แก้วสารพัดนึกหรือต้นแก้วหน้าม้า ไม้มงคล ฟอกอากาศได้ดี

เเก้วสารพัดนึก ภาษาอังกฤษ Alocasia Polly

เเก้วสารพัดนึก ชื่อวิทยาศาสตร์ Alocasia sanderiana Bull.

ชื่อวงศ์ ARACEAE

ชื่ออื่น ๆ ต้นแก้วสารพัดนึก,ว่านสารพัดนึก

ต้นแก้วสารพัดนึก เป็นพืชล้มลุกประเภทเดียวกับบอน นอกจากเรียกว่าแก้วสารพัดนึกแล้วยังเรียกว่าต้นแก้วหน้าม้า หรือว่านแก้วหน้าม้า มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้  โดยทั่วไปมีอายุหลายปี ตามความเชื่อไม้มงคลชนิดนี้ ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าแก้วสารพัดนึกออกดอก จะหมายถึงสิ่งที่คิดหวังนั้นจะเป็นจริง รวมทั้งยังเชื่อว่าช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ สิ่งอัปมงคลนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ นิยมเลี้ยงไว้ในห้องนอนการปลูกก็นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง แก้วสารพัดนึกชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มชอบแสงสว่างแต่ไม่ชอบแสงแดด

ต้นแก้วสารพัดนึกตัวเมีย
www.bloggang.com

ความเชื่อเกี่ยวกับต้นแก้วสารพัดนึก

มีหลากหลายความเชื่อที่เกี่ยวกับต้นแก้วสารพัดนึก แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นการเสริมสิริมงคลในด้านโชคลาภและเมตตามหานิยม ช่วยให้สมความปรารถนาตามความหวังสมดังชื่อเรียกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันและปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายไม่ให้กล้ำกลายเข้ามาในชีวิตได้ แต่จะต้องบำรุงรดน้ำพรวนดินให้ต้นสมบูรณ์สวยงามอยู่เสมอ สำหรับคนที่กำลังคิดทำสิ่งใดและอยากให้เรื่องนั้นสำเร็จอย่างราบรื่น ก็มีการว่าคาถาเพื่ออธิษฐานกับต้นแก้วสารพัดนึกในประเด็นที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษได้ด้วย

ตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การปลูกภายในบริเวณบ้าน

เนื่องจากแก้วสารพัดนึกเป็นไม้มงคลในกลุ่มเสริมบารมีและเมตตามหานิยม ตำแหน่งที่ควรปลูกในบริเวณบ้านจึงเป็นทิศตะวันออกหรือทิศเหนือของตัวบ้านเท่านั้น หากตั้งกระถางไว้ภายในก็ให้ยึดเอาทิศของมุมห้องเป็นสำคัญ วันนำต้นกล้าลงดินก็เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะการปลูกในวันข้างขึ้นจะช่วยให้ต้นแก้วสารพัดนึกให้คุณได้ดีกว่า ยิ่งถ้าเป็นวันขึ้น 15 ค่ำด้วยก็ยิ่งดี

ลักษณะของต้นแก้วสารพัดนึก

  • ลักษณะของลำต้น มีเหง้าและระบบรากอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่พ้นดินจะเป็นกาบใบที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ โคนล่างสุดเป็นสีน้ำตาลจากกาบใบที่เหี่ยวแห้งแล้ว ถัดขึ้นมาจึงเป็นก้านใบสีเขียวสด ลำต้นจะไม่ยืดสูงขึ้นแต่แตกกอออกด้านข้างแทน
  • ใบ กรอบใบคล้ายรูปทรงหัวใจที่มีค่อนข้างยาว ช่วงโคนที่เชื่อมกับก้านใบจะเว้าเป็นร่องลึก ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเว้าหยักเป็นเส้นคลื่น เนื้อใบหนาสีเขียวเข้ม ผิวเป็นมันเงา ทั้งเส้นกลางใบ เส้นแขนง และเส้นกรอบนอกเป็นสีขาวหรือไม่ก็เขียวอ่อน
  • ดอก ก้านดอกเป็นสีเขียวเข้ม ตั้งช่อตรงขึ้นกลางกอ มีกระเปาะทรงอ้วนป้อมก่อนจะขึ้นเป็นตัวดอก แกนกลางดอกเป็นสีขาวนวลทรงกระบอกเรียวยาว และมีกาบเดี่ยวสีเขียวอ่อนโอบด้านนอกไว้ กาบนั้นเนื้อบางทรงยาวรีและมีปลายเล็กแหลม
ดอกแก้วสารพัดนึก

