มะค่าโมง
มะค่าโมง ถือได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ และนิยมนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างหรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน และมีสีสันที่สวยงาม มะค่าโมง จัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน หากต้องการตัด หรือนำมาแปรรูปเพื่อการค้าขาย วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับต้นมะค่าโมงกันให้มากขึ้น จะน่าสนใจแค่ไหน ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย
ข้อมูลทั่วไปของต้นมะค่าโมง
- ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ “Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib. T”
- ชื่อสามัญ “Black rosewood, Pod mahogany”
- ชื่อวงศ์ “Leguminosae”
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นมะค่าโมง
ลำต้น
มะค่าโมง จัดเป็นต้นไม้ที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่มกว้างและแตกกิ่งก้านต่ำ ตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนและกิ่งจะมีขนปกคลุมอยู่ทั่วทั้งต้น
ใบ
ลักษณะใบของมะค่าโมง มีลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับกันที่กิ่งแขนง โดยก้านใบจะมีความยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร ใบประกอบย่อยขึ้นตรงข้ามประมาณ 3-5 คู่ โดยใบย่อยจะมีก้านใบสั้นประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และมีรูปทรงไข่ฐานใบและปลายใบมน แผ่นใบเรียบ โดยแผ่นใบมีเส้นกลางใบที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและมีขนาดความกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร และแผ่นใบจะมีสีเขียวเข้ม
ดอก
ดอกของมะค่าโมง จะออกดอกที่บริเวณช่อปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร โดยมีขนปกคลุมอยู่บางๆ ดอกย่อยจะมีก้านดอกยาว 7-10 มิลลิเมตร ส่วนดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ โดยมีความยาว 5-10 มิลลิเมตรและมีขนปกคลุมอยู่ทั่ว กลีบรองมีทั้งหมด 4 กลีบ โดยมีรูปขอบขนานเรียงทับซ้อนกันมีความยาว 10-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกจะมีเพียงแค่กลีบเดียวเท่านั้น โดยมีรูปทรงกลม แผ่นกลีบดอกมีสีแดง ถัดมาจะเป็นเกสรตัวผู้ที่มีทั้งหมด 11 อัน โดย 8 อันจะเป็นเกสรสมบูรณ์ ส่วนที่เหลืออีก 3 อันจะเป็นหมัน ก้านเกสรแยกออกจากกัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีขนปกคลุมยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ด้านล่างจะเป็นรังไข่ ดอกของมะค่าโมงจะออกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ผล
มะค่าโมงมีผล เรียกว่า ฝัก โดยมีลักษณะเป็นฝักแบนขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 7-10 เซนติเมตรและยาว 12-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนจะมีสีเขียว ส่วนฝักแก่จะมีสีน้ำตาลและฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ด้านในมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกของเมล็ดมีสีดำและมีเยื่อหนา
ลักษณะเมล็ดคล้ายรูปฟันคน โดยมีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร และหุ้มบริเวณฐานเมล็ด จึงเรียกว่า ฟันฤๅษี โดยฝักจะแก่ประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
มะค่าโมงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทยของเรา ตั้งแต่ระดับความสูงประมาณ 150- 650 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มะค่าโมงสามารถแพร่กระจายได้ทั่วหรือเจริญเติบโตได้ดีในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง สามารถพบเจอได้ทั่วไปในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ โดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคเหนือ ซึ่งมักเกิดขึ้นตามริมแม่น้ำหรือข้างลำห้วย
