โรคใบจุด เชื้อราร้ายทำลายพืช มีกี่ชนิด และวิธีป้องกันกำจัด

หลาย ๆ คนที่ปลูกผักหรือต้นไม้ คงเคยเจอกับปัญหาผักหรือต้นไม้ มีจุดๆ จุดสีเหลืองบ้าง จุดสีน้ำตาลบ้าง หรือจุดสีขาว และสีดำบ้าง รู้หรือไม่ว่าต้นพืชของท่านกำลังเป็นโรคใบจุด ซึ่งโรคพืชนี้ทำให้ต้นพืชเสียหายได้มากเหมือนกัน บางต้นถึงกับหยุดการเจริญเติบโต หรือลำต้นไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นพืชของเราตายลงในที่สุด  ซึ่งที่ต้นพืชเป็นแบบนั้นสาเหตุเกิดจากเชื้อรานั่นเอง โดยโรคใบจุดนี้เกิดขึ้นได้กับพืชผักทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นต้นเล็ก ต้นใหญ่ วันนี้เราจึงได้นำความรู้เกี่ยวกับโรคใบจุดมาให้ผู้ที่กำลังประสบปัญหาได้เรียนรู้กัน

ข้อมูลทั่วไปของโรคใบจุด

นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการกล่าวในเรื่องของโรคใบจุด ว่ามีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา ซึ่งเชื้อราหลายชนิด จะทำให้เกิดโรคกับพืช สามารถเกิดได้ทุกส่วนของพืช และทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ต้นอ่อนที่เริ่มงอกจนถึงต้นแก่ ลักษณะของโรคนี้มีอาการเริ่มแรก ต้นพืชของเราจะเป็นแผลเล็ก ๆ เป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น และจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น เป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่ขึ้นกับลำต้น ทำให้พืชของเราหยุดการเจริญเติบโต และทำให้ลำต้นไม่สมบูรณ์  ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และมีหลายประเภทเช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดนูน โรคใบจุดก้างปลา โรคใบจุดตานก  และโรคใบจุดสาหร่าย เป็นต้น

โรคใบจุด คือ
earthsally.com

ชนิดของโรคใบจุด

โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Sport Disease)

โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.) พบได้ตลอดการเจริญเติบของพืช ตั้งแต่ระยะต้นกล้า มักจะมีความรุนแรงกับต้นพืชที่แคระแกรน และขาดธาตุบางชนิด พบได้ชัดเจนบริเวณใบและกาบใบ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปทรงกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลจะมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการขยายใหญ่ขึ้นจะมีขนาดประมาณ 1-2×4-10 มิลลิเมตร แต่บางครั้งพบเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิม กระจัดกระจายทั่วไป พบมากในใบของต้นข้าว จุดที่มีขนาดใหญ่แต่ไม่เรียงเป็นเส้น มีลักษณะคล้ายโรคใบขีดสีน้ำตาล และยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือกได้อีกด้วย ซึ่งหากแผลใหญ่จะส่งผลให้เมล็ดข้าวเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารนั่นเอง

โรคใบจุดสีน้ำตาล
krishijagran.com

โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporiodes (Penz.) Sacc. อาการระยะแรกจะเป็นจุดเล็ก สีเขียวอ่อนเกิดขึ้นใต้ใบและบนใบ จุดเล็ก ๆ จะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ตรงกลางจะนูนขึ้นเล็กน้อย รอยนูนนี้เรียกว่าพัสตูล (Pustule) รอบพัสตูลจะมีของสีเหลืองล้อมรอบ จุดแผลเหล่านี้จะมีขยายออก มีรูปร่างไม่แน่นอน จะส่งผลให้ใบของต้นพืชเราแห้ง จะพบมากในถั่วเหลือง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก

โรคใบจุดนูน
www.almanac.com

โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf disease)

เกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola (Burk. & Curt.) Wei. อาการของโรคจะมีลักษณะต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของพืช และระยะการเจริญเติบโต แผลที่พบมีลักษณะกลม และรูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ กลางแผลแห้งมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบรอยแผลมีสีเหลือง บางครั้งอาจพบเนื้อเยื่อบริเวณกลางแผล ยุบตัวมีลักษณะเป็นวงซ้อนกัน เนื้อเยื่อกลางแผลที่แห้งอาจขาดเป็นรู ถ้าแผลลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ จะทำให้แผลมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา

