ยางพารา ไม้ยืนต้นมหัศจรรย์ ที่สามารถนำมาแปรรูปได้สารพัดแบบ

ชื่อภาษาอังกฤษ

Para Rubber

ชื่อวิทยาศาสตร์

Hevea Brasiliensis (Willd. ex A. Juss.) Muell. Arg

ความหมาย

ยางพารา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ชนิดผลัดใบ

ความเชื่อ

หากมองให้ดีและสังเกตสิ่งของรอบตัวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยางลบที่ใช้ลบรอยดินสอ ยางรัดถุงแกง รองเท้ายางที่สามารถใส่ลุยน้ำได้ ล้อรถยนต์ หรือจะเป็นลูกโป่งสีสันสดใสต่างๆ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งของที่ทำมาจากยางพาราที่นำมาแปรรูปนั่นเอง แต่น้อยคนนักมักจะรู้จักกับยางพารา ดังนั้นบทความนี้จึงมาแนะนำยางพาราให้ทุกคนรู้จักกันมากขึ้นนั่นเอง

ยางพารา ภาษาอังกฤษ

คติความเชื่อของคนไทยกับต้นยางพารา

หากจะกล่าวถึงคติความเชื่อของคนไทยที่มีต่อยางพารานั้น อาจจะไม่ค่อยพบเห็นได้นัก แต่หากกล่าวถึงพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย ต้องยกให้ยางพาราเลย เพราะ ยางพารานั้นนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะกว่าหนึ่งล้านครอบครัวในประเทศไทยนั้น ต่างปลูกยางพาราเพื่อทำเป็นรายได้หลักให้กับครอบครัวทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละปีประเทศไทยนั้นมีการส่งออกยางพารากว่าหลายล้านตัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

โดยเฉพาะน้ำยาง ซึ่งเป็นผลผลิตของต้นยางพาราที่ได้มาจากท่อลำเลียงอาหารที่อยู่ภายในเปลือกของต้นยางพารา ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆได้นั่นเอง

บริเวณไหนของบ้าน ที่เหมาะกับการปลูกยางพารา

สำหรับต้นยางพารานั้นไม่ได้มีการนิยมปลูกในบริเวณรอบรั้วของบ้าน เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ดังนั้น จึงนิยมปลูกในบริเวณพื้นที่โล่งที่มีขนาดกว้างที่มีการจัดเตรียมไว้เพื่อการปลูกยางหรือทำสวนยางพาราโดยเฉพาะ จะได้สามารถเก็บเกี่ยวตัวน้ำยางจากต้นยางพาราได้ทีละปริมาณมาก ๆ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยในการปลูกยางพาราจะมีหลักการที่ต้องศึกษาและให้ความสำคัญมาก ๆ

หลักการเลือกพื้นที่ในการปลูกยางพารา

การปลูกยางพาราให้ได้ผลผลิตที่ดี เนื้อไม้ดี ยางดี มีปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 2 ข้อ ได้แก่

1) สภาพพื้นดินที่จะปลูก ยางจะเกิดและให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่ที่ดินมีความสมดุลและความสมบูรณ์ ในกรณีที่พื้นที่ของเราไม่ใช่ดินร่วนหรือเหมาะแก่การปลูกเท่าไหร่นักให้ลองเลือกพันธุ์ยางที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่นั้นได้ เช่น การปลูกยางในสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินเหนียว มีการระบายน้ำที่ไม่ดี ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่มีทรงพุ่มเล็กหรือปานกลาง 

2) ความลึกของหน้าดิน โดยปกติต้นยางต้องการดินที่มีหน้าดินลึกมากกว่า 1 เมตร เพื่อให้รากสามารถยึดเกาะได้อย่างมั่นคง เพราะการปลูกยางในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นจะทำให้ต้นยางโค่นล้มง่าย ดังนั้น การปลูกยางในพื้นที่ดังกล่าว ควรจะเลือกพันธุ์ยางที่มีทรงพุ่มเล็กหรือปานกลาง แตกกิ่งสมดุลย์ ระดับน้ำใต้ดิน ในสภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง ระดับน้ำใต้ดินควรลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร 

นอกเหนือไปจากเรื่องสภาพพื้นที่แล้วปัจจุยที่สำคัญอีกข้อคือการเลือกสายพันธุ์ยางพาราที่จะปลูก โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เราจะปลูกด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นยางพารา

