เดี๋ยวนี้เราคงได้ยินคนพูดถึงพืชสายเขียวอย่าง กัญชา อยู่บ่อยครั้ง จนคุ้นหู และหลายคนก็ทราบกันดีว่า กัญชานั้นเป็น พืชต้องห้ามเพราะกฎหมายจัดว่าเป็นยาเสพติดแต่หลัง ๆ มาก็มาได้ยินกันอีกชื่อ พืชที่ชื่อว่า กัญชง ก่อนหน้านี้เราไม่คุ้นชื่อกันเท่าไหร่ แต่ช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มได้ยินบ่อยจนคุ้นหูมากแล้วเหมือนกัน เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ปลดล็อกให้ใช้ประโยชน์มากมายของพืช 2 ชนิดนี้ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจและเพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างพืชสายเขียวทั้งสองนี้กันเลยทีเดียว
กัญชา กับ กัญชง นี่มันแตกต่างกันยังไงนะ?
กัญชา กับ กัญชง
มีหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า กัญชา ก็คือต้น กัญชง แต่แท้จริงแล้วต้นกัญชาแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชง แต่กัญชงนั้นเป็นพืชที่ไม่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพียงแต่ต้นกัญชงเป็นพืชที่นิยมนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ แล้ว กัญชา กับ กัญชง แตกต่างกันยังไร วันนี้เราสรุปความต่างมาให้กันดูกันคร่าวๆ เผื่อว่าในวันนึงมันจะได้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิต สิ่งที่แตกกันอย่างเห็นได้ชัดคือ
- ความเป็นมาของต้นกัญชา
ต้นกัญชา มีชื่อภาษาอังกฤษที่มักถูกเรียกว่า มารีฮั่วน่า(Marijuana) มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป และเริ่มเข้ามาประเทศไทยในช่วงของพระนารายณ์ โดยพ่อค้าชาวจีน เพื่อใช้เป็นหนึ่งในส่วนผสมเพื่อบรรเทาอาการ “กินไม่ได้นอนไม่หลับ” และยังใช้เป็นส่วนผสมของยาที่ช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย ถึงอย่างนั้นก็มีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเลยครับว่าให้ “กินพอสมควร” เท่านั้น
ประเทศไทยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5
- ความเป็นมาของต้นกันชง
ต้นกัญชงมีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพราะมีสาร THC ในปริมาณน้อยกว่ามากจึงไม่มีผลทำให้เกิดมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่น ๆ เช่น ต้นกัญชงเป็นพืชที่สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอผ้าที่มีคุณภาพดี คนจีนนิยมปลูกต้นกัญชงไว้เพื่อใช้เส้นใยและใช้ประโยชน์จากเมล็ดของมันมาโดย การสกัดน้ำมันจากเมล็ดที่เรียกกันว่าน้ำมันกัญชง สำหรับชาวเขาในประเทศไทยก็เช่นกัน
ลักษณะของต้นกัญชา
- ลำต้นเตี้ยและเป็นพุ่ม ต้นกัญชา จะเป็นปล้องหรือข้อสั้น เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก ให้เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำแตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก มีความสูงไม่ถึง 2 เมตร
- ใบก็สีเขียวจัดจะมีประมาณ 5 แฉก
- เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดมันวาว
- สารที่พบในกัญชา เป็นสิ่งเสพติดคือ THC (Tetrahydrocannabinol) ทำให้เกิดอาการเมา แต่ก็เป็นสารที่มีประโยชน์ที่ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ลดอาการปวด รักษาโรคลมชัก ช่วยผ่อนคลาย
- สารแคนนาบินอล (Cannabinol : CBD) จะช่วยในลดอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบของแผล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ลักษณะของต้นกัญชง
- ต้นกัญชง หรือ Hemp เป็นต้นไม้ล้มลุก ที่ลำต้นสูงและเรียวแต่ถ้าเทียบกับต้นกัญชาแล้ว ต้นกัญชงมักจะสูงกว่า ใบกัญชงจะมีขนาดใหญ่กว่า
- ใบกัญชงจะมีประมาณ 7แฉก เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง
- ดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบด้าน ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดหัว มีสารน้อยกว่า 0.3% การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะแคบ เพราะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยเพียงอย่างเดียว
- เป็นสารที่ทำให้รู้สึกการผ่อนคลาย ความรู้สึกสบาย ความเคลิบเคลิ้ม ทำให้รูสึกทานอาหารอร่อย ตาหวาน และคอแห้ง
- จะทำให้รู้สึกเมา เคลิ้มฝันช่วยยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด และมีฤทธิ์ระงับอาการปวด
ความแตกต่างของกัญชงและกัญชา
ไม่ว่าจะเป็นกัญชาหรือว่ากัญชง ก็จัดว่าเป็นพืชชนิดเดียวกัน และยังมีกลุ่มของที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่เหมือนกัน คือ
- สาร THC: (Tetrahydrocannabinol) เป็นสารที่ทำให้รู้สึกการผ่อนคลาย ความรู้สึกสบาย ความเคลิบเคลิ้ม ทำให้รูสึกทานอาหารอร่อย ตาหวาน และคอแห้ง
- สาร CBD: (Cannabidiol) จะทำให้รู้สึกเมา เคลิ้มฝันช่วยยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด และมีฤทธิ์ระงับอาการปวด
ลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่สามารถสังเกตได้ชัดก็ก็จะเป็น กัญชงมีใบแคบเรียวและสีเขียวอ่อนกว่า มีลำต้นสูงและแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่ากัญชา และวัตถุประสงค์ในการปลูกเพื่อใช้งานที่ต่างกัน คือ
- กัญชงไม่นำมาใช้ในแง่ของยาเสพติด แต่จะเป็นการปลูกเพื่อใช้เส้นใยในการทำเสื้อผ้า กระดาษ เครื่องทอต่าง ๆ
- กัญชาถูกนำมาใช้ในการเป็นยาเสพติด แต่หากนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และถูกวิธี ก็จะสามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยบางโรคได้
ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้มีการส่งเสริมกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ภายใต้การกำหนดระบบการควบคุมที่เหมาะสม และรวมถึงยังอนุญาตให้ปลูกต้นกัญชาไว้เพื่อทางการแพทย์รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกด้วยโดยสำหรับต้นกัญชานี้ ได้มีการกำหนดจำนวนไว้ที่ไม่เกิน 6 ต้น เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และเศรษฐกิจ เพื่อแปรรูปส่วนอื่นๆ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก มาเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาปรุงอาหาร สร้างรายได้อย่างมาก