โรคใบจุดก้างปลา

โรคใบจุดตานก (Bird’s eye spot)

นายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการ ได้เขียนเกี่ยวกับโรคใบจุดตานกว่า เกิดจากเชื้อรา Drechsiera (Helminthosporium) heveae (Petch) M.B.Ellis ลักษณะที่สังเกตได้ชัดเจนคือ จุดที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับตานก  เป็นจุดค่อนข้างกลม มีขอบแผลสีน้ำตาลล้อมรอบรอยโปรงแสงบริเวณกลางจุด มีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 มิลลิเมตร หากเกิดในระยะใบอ่อน เชื้อราจะทำให้ใบเป็นแผล หงิกงอ เน่าดำและร่วงมีผลทำให้กิ่งตาไม่สมบูรณ์ ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น  แต่หากเกิดในใบแก่พืชของเราจะเป็นจุดสีน้ำตาลเท่านั้น และการเกิดโรคมักรุนแรงกับต้นยางที่ปลูกในดินทราย หรือดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ

โรคใบจุดตานก
www.caes.uga.edu

โรคใบจุดสาหร่าย (Algal spot)

เกิดจากสาหร่ายสีเขียว Cephaleuros virescens Kunze ลักษณะของโรคคือแผลบนใบจะเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว จุดนูนขึ้นจากผิวเล็กน้อย ขอบของจุดมีลักษณะเป็นแฉกๆ ไม่เรียบ จุดเล็ก ๆ จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และหากสาหร่ายแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิมเหล็ก ลักษณะคล้ายกำมะหยี่ ปรากฎอาการจุดสนิมออกมา ซึ่งเป็นระยะที่สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งใบและกิ่ง จุดสนิมที่เกิดขึ้นจะทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง และยังดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืชทำให้ใบซีดเหลือง และร่วงลงในที่สุด ส่วนอาการที่กิ่งจะมีลักษณะคล้ายขนนกกำมะหยี่สีแดงหรือสีน้ำตาลแดง ขึ้นเป็นหย่อม ๆ สาหร่ายจะเข้าทำกิ่งเล็กและขยายปกคลุมผิวกิ่ง ต่อมากิ่งจะแตกและพบสาหร่ายเจริญแน่นหนาที่ผิวเนื้อเยื่อกิ่งที่แตก ต้นพืชที่มีขนาดเล็ก อายุ 1-2 ปี ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ และได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึงอาจเกิดความเสียหายได้

โรคใบจุดสาหร่าย
es.gardenmanage.com

การป้องกันกำจัด

การป้องกันพืชจากโรคใบจุด ในโรคใบจุดแต่ละชนิดจะมีวิธีป้องกัน และกำจัดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพืช รวมไปถึงระยะการเจริญเติบโต ซึ่งวิธีการเบื้องต้นที่เราจะสามารถป้องกันโรคใบจุดได้ มีวิธีดังนี้

  1. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรค หรือนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที
  2. กำจัด ทำลายวัชพืชแปลงปลูก
  3. เลือกสภาพดินที่เหมาะสมกับต้นพืช หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกช่วยปรับสภาพดิน
  4. ตัดส่วนที่เป็นโรคใบจุดออก หรือตัดแต่งทรงต้นไม้ให้โปร่ง เพื่อลดความชื้น
  5. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น
  6. แมนโคเซ็บ หรือ ไดเทนเอ็ม 45 ในอัตราส่วน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  7. มาเน็บ ซีเน็บ และเฟอร์แบม ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  8. ไอไพรไดโอน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  9. ฟลูโอไพแรม+ไตรฟลอกซี่สโตรบิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

การรักษาโรคใบจุดจากพืช พืชแต่ละชนิดแต่ละประเภท มีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจึงได้นำวิธีการรักษาโรคของพืชอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถรักษาพืชได้ค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพ คือการเลือกใช้สารกำจัดโรคนั่นเอง โดยพืชแต่ละชนิด หรืออาการของโรค มีสารกำจัดและวิธีการที่ต่างกันออกไป หากเราเลือกใช้สารที่ถูกต้อง และมีวิธีการดูแลรักษาพืชที่เหมาะสม พืชที่เป็นโรคอาการก็จะลดลงและหายในที่สุด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเสียให้กับผู้ปลูก และไม่ทำให้เสียต้นทุนโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย

