบจะเป็นรูปไข่และรูปรีแกมรูปขอบขนาน บริเวณปลายจะมนโค้ง บริเวณโคนใบจะกลมมน มีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีความยาว 5-8 เซนติเมตร ขอบจะเรียบ ผิวสัมผัสของใบจะเรียบ เป็นมันวาว ด้านบนของใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวที่ซีดกว่า
ผล
มีผลเป็นแบบฝัก ลักษณะแบน แผ่เป็นปีกยาว รูปร่างจะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 8-17 เซนติเมตร ผิวของฝักจะเรียบ เปลือกฝักที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้จะมีความหนาและแข็ง มีลักษณะเป็นกระเปาะกลมหรือแกนรีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนมากในแต่ละฝักจะมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งเมล็ดจะมีลักษณะคล้ายกับรูปไต จะมีสีน้ำตาล ฝักโดยส่วนใหญ่จะออกในช่วงของเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกันยายน
สายพันธุ์
ต้นชิงชันเป็นต้นไม้ที่มีสายพันธุ์ประมาณ 80 ชนิดทั่วโลก แต่ในประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด ซึ่งสายพันธุ์ที่หวงห้ามมีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ พะยูง (D.cochinchinensis), ชิงชัน (D.oliveri) และกระพี้เขา (D.cultrata)
วิธีการปลูก
ในการปลูกต้นชิงชันนั้นนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีคือ ให้นำเมล็ดไปแช่ในน้ำร้อน ที่มีอุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส จากนั้นก็ทิ้งไว้ให้น้ำเย็นไปเอง โดยแช่ไว้อย่างนั้นจนถึง 6 ชั่วโมง ให้สังเกตดูว่าเมล็ดจะงอกออกมาภายในเวลา 10-12 วัน จากนั้นนำไปปลูกที่ดินที่เราต้องการ ซึ่งจะต้องพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ดิน และใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ก่อนจะนำเมล็ดไปปลูกลงดิน แล้วฝังกลบให้มิด โดยทั่วไปต้นกล้าของชิงชันจะใช้เวลาเจริญเติบโตภายในเวลา 6 เดือน จะมีความสูงประมาณ 35-45 เซนติเมตร จากนั้นสามารถนำไปลงดินที่อื่นได้
วิธีการดูแล
แสง
ต้นชิงชันชอบแสงแดดแบบจัดๆ จึงปลูกไว้ที่กลางแจ้ง ในพื้นที่โดนแสงแดดเยอะๆ หรือพื้นที่โดนแดดตลอดวัน
น้ำ
ต้นชิงชันต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดด้วย
ดิน
ใช้ดินทั่วไปในการปลูก เนื่องจากต้นชิงชันทนต่อหลายสภาพแวดล้อม
ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมปุ๋ยเคมี ได้ทั้งหมด หากต้องการเร่งส่วนใดส่วนหนึ่งก็สามารถใส่ปุ๋ยสูตรอื่นๆได้
ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆ เช่นฟอกอากาศ
- เลื่อยผ่าตกแต่งยาก เนื่องจากแข็งและเหนียว แต่เมื่อนำไปขัดชักเงาได้ดีมาก จึงนิยมนำไปใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆได้สวยงามจากเนื้อไม้ และมีความอายุการใช้งานที่ทนทานด้วย
- สำหรับบางบ้านหรือสถานที่ ก็นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงาและเพื่อความสวยงาม
- เนื้อไม้ใช้แปรรูปได้
- ใช้เป็นส่วนประกอบของเกวียน พานท้ายปืน
- ใช้เป็นวัสดุในการทำเครื่องดนตรี อาทิเช่น ขลุ่ย ซอ จะเข้ ลูกระนาด กลองโทน รำมะนา กรับ ขาฆ้องวง เป็นต้น
- ส่วนของแก่นของต้นชิงชัน มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
- ส่วนของเปลือกต้นชิงชัน สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล รวมไปถึงช่วยรักษาแผลเรื้องรังอีกด้วย
ราคาต่อต้นโดยประมาณ
ต้นชิงชันเป็นต้นไม้ที่ผู้คนนิยมปลูกมาก ทำให้มีคนหาซื้อกันเป็นจำนวนมาก โดยที่ต้นชิงชันมีความสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร จะจำหน่ายอยู่ที่ราคาประมาณ 30-80 บาท นิยมขายต้นกล้า เนื่องจากเมื่อโตในระดับหนึ่ง จะเคลื่อนย้ายยากขึ้น
https://www.matichon.co.th/
การแปรรูปไม้ชิงชัน ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับงานไม้ได้มากขึ้น
จากข้อมูลของกรมป่าไม้ระบุว่า ไม้ ชิงชัน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จัดเป็นไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่ ด้วยลักษณะภายนอกของไม้ ชิงชันที่ดูสวยงาม จึงนิยมนำไปทำเป็นเครื่อนเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ปัจจุบันไม้ชิงชันที่มีอายุมากและคุณภาพดีมีมูลค่าสูงมาก แต่ก็อาจหาได้ยาก
