การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับเกษตรกร

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นอีกวิธีหนึ่งของเทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่นอกเหนือจาก พืชไร่ พืชสวน หรือ ไม้ดอก เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถผลิตได้จำนวนมากใน 1 ครั้ง เพราะด้วยปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศมาก ทำให้การปลูกพืชบางชนิดทำด้วยความยากลำบาก และการนำต้นพืชที่ยังเป็นต้นกล้าไปเพาะในสภาพปกติก็เสี่ยงต่อการตาย และหากพืชชนิดไหนที่ใกล้สูญพันธุ์ก็จำเป็นต้องหาแนวทางที่จะสามารถลดการสูญเสียต่อการตายของพืชชนิดนั้นให้มากที่สุด

และตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับด้านเครื่องสำอางดูแลผิว หรืออาหารเสริมกำลังเป็นเทรนมาแรง และต่างต้องใช้สารสกัดจากพืชเป็นส่วนใหญ่ นั้นยิ่งทำให้การนำเทคโนโลยีการเพาะเนื้อเยื่อมาประยุกต์ใช้มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีนี้ทำให้พืชที่เราต้องการมีลักษณะเหมือนกันหมด ลดการเกิดเหตุเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่ไม่เท่ากัน และการใช้การเพาะเนื้อเยื่อยังมีความสามารถในการต้านโรคพืช แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงสักหน่อย แต่ถ้าเมื่อทดลองจนเจอสูตรอาหารที่เหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆแล้ว ก็จะสามารถผลิตพืชในจำนวนที่มาก และคุ้มค่ากับทุนที่ลงไป

นั้นทำให้ปัจจุบันเกษตรกรหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ kaset.today อยากจะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับนักอ่านทุกคน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กับประวัติความเป็นมา

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแขนงหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Haberlandt เป็นคนแรกที่ได้พยายามเอาเซลล์จากใบพืชมาเพาะเลี้ยง โดยมีแนวคิดว่าเซลล์เพียงเซลล์เดียวนี้จะสามารถพัฒนาเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ได้ แต่ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงไม่สามารถเจริญไปเป็นต้นได้ เนื่องจากเซลล์ดังกล่าวแยกมาจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวซึ่งเพาะเลี้ยงยาก และเวลานั้นยังไม่รู้จักการใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช

แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดของ Haberlandt ได้เป็นพื้นฐานให้นักวิทยาศาสตร์นุ่นต่อ ๆ มาพยายามพัฒนาเทคนิคนี้ จนกระทั้งปัจจุบันดทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายและเป็นที่สนใจของคนทั้วไป


การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกร

1. หลักการพื้นฐานสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue cultre หรือ micropropagation หรือ in vitro culture) คือ การสร้างสารต้น (clone) โดยการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ใบ ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ หรือ เซลล์ มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่ประกอบไปด้วย แร่ธาตุ น้ำตาล ไวตามิน และสารควบคุมเจริญการเติบโต และต้องเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลนทรีย์ (aseptic technique)

และต้องอยู่ในสภาวะที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ ปัจจัยเหล่านั้นคือ อุณหภูมิ แสง และความชื้น และการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนต่าง ๆ จะเกิดไปเป็น ยอด เกิดเป็นราก เกิดเป็นเอ็มบริโอ หรืออาจจะเกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า “แคลลัส” ที่สามารถชักนำไปเป็นพืชต้นใหม่ในจำนวนมากได้

เริ่มจากการฟอกชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาวางให้หลอดหรือขวดแก้วที่บรรจุอาหารสังเคราะห์ให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ ชิ้นส่วนพืชจะได้รับแร่ธาตุจากอาหารสังเคราะห์และเจริญเติบโตต่อไป โดยเลือกใช้สูตรอาหารที่เหมาะสม เช่น หากต้องการที่จะที่จะให้พืชเจริญไปเป็นส่วนของลำต้น ก็สามารถใช้ฮอร์โมนพืชกลุ่มไซโตไคนิน (Cytokinin) และถ้าต้องการให้เกิดรากอาจใช้ฮอร์โมนกลุ่มออกซิน (Auxin) หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนหลาย ๆ ชนิดรวมกัน


