ข้อมูลทั่วไป
ชื่อท้องถิ่น : ป่าช้าเหงา,ป่าช้าหมอง, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์
ชื่ออังกฤษ : Bitterleaf tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnanthemum extensum
วงศ์ : Asteraceae
หนานเฉาเหว่ย หรือหลายๆคนคงรู้จักในชื่อ “ป่าช้าเหงา” เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปี จะพบเห็นได้ตามสวนสมุนไพรจีนหรือสวนสมุนไพรไทย เพราะใบของหนานเฉาเหว่ย สามารถใช้เป็นยา เพราะมีสรรพคุณหลากหลาย มักจะพบเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร อาหารเสริม ยารักษาโรคได้ทั่วไป
หนานเฉาเหว่ย ถึงแม้จะเป็นสมุนไพรขึ้นชื่อที่รักษาได้หลากหลายโรค แต่จะมีผู้ป่วยบางประเภทที่ไม่ควรทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ในบทความนี้แล้ว
ส่วนประกอบของหนานเฉาเหว่ย
ลำต้น
ลักษณะลำต้นหนานเฉาเหว่ย จะมีความสูง 3-7 เมตร
ใบ
ใบของหนานเฉาเหว่ย ลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบเป็นขอบขนาน ขนาดใบกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร
ดอก
หนานเฉาเหว่ยมีดอกเป็นช่อสั้น ๆ ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นกระจุกเล็ก ๆ กว้าง 12 มิลลิเมตร มีกลีบรองดอก 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก แต่จะมีเกสรอยู่มาก ส่วนดอกตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกันแต่จะมีรังไข่ที่เหนือวงกลีบ และมีขนดอกหนาแน่น
ผล
ผลของหนานเฉาเหว่ย มีลักษณะเกือบกลม ผิวเกลี้ยง ขนาดผลประมาณ 2 เซนติเมตร และแบ่งออกเป็นพูเล็ก ๆ จำนวน 3 พู ผลอ่อนจะมีเนื้อสีเขียว ส่วนผลแก่จะมีเนื้อสีเหลืองแสด เมล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ 7-8 มิลลิเมตร โดยหนึ่งผลจะมี 3 เมล็ดอยู่ในแต่ละพูของผล มีเนื้อเยื่อขาว ๆ หุ้มอยู่
วิธีปลูกต้นหนานเฉาเหว่ย
การปลูกนิยมปลูกด้วยการใช้กิ่งเพาะชำลงในถุงปลูก แล้วจึงค่อยย้ายลงดิน โดยมีขั้นตอนการปลูกดังนี้
- เตรียมกิ่งพันธุ์หนานเฉาเหว่ย ยาว 15 ซม. ควรเลือกที่มีลำต้นสีน้ำตาล
- เตรียมถุงชำ หรือหลุมขนาด 20 ซม.
- คลุกดินกับขี้วัว ประมาณ 1 กำมือ
- เสียบกิ่งพันธุ์ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และเอาเศษหญ้าเศษฟางคลุมให้ทั่ว
- หมั่นรดน้ำ เช้าเย็น
- ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน
วิธีดูแลต้นหนานเฉาเหว่ย
- ควรตั้งต้นหนานเฉาเหว่ยในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน
- ควรหมั่นดูแล บำรุงด้วยการเพิ่มแร่ธาตุและให้สารอาหารให้ครบถ้วน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก
- ควรรดน้ำวันละครั้ง ช่วงเช้าก่อน 7 โมง หรือในช่วงเย็นหลัง 5 โมง
- ควรตัดกิ่งของต้นหนานเฉาเหว่ยเมื่อสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร
สรรพคุณหนานเฉาเหว่ย
- มีสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยป้องกันโรคไต ช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น
- ส่วนช่วยในการป้องกันโรคตับ
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- ช่วยรักษาในผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำ
- ลดอาการปวดเมื่อย หรืออักเสบตามข้อ และกระดูก รวมถึงโรคเก๊าต์
- ช่วยในการลดน้ำตาล ลดไขมันในเลือด รวมไปถึงความดันโลหิต
- ช่วยลดน้ำหนัก
- ช่วยลดความดัน
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อปรสิต
- เพิ่มคุณภาพสเปิร์มสำหรับคุณผู้ชายที่มีปัญหาในเรื่องของน้ำเชื้อ และเพิ่มสรรถภาพทางเพศ
- ช่วยในการล้างสารพิษในร่างกาย อีกทั้งยังสามารถรักษาโรคริดสีดวงทวาร หรือโรคหูด
ข้อควรระวังการทานหนานเฉาเหว่ย
- ผู้ที่มีค่าอัตราการกรองของไตต่ำกว่า 60% ไม่แนะนำให้บริโภคหนานเฉาเหว่ย
- ผู้ที่เป็นโรคตับอยู่แล้วไม่ควรบริโภคหนานเฉาเหว่ย
- ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะไทรอยด์สูง
- ห้ามใช้ ในผู้ป่วยที่ต้องทานยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ รวมถึงการเกิดลิ่มเลือดที่สามารถไปอุดตันหลอดเลือดในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ
- ไม่แนะนำให้ทาน ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิต หญิงมีครรภ์ หรือวางแผนในการมีบุตร รวมถึงผู้ที่มีปัญหาในเรื่องตับ และไตเนื่องจากส่งผลต่อการเกิดอาการเท้าบวม หรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งแบบรุนแรง และอันตรายต่อชีวิต ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ไม่ควรทานแทนยาแผนปัจจุบัน แต่สามารถทานควบคู่ได้ เนื่องจากยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนถึงสรรพคุณหนานเฉาเหว่ยในการรักษาทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ และหากมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรืออาการอื่น ๆ ให้ทำการหยุดยาโดยทันที
- ระมัดระวัง การใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดจาง เนื่องจากพบว่า สามารถออกฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
- ไม่ควรนำมาทานเป็นยา ในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้ว
- ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทาน
วิธีบริโภคหนานเฉาเหว่ย
- ใบสด ให้เลือกใบขนาดไม่ใหญ่นัก ทานไม่เกินวันละ 1 – 3 ใบ และไม่ควรทานทุกวัน ให้เว้น 2 – 3 วันจึงทานครั้งหนึ่ง
- นำใบมาต้มกับน้ำดื่ม โดยเลือกใบขนาดเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ให้พอเดือด (ไม่ควรต้มนานเกิน 5 นาที) และดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว หลังตื่นนอน ไม่ควรดื่มทุกวัน และไม่ควรดื่มแทนน้ำ
- ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น อาจทานติดต่อกัน 1 เดือน แล้วเว้น 1 เดือน และจึงเริ่มทานใหม่
ราคาหนานเฉาเหว่ย
- 1 กิ่งจะอยู่ที่ ราคา 9-10 บาท
- ต้นอ่อนหนานเฉาเหว่ย ราคา 100 – 150 บาท