โรคใบจุด อาการ
www.repaythailand.com

โรคใบจุดบนผัก ต้นไม้ต่าง ๆ บางชนิดและวิธีการรักษา

เราได้มีตัวอย่างของผักและผลไม้ ต้นไม้ต่าง ๆ และอาการของโรค รวมถึงวิธีการรักษาเฉพาะของพืชชนิดนั้น ๆ โดยเราจะนำตัวอย่างของพืชเศรษฐกิจและพืชที่กำลังเป็นที่นิยม มาให้ได้เรียนรู้กัน ไม่ว่าจะเป็นผัก ทุเรียน ยางพารา ซึ่งเราจะกล่าวถึงที่มาของโรค ลักษณะของโรค และวิธีการรักษาอย่างละเอียด

โรคใบจุดบนพืชตระกูลผักกาด

เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola (Schw.) Wiltshire ลักษณะอาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นกับพืชตระกูลผักกาด ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บร็อคโคลี ผักค้าน้า ผักกาดขาว และผักกาดหัว เป็นต้น อาการของโรคจะสามารถเกิดได้ทุกส่วน และทุกระยะของการเจริญเติบโต อาการแรกบนต้นกล้าจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงันและทำให้ลำต้นไม่สมบูรณ์ อาการในต้นแก่มักพบบนใบและก้าน เกิดเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาเข้มถึงดำ และแผลจะมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

วิธีป้องกันกำจัด 

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่น้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียสนาน 20-25 นาที
  2. หลีกเลี่ยงการปลูกผักกาดหรือกะหล่ำต่าง ๆ ลงในดินที่เคยปลูกและมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 3-4 ปี
  3. กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูก
  4. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพบโรค ได้แก่ แมนโคเซ็บ หรือไดเทนเอ็ม 45 ในอัตราส่วน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มาเน็บ ซีเน็บ และเฟอร์แบม ในอัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ  5-7 วัน
โรคใบจุดผักกาด
www.baanlaesuan.com

โรคใบจุดยางพารา

โรคที่เกิดในยางพารา ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงจนถึงทำให้ต้นยางพาราตายได้ แต่จะมีผลทำให้ต้นยางแคระแกรนและผลผลิตลดลง ซึ่งการเกิดโรคใบจุดในยางพารามีหลายอาการ และลักษณะ รวมถึงเชื้อราที่เป็นสาเหตุ ก็ต่างกันไป โดยเราจะยกตัวอย่างอาการที่เกิดขึ้น คือ

โรคจุดนูน Colletotrichum leaf spot

เกิดจากเชื้อรา Colleetotrichum gloeosporioides Penz. อาการของโรคคือ เป็นจุดนูน ใบอ่อน ปลายใบจะบิดงอ เหี่ยว เน่าดำและหลุดร่วง ใบแก่ จะดแผลจะนูนทำให้บิดงอ ต่อมาจุดกลางแผลจะฉีกขาด ลักษณะเป็นแฉกคล้ายรูปดาว และกิ่งอ่อน คล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่ง หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือก

วิธีการป้องกันและกำจัด

โดยเลือกใช้สารเคมีฉีดพ่นบนใบยางก่อนฤดูกาลโรคระบาด โดยสารเคมีที่ใช้มีดังนี้

  1. Zineb (ซีเนบ) 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. Chlorothalonil (คลอโรทาโลนิล) 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  3. Benomyl (เบโนบิล) 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  4. Propineb (ไพรพิเนบ) 40 กรัมต่อน้ำ 40 ลิตร

สำหรับต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ฉีดพ่นสารเคมีตัวใดตัวหนึ่งบนใบยางที่เริ่มผลิใบใหม่ และกำลังขยายตัวจนมีขนาดโตเต็มที่พ่นทุก 5 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง

โรคใบจุดก้างปลา

เกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola (Burk. & Curt.) Wei. อาการของโรคจะมีลักษณะต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของพืช และระยะการเจริญเติบโต แผลที่พบมีลักษณะกลม และรูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ กลางแผลแห้งมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบรอยแผลมีสีเหลือง บางครั้งอาจพบเนื้อเยื่อบริเวณกลางแผล ยุบตัวมีลักษณะเป็นวงซ้อนกัน เนื้อเยื่อกลางแผลที่แห้งอาจขาดเป็นรู ถ้าแผลลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ จะทำให้แผลมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา

