โรคเน่าคอดิน โรคร้ายทำลายต้นกล้าของผลผลิต

ชาวเกษตรกร เป็นอาชีพที่เป็นอาชีพหลักของประเทศไทยมานานแล้ว ซึ่งเกษตรกรจะมีหน้าที่ปลูกพืชผักต่างๆ เพื่อหารายได้หลักและกำไรมาเลี้ยงชีพ แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในการทำอาชีพจะเป็นปัญหาหลักและใหญ่มาก ทำให้ขาดรายได้ไป ซึ่งสาเหตุหลักในของชาวเกษตรกรคือ โรคที่ทำลายพืชผลผลิต มีอยู่หลายโรคด้วยกัน เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคสนิมขาวในผัก เป็นต้น แต่มีอีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวด้วยเช่นกัน คือ โรคเน่าคอดิน ซึ่งเป็นโรคที่ระบาดในพื้นที่มีความชื้นสูง หรือในช่วงฤดูฝน ทำให้พืชผักเกิดแผลที่บริเวณโคน จึงจะต้องมีการป้องกันและดูแลพืชผลผลิตให้ไม่เกิดโรคพืชดังกล่าว

ลักษณะอาการของโรค

จากหนังสือของโครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรลืมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงลักษณะของโรคเน่าคอดินว่าโดยทั่วไปในระยะแรกเริ่มนั้น เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเน่าคอดินจะเข้ามาทำลายที่ราก ทำให้เกิดมีอาการเน่าสีดำ โรคจะขยายการทำลายขึ้นมายังส่วนของโคนต้น เป็นผลให้ใบขาดน้ำอาการเหี่ยวมีสีเหลืองและมีจำนวนใบเหี่ยวเพิ่มมากยิ่งขึ้นในระยะนี้ ระบบรากจะถูกทำลายเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลดำ จำนวนของจุดที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อราที่เข้ามาทำลายจุดจะขยายเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่ของแผลนั้นจะเป็นสีน้ำตาลดำอ่อนนุ่ม ขาดง่าย ใบที่อยู่ด้านล่างๆ มักจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายมากกว่าใบที่อยู่ในส่วนบนๆของลำต้น ส่วนของใบพืชที่เหลือจะเป็นสีเหลืองแล้วใบร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าหากอาการของโรคเน่าคอดินอยู่ในขั้นรุนแรง ก็จะทำให้ต้นไมตายไปได้บางครั้งก็จะพบว่าต้นไม้ที่มีข้อปล้องจะเน่าแห้งและตายไปในที่สุด หรือตายติดอยู่กับที่ ลักษณะของโรคเน่าคอดินจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผิวที่เหี่ยวย่นและฉ่ำน้ำ คล้ายกับเมือกอยู่โดยทั่วไปแล้วท่อน้ำ ท่ออาหารก็จะสามารถมองเห็นได้อยู่ เนื่องจากเป็นส่วนของต้นไม้ที่แข็งแรงที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเน่าคอดินนั้นจะสามารถเจริญผ่านเข้าไปในท่อน้ำและท่ออาหารได้ด้วยเช่นกัน หรือในบางครั้งระหว่างการขนส่งก็อาจจะเกิดการติดเชื้อเข้ามาทำลาย ทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นได้อยู่เสมอ ซึ่งอาการโรคเน่าคอดิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน คือ

1.ระยะก่อนงอกพันดิน (Pre-emergence damping-off)
ฅราจะเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่ต้นกล้าจะงอกขึ้นมาพันดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อนถูกทำลายทันที ทำให้เมล็ดพันธุที่เพาะไปไม่มีใบเลี้ยงออกมา

