สำหรับชาวเกษตรกรที่ต้องการทำให้ผลผลิตมีคุณภาพคงจะต้องมีการกังวลต่อโรคต่างๆที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคพืชที่น่ากลัวมากในช่วงฤดูหนาว นั่นคือ โรคราแป้ง ซึ่งเป็นโรคที่ชอบความชื้นสูงและความหนาวเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถแพร่ระบาดได้อย่างง่ายดายด้วยตัวกลาง อย่างเช่น ลม แมลง น้ำ เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการที่โดดเด่นของโรคราแป้ง คือ จะมีสปอร์สีขาวคล้ายฝุ่นหรือแป้งเต็มบริเวณส่วนใบนั่นเอง
ลักษณะอาการของโรคราแป้ง
โรคราแป้ง หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Powdery Mildew จะมีลักษณะของโรค คือ จะมีอาการตั้งแต่ใบด้านล่างก่อนส่วนอื่นๆ จากนั้นจะลามไปสู่ส่วนอื่นๆไปจนถึงใบด้านบน ซึ่งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้ง จะค่อยๆขึ้นไปปกคลุมผิวของพืชและสร้างอวัยวะคล้ายรากแทงเข้าไปภายในพืช จากนั้นจะดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของใบที่เป็นโรคราแป้งนั้นจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าที่ผิวใบจะมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวคล้ายกับแป้ง แต่เซลล์ของใบจะเป็นสีน้ำตาล และจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาใบจะเริ่มแห้ง ซึ่งอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งตายไปในที่สุด อาการบนผิวของใบเกิดตั้งแต่ใบอ่อนจนใบเต็มแก่เต็มที่ โดยมีผงขาวๆของเชื้อราคล้ายฝุ่นผงแป้งปกคลุมบนผิวใบ ใบบิดเบี้ยว ถ้าเกิดเป็นกับใบอ่อนทำให้ใบอ่อนร่วง ทำลายก้านช่อดอกไหม้ โดยมีผงสีขาวๆเกาะอยู่ทำลายผลอ่อน ก็เกิดผงสีขาวๆจับตามผิวเช่นกัน ผลไหม้และร่วงลงสู่พื้นที่ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง มักจะพบกับโรคราแป้งเป็นจำนวนมาก จะมองเห็นเป็นปุยของกลุ่มสปอร์และเส้นใบสีขาว-เทาที่เชื้อราสร้างขึ้นมาเอง บนผิวใบ มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายกับแป้งฝุ่นหรือผงชอล์กปกคลุมทั่วไป อาการเริ่มแรกมักเป็นหย่อมๆ แล้วขยายจนเต็มใบ ถ้าเป็นอย่างรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาหารส่วนใหญ่มักเกิดกับใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเต็มที่แล้ว ในสภาพอากาศเย็นจะลุกลามไปที่กิ่งได้
สาเหตุของโรคราแป้ง
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้งนั้นคือเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งเป็นเชื้อราสาเหตุโรคราแป้งเป็นปรสิตถาวรคือ ตลอดวงจรชีวิตจะต้องอาศัยการเจริญเติบโตบนสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไม่สามารถนำมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ได้ ราสร้างเส้นใยและกลุ่มสปอร์บนผิวใบพืชที่มันเข้าทำลาย แล้วส่งเส้นใยพิเศษเข้าไปอยู่ในเซลล์ใต้ผิวใบ เกิดขึ้นได้ทั้งบนใบและใต้ใบ ราพวกนี้เข้าทำลายพืชเพียงผิวตื้นๆ แค่ใต้ผิวใบ หลังจากนั้นสปอร์ เมื่อแก่จะถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมในอากาศ หรือในน้ำ หรือในดินต่อไป
- ราแป้งบนต้นมะเขือเทศ