ประโยชน์ของต้นมะค่าโมง
- มะค่าโมงมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง ทนทาน และมีลวดลายของเนื้อไม้ที่สวยงาม โดยเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลอมแดง นิยมนำไปใช้แปรรูปเป็นแผ่นพื้น หรือใช้ในการก่อสร้างบ้าน ทำเสาบ้าน ทำไม้ชายคาสำหรับก่อสร้าง รวมถึงใช้แปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
- ฝักอ่อนของมะค่าโมงสามารถนำมาต้มรับประทานหรือนำมารับประทานเป็นของขบเคี้ยวคู่กับอาหารอื่นๆ ได้
- เปลือกของมะค่าโมงจะมีรสฝาด นิยมใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
- เมล็ดแก่สามารถนำมาเผาไฟหรือคั่วรับประทาน โดยเนื้อของเมล็ดจะมีรสชาติมัน
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรของต้นมะค่าโมง
มะค่าโมง จัดเป็นไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีสรรพคุณทางด้านยาสมุนไพร ซึ่งสามารถรักษาโรคได้หลากหลายอาการ เช่น เปลือกของลำต้น สามารถนำมาต้มดื่ม ใช้สำหรับเป็นยาถ่ายพยาธิยา รักษาโรคริดสีดวง ยาแก้อาการท้องเสีย และรักษาโรคบิดนอกจากนั้นยังสามารถรักษาโรคผิวหนัง หรือใช้ทาเป็นยารักษาแผลพุพองต่างๆ ได้ สำหรับเมล็ดของมะค่าโมงสามารถนำมาต้มดื่มหรือนำเนื้อเมล็ดดิบมาหั่นเป็นฝอยต้มดื่ม ช่วยบรรเทาอาการอาเจียนได้ เป็นต้น
การปลูกต้นมะค่าโมง
สำหรับการปลูกต้นมะค่าโมงนั้น ข้อแนะนำคือ ควรปลูกด้วยต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 8-12 เดือน และต้องปลูกในต้นฤดูฝน เพื่อให้ต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้รากแข็งแรงสามารถตั้งตัวได้ ระยะที่ใช้ปลูกคือ 6-8 x 6-8 เมตร และควรใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้มาปกคลุมที่บริเวณโคนต้น เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้น ทั้งนี้ อัตราการเจริญเติบโตของต้นมะค่าโมง หากปลูกแล้ว 1 ปี จะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 เมตร และโดยทั่วไปการขยายตัวของเส้นรอบวงจะน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี มะค่าโมงจะมีอายุการตัดฟันที่เหมาะสม สำหรับใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างคือ มีอายุประมาณ 25-30 ปีขึ้นไป
การขายพันธุ์ต้นมะค่าโมง
การขยายพันธุ์มะค่าโมง วิธีที่ได้รับความนิยมและสะดวกมากที่สุด ก็คือ การขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด แต่เนื่องจากเมล็ดของมะค่าโมงจะมีเปลือกที่แข็งมาก หากนำเมล็ดไปเพาะชำเลย อาจทำให้เกิดการงอกที่ช้าและต้องใช้เวลานานดังนั้น ก่อนนำเมล็ดไปเพาะควรขลิบเปลือกของเมล็ดตรงส่วนหัวออกก่อน เพื่อให้เห็นเนื้อด้านในเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำเป็นระยะเวลาหนึ่งคืน ก่อนนำไปหว่านลงในแปลงดินที่เตรียมไว้ ดินเพาะชำควรเป็นดินปนทรายอัตราส่วน 1 : 1 และหว่านเมล็ดให้มีความหนาประมาณ 0.5-1.0 เซนติเตร สำหรับการให้น้ำในแปลงนั้น ช่วงระยะแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือทุกๆ เช้าและเย็น นอกจากนั้นควรผสมยาเพื่อป้องกันเชื้อรากับน้ำที่ใช้รดในช่วงแรกๆ ด้วย เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดจะงอกและเริ่มมีใบสามารถย้ายลงถุงพลาสติกที่เตรียมดินไว้ และรอให้มีระยะเวลาต้นกล้าแข็งแรงตามความเหมาะสม หรือให้ต้นกล้ามีอายุประมาณ 8-12 เดือนขึ้นไป จึงสามารถย้ายลงไปปลูกในแปลงดินได้
การบำรุงรักษาต้นมะค่าโมง
