ต้นหนวดปลาหมึก ต้นไม้ที่คนรักการจัดสวนต้องรู้จัก

ชื่อภาษาอังกฤษ

Umbrella Tree, Octopus tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Schefflera actinophylla (Eudl.) Harms

ความหมาย

เป็นต้นไม้อีกชนิดที่คนรักการตกแต่งบ้านตกแต่งสวนรู้จักดี ด้วยคุณสมบัติที่เป็นต้นไม้ใบเยอะ ดูแลง่าย โตเร็ว เรียกได้ว่าเอามาลงในสวนใช้เวลาไม่นาน

ความเชื่อ

เป็นต้นไม้ที่นำมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดีที่เข้ามาที่บ้าน

ชื่อสามัญ หรือชื่อภาษาอังกฤษ Umbrella Tree, Octopus tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera actinophylla (Eudl.) Harms

ชื่อวงศ์ ARALIACEAE

ต้นหนวดปลาหมึก มีถิ่นกำเนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย เป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เจริญเติบโตเร็วมาก ใบมีสีเขียวเป็นมัน ต้นหนวดปลาหมึก มีหลายชนิด มีทั้งใบเล็ก ใบใหญ่ แต่จะมีลักษณะเหมือนกัน คือใบจะแตกออกมาจากกิ่งเดียว โดยแต่ละกิ่งจะมีใบ ประมาณ 7-15 ใบ ซึ่งจะกางออกคล้ายกับนิ้วของคน ต้นหนวดปลาหมึกเจริญได้ดีในห้อง ที่มีความอบอุ่น มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ เมื่อปลูกไปนานๆ ต้นหนวดปลาหมึกจะมีลำต้นที่สูง ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขา ควรตัดยอดออก ต้นหนวดปลาหมึกคนเป็นต้นไม้อีกชนิดที่คนรักการตกแต่งบ้านตกแต่งสวนรู้จักดี ด้วยคุณสมบัติที่เป็นต้นไม้ใบเยอะ ดูแลง่าย โตเร็ว เรียกได้ว่าเอามาลงในสวนใช้เวลาไม่นาน ก็ได้ไม้พุ่มใหญ่ ๆ มาอยู่ในบ้านแล้ว ช่วยให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้นไปได้มาก ต้นหนวดปลาหมึกราคาไม่สูง สามารถนำมาปลูกลงพื้นที่ได้ในจำนวนมาก ทำให้เราสามารถได้สวนเขียว ๆ ได้ในต้นทุนที่ไม่สูง และยังเป็นสวนที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วย ที่สำคัญประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกยังมีมากมาย รวมทั้งเป็นต้นไม้ที่ค่อนข้างทนและดูแลไม่ยาก เพียงแค่ดูแลดิน ดูแลน้ำ ดูแลแสง เติมปุ๋ยบ้างในบางครั้ง และหมั่นตกแต่งทรงพุ่มให้อยู่ในขนาดที่ต้องการอยู่เสมอเท่านั้น เพียงแค่นี้เราก็จะได้ทรงพุ่มเขียว ๆ สบายตาให้บ้านเรือนอาคารได้

หนวดปลาหมึก ไม้มงคล
www.myhomemygardening.com

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นหนวดปลาหมึก

ต้นหนวดปลาหมึก เป็นต้นไม้อีกชนิดที่มักจะนำมาปรับแต่งฮวงจุ้ยกัน ด้วยความที่ใบของต้นหนวดปลาหมึกนั้นเป็นลักษณะแผ่และปลายมน เกาะกันเป็นแผงคล้ายฝ่ามือ จึงเชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ที่นำมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดีที่เข้ามาที่บ้านของเรา การวางต้นหนวดปลาหมึก นิยมวางไว้ที่ตรงประตูบ้านทั้งสองข้าง หรือที่ประตูตัวบ้านก็ได้เช่นกัน

ลักษณะทั่วไป

  • ลำต้น ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทรงกระบอก หรือรูปร่ม ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลำต้นและกิ่ง
  • ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมยาว 30-40 ซม. ก้านใบย่อยยาว 4-6 ซม. มีใบย่อย 6-9 ใบ รูปรี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน
  • ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว 50-70 ซม. ดอกอยู่รวมกันเป็นกระจุกกระจุกละ 11-13 ดอก บนแกนช่อดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบรูป สามเหลี่ยม ปลายกลีบแหลมโค้งเข้า เกสรเพศผู้ 13 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-ก.ค.
  • ผล ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก พัฒนาจากฐาน รองดอกทรงกระบอก มีลิ้นเปิดให้เมล็ดออกมา เมล็ดทรงกลม สีนํ้าตาล อมดำ ขนาดเล็กจำนวนมาก ติดผลเดือน พ.ค.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด ตอนลำต้น หรือปักชำกิ่งแขนงข้างลำต้น
ต้นหนวดปลาหมึก ลักษณะ