สายพันธุ์

  1. Alocasia cucullata Leur Schott มีชื่อเรียกว่า “ว่านนางกวัก” จัดเป็นไม้เก่าแก่ที่นิยมปลูกกันเป็นว่านมหาโชค ทั้งชาวไทยและชาวจีน มีใบกลมรีรูปหัวใจ สีเขียวสดเป็นมัน ก้านใบยาว ทรงพุ่มแน่น ต้นสูงประมาณ 1 ฟุตขึ้นไป ถิ่นกำเนิด อินเดีย พม่า จีนใต้ มีปลูกในไทยและมาเลเซียมานานแล้ว
  2. Alocasia cuprea Koch ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สีบรอนซ์คล้ายโลหะ ลักษณะเป็นร่องโค้งตามเส้นใบ ซึ่งมีสีม่วงอมดำ ใบแข็งหนา จะ compact มากเมื่อเป็น Fhybrids ใต้ใบสีม่วงพบ ที่เกาะบอร์เนียว ก้านใบ : 1 ฟุต
  3. Alocasia indica var metallica Schott (กระดาษดำ) ใบใหญ่ สีม่วงอมไทาเงิน ไม่ทนโรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย สูง 5 ฟุต ก้านใบสีม่วง ตัวใบขนาด 17×6 นิ้ว ถิ่นกำเนิด ชวา
  4. Alocasia longiloba Mig ใบมีสีเขียวตามเส้นใบ ส่วนตัวใบมีสีเทาเงิน เจริญเติบโตดี พบที่เกาะชวา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคใต้ของไทย ต้นสูงถึง 3 ฟุต 1
  5. Alocasia indica (Roxb) Schott ก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 2 ฟุต ตัวใบขนาด 12×6 นิ้ว พบที่ อินเดีย -ไมโครนีเซีย
  6. Alocasia lowii Hook ต้นสูง 2 ฟุต ใบมีสีเขียวอมดำ ประดับด้วยเส้นใบสีเงิน ใต้ใบมีสีม่วง ก้านใบสีชมพู นับเป็นชนิดที่สวยงามมากที่สุด พบที่เกาะบอร์เนียว
  7. Alocasia macrorhiza Schott (กระดาษ) มีขนาดใหญ่สูงถึง 4 ฟุต ใบใหญ่หยิกเป็นคลื่น ก้านใบมีสีเขียวนวล นิยมปลูกตามลานสนามหน้าบ้าน พบทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีชนิด Var. variegata Hort กระดาษด้างลายขาว ปลูกกันทั่วไป เป็นไม้ด่างที่สวยงามต้นหนึ่ง ที่ผู้คนละเลยมองข้ามไปจนไม่แพร่หลายในปัจจุบัน
  8. Alocasia (Schizocasia) portei Becc มีขนาดต้นใหญ่ ถึง 8 ฟุต ใบอาจยาวถึง 4 ฟุตก็มี ใบสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ลำต้นสูงเห็นเด่นชัด เหนือดิน แตกหน่อที่โคน ในอินโดนีเซีย (เกาะชวา) มีมาก
  9. Alocasia putzeii N.E.Br. ใบสีเขียวคล้ำ เส้นใบขาว พบมากที่เกาะสุมาตรา ต้นสูง 3 ฟุต
  10. Alocasia villeneuvii Lind and Rodig. ตัวใบสีเขียวอ่อน ประกอบด้วยรอยสีจางกว่า และมีจุดแดง ก้านใบมีจุดสีน้ำตาล ยาว 12-20 นิ้ว
  11. Alocasia sandiriana Bull ต้นสูง 2 ฟุตครึ่ง ใบยาวขอบหยัก ย่นเป็นริ้ว คล้ายกริช สีเขียวเข้มอมเทา ขอบใบและเส้นใบสีขาว พบในประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแม่ไม้ที่ใช้ผสมดีต้นหนึ่ง
  12. Alocasia thibautiana Mast เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ ใบยาว 2 ฟุต กว้าง สีเขียวมะกอก มีเส้นใบสีเงินปนเทา สีม่วงใต้ใบ พบที่เกาะบอร์เนียว
  13. Alocasia korthalsii Schott ใบคล้าย Alocasia sandiriana ก้านใบยาว 12 นิ้ว ขอบใบหยัก ก้านใบสีเขียว พบที่เกาะบอร์เนียว
  14. Alocasia veitchii Schott ใบกลมรี ค่อนข้างแคบ สีเขียวเข้ม เส้นใบและเส้นร่างแหสีเทาเงินปรากฏทั่วไป พบที่เกาะชวา, อินโดนีเซีย
  15. Alocasia odora (Roxb) C. Koch ก้านใบเขียว ยาว 3 ฟุต ตัวใบขนาด 3 x 2.5 ฟุต พบที่ฟิลิปปินส์และเอเซียตอนใต้
  16. Alocasia watsoniana Hort เป็นชนิดที่มีความงามมากที่สุด ใบกว้างกลมรี ปลายแหลม ใบหยักย่น เป็นคลื่น กว้าง 2.5 ฟุต ยาว 3.5 ฟุต ตัวใบสีเขียวปนดำ ประดับด้วยเส้นสีเทา ดูคล้ายทำจากโลหะ ใต้ใบสีม่วงเข้ม พนที่เกาะสุมาตรา, อินโดนีเซีย
  17. Alocasia wavriniana Mast ใบแคบตั้งตรง ใบคอดสีเขียวมะกอก ใต้ใบม่วง พบที่เกาะซิลิเบส
  18. Alocasia regina (N.E.Br.) ตัวใบสีเขียวเป็นมัน ใต้ใบแดงเลือดหมู ตัวใบขนาด 11 x 8.5 นิ้ว ก้านใบยาว 10 นิ้ว พบที่เกาะบอร์เนียว
  19. Alocasia zebrina (Koch + Veitch) ใบสีเขียวมะกอก ทรงสามเหลี่ยม ก้านใบมีลายสีน้ำตาลเข้มสลับขาว ยาว 14-18 นิ้ว มีผู้สั่งเข้ามาเลี้ยงเมื่อ 2520 นี่เอง แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ต้องการที่ร่มและความชื้นสูงจัด ถิ่นกำเนิดฟิลิปปินส์