ขั้นตอนและอุปกรณ์สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

2. การเตรียมห้องและอุปกรณ์

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีค่อนข้างมีหลายอย่าง นั้นทำให้การจัดวางเครื่องมือมีความสำคัญและคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งาน เราสามารถแบ่งพื้นที่การทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • ห้องเตรียมอาหาร (media preparation room)

ห้องเตรียมอาหารต้องมีเนื้อที่กว้างขวางพอที่จะปฏิบัติการได้อย่างสะดวก มีโต๊ะ สำหรับปฏิบัติการ ตู้เย็นสำหรับเก็บสารละลายเข้มข้น หม้อนึ่งความดันสำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เครื่องชั่ง เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง เตาหลอมอาหาร อ่างน้ำ ตู้เก็บสารเคมีและอุปกรณ์

  • ห้องย้ายเนื้อเยื่อ (transferation or incubation room)

ห้องย้ายเนื้อเยื่อต้องสะอาดและปลอดเชื้อ ควรเป็นห้องที่สร้างอย่างมิดชิด และให้ผู้คนเข้าออกน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เครื่องมือสำคัญที่มีในห้องนี้ คือ ตู้สำหรับถ่ายเนื้อเยื่อหรือย้าย เนื้อเยื่อซึ่งเป็นตู้ที่มีอากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรองที่สามารถกรองเชื้อจุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลาทำให้ อากาศภายในบริเวณตู้เป็นอากาศบริสทุธิ์ ลดภาวะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศลงในภาชนะ

  • ห้องเลี้ยงเนื้อเยื้อ (culture room)

ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องปลอดเชื้อ อุปกรณ์ที่สำคัญในห้องนี้ได้แก่ ชั้นวางขวดเนื้อเยื่อ เครื่องเขย่า ระบบให้แสงสว่างพร้อมเครื่องปิดเปิดไฟอัตโนมัติและเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปมักจะปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องให้มีอุณหภูมิประมาณ 25 ± 2 องศาเซลเซียส แสง12 – 18 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสง 300-10,000 ลักซ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

3. การเตรียมอาหารสำหรับเพาะเนื้อเยื่อ

อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในการขยายพันธุ์พืช การพิจารณาคัดเลือกอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และจุดประสงค์การผลิต

  • ประเภทของอาหาร

อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมี 2 ประเภท

  1. อาหารแข็ง (solid medium) ใช้วุ่น (agar) ในการปรับสารละลายอาหารให้มีสภาพเป็นของแข็ง ความเข้มข้นของวุ้นที่ใช้กันแพร่หลายและได้ผลดี คือ 0.8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรอาหารทั้งหมด
  2. อาหารเหลว (liquid medium) จะใช้กับเนื้อเยื่อที่เป็นกลุ่มที่เรียกว่า แคลลัส จะจมหรือแขวนลอยอยู่บนกระดาษกรองที่จุ่มในอาหารเหลวตลอดเวลา เนื้อเยื่อที่จมอยู่ในอาหารเหลวอาจถูกคนที่ความเร็ว 100 – 160 รอบต่อนาที เพื่อช่วยในการหายใจของพืช
  • ส่วนประกอบของอาหาร

อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีหลายสูตร มักมีชื่อเรียกตามผู้คิดค้นสูตรอาหารขึ้นมา และมีการดัดแปลงสูตรอาหารให้เหมาะสมกับพืช และสูตรที่ใช้กันแพร่หลาย คือ

  1. สูตร มูราชิกิ และ สกูท (Murashigi
    and Skoog: MS) สำหรับเพาะเลี้ยงพืชทั่วไป
  2. สูตร วาซิน และ เว้นซ์ (Vacin and Went: WV) สำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้

และในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต คือ

  1. สารอนินทรีย์
  2. สารประกอบอินทรีย
  3. วิตามิน
  4. กรดอะมิโน
  5. สารควบคุมการเจริญเติบโต
  6. สารที่ได้จากธรรมชาติ
  7. ตัวทำให้สารแข็ง
  8. น้ำ
  • วิธีทำอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

คนที่ทำงานสายนี้มักจะเตรียมเป็นสารอาหารเข้มข้น (stock solution) ที่มีความเข้มข้นเป็นหลายๆ เท่า ของความเข้มข้นที่ใช้จริง โดยมากมักให้มีความเข้มข้นเป็น 100 เท่า200 เท่า หรือ1,000 เท่า ของความเข้มข้นจริงโดยรวมสารเคมีชนิดที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อกันไว้ด้วยกัน และแบ่งไปใช้ในแต่ละครั้ง

จากนั้นจึงนำสารอาหารเข้มข้นแต่ละชนิดมารวมกัน และเติมสารอื่นให้ครบ ปรับปริมาตรให้ได้ตามสูตรอาหาร แล้วปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เติมผงวุ้น (สภาพความเป็นกรด-ด่างขึ้นอยู่กับพืชที่นำมาเพาะเนื้อเยื่อ)

นำไปต้ม และบรรจุขวด นำอาหารที่เตรียมได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา15 – 20 นาที

การเพาะเนื้อเยื่อพืช

4. ขั้นตอนการเตรียมชิ้นส่วนพืช การฟอกฆ่าเชื้อ และการผ่าตัดเนื้อเยื่อ

  1. การเลือกชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเพาะเลี้ยง คือ การเลือกพืชจากอายุ และ ควรเลือกชิ้นส่วนที่เป็น ข้อปลายยอด ตายอด ตาข้าง เนื่องจากจะสามารถชักนำยอดได้จำนวนมาก
  2. เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อ คือ การนำชิ้นส่วนพืชที่เราเลือกมาฟอกโดยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงหรือบอบบางของชิ้นส่วนพืชนั้น เช่น

เนื้อเยื่อพืชที่อ่อนนิ่มและบาง ให้แช่เนื้อเยื่อพืชลงในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ความเข้มข้น 0.5เปอร์เซ็นต์หรือคลอร็อกซ์10เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา10-15 นาทีเมื่อครบกำหนดเวลาให้ล้างด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง

– สำหรับเนื้อเยื่อพืชที่ผิวนอกแข็ง เช่น ไม้เนื้อแข็ง ฝักกล้วยไม้ให้นำเนื้อเยื่อไปล้างด้วยน้ำยาซักฟอกและน้ำ แล้วจุ่มเนื้อเยื่อลงในเอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ และลนไฟ

– ส่วนเนื้อเยื่อพืชที่มีสารประเภทขี้ผึ้งหรือขนปกคลุม ให้จุ่มเนื้อเยื่อลงในเอทิลแอลกอฮอล์ 70-95 เปอร์เซ็นต์ 30 วินาที – 1 นาที แล้วจึงนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 0.5% หรือคลอร็-อกซ์10เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 10 – 15 นาทีเมื่อครบกำหนดเวลาให้ล้างด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง

3. การผ่าตัดเนื้อเยื่อพืช คือ การนำชิ้นส่วนของพืชมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามความต้องการ เป็นขั้นตอนที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อมาแล้ว การตัดชิ้นส่วนพืชใหญ่ก็จะให้โอกาสรอดให้กับการเพาะเนื้อเยื่อ และก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อจุลินทรีย์ แต่ถ้าตัดชิ้นส่วนพืชเล็กก็มีโอกาสรอดน้อย แต่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจุลินทรีย์ และขั้นตอนนี้ต้องทำในตู้ปลอดเชื้อ

