พะยอม คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในวงศ์ของยางนา ปัจจุบันต้นไม้ชนิดนี้เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยปกติจะสามารถพบเจอได้ทั่วตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือตามป่าดิบแล้งทั่วไป ต้นพยอมสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 60-1200 เมตร รู้หรือไม่ว่าดอกของพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ และต้นพยอมยังเป็นต้นไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรไทยสามารถรักษาโรคได้หลายอาการ อีกทั้งยังมีเรื่องราวความเชื่อของคนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับต้นพยอม หรือพะยอมกันให้มากขึ้น จะน่าสนใจแค่ไหนตามไปชมพร้อมๆ กันเลย
ข้อมูลทั่วไปของพะยอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don
ชื่อสามัญ Shorea, White meranti
ชื่อวงศ์ (DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพะยอม
ต้น
ต้นพยอมไม้มงคลมีถิ่นกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว และประเทศไทยของเรา เป็นต้น พะยอมเป็นต้นไม้ที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ จัดเป็นไม้ผลัดใบ ทรงพุ่มสวยงาม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งออก เพื่อสร้างร่มเงาและมองดูสวยงาม ต้นพยอมมีความสูงลำต้นประมาณ 15-20 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 300 เซนติเมตร สีของเปลือกลำต้นคือสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม ลำต้นแตกออกเป็นร่องยาว ตกสะเก็ด เนื้อไม้มีสีเหลืองอมสีน้ำตาล คล้ายกับต้นตะเคียนทอง
ใบ
ลักษณะของใบต้นพยอมมีใบเป็นรูปทรงรี ใบมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบพะยอมมีสีเขียว ส่วนผิวใบจะเกลี้ยง ผิวเป็นมัน ขอบใบเรียบเป็นคลื่น เส้นใบด้านหลังสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร และมีความกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร
ดอก
ดอกพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ดอกมีช่อขนาดใหญ่ ออกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ดอกประกอบไปด้วยกลีบดอก 3 กลีบ โค้งเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนของกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ดอกพะยอมจะดอกออกพร้อมกันเกือบทั้งต้นมองดูสวยงาม และจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล
มาในส่วนของผลกันบ้าง ลักษณะผล คือ เป็นผลแห้ง รูปทรงไข่และกระสวย มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลจะซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนมีปีก 5 ปีก ประกอบไปด้วยปีกยาวรูปทรงขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร และปีกสั้นมี 2 ปีก โดยแต่ละปีกยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดเพียงแค่หนึ่งเมล็ด และจะติดผลในช่องเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี
สรรพคุณทางด้านยาสมุนไพรของพะยอม
- เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ช่วยแก้อาการท้องร่วง หรือท้องเดิน ขับล้างสารพิษออกจากลำไส้ เนื่องจากมีสาร Tannin จำนวนมาก จึงช่วยสมานแผลในลำไส้ได้ดี นอกจากนั้นหากนำมาเปลือกมาฝนยังสามารถใช้รักษาบาดแผล ลดอาการอักเสบ ป้องกันแผลติดเชื้อได้อีกด้วย
- ดอกของพะยอมใช้เป็นยาหอมไว้แก้ลม ยาแก้ไข้ นอกจากนั้นยังใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีกด้วย
ประโยชน์ของพะยอม
- ปลูกเพื่อสร้างร่มเงาทำให้เกิดความร่มเย็น ต้นพะยอมสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี อีกทั้งยังมีดอกที่สวยงาม กลิ่นหอมด้วย