ลักษณะลำต้นของยางพารา

ยางพารา คือต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศบราซิล และประเทศที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ลักษณะของลำต้นนั้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดมีรูปไข่ค่อนข้างกลม หรือรูปทรงกรวย หรือรูปทรงกระบอก

ลักษณะเปลือกของยางพารา

เมื่อยางพารายังคงเป็นต้นอ่อนหรือขณะที่ต้นกล้ามีสีเขียวอ่อน ลักษณะเปลือกจะเป็นผิวเรียบเป็นมันสามารถลอกออกได้ง่าย แต่หากเป็นต้นยางพาราที่มีอายุมาก ตัวเปลือกจะมีสีเทาอ่อนไปจนถึงสีเทาดำ ผิวเรียบไม่แตกสะเก็ด แต่จะพบไลเคนเจริญเติบโตเกาะอยู่ตามผิวของเปลือก โดยจะติดอยู่ที่เปลือกเป็นดวงกลมๆ อยู่จนทั่ว

ลักษณะของใบของยางพารา

ใบของยางพารานั้นจะเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงเวียนสลับ มีใบย่อยสามใบ ตัวใบย่อยเป็นรูปไข่กลับแกมขอบขนานหรือรูปทรงรี มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ปลายของใบเรียวแหลม โดนใบจะสอบแคบเข้ากัน ขอบใบเรียบ อาจเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบเกลียง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบประกอบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร ก้านของใบย่อยยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ใบอ่อนที่แตกออกมาเป็นชั้นๆ เรียกว่า ฉัตรใบ

ลักษณะของดอกยางพารา

ดอกของยางพารานั้นมีสีเหลืองอ่อนขนาดเล็ก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบบใกล้ปลายกิ่ง ช่อของดอกมีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวดอกติดกันเป็นรูปทรงกรวยหรือรูประฆัง ปลายแยกออกจากกันเป็นห้ากลีบ เมื่อดอกยางพาราบานเต็มที่จะมีความกว้างที่ 0.5-1.0 เซนติเมตร

แนะนำ 5 สายพันธุ์ยางพาราน่าปลูก

สำหรับมือใหม่ที่อยากจะทำสวนยางพาราแต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องเริ่มจากการปลูกสายพันธุ์ไหนก่อนหรือพื้นที่ที่เรามีควรปลูกยางพาราสายพันธุ์ไหนถึงจะได้ผลผลิตที่ดี ทาง Kaset today วันนี้จึงอยากจะมาแนะนำพันธุ์ยางพาราที่ทางสถาบันวิจัยยางพาราได้แนะนำสำหรับกลุ่มที่สนใจอยากปลูกยางเพื่อสร้างรายได้ไว้ดังต่อไปนี้

RRIM 600

เป็นต้นยางที่ปลูกได้ในพื้นที่ราบหรือลาดเอียง ให้ผลผลิตระยะแรกอยู่ในระดับปานกลาง แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ให้ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีและมุ่งเน้นให้ผลผลิตเป็นน้ำยาง เป็นสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวและทนทานต่อการกรีดถี่ ๆ ได้มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย แต่อาจอ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำและอ่อนแอ ต่อโรคราสีชมพู เปลือกเดิมบาง

PRIM 3001

เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรยุคใหม่นิยมปลูก เพราะปลูกไม่นานก็สามารถกรีดได้ โคลนนิ่งสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดของมาเลเซียสามารถกรีดได้ภายใน 4 ปีหลังปลูก เจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็ว ย่นระยะเวลาการบำรุงดูแลรักษา ให้ผลตอบแทนไว ระบบรากลึก หาอาหารเก่ง ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังและทนแล้งได้ดีกว่า ให้ผลผลิตที่ 512 กก.ต่อไร่ต่อปีและได้ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้นตามขนาดของลำต้นที่โตขึ้นในปีถัด ๆ ไป มีความต้านทานโรคจำพวกโรคใบร่วงจากเชื้อไฟทอปเทอร่า และโรคยอดหงิกจากเชื้ออออิเดี้ยมได้ดีในระดับปานกลาง