ดังนั้งควรเช็ดขวดอาหารสังเคราะห์เพื่อฆ่าเชื้อด้วย เอททิลแอลกอฮอล์70 เปอร์เซ็นต์ ก่อนนำเข้าตู้ตัดเนื้อเยื่อ เมื่อจะย้ายเนื้อเยื่อที่ตัดแล้วลงขวด ให้เปิดฝาและลนไฟที่คอขวด ใช้ปากคีบที่ลนไฟฆ่าเชื้อและทิ้งให้เย็นแล้วคีบเนื้อเยื่อ ใส่ขวด ควรกดเนื้อเยื่อให้จมลงในอาหารเล็กน้อยแล้วจึงปิดฝาตามเดิม

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

5. ขั้นตอนหลักในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  1. ขั้นตอนการเตรียมต้นแม่พันธุ์ (preparative stage) คือ การเพาะเลี้ยงต้นแม่พันธุ์(stock plant) ที่ต้องการในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสะอาด เพื่อจะได้ต้นแม่พันธุ์ที่สะอาด และสมบูรณ์เต็มที่
  2. ขั้นตอนเริ่มต้น (initiation stage) คือ การนำชิ้นส่วนของพืชที่เตรียมความพร้อมในขั้นตอนการ เตรียมต้นแม่พันธุ์มาทำการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดอยู่กับผิวพืช แล้วทำการผ่าตัดเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อภายในตู้ย้ายเนื้อเยื่อ เลี้ยงบนอาหารวิทยาศาสตร์ที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว จนได้ต้นพืชที่ต้องการ
  3. ขั้นตอนการเพิ่มปริมาณ (multiplication) ขั้นตอนการเพิ่มปริมาณ ทำเมื่อเนื้อเยื่อพืชในขั้นตอนที่ 2 โตพอสมควรแล้ว จะทำการเพิ่มปริมาณโดยการตัดแบ่งเนื้อเยื่อของพืชออกเป็นชิ้น และแยกไปเลี้ยงในอาหารใหม่ เรียกว่าการตัดแบ่ง (sub cultures) ทำการตัดแบ่งไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะได้ปริมาณที่ต้องการ
  4. ขั้นตอนการชักนำให้เกิดราก (root induction) ต้นกล้ามีปริมาณตามจ านวนที่ต้องการแล้วจะท าการชักน าให้ออกราก และเลี้ยงจนเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์
  5. ขั้นตอนการเตรียมออกขวดและการย้ายออกปลูก (acclimatization) ต้นกล้าในขวดที่ย้ายออกสู่สภาพภายนอกขวด มักมีเปอร์เซ็นต์รอด ตาย เพราะถูกเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ และถูกเลี้ยงในสภาพที่แสงและอุณหภูมิค่อนข้างต่ำกว่าสภาพภายนอกมาก ดังนั้นก่อนการการย้ายออกนอกขวดเพาะ จึงต้องมีการเพิ่มความเข้มแสง ปรับอุณหภูมิ พอต้นกล้ามีความพร้อมแล้วก็ทำการย้ายออกนอกขวดนำไปเลี้ยงในโรงเรือนต่อไปตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกาแฟโรบัสตา

6. การดูแลเนื้อเยื่อระหว่างการเลี้ยงในขวด

ความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ถ้าพบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์เจริญขึ้นมาปะปนจะในขวดเพาะต้องรีบเอาออกไปต้มฆ่าเชื้อและล้างทันทีเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจแพร่และฟุ้งกระจายอยู่ภายในห้องและควรเปลี่ยนอาหารสังเคราะห์ใหม่ (subculture) ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

7. การย้ายพืชออกจากขวด

ควรใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของทรายผสมขุยมะพร้าว หรือทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 ส าหรับเลี้ยงต้นกล้าในระยะแรก โดยใช้ปากคีบนำต้นออกจากขวดอย่างระมัดระวังอย่าให้รากขาดหรือเสียหาย แล้วล้างเศษวุ้นที่ติดอยู่ที่บริเวณรากออกให้หมดเพื่อไม่ให้เป็น อาหารของจุลินทรีย์ และเอาส่วนรากไปจุ่มด้วยยากันรา ช่วงแรกต้องควบคุมเรื่อง อุณหภูมิ แสง ความชื้น ไปก่อน แล้วพอต้นเริ่มโตขึ้นก็ย้านไปปลูกในสภาพอากาศปกติ