2.ระยะต้นกล้า (Post-emergence damping-off)
เป็นระยะที่ต้นกล้าเป็นโรค เมื่อโผล่ขึ้นมาพ้นดิน ถ้าเข้ามาทำลายส่วนล่างหรือส่วนของรากของลำต้น โดยที่ราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยวให้เห็น โดนส่วนที่คิดผิวดินนั้นจะเน่า ในขณะที่ส่วนอื่นๆของลำต้นจะยังมีความเต่อยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้ามาทำลายส่วนบนหรือส่วนของใบเลี้ยงนั้นจะเรียกว่า Top-infection type หรือ Top-damping-off จะพบก็ต่อเมื่อต้นกล้าหรือต้นอ่อนอยู่กันอย่างหนาแน่น ไม่มีพื้นที่หรือช่องว่าง หลังจากที่เกิดฝนตกลงมา

โรคเน่าคอดิน อาการ
www.am1386.com

สาเหตุของโรคเน่าคอดิน

จากสำนักงานเกษตรอำเภอบางกรวย ได้ออกมาเตือนถึงการระบาดของโรคเน่าคอดิน ซึ่งกล่าวว่า เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคเน่าคอดินคือ เชื้อรา Pythium sp หรือ Phytophthora sp., Rhizoctonia solani, Fusarium sp., Botrytis cinerea, Diplodia pinea, Sclerotium bataticola เป็นต้น เป็นเชื้อราที่จะเข้าไปทำลายต้นไม้ในระยะของต้นกล้าหรือต้นอ่อน ทำให้ลำต้นเน่าและตายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเส้นใยของเชื้อราที่เป็นสาเหตุนั้นจะสามารถแพร่กระจายอยู่ในดินได้ และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

เชื้อราที่เป็นสาเหตุเป็นโรคเน่าคอดินคือ Phytophthora parasitica นั้นจะเข้าไปเจริญอยู่ในระหว่างเซลล์ และบางครั้งก็พบว่าอยู่ในเซลล์ เชื้อราดังกล่าวนี้เป็นพวกจุลินทรีย์ดิน มีสปอร์เกิดได้หลายชนิด บางชนิดก็มีผนังหนาสามารถอยู่ข้ามฤดูกาลได้ดี โรคจะทวีความรุนแรงได้มากขึ้นในพื้นที่ปลูก ซึ่งมีความชื้นสูงละมีการระบายน้ำได้ไม่ดี เชื้อราตะแพร่ระบาดไปกับน้ำหรืออาจติดไปกับยอดพันธุ์ที่นำไปปลูก หรือเชื้อราที่เป็นสาเหตุเป็นโรคเน่าคอดินคือ Phytophthora palmivora ซึ่งเจริญอยู่ในดินที่มีความชุ่มชื้นมีสปอร์อีกชนิดหนึ่งที่มีผนังหนาสามารถอยู่ข้ามฤดูกาลได้ น้ำเป็นพาหะที่สำคัญของการแพร่ระบาดของเชื้อราที่สามารถงอกเข้าทำลายต้นอื่นได้อีก เชื้อราที่เป็นสาเหตุเป็นโรคเน่าคอดินคือ Phytophthora capsici ซึ่งจะมีสปอร์เกิดอยู่ที่ส่วนเป็นแผลนั้น น้ำและแมลงเป็นพาหะที่สำคัญต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไรก็ตามส่วนของพืชที่เป็นโรค ซึ่งเป็นร่วงหล่นอยู่ ย่อมช่วยให้เชื้อราอยู่ข้ามฤดูกาลได้

โรคเน่าคอดิน กระเทียม
www.chiangmainews.co.th

ผลของการเกิดโรคเน่าคอดิน

จากกลุ่มอารักขาพืช ของสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต ได้ออกมาเตือนชาวเกษตรกรถึงการระบาดของศัตรูพืชอย่างโรคเน่าคอดินพืชผัก ซึ่งโรคนี้จะทำให้ผลผลิตของชาวเกษตรกรถูกทำลาย เริ่มด้วยเมล็ดพันธุ์ไม่งอกตามความปกติ หรือถ้ามีการงอกออกมาแต่จะผิดปกติ คือต้นจะมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลดำ หงิกงอ บิดเบี้ยว โคนต้นยุบลงไป ต้นกล้าจะล้ม ต้นเน่า ใบแห้งและในที่สุดถ้าไม่ได้รับการแก้ไขหรือรักษาก็ทำให้ผลผลิตเหล่านั้นตายไปในที่สุด