- ดอกอ่อน สามารถนำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือจะนำไปชุบแป้งทอดกรอบ อร่อย พร้อมทั้งมีโภชนาการที่ดี ดอกพะยอมอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใย ไขมัน และแร่ธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- เปลือกหรือชิ้นไม้เล็กๆ สามารถนำมาใส่ในเครื่องหมักดอง ทำเป็นสารกันบูดได้
- ชันของต้นพยอมสามารถนำมาผสมกับน้ำมันทาไม้ ใช้ยาแนวเรือได้
- ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อน สวยงาม เนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน มีความคล้ายคลึงกันกับไม้ตะเคียนทอง สามารถนำไปแปรรูป หรือใช้ประโยชน์แทนกันได้และใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำฟอร์นิเจอร์ เสาบ้าน ตง รอด พื้น ฝาบ้าน เป็นต้น
พะยอมกับความเชื่อของคนไทย
คนไทยสมัยโบราณ มีความเชื่อว่า ต้นพยอม คือต้นไม้มงคล หากบ้านไหนมีต้นพยอมปลูกในบ้านไว้บริเวณรอบบ้านจะทำให้ไม่ขัดสนเรื่องเงินทอง และจะทำให้ผู้อื่นรักไคร่ อยากช่วยเหลือ หรือเห็นอกเห็นใจ เนื่องจากคำว่า พะยอม มีความหมายว่า การยินยอม ผ่อนผัน หรือการประณีประนอม นอกจากนั้นคนสมัยก่อนยังมีความเชื่ออีกว่าหากจะปลูกต้นไม้เพื่อเอาคุณ ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และผู้ปลูกควรเกิดในวันเสาร์
การปลูก การดูแลรักษา และการขยายพันธุ์พะยอม
การปลูกต้นพยอมหรือการขยายพันธุ์ต้นพยอมนั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง ข้อดีของการปลูกต้นพยอมคือเป็นต้นไม้ที่สามารถทนทานต่อความแห้งแห้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทยของเรา อย่างไรก็ตาม ต้นพยอม จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนดินทรายหรือดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 12.5-45 องศาเซลเซียส การปลูกต้นพยอมด้วยการเพาะเมล็ดก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ชนิดอื่นทั่วๆ ไป โดยกล้าไม้จะต้องมีความแข็งแกร่งและสมบูรณ์ก่อน หรือต้นกล้ามีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร จึงสามารถย้ายลงหลุมปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ เพื่อลดอัตราการตาย ก่อนนำกล้าไม้ลงหลุมปลูก ควรนำกล้าไปตากแดดทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงย้ายลงหลุมปลูก แนะนำให้ย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลังฝนตก ก่อนแกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มออก ให้นำส่วนรากจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้รากดูดซึมน้ำจนอิ่มตัว วิธีนี้จะช่วยให้ต้นพยอมมีอัตราการรอดตายสูง
ระยะในการปลูกที่เหมาะสม คือ 3 x 3 เมตร สามารถปลูกต้นพยอมร่วมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่วชนิดอื่นได้ เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่สูงสุด และไม้โตเร็วตระกูลถั่วจะช่วยตรึงไนรโตเจนช่วยให้ไม้พะยอมเจริญเติบโตเร็วขึ้น ในระยะแรกๆ ที่ต้นพยอมยังเป็นต้นอ่อนอยู่ หากปลูกร่วมกับไม้ชนิดอื่น อาจทำให้ถูกบดบังแสงแดดส่งผลให้โตช้า แต่เมื่อต้นพยอมเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว การแก่งแย่งแสงสว่างก็จะไม่ส่งผลต่อต้นพยอมมากนัก
สำหรับการดูแลรักษาต้นพยอม ดูแลรักษาไม่ยาก เพราะอย่างที่บอกว่าต้นพยอมเป็นต้นไม้ที่ทนทานต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ดี การลิดกิ่งก็ไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากต้นพยอมมีทรงพุ่มสวยงาม ยิ่งกิ่งเยอะยิ่งสวยและสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ ในช่วงระยะต้นกล้า หรือย้ายต้นกล้าลงหลุมปลูก ควรมีการรดน้ำ 3-4 วันต่อหนึ่งครั้ง เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง แต่หลังจากที่ต้นพยอมเจริญเติบโตขึ้น ก็สามารถลดการให้น้ำลงได้ตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องของโรค แมลง หรือหนอน ศัตรูพืชต่างๆ แมลงที่สามารถทำอันตรายต่อไม้พยอมได้ ก็คือ มอด ซึ่งมอดอาจเจาะไม้ หรือเปลือกไม้ รวมถึงกระพี้ไม้ทำให้เกิดความเสียหาย อาจให้สารเคมีกำจัดโดยเฉพาะ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ควรศึกษาการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดนั้นๆ จากฉลาก หรือคำแนะนำ