ประโยชน์ พร้อมข้อดี และ ข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

8. ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  1. สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก สามารถผลิตพืชได้ตลอดปี ซึ่งพืชจะมีลักษณะเดิมทุกอย่าง พืชเศรษฐกิจสามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าการขยายพันธุ์แบบปกติ เช่น กล้วยไม้ หน้าวัว หน่อไม้ผรั่ง
  2. การผลิตต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค เพราะพืชหลายตัวมีเชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่ในท่อลำเลียง แต่การเพาะเนื้อเยื่อจะทำให้ไม่มีไวรัสแฝงภายใน มีพืชหลายชนิดที่ใช้เทคนิคนี้ได้สำเร็จ เช่น สตรอเบอรรี่ ขิง
  3. การผลิตสารสำคัญ พืชหลายชนิดสามารถผลิตสารสำคัญได้ ซึ่งเอาไปทำเป็นยา และการนำมาเพาะเนื้อเยื่อจะทำให้ได้เซลล์พืชที่สามารถผลิตสารสำคัญได้เป็นจำนวนมาก
  4. การอนุรักษ์พันธุกรรมและการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถบังคับการเจริญเติบโตของพืชได้ นั้นทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชไว้ได้นาน
  5. การปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น การสร้างพืชโครโมโซมชุดเดียว การรวมเซลล์พืช (Protoplast Fusion) และ พันธุวิศวกรรมของพืช

9. ข้อดีและข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  • ข้อดี
  1. สามารถเพิ่มปริมาณพันธุ์พืชได้รวดเร็ว
  2. ต้นกล้ามีลักษณะสม่ำเสมอ
  3. ต้นพืชที่ได้ปราศจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  4. ผลิตต้นกล้าได้ทั้งปี โดยไม่ต้องคิดถึงสภาพดิน อากาศ เพาะปลูกได้ทุกฤดูกาล ทำให้เกษตรกรทำได้ตลอดปี
  5. ช่วยขยายพันธุ์พืชในพื้นที่ ที่ขยายพันธุ์เองได้ยาก
  6. สามารถใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกสานพันธุ์ที่ทนทาน
  7. ใช้ศึกษาทางชีวเคมี สรีรวิทยาและพันธุศาสตร์
  8. ใช้เพื่อเก็บรักษาและรวบรวมพันธุ์พืช
  9. เพื่อเมล็ดเทียมหรือเมล็ดสังเคราะห์ (artificial seed หรือ syntheticseed) เมล็ดเทียมเป็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดเพื่อเลียนแบบเมล็ดพืชที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศตามธรรมชาติเมล็ดเทียมอาศัยหลักการห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของพืชด้วยวัสดุที่เหมาะสมแก่พืชในการเจริญเติบโต
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ข้อเสีย
  1. มีขั้นตอนและวิธีการที่ยุ่งยาก
  2. ต้นทุนสูงกว่าการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอื่น
  3. เสี่ยงต่อความเสียหายจากศัตรูพืชเนื่องจากพืชต้นใหม่ที่ได้มีจำนวนมากและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน ทำให้การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชเกิดได้ง่าย
  4. การแปรปรวนทางพันธุกรรม (somatic variation) อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ซึ่งมีธาตุอาหารและฮอร์โมนอยู่สูง ต้นพืชอาจมีการแปรปรวนทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ (บุญหงษ์ จงคิด, 2548, หน้า 125) แต่บางคราวการแปรปรวนกลับให้ผลดีทางด้านพันธุ์แปลกใหม่ เกิดการกลายพันธุ์ของไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้แคระ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แหล่งที่มา :
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Plant Tissue Culture)

คู่มือการเพาะเลี้ยงเนื้อ ขั้นตอน และวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพร้อมเทคนิคในแต่ละขั้นตอน

ความรู้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้