มีสาเหตุมาจากเชื้อราที่ชื่อว่า Oidium sp. ซึ่งเป็นปรสิตที่ถาวร จะอยู่ทุกช่วงชีวิตบนสิ่งมีชีวิต อาการที่แสดงออกมาคือ เป็นปุยของกลุ่มสปอร์และเส้นใยสีขาวเทาบนผิวใบ ส่วนใหญ่มักจะเป็นหย่อมๆก่อนอันดับแรก แล้วจะขยายไปจนเต็มไป ถ้าเกิดรุนแรงทำให้ใบแห้งจนตายได้ นิยมเกิดที่ใบอ่อนและยอดอ่อนของมะเขือเทศ นอกจากนี้ยังสามารถลามไปถึงกิ่งของต้นมะเขือเทศได้อีกด้วย ในการแพร่กระจายสามารถแพร่กระจายได้ตลอดเวลา ซึ่งจะแพร่กระจายไปกับสายลม แมลง อากาศ ในช่วงฤดูหนาวและที่มีความชื้นสูง
- ราแป้งบนต้นมะม่วง
ด้วยเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้งเป็นตัวเดียวกับมะเขือเทศ คือ เชื้อรา Oidium sp. ด้วยอาการเริ่มแรกเกิดที่ใบอ่อน บริเวณที่ติดเชื้อราเข้าทำลายมีสีผิดไปจากสีของเนื้อปกติ เช่น เขียวอ่อนออกสีชมพูจางๆ จุดถูกทำลายบนพื้นใบ ทำให้เกิดย่นเล็กน้อย จุดดังกล่าวมีขุยสปอร์และเส้นใยของเชื้อราสีขาวๆ ขึ้นปกคุมบางๆ ส่วนใหญ่จะพบใต้ใบมากกว่าบนผิวใบ แต่ถ้ามีอากาศ ค่อนข้างเย็น แผลจะเป็นขุยแห้ง สำหรับลักษณะอาการที่ช่อดอกจะปรากฏผงสีขาวขึ้นฟูตามก้านดอกและดอก ซึ่งทำให้ดอกแข็งและร่วงไม่ติดผล ส่วนก้านช่อดอกบริเวณถูกทำลายจะยังคงมีผงสีขาวของเชื้อราขึ้นปกคลุมอยู่ ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อนจนถึง สีน้ำตาลอ่อนส่วนมากจะไม่ติดผล
- ราแป้งบนต้นองุ่น
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้ง คือ Oidium tuckeri (Uncinula necator) เป็นสปอร์ผงสีขาวเป็นจำนวนมากจะฟุ้งกระจายไปตามลม ระบาดรุนแรงในที่อากาศค่อนข้างแห้งในที่ๆมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นหรือต่ำ โดยเฉพาะในต้นฤดูหนาวหรือปลายฤดูฝน ซึ่งอาการที่แสดงคือ มีอาการบนผิวใบตั้งแต่ใบอ่อนจนใบแก่เต็มที่ โดยมีผงขาวๆของเชื้อราคล้ายฝุ่นผงแป้งปกคลุมบนผิวใบ ใบบิดเบี้ยว ถ้าเกิดเป็นกับใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนร่วง ทำลายก้านช่อดอกไหม้ โดยมีผงสีขาวๆเกาะอยู่ทำลายผลอ่อน ก็เกิดผงสีขาวๆตับตามผิวเช่นกัน ผลไหม้และร่วง ถ้าไม่ร่วง เมื่อผลโตขึ้น ผิวที่ถูกทำลายจะกร้านมีสีน้ำตาลเข้มและแตกง่าย ตลาดไม่ต้องการในสวนองุ่นที่ขาดการเอาใจใส่ดูแลอย่างต่อเนื่อง มักจะพบกับโรคนี้มาก
- ราแป้งบนต้นทุเรียน
เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้ง คือ Oidium zibethii เป็นชนิดเดียวกับเงาะ แต่ของทุเรียนนั้นยังไม่ระบาดมาก แต่อย่างไรก็ตามขุยขาวๆของเชื้อรา คือ สปอร์ใช้ในการแพร่ระบาด โดยการปลิวไปกับลมหรือแลงเป็นพาหะนำไปสู่ต้นอื่นๆ โดยลักษณะอาการคือผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆคล้ายโรยด้วยแป้งในระยะที่เป็นมากๆ จะดูขาวทั้งหมดผล เมื่อเป็นกับผลอ่อนผลจะร่วงไป แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทำลาย เมื่อผลโตแล้วจะปรากฏเป็นขุยขาวๆ เกิดขึ้น แต่การเจริญเติบโตของผลขึ้นเรื่อยๆ และมีขุยดังกล่าว ขึ้นปกคลุมผิวตามหนามผลทุเรียนและซอกหนาม การทำลายของโรคนี้ทำให้ผิวกร้าน ผลทุเรียนที่ถูกโรคราแป้งทำลายเมื่อได้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดจนหายแล้ว ผิวของผลทุเรียนก็จะมีสีออกสีน้ำตาล โดยเฉพาะพันธุ์ชะนีหรือแม้แต่พันธุ์หมอนทองก็ด้วยเช่นกัน มักจะพบว่าเป็นโรคนี้กันมาก แต่ก็ไม่เป็นผลเสียกายต่อ ภายในของผลโดยตรง นอกจากในระยะผลอ่อนเริ่มติด ถ้าเป็นโรคนี้ก็จะเป็นอันตรายมาก เพราะทำให้ร่วงหล่นไปเป็นจำนวนมาก