ในส่วนของการบำรุงรักษา ก่อนปลูกควรทำความสะอาดแปรงและไถพรวนดิน ข้อควรระวังคือ เรื่องของโรคและแมลง โดยเฉพาะแมลงปีกแข็ง ซึ่งมักจะกัดกินเมล็ดหรือตัวตุ่นและจิ้งหรีด ที่คอยกัดกินราก อาจทำให้ต้นล้มตายได้ มะค่าโมงมี อัตราการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างช้า และชอบแสงแดดครึ่งวันส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การปลูกคือ มะค่าโมงเป็นต้นไม้ที่ชอบดินร่วนและดินนั้นจะต้องสามารถระบายน้ำได้ดีด้วย เพื่อให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและมีลำต้นที่แข็งแรง
มะค่าโมงจัดเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามท้องที่ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดจันทบุรีจะเรียกว่า “ต้นปิง” ส่วนนครราชสีมาเรียกว่า “ต้นปิ่น” โดยทั่วไปแล้วชาวภาคกลางจะเรียกว่า “มะค่าโมง” หรือ “มะค่าใหญ่” ส่วนภาคเหนือเรียกว่า “มะค่าหลวง” หรือ “มะค่าหัวดำ”
ทั้งหมดนี้ คือ สาระที่น่ารู้และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับต้นมะค่าโมง ทั้งในเรื่องของข้อมูลโดยทั่วไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ประโยชน์สำหรับการใช้งาน โดยเฉพาะการนำเนื้อไม้มาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ในการก่อสร้างบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเนื้อไม้มะค่าโมงมีความแข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังมีลวดลายที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม มะค่าโมงนั้นจัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตก่อนทุกครั้งที่มีการตัดฟันหรือนำมาแปรรูปเพื่อค้าขาย นอกจากประโยชน์ในการนำเนื้อไม้มาใช้งานแล้ว มะค่าโมงยังมีสรรพคุณในด้านของยาสมุนไพรไทย ที่สามารถรักษาโรคได้หลากหลายอาการและถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มะค่าโมง ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ขึ้นชื่อว่าเป็นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีราคาสูงไม่แพ้ไม้สัก หรือไม้พยุงเลยทีเดียว หากใครที่ต้องการปลูกไม้มะค่าโมง สามารถใช้วิธีการเพาะเมล็ดหรือสามารถหาซื้อต้นกล้าได้จากร้านขายพันธุ์ไม้ทั่วไป ตลอดจนสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ก็ต้องคำนึงถึงการเลือกร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่ต้องมีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งระบบการขนส่งที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
การแปรรูปไม้มะค่าโมง หนึ่งในไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการในตลาดไม้แปรรูป
ผศ.สุรพันธ์ จันทนะสุต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ้างว่าจากการวิจัยการสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเศษไม้เก่าเพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วัสดุเหลือใช้มาสร้างให้เกิดประโยชน์พบว่า ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 28 นั่นแสดงให้เห็นว่าการนำไม้เก่ามาแปรรูปสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ เช่นเดียวกับไม้มะค่าโมงเก่า หลังจากแปรรูปแล้วมักจะมีมูลค่าสูงขึ้น
คุณสมบัติเด่นของไม้มะค่าโมง
• ลวดลายไม้สวยงาม ลวดลายของไม้มะค่าโมงจะดูคล้ายไม้สัก ซึ่งเป็นไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงาม โดยลวดลายนั้นจะดูเป็นธรรมชาติ เนื้อหยาบ ผิวเรียบสม่ำเสมอ
เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมแดง และถ้าหากมีอายุเพิ่มขึ้นก็จะทำให้สีของไม้เข้มขึ้นด้วย
• มีความแข็งแรงและทนทาน เนื้อไม้มะค่าโมงมีความหนักแน่นและแข็งแรงมาก จึงสามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพอากาศอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นไม้เก่าที่มีอายุมากก็จะยิ่งมีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้ได้รับความนิยม โดยมักจะถูกนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือไม้พื้นที่ต้องรับน้ำหนักอยู่บ่อย ๆ
