มะตูมแขก ยอดผักอ่อน เพิ่มการขับถ่าย มีลักษณะ และการปลูกยังไง

มะตูมแขก (Brazilian Peppertree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่ได้ถูกนำเขามาพร้อมกับแรงงาน มีการปลูกในประเทศไทยมานานมากกว่า 30 ปี อีกทั้งเรายังนิยมนำยอดมาเป็นผักกินแกล้มกับอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน มีการกินยอดผักชนิดนี้กับลาบ หรืออาหารที่นิยมกินผักสด แต่มะตูมแขกก็ไม่ได้มีประโยชน์แค่เป็นผักเท่านั้น แต่ยังเป็นสมุนไพรที่เราควรศึกษาเพื่อปรับเอามากินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายของเราอีกด้วย

มะตูมแขก
credit : wildlifeofhawaii
มะตูมแขก หรือ มะตูมซาอุ เหตุที่เรียกว่า มะตูมซาอุ นั้นก็เพราะว่า เมื่อหลาย 10 ปีก่อนประเทศไทย และประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้มีการเปิดรับแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศ ทำให้คนไทยที่ไปทำงานที่ซาอุ เมื่อกลับมาก็ได้นำ เมล็ดติดไม้ติดมือกลับมาด้วย และยังสามารถเพาะปลูกได้ดีในสภาพอากาศเมืองไทย เพราะทั้ง 2 ประเทศ มีสภาพอากาศร้อนเหมือนกัน

และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณะของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ มีกลิ่นเหมือน "มะตูม" และเรายังได้นำมาปลูกครั้งแรกซึ่งเอามาจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำให้เราตั้งชื่อว่า มะตูมแขก หรือ มะตูมซาอุ นั้นเอง

ซึ่งวันนี้ Kaset today จะมาศึกษามะตูมแขก ว่ามีลักษณะ วิธีการปลูกการดูแลอย่างไรให้เติบโตดี และมาทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของการกินมะตูมแขกกันว่าควรกินอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลทั้วไปของมะตูมแขก

ชื่อภาษาไทย : มะตูมแขก, มะตูมซาอุ

ชื่อภาษาอังกฤษ : Brazilian Peppertree, Christmas Berry, Brazilian Pepper, Brazilian Pepper-tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schinus terebinthifolius

ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae

ชื่อสกุล : Schinus


ลักษณะของมะตูมแขก

  • ลำต้น

ลำต้นตรงสูง แตกกิ่งรอบทิศทาง เป็นทรงพุ่มไม่ใหญ่มากนั้ก มีแก่นไม้ไม่มาก เนื้อไม้เป็นผิวค่อนข้างเรียบ มีสีตั้งแต่สีลำตาลที่เป็นลำต้น จึงถึงกิ่งอ่อนที่มีสีเขียวอมน้ำตาล

มะตูมแขก
credit : wildlifeofhawaii
  • ใบ

ใบไม่มีขน มีสีเขียวเข้ม มีเส้นสีเขียวอ่อนโดดเด่น และมี 5-11 ใบ (ปกติ 7 ใบ) ประกอบเป็นแผ่นพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปไข่ ยอดอ่อนมีส้มอมสีแดง ขอบใบมีลักษณะเป็นหยักหนาม

มะตูมแขก
credit : ใบมะตูม
  • ดอก

สีของดอกจะเป็นสีขาว แต่ดอกไม้มีขนาดเล็กมากจนเมื่อมองจากระยะไกล พวกมันจะกลมกลืนไปกับส่วนสีเขียวของช่อดอกและปรากฏเป็นสีเหลืองแกมเขียวอ่อน

มะตูมแขก
credit: technologychaoban
  • ผล

ผลเล็กๆ กลม ชมพูถึงแดง เป็นช่อ อยู่กันเป็นกระจุกแน่น ภายในแต่ละผลมีเมล็ดเดียว ผลเมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทย แต่เล็กกว่า

มะตูมแขก
credit : wildlifeofhawaii
เกร็ดความรู้ ! มะตูมแขก 

คนไทยเรียกชื่อว่า มะตูม เพราะมีกลิ่นคล้ายมะตูม บางคนเรียก “สะเดามาเลย์” เพราะใบคล้ายสะเดา บางคนเรียก “พริกไทยชมพู” เพราะเป็นช่อคล้ายพริกไทย แต่คุณรู้ไหมว่าจริง ๆ แล้ว ต้นมะตูมแขก หรือ มะตูมซาอุ กลับเป็นพืชวงศ์เดียวกับมะม่วง (Anacardiaceae) 

แหล่งกำเนิด

ต้นมะตูมอาซุมีแหล่งกำเนิดในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะบราซิล แต่ในบ้างประเทศถูกจักให้เป็นพืชรุกราน เช่น ประเทศอเมริกา ในรัฐฟลอริดา สหรัฐ รัฐฮาวาย

เกร็ดความรู้ ! สายพันธุ์ต้นมะตูมแขก

- S. terebinthifolia var. acutifolia 
ใบยาว 22 เซนติเมตร, มีใบย่อย 7-15 ใบ, ผลสีชมพู