วิธีการปลูกต้นหนวดปลาหมึก

ต้นหนวดปลาหมึกสามารถปลูกได้ทั้งในร่มและที่กึ่งร่มกึ่งแดด สำหรับวิธีการปลูกต้นหนวดปลาหมึกนั้นมีวิธีการดังนี้
การเตรียมดิน
ต้นหนวดปลาหมึกชอบดินร่วนปนทรายที่สามารถอุ้มน้ำได้ แต่ก็สามารถระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขังเพราะอาจก่อให้เกิดโรคกับรากได้ และยังสามารถนำไปปลูกได้ทั้งในกระถาง และนำไปลงดินภายนอกอาคารก็ได้เหมือนกัน
การจัดแสงแดด
ต้นหนวดปลาหมึกเป็นไม้ที่ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโต แต่ว่าไม่ชอบการได้รับแสงตรง ๆ จึงสามารถนำมาปลูกในร่ม ในสวนประดับ หรือในอาคารได้ แต่ไม่เหมาะกับการปลูกในห้องปิดทึบ ที่จำเป็นต้องย้ายออกไปรับแสงบ้าง และด้วยขนาดของต้นหนวดปลาหมึกที่สามารถโตได้เร็ว การย้ายไปย้ายมาก็อาจเป็นภาระได้
การรดน้ำ
ต้นหนวดปลาหมึกชอบน้ำและความชื้น จึงควรรดน้ำได้อย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการปล่อยดินให้แห้งแตก
การใส่ปุ๋ย
การบำรุงต้นหนวดปลาหมึกสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมักกับต้นหนวดปลาหมึกที่ปลูกในอาคาร เพราะอาจทำให้เกิดกลิ่นได้

การดูแลรักษา

แสง         ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโตแต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง
อุณหภูมิ  ชอบอุณหภูมิประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นมากในขณะที่ต้นยังเล็ก
น้ำ           ควรให้น้ำแต่น้อย แต่ให้บ่อย ๆ ครั้ง โดยสังเกตได้จากดินในกระถาง หากดินแห้งควรให้น้ำ
ดินปลูก   ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุ ๆ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน
ปุ๋ย           ใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 2 ครั้ง
กระถาง  ควรเปลี่ยนกระถางใหม่ทุกปี
โรคและแมลง         ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค ส่วนแมลงได้แก่ เพลี้ยต่าง ๆ
การป้องกันและกำจัด ใช้ยาไซกอน (Cygon) อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดที่โคนต้น

ต้นหนวดปลาหมึก ดูแล

ประโยชน์และสรรพคุณ

ต้นหนวดปลาหมึกเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ทั้งที่กึ่งแดดกึ่งร่ม เราจึงมักใช้ประโยชน์จากต้นหนวดปลาหมึกด้วยการนำมาประดับอาคารบ้านเรือน หรือสวนหย่อมด้านนอกอาคาร เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย การดูแลไม่มาก เพียงแค่จัดแสง น้ำ และอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวกก็เพียงพอ โดยประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกนอกจากนำมาใช้เป็นไม้ประดับแล้ว ด้วยธรรมชาติของไม้ต้นนี้ที่สามารถคายความชื้นได้ในระดับปานกลาง ทำให้ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศได้ และที่สำคัญหนวดปลาหมึกยังสามารถช่วยกรองสารพิษในอากาศได้ด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกไว้ในสวน ปลูกริมถนน เพื่อกรองอากาศก่อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วยเหมือนกัน

ราคาต้นหนวดปลาหมึก

สำหรับราคาของต้นหนวดปลาหมึกแตกต่างไปตามชนิดของต้นหนวดปลาหมึก รวมถึงขนาด/อายุของต้นหนวดปลาหมึกเองด้วย เช่น ต้นหนวดปลาหมึกด่างและต้นหนวดปลาหมึกแคระ เฉพาะต้นไม้ปลูกในถุงดำ ขนาดถุง 5 นิ้ว ราคา 10 บาท, ขนาดถุง 6 นิ้ว ราคา 20 บาท, ขนาดถุง 8 นิ้ว ราคา 45 บาท, ขนาดถุง 10 นิ้ว ราคา 70 บาท หรือหากเป็นต้นหนวดปลาหมึกที่มีขนาดต้นใหญ่ขึ้นมาสักหน่อย ก็อาจมีราคาถึง 250 บาท นอกจากนี้หากเป็นต้นหนวดปลาหมึกที่ใหญ่ขึ้นมาและบรรจุกระถางเซรามิก ก็อาจมีราคาระดับ 350 บาทขึ้นไป

ต้นหนวดปลาหมึก ราคา
topgardensites.com

แหล่งอ้างอิง

oer.learn.in.th
nm.sut.ac.th

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