ส้มโอ ผลไม้ไทยที่ชาวโลกให้ความไว้วางใจ

ส้มโอ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษเรียกว่า Pomelo หรือ โพเมโล ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า Pampelmuse ในภาษาดัตซ์ เมื่อแปลเป็นไทยจะมีความหมายว่า ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง” ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Citrus maxima (Burm.f.) Merr. วงศ์:Rutaceae โดยส้มโอเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ มะนาว มะกรูด และส้มเขียวหวาน เป็นต้น

ส้มโอ พืชไม้พื้นถิ่น ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส้มโอ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณกลุ่มอาเซียน ที่มีไทยเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิก และด้วยภูมิประเทศที่เหมาะสมทั้งอุณหภูมิและฤดูกาล ทำให้ส้มโอเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะหากปลูกในแทบนี้ ต่อมานักการค้าที่เดินทางโดยเรือมาค้าขายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้นำส้มโอกลับไปปลูกที่หมู่เกาะบาเบดอส แต่ทว่า กลับไม่ได้ผลิตดังที่ตั้งใจ และได้กลายเป็นต้นกำเนิดของพืชชนิดใหม่นามว่า ส้มเกรปฟรุท (grapefruit) ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ส้มโอได้แพร่ขยายอิทธิพลไปสู่ดินแดนอาทิตอุทัยหรือประเทศญี่ปุ่น โดยพ่อค้าชาวจีนมณฑลกวางตุ้ง และก็เช่นเคย ส้มโอได้กลายพันธุ์เป็นพืชชนิดใหม่ นามว่า บุนตัน (Buntan) และ ซาบง (Zabon) ที่สามารถปลูกได้เฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของญี่ปุ่นเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อส้มโอได้เดินทางออกสู่ดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดแล้วเกิดเป็นวิวัฒนาการทางสายพันธุ์ จึงทำให้ประเทศมีมูลค่าการส่งออกส้มโอเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนับว่ามีความเหมาะสมในการเพราะปลูกมากที่สุด จนกระทั่งปี 2555 รัฐบาลญี่ได้ประกาศอนุญาตให้ส้มโอไทยสาบพันธุ์ทองดี เป็นหนึ่งในผลไทยที่อนุญาตให้นำเข้าจากไทย และ 2 ปีไห่หลัง รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมการส่งเสริมส้มโอไทยให้เป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่น ภายใต้งาน Som-O Night 2557 ซึ่งผลก็เป็นไปตามคาด เพราะคนญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ ที่ส่งผลให้ส้มโอพันธุ์ทองดีของไทย ยังคงโดดเด่นอยู่ในตลอดการค้าของญี่ปุ่นเสมอมา

ส้มโอ สรรพคุณ

ส้มโอ 8 สายพันธุ์ ขวัญใจเกษตรกร

ประเทศไทย เป็นเมืองเกษตรกรรมที่มีทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรมากมาย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและภาครัฐ ทำให้เราสามารถควบคุณคุณภาพได้อย่างเหมาะสม และได้ผลิตที่ตรงต่อความต้องการที่จะส่งออก ทว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีการเกษตร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสามารถปลูกพืชชนิดใดก็ได้ในพื้นที่ใดก็ได้ ทุกที่ล้วนแต่มีความเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ส้มโอทั้ง 8 สายพันธุ์ของไทยนั้น จะอยู่ในจุดที่เหมาะสมแตกต่างกัน โดย ส้มโอทั้ง 8 สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรมีดังนี้

  1. พันธุ์ทับทิมสยาม นิยมปลูกที่ นครศรีธรรมราช ลักษณะเด่น คือ เนื้อแดงฉาดดุจทับทิม กลิ่นหอมเปลือกบางสัมผัสนุ่มลิ้น 
  2. พันธุ์ทองดี นิยมปลูกที่ นครปฐม ลักษณะเด่น คือ ลูกกลม ผลใหญ่ ชุ่มน้ำฉ่ำเนื้อ สีชมพูอ่อนสวยงาม
  3. พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง นิยมปลูกทั่วไป ลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ ผลหยดน้ำ ก้นแบน
  4. พันธุ์ขาวใหญ่ นิยมปลูกที่ สมุทรสาคร ลักษณะเด่น คือ เนื้อขาว รสอมเปรี้ยว 
  5. พันธุ์ขาวพวง นิยมปลูกทั่วไป ลูกกลมผิวเรียบเปลือกอมเหลือง เป็นพันธุ์ดั่งเดิม
  6. พันธุ์ขาวแตงกวา นิยมปลูกที่ ชัยนาท ผลกลม เปลือกบาง เนื้อขาวใส
  7. พันธุ์ท่าข่อย นิยมปลูกที่ พิจิตร
  8. พันธุ์ปัตตาเวีย นิยมปลูกทั่วไปทางภาคไทยของไทย

ทั้งหมดนี้คือ ส้มโอ 8 สายพันธุ์ที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกมากที่สุด รวมทั้งได้รับความนิยมในตลาดผลไม้ด้วยเช่นกัน