พะยอม ต้นไม้ชนิดนี้มีประโยชน์มากมาย ทั้งการใช้ประโยชน์ในด้านยาสมุนไพร ปลูกเพื่อสร้างร่มเงา เพื่อความสวมงาม รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะเนื้อไม้ ที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีสีเหลืองอ่อนคล้ายกับไม้ตะเคียนทอง สามารถใช้ทดแทนไม้ตะเคียนทองได้ นอกจากนั้นต้นพยอมยังมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวความเชื่อของคนไทย สำหรับใครที่ต้องการปลูกต้นพะยอม หรือต้องการซื้อต้นกล้าไปปลูก สามารถหาซื้อต้นกล้าได้จากร้านจำหน่ายขายพันธุ์ไม้ทั่วไป หรือจะสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็สะดวกสบายไปอีกแบบ ปัจจุบันราคาต้นกล้าพันธุ์ไม้พะยอม จำหน่ายกันที่ราคาประมาณ 20-50 บาทต่อต้น โดยมีความสูงประมาณ 15-25 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ต้นพยอมในป่ากำลังจะสูญพันธุ์ไป เนื่องจากถูกบุกรุกเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าของคนบางกลุ่มที่เห็นแก่ตัว ซึ่งผิดกฎหมายและอาจมีโทษที่หนัก จึงอยากให้ทุกคนตระหนักว่าหากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของเราถูกทำลาย วันหนึ่งโลกของเราก็จะได้รับผลกระทบ อย่างเช่นภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นทุกวันนี้ และเมื่อโลกถูกทำลายจากฝีมือของมนุษย์ ท้ายที่สุดแล้วมันก็จะส่งผลย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์เอง.
การแปรรูปไม้พะยอม
ไม้พะยอมเป็นไม้เนื้อแข็งมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น พม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้วและชื้นหรือป่าดิบชื้นแล้งทั่วไป พะยอมเป็นไม้ที่มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง นิยมนำมาแปรรูปค้าขายในอุตสาหกรรมไม้แปรรูปเพราะไม้พะยอมมีคุณสมบัติความแข็งแรง เหนียวทนทาน เมื่อแปรรูปแล้วใช้งานได้หลากหลาย มีมูลค่าการค้าขายทางเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งส่งออกภายในและภายนอกประเทศเป็นรูปแบบเฟอร์เจอร์ หรือโครงสร้างของบ้าน หรือส่วนประกอบในการตกแต่ง ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบพร้อมใช้งานจริง ไม้ที่ทำการส่งออกได้ผ่านกระบวนการต่างๆมากมายเพื่อรักษาสภาพของไม้พะยอมให้มีความคงทน ไม่เกิดการบิดงอ หรือเชื้อราในระยะยาว ปัจจุบันไม้จริงเริ่มหายาก และมีมูลค่าของไม้ที่สูงขึ้นทางเรามีการจำหน่ายไม้พะยอมเก่าแปรรูป หรือไม้พะยอมใหม่แปรรูปนั้นเองเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริการมากขึ้น โดยทางเรามีรายละเอียดของไม้พะยอมแปรรูปให้ศึกษาต่อจากบทความนี้
การแปรรูปไม้พะยอม มีประโยชน์มากกว่าที่หลายคนรู้จักกัน
ข้อมูลอ้างอิงจากกรมป่าไม้ได้ระบุไว้ว่า ไม้พะยอมเป็นเนื้อแข็ง มีลักษณะสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาลมีเส้นพาดผ่าน เนื้อไม้จากต้นพะยอมถูกนำมาแปรรูปเพื่อใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปๆได้ เช่น การทำเสาบ้าน ไม้พื้น ไม้ฝา รอด ตง เครื่องดนตรีบางชนิด ส่วนประกอบของเรือ หรือโครงสร้างของบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ไม้พะยอมเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทาน ผ่านการทดสอบจากกรมป่าไม้ ได้ระบุค่าความแข็งแรงไว้ที่ 1170 กก./ซม2 โดยมีความทนทานที่มากกว่า 6 ปีขึ้นไป จากข้อมูลดิบวงปีของไม้พะยอมที่นำมาใช้ 11.7 ปี หรือในช่วง 1.8 ถึง 26.9 ปีนั้นเอง ทางกรมป่าไม้ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่แน่ชัดอย่างเดียวกันว่าไม้พะยอมอยู่ในกลุ่มไม้เนื้อแข็งซึ่งกรมป่าไม้ได้เห็นชอบในเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง ในส่วนราชการกรมป่าไม้ จากการทดสอบ การแปรรูปไม้ จะได้ไม้พะยอมหลากหลายส่วน แต่ล่ะส่วนของไม้พะยอมนั้นจะมีราคาสูงตามหน้ากว้างของแผ่นไม้หรือตามรูปแบบผลิตภัณณ์จากไม้นั้นเอง