- ราแป้งบนต้นเงาะ
เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้ง คือ Oidium zibethii เป็นชนิดเดียวกับทุเรียน มีสปอร์แพร่ระบาดไปตามลม โดยสปอร์ผงสีขาวของเชื้อราจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ฟุ้งกระจายไปงอกเข้าทำลายดอกและผลอ่อน ให้เกิดความเสียหาย ผลโตเต็มที่จะเสียหายน้อยลง และหยุดการทำลายในระยะเก็บเกี่ยว แต่ก็ทิ้งร่องรอยการทำลายขนกุดหรือสั้น ผิวกร้านไว้ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป โดยอาการรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ผลเท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่เงาะเริ่มติดผลขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ซึ่งจะปรากฏผงสีขาว ซึ่งเป็นสปอร์และเส้นใยของเชื้อราติดอยู่คล้ายกับโรยแป้ง ผลเงาะถ้าเป็นโรคในระยะนี้จะร่วง ส่วนผลโตขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.5-1 เซนติเมตร เมื่อเป็นโรคจะเห็นผงขาวๆ ติดอยู่ตามขนและซอกขน ความรุนแรงของโรคนี้จะทำอันตรายให้ขนกุดสั้นหรือขนเกรียน ซึ่งอาจะเรียกว่า เงาะเกรียน ตามชาวบ้านเรียกกันก็ได้ ระยะนี้ผลเงาะยังเจริญเติบโตได้ ผลยังคงมีเนื้อหาเหมือนปกติ แต่มีสีผิวและขนไม่สวย เพราะขนด่างสีน้ำตาลสลับสีขนนั้น ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาจึงลดลงไป
- ราแป้งบนต้นมะละกอ
เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้งของมะละกอได้แก่ เชื้อรา Oidium caricae โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์สีขาวเป็นผงคล้ายฝุ่น ปลิวตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกลๆ โรคนี้มักจะเกิดในฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว ซึ่งมีความชื้นน้อย มีอาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นสปอร์ของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆ คล้ายกับแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายมากจะแห้งและร่วงหรือใบเสียรูปยอดชะงัก ผลที่ยังอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคนี้จะร่วง ถ้าผลโตผลจะไม่ร่วงจะเจริญเติบโตได้ต่อไปอีกแต่ผิวกร้านและขรุขระ ส่วนที่ก้านนั้นแผลมีสีเทาจางๆและจะมีลักษณะไม่แน่นอนอย่างก็ตาม ผลที่เป็นโรคเมื่อแก่เต็มที่จะมีผิวไม่สวย ตลาดผู้บริโภคผลสดจะไม่ต้องการ จึงเป็นผลที่ให้ราคาต่ำลงไปอีก
- ราแป้งบนต้นพุทรา
