โรครากปม โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชภัยร้าย

ศัตรูพืชนอกจากจะเป็นเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆแล้วนั้น ก็ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ ไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นพยาธิตัวกลม คล้ายเส้นดาย ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะตองส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ความยาวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.2-2 มิลลิเมตร ส่วนปากมีอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายเข็ม เรียกว่า stylet เป็นส่วนที่ใช้แทงเซลล์พืชและปล่อยเอ็นไซม์เพื่อเข้าทำลายและดูดสารอาหารจากพืช ถึงจะตัวเล็กขนาดนั้น แต่ก่อความเสียหายได้อย่างมหาศาล เนื่องจากจะทำให้พืชผลผลิตเกิดปุ่มปมจำนวนมากที่รากของพืช การขาดธาตุอาหารเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินมีน้อย ใบจุด ใบไหม้ใบเหลืองซีด กิ่งก้านสั้น ลำต้นแคระแกรน รากกุด รากปม สรุปรวมว่าทำให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นชาวเกษตรกรที่ต้องการมีรายได้จากการปลูกพืชผักเป็นหลัก จะต้องรู้ถึงวิธีการป้องกัน และจัดการกับศัตรูพืชที่เป็นภัยร้ายแรงอย่างไส้เดือนฝอยอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรครากปม หรือแก้ไขเมื่อโรครากปมได้เกิดแล้ว จะต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ความหมายของโรครากปมคืออะไร

ทางคุณอนงค์นุช สาสนรักกิจ มนตรี เอี่ยมวิมังสา และ ดร.บัญชา ชิณศรี ได้กล่าวถึงโรครากปม ว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายของผลผลิตของชาวเกษตรกร ทั้งพืชหัว พืชผัก ไม้ผล พืชเส้นใย ไม้ดอก ไม้ประดับ และ ธัญพืช เป็นต้น ดยไส้เดือนฝอยระยะที่ 2 จะใช้อวัยวะที่เรียกว่า stylet แทงเข้ารากพืชและปล่อยเอ็นไซม์เพื่อทำลายเซลล์รากให้อ่อนนุ่ม จากนั้นตัวอ่อนไส้เดือนฝอยจะเข้าไปในรากพืชและดูดสารอาหารจากพืช ทำให้สรีรวิทยาของพืชผิดปกติ ไส้เดือนฝอยจะลอกคราบอีก 3 ครั้งแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย โดยเพศเมียจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมีลักษณะค่อนข้างกลมและสามารถออกไข่ได้ประมาณ 100-250 ฟองได้โดยไม่ต้องรับน้ำเชื้อจากเพศผู้ โดยวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยใช้เวลาประมาณ 25 วันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก โดยอุณหภูมิสูงจะครบวงจรชีวิตเร็วขึ้น

kasetgo.com

ผลของการเป็นโรครากปม

การเกิดโรครากปมในผลผลิตของชาวเกษตรกรนั้นจะมีอยู่หลากหลายผลกระทบด้วยกัน ไม่ว่าจะทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย ชาวเกษตรกรขาดรายได้ไปอย่างมหาศาล เนื่องจากผลผลิตที่เกิดโรครากปมทำให้ผลผลิตจะต้องถูกทำลายทิ้งทั้งหมด ไม่สามารถนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่ไม่ติดโรครากปมไปใช้ประโยชน์ได้เลย เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ชาวเกษตรกรในส่วนอื่นๆ เช่น การเพิ่มต้นทุนของการไถแปลง ค่าเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายของพืชที่มีสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคสูง หรือสารเคมีที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาโรครากปม เช่น aldicarb, carofuraden, ethoprop, fenamiphos เป็นต้น ซึ่งผลของโรครากปม ที่โดดเด่นในผลผลิตมีอยู่หลายตัว แต่จะยกตัวอย่างพืชผลผลิตที่สร้างรายได้อย่างสูง ได้แก่