RRIT 251

สายพันธุ์นี้เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ราบ เป็นพันธุ์ยางของไทยที่เจริญเติบโตก่อนเปิดกฤดูและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลางลำต้นมีความสม่ำเสมอของขนาด ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟท็อปโทราทอปในระดับปานกลางต้านทานโรคราแป้ง ราสีชมพูได้ในระดับปานกลางผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 10 ปี 457 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนยางใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 317 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

PB 235

ปลูกได้ในพื้นที่ราบทั่วไปยกเว้นในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ให้ผลผลิตเป็นเนื้อยาง 10 ปี กรีดเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 37  ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.30 ลูกบาศก์เมตรต่อต้นและ 0.41 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.75 22.34 และ 28.09 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งค่อนข้างมาก ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระดับปานกลาง แต่อาจอ่อนแอมากต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูน ต้านทานโรคราสีชมพูระดับดีและต้านทานลมระดับปานกลาง

RRIT3904

ปลูกได้ดีทุกพื้นที่ แต่จะดีที่สุดในพื้นที่ราบหรือลาดเอียงเป็นลูกผสมระหว่าง RRII 203 และ PB 235 ลักษณะเด่น ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ต้านทานต่อโรคทางใบยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี รวมถึงให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 400 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟทอปธอร่า เป็นต้น

ยางพาราในประเทศไทย

วิธีการปลูกและดูแลรักษาต้นยางพารา

สำหรับดินที่เหมาะสมกับการนำมาปลูกบางพารา ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินเหนียว ระบายน้ำได้ยาก ทำให้รากของต้นยางพาราสามารถยึดเกาะได้ดี สำหรับยางพาราควรใส่ปุ๋ยรองพื้น ร็อคฟอสเฟต

สายพันธุ์ของยางพาราที่พบมาในประเทศไทย

กลุ่ม 1

พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางใน กลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง

กลุ่ม 2

พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้น สูง

กลุ่ม 3

พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่มที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้

ยางพารา ประโยชน์

ทำความเข้าใจเรื่องต้นยางพารา

1) ตัวอักษรนำหน้าของชื่อพันธุ์ยางจะบอกประเทศต้นกำเนิดของยางสายพันธุ์นั้น อาทิ
– RRIT เป็นสายพันธุ์จากไทย
– RRIM เป็นสายพันธุ์จากมาเลเซีย
– RRII เป็นสายพันธุ์จากอินเดียว
– RRIC เป็นสายพันธุ์จากศรีลังกา 
– PB เป็นสายพันธุ์จากมาเลเซีย
นอกจากนนี้ก็ยังมียางพาราจากประเทศอื่น ๆ อีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งผู้ปลูกอย่างเราต้องศึกษาให้ดีและต้องดูว่าพื้นที่ของเราสามารถปลูกสายพันธุ์เหล่านั้นได้หรือไม่
 
2) การซื้อขายยางพารามีหลายแบบ
นอกเหนือจากน้ำยางหรือเนื้อยางแล้ว กล้ายางพารายังเป็นสิ่งที่มีการจับจ่ายซื้อขายกันอย่างมากในตลาดต้นไม้ ซึ่งลักษณะการขายกล้ายางจะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้
 
ยางบัดดิ้ง
 
  • การขายแบบบัดดิ้ง การใช้กล้ายางที่เพาะจากเมล็ดพันธุ์ โดยผ่านการเพาะในดินหรือขุยมะพร้าวจนรากเริ่มแตกออกจากเมล็ด แล้วเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 เมล็ดมาปลูกในถุงชำ ทางสวนจะรดน้ำดูแลจนต้นโตแตกฉัตรมาได้ประมาณ 8 เดือน – 1 ปี จากนั้นก็จะนำมาตัดกิ่งออกแล้วขายยกถุงชำ การปลูกแบบนี้โอกาสตายน้อยมากเพราะได้รับการดูแลมาและติดตา (ขยายพันธุ์) ให้เรียบร้อยพร้อมแตกกิ่งออกใบ ระบบรากแข็งแรงเพราะงอกจากเมล็ดโดยตรง การขายแบบบัดดิ้ง ปัจจุบันคนนิยมมาก ถึงจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าแบบกิ่งฉัตร แต่ว่าแข็งแรงทนทานและมีโอกาสรอดมากกว่า