  • โรคเน่าคอดินข้าวโพด
    สำหรับต้นข้าวโพดนั้น เมื่อเกิดโรคเน่าคอดินด้วยเชื้อ Erwinia chrysanthimi pathovar zeae เป็นเชื้อแบคทีเรียกชนิดแกรมลบ มีขนาดระหว่าง 0.6-0.9/0.8-1.7 ไมครอนเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วด้วยขนยาวรอบตัว ไม่สร้างแคปซูล ไม่ติดสีย้อมที่เป็นกรด การเจริญอาหารบนอาหารเลี้ยงเชื้อ สร้างโคโลนีสีขาวอมเทา นูน วาว เรียบ เมื่อติดโรคจะพบอาหารใบไหม้จากปลายใบมาที่โคนใบ ยอดข้าวโพดมีสีซีด เกี่ยว เฉา ต่อมาใบจะไหม้ลุกลามเป็นยอดเน่า บริเวณข้อที่อยู่เหนือดิน มีรอบช้ำ สีน้ำตาล เมื่อผ่าดูจะพบสีน้ำตาล ต่อมาเนื้อเยื่อในลำต้นถูกย่อยลสลาย มีน้ำเมือกไหลออกมา มีกลิ่นเหม็น จนในที่สุดต้นจะต่อกับท่อลำเลียงน้ำและอาหารเป็นสีน้ำตาล หรือทุเรียน เชื้อราที่เป็นเหตุคือ Phytophthora palmivora เป็นเชื้อราที่สร้างสปอร์ได้หลายชนิดผนังบางและหนา ซึ่งอาศัยอยู่ในดินเป็นเวลานานๆ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยเฉพาะฤดูฝนหรือขณะที่มีความชุ่มชื้นสูง ซึ่งภูมิอากาศดังกล่าวจะเป็นแหล่งที่ปลูกทุเรียนได้ดี สามารถระบายน้ำได้ดีและงอกเข้าทำลายต้นอื่นให้เกิดอีก เป็นต้น
  • โรคเน่าคอดินพลู
    เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคคือ Phytophthora parasitica จะเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์ และบางครั้งก็พบว่าอยู่ในเซลล์ เชื้อราดังกล่าวเป็นพวกจุลินทรีย์ดิน มีสปอร์เกิดได้หลายชนิด บางชนิดก็ผนังหนา สามารถอยู่ข้ามฤดูกาลได้ดี ดังนั้นในการปลูกพลูจะต้องไม่ให้ต้นอยู่ติดกันมากจนเกินไป ก่อนจะนำไปปลูกจะต้องหาพันธุ์ไม้ที่แข็งแรง และมีความต้านทานโรคมาปลูก
  • โรคเน่าคอดินหมาก
    เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค คือ Polyporus ostreiformis ซึ่งมีสปอร์เกิดอยู่ในรูเล็กๆบนผิวด้านใต้ของดอกเห็ด เมื่อสปอร์แก่จะหล่นลงสู่พื้นดินแล้วถูกน้ำฝนชะพัดพาไปแพร่ระบาดเข้าทำลายต่อไป เมื่อติดโรคแล้วรากบริเวณผิวดินจะเน่าเป็นสีน้ำตาล แล้วขยายการทำลายที่โคนเปลือกของลำต้นเน่าผุ เนื้อเยื่อภายในของลำต้นจะเน่า มีลักษณะอ่อนนิ่มสีน้ำตาลเนื้อเยื่อภายในลำต้นอาจะแตกแยกออกเป็นโพรงและมีเส้นใยของเชื้อรา สีขาวนวลเจริญอยู่เต็มไปหมด
  • โรคเน่าคอดินขิง
    สาเหตุของโรคเน่าคอดินคือ เชื้อรา Fusarium oxysporum ซึ่งจะเจริญอยู่บนเศษพืชในดินและมีสปอร์มากมาย สามารถแพร่ไปกับน้ำได้ ในขณะเดียวกันก็อาจจะติดไปกับส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ได้ ซึ่งเชื้อจะเข้าไปทำลายที่ราก ทำให้รากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หลังจากนั้นเชื้อจะขยายเข้าไปสู่เนื้อเยื่อของแง่งขง โดยเจริญเข้าไปในท่อน้ำอาหาร จนกลายเป็นสีน้ำตาล
  • โรคเน่าคอดิน มะเขือเทศ
    เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคเน่าคอดิน คือ เชื้อรา Pythium periilum Drechsler เป็นเส้นใยไม่มีผนังกั้น สร้างสปอร์ที่เกิดการผสมพันทางเพศ มีผนังหนาและสปอร์ที่เกิดแบบไม่ผสมพันธุ์ เป็นสปอร์รูปร่างต่างๆกัน สปอร์งอกเส้นใย 1-2 วัน หรืออาจะสร้างสปอร์มีหางว่ายน้ำได้ ภายในถุงที่แยกออกมาจากสปอร์ ราพวกนี้ส่วนมากผสมทางเพศด้วยตัวมันเอง เมื่อติดโรคราเข้าทำลายเมล็ดก่อนเมล็ดพืชงอก เมล็ดมีลักษณะอาหารเน่าทั้งที่ยังไม่งอกหรืองอกอยู่ในดิน ซึ่งทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากเมล็ดงอกโผล่จากดินแล้วเจริญเป็นต้นกล้า ราเข้าทำลายที่ระดับดิน บริเวณโคนจะเกิดอาหารฉ่ำน้ำ ทำต้นกล้าล้มพับอยู่เหนือดิน ใบเลี้ยงยังคงเขียว ไม่อาการเหี่ยว
โรคเน่าคอดิน มะเขือเทศ
sorhocam.com