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้ง คือ Oidium jujubae โดยเชื้อราจะเข้าทำลายและเจริญเติบโตตามผิวใบ ดอก ผล และจะเกิดขุยขาวๆ มีลักษณะคล้ายผลแป้ง ซึ่งเป็นเส้นใยและสปอร์ของเชื้อรา สปอร์จะแพร่ระบาด โดยปลิวไปตามลมและเกิดเป็นโรคราแป้งกับต้นอื่นๆได้อีกเช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะอาการของโรคจะมีเชื้อราเกิดขึ้นปกคลุมส่วนใบเป็นผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง โดยเฉพาะบนผิวใบอ่อน ส่วนดอกและผลอ่อน เมื่อเป็นรุนแรงทำให้ส่วนดังกล่าวร่วง ผลถ้าเป็นโรคในระยะผลโตกว่าหัวไม้ขีดเล็กน้อย ผลอาจไม่ร่วงหล่น ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นปกติแต่ผิวกร้านไม่น่ารับประทาน เพราะเป็นกระสีน้ำตาลอยู่ทั่วไปบนแผล อย่างไรก็ตามโรคนี้จะระบาดเป็นมากเมื่อมีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ จะทำให้เกิดเป็นโรคนี้หมดทั้งต้น ใบจะร่วงหล่นมากเหลือแต่กิ่งก้านเท่านั้น
- ราแป้งบนต้นมะขาม
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้คือ Oidium indicae สปอร์เมื่อแก่ก็จะหลุดออกจากก้านสปอร์ แล้วแพร่ระบาดปลิวไปตามลม งอกเข้ามาทำลายส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นใบหรือดอก ด้านใบ ก้านดอก ผลอ่อน หรือฝักอ่อน หรือาจจะทั้งต้นเลยก็ได้ มีลักษณะอาการคือเชื้อราเช้าไปทำลายเนื้อเยื่อของใบและก้านใบในระยะแรกจะพบว่าเกิดเป็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ใบจะมีลักษณะอาการสีเขียวหม่น ต่อมาจะขยายไปทั่วใบ บนใบจะมีฝุ่นแป้งสีขาว ปกคลุมอยู่บนผิวใบอยู่เต็มไปหมด ซึ่งผงฝุ่นสีขาวดังกล่าวเป็นสปอร์ของเชื้อราหลังจากนั้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองร่วงหล่นสู่พื้นดิน
- ราแป้งบนพลู
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้งคือ Oidium piperis สปอร์สามารถฟงุ้กระจายไปกับลม หรือแมลงพาไป ตลอดจนติดไปกับการชะล้างด้วยน้ำดูแลรักษา ลักษณะของโรคราแป้งคือเกิดคราบฝุ่นสปอร์ของเชื้อราเป็นขุยสีขาวๆ คล้ายกับแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายมากจะแห้งและร่วงหรือใบเสียรูปยอดชะงัก
- ราแป้งบนแคนตาลูป
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ คือ Erysiphe cichoracearum ผง (Oidium melonis) สีขาวที่เห็นคล้ายเป็นผงแป้งนั้นจะปลิวไปกับลมได้โดยง่าย แล้วจะงอกเข้าทำลายเกิดโรคนี้ต่อไปได้อีก ซึ่งผงสีขาวคือสปอร์ conidia ชนิดหนึ่งที่แพร่ระบาดไปได้ง่ายมาก โดยมีลักษณะอาการจะเป็นจุดเล็ดๆสีเหลืองบนใบ และขยายการทำลายไปทั่วไป หรือแม้แต่ตามผิวของลำต้น โดยบนผิวของพืชส่วนนั้นจะเกิดเป็นสีขาวคล้ายกับการโรยแป้งฝุ่น ในที่เป็นโรคมักจะเกี่ยวและแห้งไป อาจจะติดกับลำต้น
การแพร่ระบาดของโรค
มักจะเข้ามาทำลายพืชที่มีอายุค่อนข้างมากหรือใกล้เก็บเกี่ยว เนื่องจากราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้งจะมีพืชที่อาศัยอยู่จำนวนมาก และมีการปลูกอยู่ตลอดฤดูกาล หรือมีการปลูกตลอดเกือบทั้งปี ไม่ได้คำนึงถึงฤดูกาลแต่อย่างใด ดังนั้นแหล่งกำเนิดของราที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้งนั้นจะสามารถแพร่ระบาดได้ตลอดเวลา สปอร์แพร่กระจายโดยตัวกลางที่หลากหลาย เช่น ลม อากาศ ติดไปกับแมลง ในฤดูหนาวช่วงเวลาในกลางคืน จะมีอากาศที่หนาวเย็นและมีความชื้นสูง ในตอนเช้าก็จะมีหมอก เวลากลางวัน จะมีอากาศที่อบอุ่นไปจนถึงร้อน