คนไทยในยุคก่อนนั้นเชื่อว่า หมากเตี้ย เป็นไม้มงคลอีกหนึ่งชนิดเพราะมีความเชื่อกันว่าหมากเตี้ยจะช่วยเสริมสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ซึ่งควรปลูกต้นหมากไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
ชื่อสามัญ : Dwarf Betel Nut Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catecuhu L.
ชื่อวงศ์ : PALMA
ลักษณะของหมากเตี้ย
- ต้น หมากเตี้ยเป็นเป็นไม้ยืนต้นลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 5-6 นิ้ว ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร เท่านั้นเอง
- ใบ มีก้านใบสั้นมาก หมากเตี้ยมีใบสั้น เป็นพุ่ม ใบติดเป็นแผ่น ก้านใบชิดลำต้นมาก ใบมีขนาดกว้าง แผ่นใบเรียบหนา มีกาบใบหุ้ม
- ดอก ออกที่ซอกโคนก้านใบ ดอกรวมเป็นช่อใหญ่ ดอกมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมหวานเย็น
- ผล การติดผลจะติดเป็นทะลายห้อยจากลำต้นเด่นชัด ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง
การขยายพันธุ์ของหมากเตี้ย
หมากเตี้ยนั้นใช้เมล็ดการเพาะหมากง่าย ระวังอย่าให้แฉะ หมากเตี้ยที่เอามาเพาะงอกออกมา ปรากฏว่าได้ต้นหมากเตี้ยจริงๆ ไม่มาก น่าจะประมาณ 25-30% แสดงว่าหมากเตี้ยเป็นสายพันธุ์ที่มียีนด้อย การคัดแยกทำได้ตั้งแต่เล็ก โดยการดูที่ก้านใบ ดูก้านใบที่มีลักษณะสั้นมากๆใบสั้นเป็นแผ่น หมากเจริญเติบโตดี วิธีการขยายพันธุ์จึงใช้การเพาะเมล็ดเพียงวิธีเดียว ผลหมากที่จะนำมาเพาะนั้นควรเป็นผลที่ปล่อยให้แก่หรือสุกบนต้นจนเกือบ จะร่วง ซึ่งเป็นผลที่มีอายุ 7-8 เดือนขึ้นไป
- การเพาะเมล็ด ในการเพาะหมาก ต้องเพาะในแปลงเพาะให้งอกเสียก่อน แล้วจึงนำไปชำให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะที่จะนำไปปลูก ลักษณะของแปลงเพาะที่ดีคือ ควรเป็นที่โล่งแจ้ง หรือแสงรำไร
- ดินที่ใช้เพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินทรายหรือดินที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบหมากเตี้ย ชอบความชุ่มชื้นแต่ต้องไม่มีน้ำขัง รับแสงแดดได้ แต่ความชื้นต้องพอ ที่ที่ดินร่วนซุย มีอินทรีย์สารพอเพียง หมากจะมีใบเขียว สวยสด
หมากเตี้ยเป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยชอบน้ำที่แฉะสักเท่าไร การให้น้ำวันเว้นวัน (ทุกๆ 2 วัน) ถ้าฝนไม่ตก ควรให้น้ำแปลงชำทุก 2 วัน ถ้าวันไหนฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำหลังจากเพาะหมากไปแล้ว 1-2 เดือน จะงอกขึ้นมาเป็นปุ๋มเล็กๆ ทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 เดือน เมื่อหน่อหมากเตี้ยมีอายุได้ประมาณ 6-8 เดือน หรือมีหางใบ 4-6 ใบ ต้นหมากจะแตกใบออกเป็น 2 แฉก สูงประมาณ 6-8 นิ้ว จึงขุดย้ายไปชำได้ ก็ขุดไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ ส่วนการปลูกก็เหมือนการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ขุดหลุมเพื่อปลูกให้ลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อใช้ในการปลูก
อ้างอิง : sciencedirect ( Areca catechu L. )
ประโยชน์ของหมากเตี้ย
หมากเตี้ยไม่ได้มีไว้แค่ไว้เคี้ยวเท่านั้น แต่ใช้ในการงานฟอกสี ทำสีสีย้อมผ้า สีทาบ้าน สีรถยนต์ ทำลูกอม ขนมขบเคี้ยว เอาไปเคลือบช็อกโกแลต เคลือบเนย เคลือบนมได้
ผลหมากนิยมรับประทาน และใช้ในงานศาสนพิธีต่างๆ ในต่างประเทศจะมีโรงงานมาสร้างในประเทศไทยเพื่อรับซื้อหมากอ่อนและหมากสุกเพื่อนำไปแปรรูปต่อไป
กาบหมากสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ที่เพิ่มมูลค่าได้ ไม่ว่าจะเป็นจาน ทำถ้วย ทำช้อนต่างๆ
หมากเตี้ยยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับสวนได้อีกด้วย
สรรพคุณทางยาของหมากเตี้ย
ผลหมากอ่อนจะมีรสฝาดแอบหวานนิดมีส่วนช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ไอขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน
เปลือกผล รสจืดหวานนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมยา และใช้ทานขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้ท้องเสีย
เมล็ดของหมากเตี้ยจะมีรสฝาดนิยมนำมาใช้เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้อง ฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ
ต้นหมากเตี้ย พืชเศรษฐกิจที่น่าปลูกเพราะทั้งสามารถใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาอาการต่าง ๆ ปลูกจัดสวนก็สวยงาม ปัจจุบันนิยมนำมาปลุกเป็นไม้ประดับบ้าน รวมถึงยังสามารถสร้างรายได้จากการขายต้นกล้าอีกด้วย โดยจะใช้เวลาเพาะ 4- 6 เดือนจึงจะจำหน่ายได้ ขายในราคาเริ่มต้นที่ 10 -35 บาท (ราคาตามขนาดต้น) สามารถจัดส่งได้ทั่วประเทศไทย หรือถ้าลูกค้าต้องการเยอะ ก็ยังมีรถบริการส่งถึงบ้านได้ทั่วไทย
นอกจากขายหมากเตี้ยแล้วยังมีการขายต้นแคสตัส ต้นกล้าไม้ป่าและพันธุ์ไม้อื่นๆ ทำให้สามารถมีกำไรจากการขายพันธุ์หมากเตี้ยมีรายได้เดือนละ 6 แสน – 1 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียวสำหรับใครที่กำลังมองหาพันธุ์ไม้เพื่อสร้างรายได้ หมากเตี้ยก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว