ว่านหางจระเข้ พืชมงคลสรรพคุณครอบจักรวาล

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชล้มลุกที่มีเนื้ออวบอิ่ม จัดอยู่ในตระกูลลิเลียม (Lilium) มีลักษณะพิเศษคือใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา โดยเนื้อในนั้นมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และมีการนำมาปลูกในประเทศเขตร้อนทั่วไป จึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก สายพันธุ์ของว่านหางจระเข้นั้นมีมากกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ขนาดใหญ่มากไปจนถึงพันธุ์ขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร โดยว่านหางจระเข้นั้นนิยมปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรและการแพทย์ รวมไปถึงปลูกเพื่อประดับตกแต่ง

โทษของว่านหางจระเข้

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาอังกฤษ : Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. (อยู่ในวงศ์ Asphodelaceae)

ความเชื่อเกี่ยวกับว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ ถือเป็นอีกหนึ่งไม้มงคลที่มีสรรพคุณมากมาย วุ้นของว่านหางจระเข้นั้นสามารถใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ สมานแผล และกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น ซึ่งมักจะถูกนำไปใช้รักษาแผลที่เกิดจากการถูกน้ำร้อนลวกและไฟไหม้ เพื่อลดอาการอักเสบ และช่วยดูดซับสารพิษจำพวกฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง นอกจากนี้ต้นว่านหางจระเข้ก็ถือเป็นไม้มงคล โดยโบราณนั้นมีความเชื่อว่าถ้าหากปลูกว่านหางจระเข้จนออกดอก จะช่วยนำโชคลาภและเงินทองเข้ามาอีกด้วย

ควรปลูกไว้บริเวณใดของบ้าน

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชที่เหมาะกับการปลูกที่บ้านหรือคอนโด ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภายนอกในแปลงปลูกและปลูกภายในบ้าน ถ้าหากปลูกไว้ภายในบ้านควรวางกระถางของต้นว่านหางจระเข้ไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องรำไร แต่ไม่โดนแดดโดยตรง

ส่วนประกอบของต้น

ลักษณะของลำต้น

ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่อวบน้ำ มีลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 10-100 เซนติเมตร (24-39 นิ้ว) ซึ่งลำต้นนั้นเป็นส่วนที่อยู่แกนกลาง มีลักษณะเป็นข้อปล้องสั้น ๆ รูปร่างเป็นทรงกลม และสามารถแตกหน่อใหม่ออกด้านข้างได้

ใบ

ใบของว่านหางจระเข้จัดเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะไม่เหมือนกับใบไม้ทั่วไป ออกเรียงเวียนรอบต้น โดยใบนั้นจะหนาอ้วนและยาว มีสีเขียวถึงเทาเขียว ใบจะอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งบางสายพันธุ์นั้นจะมีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบอยู่ด้วย โคนใบมีขนาดใหญ่ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันสีขาวเล็ก ๆ ริมใบหยักและมีหนาม ปลายใบแหลม ภายในมีวุ้นและเมือกใสสีเขียวอ่อน ๆ

ดอก

ดอกของว่านหางจระเข้จะออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอด ก้านช่อของดอกชูตั้งตรงซึ่งมีขนาดยาวมาก สามารถสูงได้ถึง 90 เซนติเมตร โดยดอกนั้นมีลักษณะเป็นหลอดปลายแยกสีส้มแดงอมเหลืองเล็กน้อย ซึ่งจะบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน คล้ายกับดอกซ่อนกลิ่นตูม ๆ มีความยาว 2-3 เซนติเมตร (0.8-1.2 นิ้ว) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร โดยจะออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด

ผล

ผลของว่านหางจระเข้เป็นผลแห้ง รูปกระสวย ซึ่งมีลักษณะเป็นเหลี่ยมแบนสีน้ำตาล

ว่านหางจระเข้ ปลูก

สายพันธุ์อื่น ๆ

ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีมากกว่า 300 สายพันธุ์ แต่ในจำนวนนี้มีอยู่ไม่กี่ชนิดที่สามารถนำไปใช้รักษาโรคให้ผลชะงัดได้ ซึ่งได้แก่

ว่านหางจระเข้เขียวแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope)

เป็นว่านหางจระเข้สีเขียวที่มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมจากทวีปแอฟริกา สายพันธุ์นี้จะมีลักษณะเป็นใบเรียบ ๆ สีเขียวอ่อน ๆ ซึ่งใบนั้นมีขนาดใหญ่อิ่มน้ำ และมีหนามตรงขอบใบขนาดใหญ่

ว่านหางจระเข้ไบรา (Beira)

เป็นว่านหางจระเข้ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงแถบทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งใบนั้นจะมีลักษณะเป็นจุดสีขาวขนาดเล็กลายรอบ ใบเรียวยาวและมีหนามขนาดเล็กมาก ว่านหางจระเข้สายพันธุ์นี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมนำไปใช้แปรสภาพเป็นน้ำว่านหางจระเข้ และใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นเครื่องสำอาง

ว่านหางจระเข้อะโล อาบะเร็สซินส์ (Aloe Arborescens)

เป็นว่านหางจระเข้ที่มีความสูงราว 2 เมตร ต่างจากว่านหางจระเข้ทั่วไปที่ปลูกไว้ในกระถาง โดยลำต้นนั้นมีใบสีเขียวแก่ขนาดใหญ่ที่อวบอิ่มชุ่มชื้น ซึ่งมีปลูกทางตอนใต้ของไต้หวัน ชาวบ้านในแถบนี้รู้จักการนำว่านหางจระเข้ไปใช้ทำเป็นยาพื้นบ้านมาช้านานแล้ว โดยจะนำไปใช้เป็นยาทาและยารับประทาน และในปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

วิธีการปลูก

– ขั้นตอนแรกขุดหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างหลุมและแถว สำหรับแถวคู่ 60×60 เซนติเมตร และเว้นขอบแปลงไว้ 20-30 เซนติเมตร

– ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 1-2 กำมือ ลงในหลุม หรืออาจใส่ในช่วงการเตรียมแปลง

– นำต้นกล้าลงหลุมปลูก จากนั้นก็ทำการกลบดินให้แน่นพอประมาณ

– เมื่อปลูกเสร็จแล้วก็รดน้ำให้ชุ่ม

วิธีการดูแล

แสงแดด

ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร หากโดนแดดจัดจะทำให้ใบนั้นกลายเป็นสีน้ำตาลแดง ดังนั้นควรปลูกว่านหางจระเข้ไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดแบบรำไร

น้ำ

ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ต้องการน้ำหรือความชื้นอยู่ตลอดในช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งควรรดน้ำต้นว่านหางจระเข้อย่างพอเพียง จะทำให้ใบนั้นอวบใหญ่ โดยการให้น้ำอาจให้ด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสปริงเกอร์ วันละ 1-2 ครั้ง ในปริมาณที่หน้าดินชุ่ม

ดิน

ว่านหางจระเข้จะเติบโตได้ดีในที่ร่วนซุย ทั้งดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่มีหน้าดินลึก และสามารถระบายน้ำได้ดี ว่านหางจระเข้ไม่ชอบดินที่มีน้ำท่วมขัง และถ้าหากหน้าดินแน่นจะทำให้ต้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นควรหมั่นพรวนดินสม่ำเสมอ โดยให้พรวนดินอย่างน้อยทุก ๆ 2-3 เดือน

ปุ๋ย

สำหรับการใส่ปุ๋ยนั้นอาจใส่ตั้งแต่ในระยะเริ่มปลูกสำหรับปุ๋ยรองพื้น หรือเริ่มให้หลังจากการปลูกประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ในอัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ในทุก ๆ 2-3 เดือน

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชนั้นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ เพราะเกษตรกรบางรายที่ขาดการกำจัดวัชพืช จะพบวัชพืชขึ้นสูง และสำหรับการกำจัดวัชพืชนั้นควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 1-2 เดือน

ว่านหางจระเข้กินได้ไหม

ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์

– สามารถใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อการบำรุงผิว และรักษาความชุ่มชื้นของผิวได้

– สามารถใช้เป็นส่วนผสมของยาต่าง ๆ อาทิ เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาต้านเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น

– นำใบมาปอกเปลือกให้เหลือเฉพาะเนื้อวุ้น และตัดเนื้อวุ้นเป็นก้อน ๆ โดยสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการใช้ภายในและภายนอกได้

– เนื้อวุ้นที่ตัดเป็นก้อน ๆ สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ได้แก่ ว่านหางจระเข้เชื่อม น้ำว่านหางจระเข้ผสมวุ้น เป็นต้น

– ส่วนของน้ำยางสามารถใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ ยาถ่ายอย่างแรง หรือที่เรียกว่ายาดำได้

– น้ำเมือกมีสารซาโปนินที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดฟอง สามารถนำมาใช้สำหรับล้างจานชามได้ ซึ่งจะช่วยให้คราบสกปรกหลุดออกได้ดี

– สามารถนำน้ำเมือกมาใช้ทาผิวกาย ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวขาว ลดรอยมองคล้ำ เพราะว่านหางจระเข้นั้นสามารถกำจัดเซลล์ที่ตายแล้วให้หลุดออกได้ง่ายขึ้น

ว่านหางจระเข้ ลักษณะ

สรรพคุณ

– แก้ท้องผูก และเป็นยาระบาย

– ช่วยป้องกันและลดอาการเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตกได้

– ลดความดันโลหิตสูง ช่วยในการไหลเวียนเลือด และช่วยให้เส้นเลือดหดตัวหรือยืดหยุ่นได้ดี

– สามารถนำใบมาฝานเปลือก และทาแผลไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยระงับอาการแสบร้อน ลดอาการอักเสบ และรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น

– ช่วยในการบรรเทาโรคกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ และช่วยในการเคลื่อนไหวของระบบลำไส้ให้ดีขึ้น

– ช่วยป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวาน ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนในการผลิตสารอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติ

– ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด เนื่องจากสารที่อยู่ในใบว่านหางจระเข้นั้นจะออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อในระบบหายใจคลายตัว และมีการยืดหดตัวได้ดี

– สามารถรักษาและป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน เพราะว่านหางจระเข้สามารถออกฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเผาพลาญอาหารอย่างเป็นปกติได้ ซึ่งจะทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับคงที่และไม่สูงเกินไป

ราคาต่อต้นโดยประมาณ

– ต้นว่านหางจระเข้ใบใหญ่ขนาดกว้าง 5-7 เซนติเมตร และมีความยาว 30 เซนติเมตร ราคาประมาณ 30 บาท

– ต้นว่านหางจระเข้ ขนาดกระถาง 8 นิ้ว ราคาประมาณ 80 บาท

– ต้นว่านหางจระเข้ ขนาดกระถาง 10 นิ้ว ราคาประมาณ 100 บาท

– ต้นว่านหางจระเข้ ขนาดกระถาง 15 นิ้ว ราคาประมาณ 150 บาท

– ต้นว่านหางจระเข้ ขนาดกระถาง 20 นิ้ว ราคาประมาณ 200 บาท

แหล่งอ้างอิง

: http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=202

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้