  • โรครากปมในพริก
    โรครากปมในพริก จะมีสาเหตุของโรคมาจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita จะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน คือ พริกแคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดเนื่องจากไส้เดือนฝอยทำลายระบบรากและแย่งอาหารจากพืช ทำให้ระบบรากเสียหายไม่ยืดยาวเหมือนปกติ แต่กลายเป็นปมกุด ทำให้การดูดน้ำและอาหารไม่สะดวก พริกจึงจะมีการเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อน หากมีการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรุนแรง ทำให้เกิดอาการรากเน่า เนื่องจากจุลินทรีย์อื่นๆ ในดินเข้าร่วมทำลาย
โรครากปมพริก
KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA
  • โรครากปมถั่วเขียว
    เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita (Kajoid & White) Chitwood ซึ่งถั่วเขียวที่เป็นโรครากปมนั้นจะพบว่า มีลักษณะอาการของต้นถั่วเขียวที่อยู่เหนือระดับดิน จะมีอาการที่ไม่แตกต่างกับต้นถั่วเขียวที่ปกติทั่วไปเพียงแต่จะมีอาการแคระแกร็น การเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อถอนดูจะเห็นได้ว่าบริเวณรากจะเป็นปุ่มปมโดยจะพบได้ทั้งส่วนรากฝอย รากใหญ่และบริเวณโคนต้น ส่วนใต้ระดับดินลงมาปุ่มปมที่เกิดบนราก เนื่องจากไส้เดือนฝอยนี้มีลักษณะคล้ายหูด โดยที่รากจะบวมพองออกมาผิดปกติ และจะพบได้ทั้งรากขนาดเล็กและขนาดใหญ่ บางครั้งจะพบว่ารากมีลักษณะ กุดสั้น และบริเวณปลายรากจะบวมพองมีขนาดใหญ่กว่าส่วนโคนราก ทำให้ประสิทธิภาพของรากในการหาอาหารลดน้อยลง ในระยะหลังของการทำลายอาจะพบว่ารากมีอาการเน่า เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์อื่น ไส้เดือนฝอยรากปมสามารถแพร่กระจายไปได้โดยติดไปกับดินที่ติดไปตามเครื่องมือการเกษตร เช่น ไถ เป็นต้น
  • โรครากปมในแตงกวา
    คุณมะลิฉัตร พันธุมัย, วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ และคณะได้มีการศึกษาการลดความรุนแรงของโรครากปมในแตงกวาเมื่อปลูกเชื้อรา Trichoderma spp. ที่รากหรือใบ ซึ่งได้เกิดโรครากมจากไส้เดือนฝอยรากผม มีอาการคล้ายพืชขาดน้ำ จะเห็นอาการเหี่ยวในเวลากลางวัน แม้จะรดน้ำอย่างเพียงพอ ใบล่างเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือแห้งกรอบ โตช้า แคระแกร็น และเหี่ยวแห้งตายในที่สุด เมื่อต้นขึ้นมา จะพบรากเป็นปุ่มปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย
  • โรครากปมของข้าว
    ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ของภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับโรครากปมในข้าว ได้ข้อมูลว่า สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne graminicola โรคนี้จะระบาดรุนแรงในนาที่มีลักษณะเป็นดินทราย โดยไส้เดือนฝอยสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งทางดิน และน้ำ อาการที่พบส่วนมากจะพบในข้าวที่ปลูกแบบสภาพไร่และแปลงกล้าที่น้ำแห้ง เมื่อไส้เดือนฝอยตัวอ่อนระยะที่ 2 เข้าทำลายที่ปลายรากอ่อนแล้ว จะปล่อยสารออกมากระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ปลายรากแบ่งตัวเร็วและมากกว่าปกติ นอกจากนี้จะมีขนาดของเซลล์ใหญ่ขึ้น ทำให้รากพองขึ้นเป็นปม เมื่อปลายรากเกิดปมขึ้นแล้ว รากนั้นก็จะไม่เจริญและไม่สามารถทำการดูดธาตุอาหารให้กับต้นข้าวได้อย่างปกติ ต้นข้าวถ้ามีจำนวนรากปมน้อยจะไม่ปรากฏอาการที่ใบ แต่ถ้ามีจำนวนรากปมมากจะทำให้ต้นข้าวแคระแกร็นและใบมีสีเหลืองได้
Facebook, เก่งรุ่งเรืองการเกษตร

อาการโรครากปม

ไส้เดือนฝอยที่สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตในประเทศไทยมากที่สุด คือ Tylenchorhynchus spp. ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 38.1-57.6 โดยไส้เดือนฝอยเข้าทำลายระบบราก ทำให้พืชดูดซึมแร่ธาตุอาหารได้ลดน้อยลง แคระแกร็นและอ่อนแอต่อสภาพฝนแล้ง การงอกของต้นอ่อนช้า ขนาดของต้นอ่อน จำนวนกอ ความยาวปล้อง รวมทั้งการสะสมน้ำตาลของผลผลิตลดน้อยลง หากมีการระบาดร่วมกับเชื้อสาเหตุโรครากปม ทำให้ผลผลิตลดน้อยลงได้มากถึงร้อยละ 70-95 พบไส้เดือนฝอยในผลผลิตที่ปลูกในดินร่วนปนทรายมากกว่าในดินเหนียวจนทำให้ผลผลิตต้องตาย อาจเนื่องมาจากการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย ซึ่งพื้นที่ปลูกผลผลิตบางส่วนเป็นดินทรายและแห้งแล้ง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช เมื่อมีการเข้ามาทำลายร่วมกับเชื้อราวสาเหตุโรคพืช ทำให้เกิดความเสียหายสูงขึ้น ทั้งนี้ก็ทำให้ผลผลิตเกิดอาการที่แสดงออกมา คือ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รากจะแย่งอาหารจากพืช ระบบรากของปุ่มปม สาเหตุมาจากไส้เดือนฝอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชบริเวณท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้เซลล์ของพืชแบ่งตัวผิดปกติ เกิดเป็นปม รากที่ถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลายจะเสียหาย และไม่สะสมแป้ง ผลผลิตลดลงไส้เดือนฝอยแพร่ระบาดได้ดีในดินที่มีความชื้น และเนื้อดินร่วนปนทราย โดยการแพร่ระบาดของโรครากปมในพริกนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ด้วยตัวกลางที่หลากหลาย เช่น ดิน น้ำ พืช เป็นต้น