ไม้พะยอมที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปดังนี้
- ไม้พื้น เป็นส่วนสำคัญภายในบ้านที่เราต้องสัมผัส เราก็ต้องเลือกให้เหมาะกับบ้านด้วยลายไม้ธรรมชาติ ให้ความอบอุ่น สร้างสรรค์ ด้วยไม้พะยอมที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ทาทานต่อรอยขูดขีด ปลวก และการผุพัง มีอัตราการยืดหดตัวต่ำ เหมาะกับการนำมาทำไม้พื้น โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายไม้พื้นขนาดมาตรฐาน 2 นิ้ว 1.5 นิ้ว และ 1 นิ้ว
- ไม้ฝา เป็นส่วนที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ เพราะช่วยป้องกันแดด กันฝน กันลม สร้างความสวยงามให้กับบ้านของเรา ด้วยไม้พะยอมที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ทนต่อปลวกแมลงต่างๆและในสภาพอากาศที่มีความชื้น เหมาะกับการนำมาทำไม้ฝา โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายไม้ฝาขนาดมาตรฐาน 2 นิ้ว 1.5 นิ้ว และ 1 นิ้ว
- เสา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแรง รับน้ำหนักต่างๆตามการออกแบบและใช้งานทั่วไป ในส่วนของเสาเป็นส่วนที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งไม้พะยอมมีคุณสมบัติที่จะนำมาใช้งานได้ และยังให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับไม้ชนิดอื่นๆ
โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายเสาไม้ขนาดมาตรฐาน 4 นิ้ว 5 นิ้ว และ 6 นิ้ว สินค้าที่ทางร้านของเราจำหน่ายมีหลายเกรดหลายขนาดพร้อมบริการลูกค้าทุกท่าน ถ้าหากท่านใดมีไม้มะค่าแต้สามารถติดต่อเข้ามาได้ ทางเรามีบริการทั้งขายไม้พะยอมและรับซื้อไม้พะยอม
การปรับปรุงคุณภาพไม้พะยอม
ข้อมูลจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนได้ระบุไว้ว่า เนื่องจากไม้ในปัจจุบันมีคุณภาพลดลงจากวงปีที่ไม้ที่น้อย หรือจากหดตัว แตกร้าว หรือบิดงอง่าย ทำให้เกิดความเสียหายในสิ่งก่อสร้าง ครัวเรือนเครื่องใช้ อีกทั้งไม้พะยอมบางส่วนได้มาจากส่วนราชการผ่านการใช้งานมาแล้ว อาจมีรอยหรือบางส่วนเกิดการเสียหายบ้าง ซึ่งไม้เก่าและไม้ใหม่เหล่านี้ผ่านการปรับปรุงทางด้านสี ความแข็งแรง การหดตัว การพองตัว และความทนทานของตัวไม้นั้นเอง ด้วยวิธีการย้อมสีเป็นการทำไม้ที่มีสีจางจากการใช้งานยาวนาน นำไปแช่ในน้ำยาอาบไม้ทำให้ไม้มีสีสวยงามเด่นชัดขึ้น, การอบหรือนึ่งไม้ที่อุณภูมิสูง เป็นการคายน้ำได้มาก ทำให้การพอง และหดตัวของไม้ลดลงไป ถ้าหากผึ่ง กองไม้ไว้ในที่โปร่ง ทำให้อากาศในกองไม้ถ่ายเทได้สะดวก เป็นวิธีที่เสียเวลา แต่ไม้ที่ได้จะแห้งและทนทานมากๆไม้ยิ่งเก่ายิ่งมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น, การแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ทำให้สารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีในไม้ สลายตัวไปภายหลัง เมื่อนำไม้มาใช้งานแม้จะมีส่วนกระพี้ติดอยู่ด้วย ก็จะไม่มีมอดเข้ารบกวน, การอาบน้ำยา ทำให้ไม้มีประสิทธิภาพในด้านความคงทน สามารถทนทานต่อรา มอด ปลวก และแมลงทั้งหมด ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นเทคนิคที่ทำให้ไม้พะยอมเก่าหรือใหม่ มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนจะนำมาใช้งานมากยิ่งขึ้น
ที่มา
https://www.phargarden.com