- S. terebinthifolia var. terebinthifolia
ใบยาว 17 เซนติเมตร, มีใบย่อย 5-13 ใบ, ผลสีแดง

การขยายพันธุ์

ในปัจจุบันวิธีในการขยายพันธุ์ ต้นมะตูมแขก ที่ง่าย และได้ผลมากที่สุดคือ

  • การเพาะเมล็ด
  • การปักชำ

แต่ยังมีอีกวิธีและมักจะทำกับต้นมะตูมแขกที่มีขนาดใหญ่ และต้องการขยายพันธุ์ เพื่อให้ต้นใหม่ออกผลผลิตได้ง่ายและเร็ว วิธีนั้นก็คือ

  • การตอนกิ่ง

การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ต้นมะตูมแขก เป็นไม้ที่ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแดดเต็มวัน หรือครึ่งวันได้ สามารถทนสภาพอากาศที่เกือบทุกสภาพอากาศ

  • น้ำ

สามารถรดน้ำในระดับน้อยถึงปานกลางได้ แต่เวลาเขากำลังจะแตกยอดใหม่หรือกำลังติดลูก แนะนำให้รดถน้ำมากหน่อย เช้า-เย็น แต่ช่วงหน้าฝนสามารถรดน้ำ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ได้เลย

  • ดิน

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกคือ ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ค่า pH กลาง ๆ สามารถบำรุงดินด้วยการเติม หรือ ฝั่งกลบเศษอาหาร

  • ปุ๋ย

สามารถใส่ ปุ๋ยคอกปุ๋ยขี้วัว หรือ ปุ๋ยหมัก บริเวณโคนต้น หรือจะฉีดโฮโมนไข่ ก็จะยิ่งเป็นการบำรุงใบบำรุงต้นไปในตัว สามารถใช้ได้ทุก 3-5 วันครั้ง

การดูแล

ต้นมะตูมเป็นไม้ที่ไม่ค้อยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชหรือ แมลงที่จะมากัดกินใบ ทำให้ปลูกง่ายดูแลง่าย เรียกว่า เทวดาท่านสามารถดูแลแทนให้ได้เมื่อเราไม่อยู่บ้านเลย


ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์และสรรพคุณของต้นมะตูมแขกมีมากมาย แต่เราอยากจะยกตัวอย่างสรรพคุณทางสมุนไพร ที่เราสามารถหาได้จากพืชชนิดนี้ นั้นก็คือ

การกินยอดใบเพื่อช่วยในเรื่อง “ระบบการขับถ่าย” จากคลังความรู้ของมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวไว้ว่า จากลักษณะความกรอบ มันของใบ ทำให้การรับประทานใบมะตูมซาอุแบบดิบๆน่าจะมีกากเส้นใยอาหารประเภทไม่ละลายน้ำในปริมาณสูง ซึ่งเมื่อรับประทานแล้วมีกากมากทำให้ขับถ่ายได้ดี

ซึ่งในประเทศแอฟริกาใต้มีการนำไปใช้รักษาในโรคต่างๆ เป็นส่วนประกอบในยาพื้นบ้านซึ่งอาการที่รักษาได้ เช่น

  • ชาชงใบใช้รักษาอาการปวดข้อ สูดดมรักษาหวัด ลดความดันโลหิต และ อาการซึมเศร้า
  • ใบต้มน้ำรักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ
  • ชาชงทำจากเปลือกต้น เป็นยาระบาย
  • ยางเป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้น หรือ น้ำมันและชัน (oleoresin) ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อสำหรับทาแผลภายนอก รักษาแผล ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน

มะตูมแขกเป็นพิษไหม

ในหัวข้อนี้ ทุกคนอาจจะสงสัยกันว่าทำไมมพตูมแขกถึงจัดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีพิษ นั้นก็เพราะว่า มะตูมแขก หรือ มะตูมซาอุ ถูกจัดว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่อยู่ในวงศ์ “มะม่วง” ซึ่งพันธุ์ไม้ที่อยู่ในวงศ์นี้ ก็จะมีน้ำยางสีใส ๆ ซึ่งในน้ำยางนั้นก็จะพบสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น urushiol และ cardol และแน่นอนว่า จากงานวิจัยที่เราได้ศึกษามา ก็พบว่าในต้นมะตูมแขกก็มีสาร 2 ตัวนี้เหมือนกัน 

แต่ในมะตูมแขกมีสารทั้ง 2 ตัวอยู่ในระดับต่ำ จึงสามารถนำมารับประทานได้ แต่ในบางคนที่มักมีอาการแพ้น้ำยาง ก็อาจจะมีอาการระคายเคือง คือ มีอาการคันลิ้น หรือ ริมฝีปากบ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย

สำหรับคนที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าว ก็สามารถรับประทานได้ “โดยใช้เฉพาะส่วนใบ และยอดอ่อน เท่านั้น” การรับประทานเป็นผักสด ให้ล้างและแช่น้ำจนยางออกมากที่สุด และให้รับประทานพอควร ไม่มากเกินไป


แหล่งอ้างอิง

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์
wildlifeofhawaii
อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้