ยางตอตาเขียว

  • การขายแบบตอตาเขียว กาารขายแบบนี้เป็นการถอนออกมาขายเป็นต้นไม่มีถุงชำ ลูกค้าที่ปลูกในเชิงพาณิชย์จะชอบ เพราะว่าลดต้นทุนได้ ซื้อแบบนี้ไปลงดินได้เลย สามารถซื้อและปลูกได้ทีละหลายร้อยต้นและขนส่งง่าย 

ยางพารากิ่งฉัตร

  • ขายแบบกิ่งฉัตร มือใหม่คนไหนอยากลองปลูกยางแบบรวดเร็วซื้อแบบติดกิ่งฉัตรมาแล้วจะช่วยให้ง่ายขึ้น ข้อดีคือ ได้ต้นกล้ายางที่พร้อมเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซื้อไปปลูกได้เลยไม่ต้องเลี้ยงเองแต่อาจต้องอาศัยการดูแลที่สม่ำเสมอ เพราะข้อเสียคือต้นยางแบบฉัตรจะใช้การเพาะลงในดินจนต้นเริ่มโตแล้วนำต้นโตมาติดตา จากนั้นก็ถอนต้นขึ้นมาตัดแต่งลงถุง โดยการตัดรากแก้วออกทำให้มีผลต่อต้นยางไม่มีรากแก้วแล้ว โค่นล้มก็ง่ายและมีการยึดเกาะไม่ดี ไม่เหมาะปลูกในหน้าดินที่ตื้น ส่วนใหญ่จะขาย 1 – 2 กิ่งฉัตร

คุณประโยชน์และสรรพคุณของยางพารา

ตัวน้ำยางที่ออกมาจากเปลือกของต้นยางพารานั้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้

  1. ยางยานพาหนะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดทั้ง ล้อรถยนต์ ล้อเครื่องบิน ล้อรถจักรยายนต์ ล้อรถจักรยาน และล้อรถอื่นๆ ทั้งยางนอกและยาง ใน รวมถึงยางอะไหล่รถยนต์
  2. ถุงมือยางทางการแพทย์ ถุงมือยางที่ผลิตในประเทศไทย ประกอบด้วย ถุงมือตรวจโรค และถุงมือผ่าตัด
  3. รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา รองเท้ายางและพื้นรองเท้าที่ทำจากยางธรรมชาติรวมทั้งอุปกรณ์กีฬาบางชนิด มี ส่วนผสมที่เป็นยางธรรมชาติและผลิตในประเทศไทยปีหนึ่งจำนวนไม่น้อย
  4. ยางยืดและยางรัดของ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติจำนวนมากในส่วนผสมยางยืดใช้ใน อุตสาหกรรมตัดเย็บ เสื้อผ้าต่างๆ 

น้ำยางพารา

ราคาของยางพาราตามท้องตลาด

ราคาของต้นยางพาราขนาดเล็กจะเริ่มต้นอยู่ที่ ราคาต้นละ 20 บาท ซึ่งเป็นต้นยางพาราพันธุ์ RRIM600 แต่หากเป็นต้นขนาดใหญ่ขึ้นจะมีราคาสูงขึ้นตามขนาดและสายพันธุ์ของต้น

 ไม้ยางนา

การแปรรูปไม้ยาง ไม้เนื้อแข็งปานกลางแปรรูปง่าย ทำได้หลายรูปแบบ

จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ระบุไว้ว่ายางนาเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้า เมื่อมีอายุประมาณ 14 ปี จะมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยอยู่ที่ 82.84 เซนติเมตร ในขณะที่ต้นยางพาราจะมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแล เมื่อต้นมีอายุประมาณ 2530 ปี มักจะถูกตัดและนำไม้ไปขายต่อเพื่อใช้ในการแปรรูป แม้ว่าไม้ยางจะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นไม้เก่าที่มีอายุมากและผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่างไม้ยางพาราและไม้ยางนา

• ไม้ยางพารา เป็นไม้ที่ได้จากต้นยางพารา จัดเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง หากเป็นไม้สดจะมีสีขาวอมเหลือง และเมื่อแห้งแล้วจะมีสีขาวจาง เนื้อไม้หยาบปานกลาง มีเสี้ยนตรง และวงรอบปีไม่ค่อยชัด คุณสมบัติโดยรวมค่อนข้างใกล้เคียงกับไม้สัก แต่จะเกิดเชื้อราได้ง่ายและมอดมักจะกินเนื้อไม้ อย่างไรก็ตามไม้ยางพารายังถือเป็นไม้ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ง่ายและหลายวิธี

