กระบองเพชร เพชรในตม กับหลายสิ่งมงคลที่ถูกมองข้าม

เมื่อเอ่ยชื่อกระบองเพชรหลายคนคงนึกภาพต้นไม้เตี้ยแคระแกร็นมีหนามแหลมคมทั่วทั้งต้นขึ้นมาในหัว และบางคนอาจพาลนึกถึงคำบอกกล่าวว่าไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีหนามแหลมคมไว้ในบ้านเพราะจะทำให้เกิดสิ่งไม่ดีกับคนในบ้าน แต่นั่นคงใช้ไม่ได้กับต้นกระบองเพขร เพราะนอกจากชื่ออันแสนเป็นมงคลที่เต็มไปด้วยเพชรนิลจินดาแล้ว กระบองเพชรยังถูกเชื่อว่าสามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้พ้นเคราะห์ภัย เสริมดวงชีวิตให้ราบรื่น และหากใครที่คิดร้ายต่อคนในบ้าน ก็จะต้องพบเจอหนามแหลมคมของกระบองเพชรทิ่มแทงจนแพ้ภัยตัวเองกลับไปนั่นเอง

กระบองเพชร ภาษาอังกฤษ Cactus

กระบองเพชร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cereus hexagonus (L.) Mill.

เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae (Mila sp.)

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นกระบองเพชร ต้นไม้มงคล

กระบองเพชร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในไม้มงคลที่หลายคนมองข้าม และคาดไม่ถึง หากแต่แท้จริงแล้ว เจ้ากระบองเพชรต้นเล็กๆ แถมยังอึดยังทน เลี้ยงได้นานนั้น มีความเชื่อว่าหากบ้านใดมีปลูกไว้ในบ้าน จะทำให้กิจการก้าวหน้า จะได้เลื่อนหน้าที่การงานเร็ว และจะพาโชคลาภมาสู่ครอบครัว เพราะกระบองเพชรนอกจากชื่อจะเป็นมงคลยิ่งแล้ว ยังเป็นตัวแทนของความขยันความอดทน และยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากบ้านไหนปลูกกระบองเพชรด้วยความวิริยะแล้วทำให้เกิดให้เกิดดอกออกมาได้สวยงามแล้วล่ะก็ แสดงว่าผู้นั้นกำลังจะมีโชคลาภก้อนโตมาถึง จะได้เงินได้ทองไม่ขาดมือกันเลยทีเดียว

ควรปลูกบริเวณใดของบ้าน

สำหรับต้นกระบองเพชรแนะนำว่าให้ปลูกไว้ที่ริมรั้วบ้าน หรือตามขอบหน้าต่างหรือข้างประตู เพราะมีความเชื่อว่าหากใครที่คิดร้ายต่อเรา ก็จะต้องพบเจอหนามแหลมคมของกระบองเพชรทิ่มแทงจนแพ้ภัยตัวเองกลับไปนั่นเอง กระบองเพชรต้นเล็กๆ ยังนิยมนำมาวางไว้บนโต๊ะทำงานเพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยทำให้งานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และนำความเจริญในหน้าที่การงานมาสู่เจ้าของ

กระบองเพชร ภาษาอังกฤษ

ส่วนประกอบของต้นกระบองเพชร

ลักษณะโดยทั่วไป ของต้นกระบองเพชร นั้นส่วนใหญ่มักจะมีขนาดเล็กจิ๋ว ที่ลำต้นมีขนาดไม่ถึง 5-10 ซม. ถึงขนาดปานกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 – 12 ฟุต เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปทรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ หนามคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบ หรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหนาใหญ่ อาจมีดอกสีขาว สีแดง สีเหลือง ขึ้นกับชนิดพันธุ์

กระบองเพชร พันธุ์ใหญ่

สายพันธุ์กระบองเพชร

กระบองเพชรนั้นจัดว่าเป็นพืชที่มีความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ คือมีมากกว่า 127 สกุล และกว่า 2,047 สปีชีส์ทั่วโลกปัจจุบันในเมืองไทย เองที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาดนั้นมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ แต่ที่เป็นที่นิยมและชื่อชอบสูงสุดมีดังนี้

แอสโตรไฟตัม (Astrophytum)

มีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ได้แก่ แอสโตร มิราเคิล ที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด หน้าตาลักษณะคล้ายรูปดาว เลี้ยงง่ายโตไวออกดอกเก่ง อีกทั้งยังผสมง่าย ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ “ไม่มีหนาม” และยังมีจุดขาวบนผิวของกระบองเพชรทั่วต้น อีกทั้งยังมีดอทใหญ่หลายๆ จุด งดงามชวนฝัน

แคคตัสนูดัม

กระบองเพชรชนิดนี้มีความพิเศษ คือลำต้นของกระบองเพชรจะมีพู แต่ละพูมากน้อยไม่เท่ากัน และยิ่งจำนวนพูน้อย จะยิ่งแพงมาก ลองสังเกตได้เวลาซื้อ