หลายคนจึงหันไปใช้ไม้ชิงชันเก่า ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายเช่นกัน โดยเฉพาะไม้ชิงชันเก่าที่ผ่านการแปรรูปแล้วจะทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
https://www.nanagarden.com/
คุณสมบัติของไม้ชิงชันเก่าที่สามารถนำมาแปรรูปได้
• ไม้ชิงชันเก่าที่มีสภาพดีและมีตำหนิน้อย หากเป็นไม้เก่าประเภทใดก็ตามที่มีตำหนิน้อยและสภาพโดยรวมถือว่าใช้ได้ เราสามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ เพราะไม้ลักษณะนี้จะสามารถนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูดีขึ้นได้นั่นเอง
• ไม้ชิงชันเก่าที่ยังคงมีความแข็งแรง การนำไม้ชิงชันเก่ามาแปรรูปไม่เพียงแค่ต้องมองถึงความสวยงามหรือสภาพภายนอกของไม้เท่านั้น แต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรงของไม้ด้วย เพราะต่อให้ไม้เก่านั้นจะสวยงามเพียงใด แต่ถ้าหากไม่มีความแข็งแรง เมื่อนำไปแปรรูปก็จะมีอายุการใช้งานสั้นอยู่เช่นเดิม
• ไม้ชิงชันเก่าที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หากต้องการไม้ชิงชันที่มีความแข็งแรงและทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี ควรเลือกไม้ชิงชันที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากไม้เนื้อแข็งต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตค่อนข้างนานกว่าไม้เนื้ออ่อน ดังนั้นหากจะแปรรูปไม้ชิงชันเก่าก็ควรจะมั่นใจก่อนว่าไม้นั้นมีอายุมากกว่า
10 ปี
• ไม้ชิงชันเก่าที่มีขนาดเหมาะสม ขนาดของไม้ถือเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม้เก่าแต่ละชิ้นอาจมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นหากจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะต้องพิจารณาก่อนว่าขนาดของไม้ที่มีนั้นเหมาะกับการแปรรูปเป็นอะไร และสามารถแปรรูปได้จริงหรือไม่
https://mpics.mgronline.com/
ไม้ชิงชันเก่า แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ?
ชิงชัน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความเหนียวและละเอียดปานกลาง ด้วยความที่มีความแข็งอยู่มาก จึงทำให้ยากต่อการเลื่อยหรือผ่า อย่างไรก็ตามไม้ชิงชันเก่าที่ยังคงมีสภาพดีอยู่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ ชุดรับแขก ตู้โชว์ เครื่องดนตรีบางชนิด ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งนี้อาจต้องมีราคาค่าแรงในการแปรรูปสูง
ประเภทและขนาดของไม้ที่ทางร้านจำหน่าย
• ไม้พื้น ขนาดจำหน่ายมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2” จัดเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับการนำไปปูพื้นตามบริเวณต่าง ๆ ของบ้าน
• ไม้ฝา ขนาดจำหน่ายมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2” เป็นไม้เทียมชนิดหนึ่งที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการใช้งานเป็นอย่างดี ลักษณะภายนอกถูกออกแบบให้ดูคล้ายกับไม้จริง เหมาะกับงานตกแต่งผนังทั้งภายในและภายนอก หรือจะใช้กับฝ้า เพดาน และรั้วก็ได้
• ไม้เสา ขนาดจำหน่ายมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2” เป็นไม้เนื้อแข็งอายุมากที่มีทั้งความแข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการใช้เป็นโครงสร้างที่ต้องแบกรับน้ำหนักของส่วนประกอบต่าง ๆ อย่างไม้เสา
ไม้ชิงชันเก่าแปรรูป และขนาดมาตรฐานของไม้แปรรูป
การแปรรูปไม้จำเป็นต้องทำให้ส่วนยาวของไม้ขนานกับความยาวของท่อนซุง ด้านต้องเรียบเป็นแนวเส้นตรง ขนาดสม่ำเสมอกันตลอดความยาวของแผ่น และภาคตัดขวางหัวท้ายจะต้องเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งอาจแปรรูปเป็นไม้กระดาน ไม้กระดานหนา ไม้หนาแคบ ไม้หน้ากว้าง ไม้หน้าเล็ก ไม้หน้าใหญ่ หรือไม้สั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ โดยขนาดมาตรฐานของไม้แปรรูป (ความหนา x ความกว้าง × ความยาว) กำหนดตาม มอก.421–2535 มีอยู่ ดังนี้
• ความหนา จะมีตั้งแต่ 12, 16, 19, 22, 25, 32, 38, 44, 50, 63, 75, 88, 100,113, 125, 138, 150 และ 200
• ความกว้าง จะมีตั้งแต่ 25, 38, 50, 63, 75, 88, 100, 113, 125, 150, 175, 200, 225, 250, 275, 300, 350 และ 400 มิลลิเมตร
• ความยาว ควรเริ่มตั้งแต่ 0.30 เมตร และให้มีความยาวเพิ่มขึ้นช่วงละ 0.15 – 0.30 เมตร