• ปลวกและมอดทำลายได้ยาก เนื่องจาก ไม้ มะค่าโมง เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความหนาแน่นมาก ทำให้สามารถทนต่อปลวกและมอดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทนต่อความชื้นและเชื้อราได้อีกด้วย จึงทำให้ไม้ชนิดนี้เป็นหนึ่งในไม้ที่เกิดการผุพังได้ค่อนข้างยาก
ลักษณะของไม้มะค่าโมงที่เหมาะกับการนำมาแปรรูป
การพิจารณาไม้ มะค่าโมง หรือไม้ชนิดอื่น ๆ เพื่อนำมาแปรรูป มักจะดูที่อายุของไม้เป็นหลัก โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งจำเป็นต้องมีส่วนของแก่นมากกว่ากระพี้ เพราะส่วนของแก่นจะบ่งบอกได้ว่าไม้ชนิดนั้นมีอายุมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความแข็งแรงของเนื้อไม้ เช่นเดียวกับไม้มะค่าโมง หากจะนำมาแปรรูปต้องเลือกไม้ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ไม้เก่าแปรรูปจะต้องมีสภาพที่ดีหรือพอใช้ได้ หากเป็นไม้ขนาดเล็กควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป ลำต้นตรงเปลากลม และไม่คดงอ
ไม้มะค่าโมง แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ?
ไม้ มะค่าโมง เป็นไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน นอกจากความสวยงามของเนื้อไม้แล้ว ความแข็งแรงยังเป็นจุดแข็งที่ทำให้หลายคนนิยมนำมาใช้งาน โดยไม้มะค่าโมงนั้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไม้ปาร์เก้ ไม้รางลิ้น ไม้แผ่นปูพื้น ไม้บันได ไม้วงกบ ไม้ชายคา เสาบ้าน ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์และเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ
ประเภทและขนาดของไม้ที่ทางร้านจำหน่าย
• ไม้พื้น เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีมาตรฐาน มีความแข็งแรงและทนทาน สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ปูพื้นบ้านไม้ได้อย่างลงตัว
ขนาดจำหน่ายจะมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2“
• ไม้ฝา เป็นไม้เทียมที่มีลักษณะคล้ายไม้จริง ทนต่อสภาพอากาศและการใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำไปตกแต่งผนังได้ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับบริเวณฝ้า เพดาน และรั้วบ้านได้อีกด้วย ขนาดจำหน่ายจะมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2“
• ไม้เสา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีทั้งความแข็งแรงและทนทาน สามารถแบกรับน้ำหนักส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้เป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่จะเป็นไม้เก่าหรือไม้ที่มีอายุมาก ขนาดจำหน่ายจะมีตั้งแต่ 1“, 1.5” และ 2“
ไม้มะค่าโมงแปรรูป และขนาดมาตรฐาน
ไม้ มะค่าโมง แปรรูป ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่มีอายุมาก โดยมีส่วนของแก่นมากกว่ากระพี้ มีความแข็งแรงและทนทาน หากเป็นไม้เก่าจะมีสภาพดีและสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไปได้ ซึ่งส่วนยาวของไม้นั้นจะต้องขนานกับความยาวของท่อนซุง ด้านเรียบเป็นแนวเส้นตรง และไม่คดงอ โดยจะมีขนาดตามมาตรฐานของไม้แปรรูปทั่วไป ดังนี้
• ความหนา จะมีตั้งแต่ 12, 16, 19, 22, 25, 32, 38, 44, 50, 63, 75, 88, 100, 113, 125, 138, 150 และ 200
• ความกว้าง จะมีตั้งแต่ 25, 38, 50, 63, 75, 88, 100, 113, 125, 150, 175, 200, 225, 250, 275, 300, 350 และ 400 มิลลิเมตร
• ความยาว ควรเริ่มตั้งแต่ 0.30 เมตร และให้มีความยาวเพิ่มขึ้นช่วงละ 0.15 – 0.30 เมตร
ดูหน้ารวมสินค้า จำหน่ายต้นมะค่าโมง รวมสินค้าลดราคา พร้อมส่ง
ที่มา
https://puechkaset.com