แอสโตร ซุปเปอร์

เป็นกระบองเพชรไฮโซ มีจุดขาวๆ บนพื้นผิวของกระบองเพชรเต็มไปหมด ราวกับเพชร ยังมีดอทสีขาวที่เรียงรายล้อมได้อย่างเป็นระเบียบ โดดเด่นในเรื่องของความสวยงาม และมีราคาสูงเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาทั้งหมด 

อิชินอปซิส (Echinopsis)

เป็นกระบองเพชรพันธุ์ “กอ” ดอกของต้นกระบองเพชรชนิดนี้จะเป็นสีขาว มีดอกบานสะพรั่งสวยงามแค่ตอนเที่ยงคืน จนถึง 8 โมงเช้าเท่านั้น

ดิสโก้ (Discocatus)

กระบองเพชรสายพันธุ์นี้จะมีความโดดเด่นตรงที่ดอกจะหอม บานกลางคืนจนถึงเช้า ลักษณะพิเศษของดิสโก้ตัวนี้ จะเป็นพันธุ์หนามฟูๆ ขึ้นมา หนามจะเยอะ แต่ไม่คม 

ยิมโนหัวสี (Gymnocalycium)

กระบองเพชรที่มีสีสันสดใสสวยงาม มีดอกที่สวยสุดๆ แต่ต้องให้การดูแลเป็นอย่างดี อย่ารดน้ำเยอะไปหรือน้อยไป เรียกว่าเป็นการวัดฝีมือการเลี้ยงเลยก็ว่าได้ เพราะต้องใช้เวลา และความอดทนมากถึงมากที่สุดจึงจะออกมางดงามดังตอนซื้อมาแรกๆ 

กระบองเพชรหูกระต่าย

วิธีการปลูกต้นกระบองเพชร

สำหรับการปลูกกระบองเพชรนั้น ส่วนใหญ่นิยมปลูกอยู่สองลักษณะคือ 

  1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
  2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

วิธีการดูแลต้นกระบองเพชร

วิธีเลี้ยงกระบองเพชรนั้น แม้จะต้องการน้ำเพียงปริมาณเล็กน้อยในการอยู่รอด แต่สภาวะแวดล้อมที่ทำให้ต้นกระบองเพชรเจริญเติบโตได้ดีความเป็นสถานที่ที่ อยู่ในร่มแต่มีแสงแดดส่องถึง เพื่อให้ต้นกระบองเพชรได้รับแสงบางช่วงเวลา สำหรับการรดน้ำนั้นอย่างที่ทราบกันคือ กระบอกเพชรต้องการน้ำในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและ ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ส่วนใหญ่ มักจะให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของสภาพอากาศและความชื้น กระบองเพชรเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชจึงสามารถปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ หลายเดือนได้โดยไม่ทำให้ต้นเกิดความเสียหาย

วิธีเลี้ยงกระบองเพชร

ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆ  ของต้นกระบองเพชร 

ต้นกระบองเพชร ประโยชน์ จะมีคุณค่าในทางประดับตกแต่งบ้านเรือนเพื่อความสวยงามและความเป็นสิริมงคลแล้ว หนามที่มีอยู่ทั่วลำต้นของกระบองเพชร ยังสามารถช่วยดูดซึมรังสีและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี  จึงมีผู้นิยมนำไปวางไว้บนโต๊ะทำงาน  นอกจากนี้แล้ว ผลการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดของกระบองเพชร ชี้ให้เห็นว่ามีผลต่อความอยากอาหารและการลดน้ำหนักในมนุษย์ได้เป็นอย่างดีจึงใช้เป็นส่วนผสมของสารสกัดอาหารเสริมลดน้ำหนักกันอย่างแพร่หลาย และสารสกัดจากต้นกระบองเพชรมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี ไฟเบอร์ อีกทั้งยังช่วยลดการดูดซึมไขมัน ลดคอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

กระบองเพชร ประโยชน์

ราคาจำหน่ายกระบองเพชร

เนื่องจากกระบองเพชรเป็นพืชที่มีความหลากหลายมาก ราคาที่ขายอยู่ในท้องตลาด จึงอาจจำแนกออกได้เป็นสองกลุ่มหลักๆ คือกระบองเพชรชนิดทั่วไป ที่ปลูกง่าย โตง่าย หาง่าย ราคาขายส่วนใหญ่จะเริ่มต้นอยู่ที่ ต้นละ 25 บาท ถึงหลักหลายร้อยบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้น อายุของกระบองเพชร ลวดลาย สีสันและภาชนะที่ใช้ในการปลูก 
สำหรับกระบองเพชรอีกกลุ่มที่เป็นกระบองเพชรสายพันธุ์หายากนั้น ราคาขายจะขึ้นอยู่กับระดับความหายากและความพอใจของผู้ซื้อเป็นหลัก เพราะการจะเลี้ยงกระบองเพชรให้สวยงามมีดอกมีสีสันนั้นต้องใช้ความอดทนและฝีมืออย่างมาก ราคาที่ขายจึงอยู่ที่ความพึงพอใจ มีตั้งแต่ระดับ 1,000 ถึง 10,000 ก็มี

ที่มา

https://thaifarmer.lib.ku.ac.th

http://www.lib.kps.ku.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้