การแพร่ระบาดของโรค

คุณศักดิ์ สุนทรสิงห์ ได้กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโรคเน่าคอดินไว้ว่า สามารถติดมากับเมล็ด ดินและวัสดุที่ปลูก น้ำที่ใช้รด ถาดที่ใช้เพาะกล้า สภาพแวดล้อมที่ทำให้เชื้อรานี้ ระบาดได้ง่ายคือ เมื่อมีอากาศร้อนและมีความชื้นสูง ดินหรือวัสดุเพาะระบายได้ดี และมีสภาพ เป็นกรดมากเกินไป พบโรคโคนเน่าบ่อยอยู่ในฤดูฝน และปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ซึ่งถ้าปัจจัยอย่างความชื้นในดินนั้น มีผลทำให้เชื้อสามารถขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วขึ้น เนื่องจากเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคจะมีช่วงหนึ่งที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่เคลื่อนไหวได้ (swarm cells หรือ zoospore) เซลล์พวกนี้จะว่ายและเคลื่อนไหวอยู่ในน้ำระยะหนึ่ง จึงสลัดหางกลายเป็นสปอร์กลมๆ แล้วจึงงอกเป็นเส้นใบและเข้าทำลายพืชในที่สุด หากความชื้นในดินต่ำหรือมีไม่มากพอ ช่วงของการสร้างเซลล์ที่มีหางเคลื่อนที่ได้จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงพบว่าโรคเน่าคอกินของต้นกล้าจะเกิดและทำความเสียหายมากเฉพาะในดินที่ชื้นแฉะ ปัจจัยอย่างแสงแดด เป็นตัวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ และการงอกของสปอร์ของเชื้อ การเพาะกล้าแน่นเกินไปหรือเพาะในที่ร่ม แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดินเป็นการช่วยส่งเสริมให้เชื้อราเพิ่มจำนวนเจริญแพร่กระจายและก่อให้เกิดโรคพืชได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลนี้การเพาะหล้าด้วยจำนวนเมล็ดที่พอเหมาะ และปัจจัยท้ายสุดคือสภาพทางกายภาพของดิน การเตรียมดินปลูกที่ไม่ถูกต้อง โดยปลูกในบริเวณที่มีดินเหนียวจัดเกินไป การระบายน้ำได้ไม่ดีหลังหว่าน หรือเพาะเมล็ดแล้ว ขาดการเอาใจใส่ดูแล มีวัชพืชขึ้นในแปลง การถ่ายเทอากาศระหว่างต้นไม่ดี หรือเพาะกล้าลงในดินแปลงเดียวกันหลายๆครั้ง ก็เป็นองค์ประกอบหรือสาเหตุร่วมในการทำให้โอกาสเกิดโรคระบาดทำความเสียหายแก่ผลผลิต