ส้มโอพันธุ์ไหนอร่อย

วิธีปลูก ส้มโอ อย่างง่าย

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ส้มโอก็คือพืชพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบการจัดการของธรรมชาติที่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ เช่น มือใหม่มักจะปลูกส้มโอลงบนพื้นที่วางเปล่าในทันที ทำให้อัตราการรอดนั้นไม่น้อย และผลผลิตที่ได้ก็ไม่ต้องตามความต้องการ โดยวิธีการเริ่มต้นง่าย ๆ คือ 

ให้ปลูกกล้วยนำร่องเสียก่อนในพื้นที่ว่างเปล่า สัก 4-5 เดือน หลังจากนั้นจึงนำต้นพันธุ์ส้มโอทีต้องการลงปลูก เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ นั่นก็เพราะว่า ต้นกล้วยที่บุกเบิกในที่ดินเปล่าแล้วนั้น จะสร้างระบบรางจำหนึ่งภายในดิน ทำให้ดินเกิดความชุ่มชื้น และเป็นกำแพงกันแดดตามธรรมชาติให้แก่ต้นพันธุ์อ่อนต่าง ๆ ส้นโอที่ลงปลูกหลังจากนี้ จะได้รับการดูแลจากต้นกล้วย เรียกว่าเป็นการพึ่งพาตามธรรมชาตินั่นเอง

ส้มโอ ลักษณะ

เตรียมหลุมปลูก

ขุดหลุม 20*20 ซม. โดยแต่ละหลุมต้องห่างกันที่อย่างน้อย 4 เมตร โดย 1 ไร่จะสามารถปลูกได้ราว 35 ต้น หลังจากนั้นให้นำปุ๋ยที่เตรียมไว้รองก้นหลุม นำต้นพันธุ์ลงหลุมแล้วนำดินโดยรอบกลบ ใช้ไม้ปักเป็นหลักยึดให้กับต้นพันธุ์ หลังจากนั้นให้หมั่นลดน้ำทุกวัน ความเหมาะสมในการลดไม่ควรแฉะเกินไป เพราะอาจทำให้รากเน่าได้ เมื่อต้นพันธุ์เริ่มแตกใบอื่น และระบบรากเริ่มแข็งแรงแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนเป็นการให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์

การดูแล

ระยะแรก เมื่อต้นพันธุ์แตกใบอ่อนให้ใบปุ๋ยหมัก 50 กก. ผสม ปุ๋ยยูเรีย 1 กก. หลังจากนั้นให้ลดน้ำตาม 

ปีที่ 1 เมื่อ ส้มโอเริ่มเติบโตขึ้น จึงต้องการแสงแดดในปริมาณที่มากขึ้น ประจวบกับกล้วยที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ให้ตัดกล้วยต้นเว้นต้น เพื่อไม่ให้แสงแดดถูกต้นส้มโอมากเกินไป

ปีที่ 2 ตัดกล้วยต้นเว้นต้นดังเดิม แต่ให้เสริมด้วยการใส่ปุ๋ยทุก 5 เดือน ปริมาณปุ๋ย 2 กก./ต้น

ปีที่ 3 ส้มโอจะเริ่มออกดอก ให้ทำการแต่งดอกโดยไม่ควรเกินต้นละ 15 ลูก แล้วให้ใส่ปุ๋ยทุก 2 เดือน

ปีที่ 4 เช่นเดียวกัน ในปีนี้ให้จำกัดลูกได้เพียงต้นละ 20 ลูก และใส่ปุ๋ยทุก 2 เดือน 2 กก./ต้น

ปีที่ 5 ปีนี้ให้จำกัดต้นละไม่เกิน 50 ลูก ใส่ปุ๋ยทุกเดือน ๆ ละ 3-5 กก./ต้น และหมันตกแต่งกิน ลดน้ำทุก 7 วัน

ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์

ส้มโอ พืชผลไม้ชั้นเลิศ กับ สรรพคุณนานัปการ

นอกจากจะเป็นผลไม้ที่ท่านแล้วให้เกิดความสดชื่น ส้มโอสรรพคุณอุดมณ์ไปด้วยคุณประโยชน์มากมายที่ซ้อนเร้นอยู่ อาทิเช่น

ผล

  • ล้างสารพิษในร่างกาย
  • ลดความเสี่ยงเกิดมะเร็ง
  • แก้อาการเบื่ออาหาร
  • แก้อาการเมา
  • มีวิตามินซีสูง เป็นต้น

เปลือก

  • แก้อาการไอ เจ็บคอ
  • เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น 
  • แก้ปวดหัว ร้อนใน กระหายน้ำ
  • แก้คันตามผิวหนัง เป็นต้น

เม็ด

  • แก้อาการหวัด
  • แก้จุกเสียด ปวดท้อง แน่นท้อง เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับส้มโอไทย แม้ไม่ได้ชื่อว่าเป็นราชา แต่ก็มีคุณค่าไม่แพ้กันในเวทีโลก.

ที่มา

https://www.disthai.com

https://puechkaset.com

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้