ไม้ยางนา เป็นไม้ที่ได้จากต้นยางนา จัดเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง เนื้อไม้หยาบ มีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา และมีเสี้ยนตรง ด้วยความที่ต้นยางนามีลำต้นตรงเปลาและไม่ค่อยแตกกิ่งก้านเยอะ จึงทำให้ไม้ยางนาเหมาะกับการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันนิยมนำไปใช้ในงานก่อสร้าง รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์และเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ

 ไม้ยาง

ลักษณะของไม้ยางที่เหมาะกับการแปรรูป

ไม้ยางที่สามารถนำไปแปรรูปได้จะต้องมีลักษณะโดยรวมค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของไม้ สภาพภายนอก รวมถึงอายุของไม้ยางพาราหรือไม้ยางนาจะต้องถึงเกณฑ์ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ สำหรับไม้ยางที่เหมาะต่อการนำไปแปรรูปควรเป็นไม้ที่ได้จากต้นยางอายุมากพอสมควรแล้ว เพื่อให้มีเนื้อไม้ที่แข็งแรงทนทาน โดยส่วนมากจะเป็นไม้ที่มีอายุประมาณ 2530 ปีขึ้นไป

 ไม้ยาง

ไม้ยางเก่า แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ?

ไม้ยางเก่าที่มีสภาพสมบูรณ์สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ บานประตู ไม้พื้น ไม้บันได กรอบรูป รวมถึงไม้สำหรับตกแต่งภายในที่เน้นโชว์ความสวยงามของลายไม้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ไม้ยางนาเก่ายังสามารถแปรรูปเป็นโครงหลังคา ไม้เสา ไม้พื้น ไม้ฝา ไม้ระแนง ไม้คร่าว และเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 ไม้เก่า

ประเภทและขนาดของไม้ที่ร้านจำหน่าย

• ไม้พื้น เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงและทนทานสูง เหมาะกับการใช้งานบริเวณพื้น เพราะสามารถรับน้ำหนักได้ดี และถูกออกแบบมาให้ใช้กับพื้นโดยเฉพาะ สำหรับขนาดที่จำหน่าย ได้แก่ 1, 1.5” และ 2

• ไม้ฝา เป็นไม้เทียมที่มีลักษณะคล้ายไม้จริง สามารถทนต่อสภาพอากาศและการใช้งานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะใช้ตกแต่งภายในหรือภายนอกก็ตอบโจทย์ สำหรับขนาดที่จำหน่าย ได้แก่ 1, 1.5” และ 2

• ไม้เสา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีอายุมากหรือไม้เก่าที่ได้จากการรื้อบ้านเก่า ซึ่งเป็นไม้ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้เนื้อไม้มีความชื้นต่ำ ส่งผลให้มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าไม้ใหม่ อีกทั้งยังสามารถแบกรับน้ำหนักได้ดีอีกด้วย สำหรับขนาดที่จำหน่าย ได้แก่ 1, 1.5” และ 2

ไม้ยางเก่าแปรรูป และขนาดมาตรฐาน

ไม้ยางเก่าแปรรูปเป็นไม้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว หลังจากนั้นจึงนำมาแปรรูปใหม่ให้สามารถใช้งานต่อไปได้ ด้วยความที่ไม้ยางเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลางที่สามารถแปรรูปได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไม้ใหม่หรือไม้เก่าก็สามารถแปรรูปได้หลายวิธี จึงทำให้มีขนาดมาตรฐานแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน โดยทั่วไปขนาดมาตรฐานของไม้ยางแปรรูปจะมีอยู่ ดังนี้

• ความหนา จะมีตั้งแต่ 5/8, 6/8, 7/8, 1, 1.*5, 1.5 และ 2

• ความกว้าง จะมีตั้งแต่ 2, 2.5, 3 และ 4

• ความยาว จะมีตั้งแต่ 1 ม., 1.1 ม., 1.*5 ม. และ 1.3 ม.

แหล่งอ้างอิง

พันธุ์ยาง, สถาบันวิจัยยางพารา

ยางพารา, คลังข้อมูลสารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้) 

https://twomenwood.com/ชนิด-ของ-ไม้/ยาง

แหล่งจำหน่ายต้นบางพารา

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