เป็นสภาพที่เหมาะสมที่ราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคราแป้งจะเข้าไปทำลายพืชผลผลิตได้รุนแรงในสภาพอากาศที่แห้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของสปอร์ของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้งนั้นอยู่ที่ 15-25 องศาเซลเซียส และระยะฟักตัวของเชื้อราอยู่ที่ 10-12 วัน เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคราแป้ง คือ Oidium sp.มักระบาดเป็นอย่างมากและรุนแรงในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การป้องกันกำจัด
- ในเมื่อจะไม่อยากให้เกิดโรคราแป้งในต้นไม้ ก็ต้องหาพันธุ์ไม้ที่มีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคได้
- หมั่นสำรวจแปลง หากพบโรคราแป้งเข้าทำลายให้เด็ดหรือตัดส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
- เมื่อเริ่มพบการระบาดให้ทำการฉีดพ่นด้วยกำมะถันชนิดผง หรือสารเคมีกำมะถันเป็นส่วนผสม เช่น ไมโครไธออล สเปเชียล (กำมะถัน เนื้อทอง) ถ้ามีการระบาดอย่างรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันสารเคมีกำจัดโรคพืช เช่น เบนโนมิล ไตรโฟลีน โพรฟิเนบ ไพราโซฟอส และคาร์เบนดาร์ซิม เป็นต้น ควรใช้ในปริมาณหรืออัตราส่วนการใช้ตามฉลากเท่านั้น
คำแนะนำ : สำหรับการอัตราส่วนตามฉลากข้างขวด การฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศไม่ร้อนจัด การใช้ตามเข้มข้นต่างๆไว้ก่อน จะทำให้เกิดอาการใบไหม้ และเนื่องจากเส้นใบของเชื้อราเจริญอยู่ด้านใต้ใบ ดังนั้น ในการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชให้ได้ผลดีต้องพยายามพ่นให้ถูก ส่วนบริเวณใต้ใบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะสารเคมีประเภทสัมผัส สำหรับกำมะถันชนิดผง ถ้าพ่นแต่ด้านบนใบแทบจะไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด - เมื่อมีโรคเกิดขึ้นควรพ่นป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร หรือไดโนแคะ 30 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร
- ถ้าเกิดโรคราแป้งที่ส่วนของผล ดังนั้น จะต้องพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อก่อนดอกจะเริ่มบานให้พ่นทั่วช่อดอกและผลอ่อน หรือแม้แต่ผลขนาดใหญ่ที่ใกล้แก่ที่กำลังมีลักษณะอาการของโรคนี้อยู่
- สามารถควบคุมโรคราแป้งได้ด้วยการตัดแต่งกิ่ง ใบ ให้ทรงต้นโปร่ง เก็บรวบรวมเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลาย เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งที่ตัดแต่ง หรือใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชเบนโนมิลผสมน้ำพ่นในระยะที่มีการระบาดอย่างสม่ำเสมอ
แหล่งอ้างอิง
- สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด, ลดต้นทุนและปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
- โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ราแป้งบนต้นมะเขือเทศ
- โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ราแป้งบนมะม่วง
- โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ราแป้งบนทุเรียน