วิธีการป้องกันและกำจัด

โดยเลือกใช้สารเคมีฉีดพ่นบนใบยางก่อนฤดูกาลโรคระบาด โดยสารเคมีที่ใช้มีดังนี้

  1. Tridemorph (ไตรดีมอร์ฟ) 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. Benomyl (เบโนบิล) 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

-ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อรา เช่น งา ถั่วเหลือง และมะละกอ เป็นพืชแซมยางพาราในแหล่งโรคระบาด เพื่อตัดวงจรเชื้อรา

-สำหรับต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ฉีดพ่นสารเคมีตัวใดตัวหนึ่งบนใบยางที่เริ่มผลิใบอ่อนทุก 7 วัน

โรคใบจุดยางพารา
www.thairath.co.th

โรคใบจุดทุเรียน

ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดีขึ้น ในปัจจุบันผู้คนจากทั่วประเทศหันมาสนใจในการปลูกทุเรียน และการปลูกทุเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทุเรียน มีศัตรูพืชและโรคหลายชนิด ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากเชื้อรา โรคที่เกิดขึ้นในทุเรียนมีดังนี้

โรคใบติดและใบไหม้ (Rhizoctonia Leaf Blight)

เกิดจากเชื้อรา ไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.)ลักษณะอาการ ใบอ่อนที่คลี่แล้ว จะเป็นแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบริเวณกลางใบและขอบใบ แผลจะค่อย ๆ ขยายตัวลุกลามและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอน เชื้อราสามารถลุกลามไปยังใบอื่น ๆ ที่ติดกันได้ โดยทำให้เกิดใบไหม้ หรือใบที่เป็นโรคจะแห้งและหลุดร่วงลงไปในที่สุด นอกจากนี้แล้วใบที่หล่นร่วงลงมาก็ยังสามารถลุกลามไปยังใบที่อยู่พื้น และทำลายต้นทุเรียนได้ ส่งผลให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์

วิธีป้องกันกำจัด
  1. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้เหมาะสม เพื่อควบคุมให้มีความชื้นในปริมาณที่ต้นทุเรียนสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเข้าทำลายพืชของเชื้อโรค
  2. หมั่นสำรวจอาการโรคบนใบอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการควรตัดกิ่งบริเวณที่เป็นโรคออก และนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
  3. รวบรวมเศษใบที่เป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น นำไปเผาทำลาย
  4. ในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคประจำ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เพื่อลดความสมบูรณ์ของการแตกใบอ่อน

โรคจุดสนิม  หรือ โรคใบจุดสาหร่าย (Algal spot)

เกิดจากสาหร่ายสีเขียว Cephaleuros virescens Kunze ลักษณะของโรคคือแผลบนใบจะเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว จุดนูนขึ้นจากผิวเล็กน้อย ขอบของจุดมีลักษณะเป็นแฉกๆ ไม่เรียบ จุดเล็ก ๆ จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และหากสาหร่ายแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิมเหล็ก ลักษณะคล้ายกำมะหยี่ ปรากฎอาการจุดสนิมออกมา ซึ่งเป็นระยะที่สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งใบและกิ่ง จุดสนิมที่เกิดขึ้นจะทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง และยังดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืชทำให้ใบซีดเหลือง และร่วงลงในที่สุด ส่วนอาการที่กิ่งจะมีลักษณะคล้ายขนนกกำมะหยี่สีแดงหรือสีน้ำตาลแดง ขึ้นเป็นหย่อม ๆ สาหร่ายจะเข้าทำกิ่งเล็กและขยายปกคลุมผิวกิ่ง ต่อมากิ่งจะแตกและพบสาหร่ายเจริญแน่นหนาที่ผิวเนื้อเยื่อกิ่งที่แตก ต้นพืชที่มีขนาดเล็ก อายุ 1-2 ปี ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ และได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึงอาจเกิดความเสียหายได้

การป้องกันกำจัด

ในแปลงปลูกทุเรียนที่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ มักไม่พบการระบาดของสาหร่ายนี้ ในกรณีที่เกิดการระบาด ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ และทำการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มที่เหมาะสม หากพบมีสาหร่ายขึ้นตามกิ่งต้องรีบป้องกันกำจัดในการฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าว หรือใช้สารเคมีทาที่บริเวณสาหร่ายขึ้นทำลาย

โรคใบจุดทุเรียน
thepwatana.com

แหล่งอ้างอิง

โรคใบจุด (Alternaria brassicicola)
โรคใบจุดนูนหรือแบคทีเรียลพัสตูล
คู่มือการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้