www.unilife.co.th

สาเหตุของการเกิดโรค

คุณนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ได้มีการกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรครากปมมาจาก ไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูพืชมีมากกว่า 275 ชนิดด้วยกัน แต่ที่พบว่าทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตในประเทศไทย เช่น Root lesion (Platylenchus spp.), Stunt nematode (Tylenchorhynchus spp.), Root knot nematode (Meloidogyne spp.), Stubby root nematode (Paratrichodous spp.) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของการระบาดมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น ดินที่ปลูกการสะสมประชากรไส้เดือนฝอยสูง ติดมากับดินเพาะกล้า ติดมากับล้อรถไถจากแปลงสู่แปลงอื่นๆได้ เป็นต้น ซึ่งต้นตอของสาเหตุมาจากไส้เดือนฝอยรากปม ที่ชื่อว่า Meloidogyne spp. ซึ่งตัวอ่อนระยะเข้าทำลายจะเข้ามาแพร่กระจายอยู่ในดิน ตัวเมียสร้างไข่เป็นกลุ่มๆ ซึ่งเป้นกลุ่มละประมาณ 200-300 ฟองต่อตัวเมีย 1 ตัว และฟักเป็นตัวอ่อนลงดินและกลับเข้าทำลายรากได้อย่างต่อเนื่อง ในเวลาเพียง 20-25 วัน

www.svgroup.co.th

การป้องกันกำจัดโรครากปม

  • เสริมความแข็งแรงให้พืช
  • ใช้กล้าผลผลิตที่สมบูรณ์ หรือปลูกกล้าในถุงที่วัสดุปลอดไส้เดือนฝอย
  • หาดพบว่าในพื้นที่ใดที่มีไส้เดือนฝอยปล่อยดินที่ว่าง และไถผลผลิตตากดิน โดยงดการปลูกพืชชนิดอื่นๆไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • พบการระบาดโรครากปม ให้น้ำท่วมแปลงนาน 3-4 เดือน ฆ่าตัวอ่อนได้ และนาน 12 เดือน ฆ่าไข่ไส้เดือนฝอยได้
  • ปลูกต้นดาวเรือง เพราะต้นดาวเรืองสามารถผลิตสารที่มีคุณสมบัติควบคุมไส้เดือนฝอยได้หลายชนิด
  • ใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ โดยใช้พลาสติกคุลมดินที่มีความชื้นพอประมาณ นอกจากช่วยฆ่าไส้เดือนฝอย และจุลินทรีย์โรคพืชอื่นๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีววิทยาของดิน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มของไนโตรเจน และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
  • ปลูกต้นปอเทืองสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง เพื่อลดประชากรไส้เดือนฝอยในดิน และการไถตากดิน เพื่อกำจัดตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยในดินก่อนปลูก
  • ในกรณีพื้นที่ปลูกเคยมีการระบาดของไส้เดือนฝอยเป็นเนื้อดินชนิดร่วนปนทราย และมีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด
  • การไถพรวนดิน สามารถลดจำนวนประชากรของไส้เดือนฝอยรากปมได้ทุกชนิด
  • การไขน้ำท่วมแปลงในสภาพพื้นที่บางแห่งที่ต่ำ หรือที่ลุ่มมีน้ำมาก อาจคสบคุมไส้เดือนฝอยรากปม
  • การปลูกพืชหมุนเวียน คือ การปลูกพืชอาศัยที่ไม่ใช่พืชหลัก แต่จำเป็นต้องรู้ race ของไส้เดือนฝอยรากปมนั้นด้วย ถ้าต้องการปลูกได้ประสิทธิภาพที่มากที่สุด
  • การใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ทำให้สมบัติของดินที่ดีขึ้น และเพิ่มจุลินทรีย์ในดินหลากหลายชนิดที่เป็นศัตรูธรรมชาติของไส้เดือนฝอยรากปม
  • การกำจัดวัชพืช เพื่อลดพืชที่อาศัยลง โดยเฉพาะไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งมีพืชที่อาศัยกว้างมาก
  • การดัดต้นและชุดรากทิ้งหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อลดการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยรากปม
  • การใช้ท่อนพันธุ์ ต้นกล้า หรือส่วนขยายอื่นๆที่ปราศจากไส้เดือนฝอยรากปม
  • การใช้ความร้อน เช่น น้ำร้อนหรือการเผาดินให้ร้อน
  • การใช้อุณหภูมิที่ต่ำในการเก็บรักษาส่วนขยายพันธุ์ของพืช
  • การใช้รังสี เช่น X-Ray รังสี Gramma หรือรังสี Ultraviolet
  • การใช้สารเคมีควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูพืช ยังมีการใช้อยู่ เช่น aldicarb, carofuraden, ethoprop, fenamiphos
mapio.net

อ้างอิง

ข่าวส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส, โรครากปมในพริก

สำนักหอสมุด กำแพงแสน, โรครากปม

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), โรครากปมมันสำปะหลัง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้