โรคเน่าคอดิน การแพร่ระบาด
www.kasetkawna.com

แก้ปัญหาและป้องกัน

  1. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา คลุกกับเมล็ดหรือดินหรือแช่เมล็ดและกิ่งพันธุ์ในอัตรา 200 ซีซีต่อน้ำในปริมาณ 20 ลิตรเป็นเวลา 2-10 ชั่วโมง หลังเพาะชำ พ่นในอัตรา 100 ซีซีต่อน้ำในปริมาณน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นหลังปลูกให้ทั่วใบ กิ่ง ก้าน และโคนทุก 10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืช
  2. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีที่ฆ่าเชื้อรา (Fungicide) ที่นิยมใช้คือ captan, dichlone, thiram
  3. ใช้สารเคมีพ่นต้นกล้านะยะที่ปลูกใหม่ เช่น ziram, chloranil, captan soluble coppers ถ้าดินมีเชื้อมากและมีความชื้นสูง
  4. ปรับสภาพแวดล้อม เพื่อลดความรุนแรงของเชื้อโรคโดยเพาะเมล็ดในระดับตื้นลึกจากผิวดิน ¼ นิ้ว งดให้น้ำตอนเช้า เพื่อให้การระเหยน้ำเร็วขึ้น จัดการระบายน้ำในแปลงเพาะให้ดี กำหนดความหนาแน่นของกล้าในแปลงเพาะให้เหมาะสม กำจัดวัชพืชในแปลงเพาะ ไม่ควรให้ร่มเงามากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ใช้ปุ๋ยที่มีระดับของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม สมดุลเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น โดยอัตราที่เหมาะสม คือ nitrogen : phosphorus : potassium = 1:2:1
  5. กำจัดเชื้อราที่อยู่ดิน โดยใช้ความร้อน 121 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 15 ib/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 3 ชั่วโมงหรือใช้ methyl bromide ถ้าเป็นดินไร่ใช้ยา Vapam หรือ Vorlex ในเรือนเพาะชำใช้ copper sulfate solution
  6. พื้นที่ปลูกไม่ควรชื้นแฉะต้องมีการระบายน้ำได้ดี
  7. ยอดพันธุ์ที่นำไปปลูกนั้น ควรปลอดโรค
  8. ตัดแต่งและเก็บส่วนของพืชที่เป็นโรค ตลอดจนเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ออกไปเผาไฟทำลายเสีย
  9. รดดินด้วยริโคมิล Ridomil (40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรต่อ 10 ค้าง) ลงไปยังโคนค้างโดยรอบทุก 2 เดือน หรือใช้ กาลเบน-เอ็ม, วามีน-เอส, แซนโดแฟน-เอ็ม, แทนก็ได้
  10. ต้นกล้าที่เป็นโรคควรเอาออกไปเผาทำลาย แล้วราดดินบริเวณนั้นด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 40กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าเป็นกับต้นที่โตแล้วต้องถากส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาด้วยสารเคมีดังกล่าว อันตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรให้ทั่ว
ยารักษาโรคเน่าคอดิน
h2ohydrogarden.blogspot.com

แหล่งอ้างอิง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้