วิธีการปลูก

ใช้ดินร่วนระบายน้ำได้ดี 3 ส่วน ใบก้ามปู 2 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน ส่วนการรดน้ำต้นแก้วสารพัดนึกนั้นชอบความชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ทุกๆ 1-2 เดือน หมั่นพรวนดินให้ดินร่วนซุยเพื่อให้มีช่องอากาศพาน้ำและสารอาหารซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น

วิธีการขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์นำไข่รอบๆ จากรากที่แทงออกมาจากโคนต้นมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับการปลูกนั้นนิยมใช้ดินร่วนระบายน้ำได้ดี 3 ส่วน ใบก้ามปู 2 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน ส่วนการรดน้ำต้นแก้วสารพัดนึกนั้นชอบความชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ทุก ๆ 1-2 เดือน หมั่นพรวนดินให้ดินร่วนซุยเพื่อให้มีช่องอากาศพาน้ำและสารอาหารซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น

แก้วสารพัดนึกโบราณ
farmssb.com

การดูแลรักษา

การปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก และการดูแลรักษาต้นว่านแก้วสารพัดนึกนี้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากว่าเป็น ต้นไม้ ที่ปลูกในที่ร่ม ไม่ชอบโดนแดด หรืออยู่ในที่ร้อนจัดโดยการปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก อาจจะปลูกในบ้านก็ได้ ทำให้ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อยากปลูกแต่ไม่มีพื้นที่โดยรอบบ้าน การปลูกต้นว่านแก้วสารพัดนึก จะต้องมีการดูแลรักษา โดยการรดน้ำก็ควรรดน้ำให้ชุ่ม เพราะเป็นต้นไม้ประเภทบอนที่อุ้มน้ำ จึงชอบน้ำเป็นพิเศษ หากว่าปลูกดี หมั่นดูแลอย่างดี ก็จะได้ต้นใหญ่สวยงาม และแตกกอขยายใหญ่ๆ เมื่อนำไปขายก็สามารขายได้หลักพันบาทต่อหนึ่งต้น ต้นแก้วสารพัดนึกดูแลไม่ยุ่งยาก เป็นต้นที่ชอบความชื้น ให้รดน้ำ 2 – 3 วันสักครั้ง พรวนดินเดือนละหน ที่สำคัญให้ตั้งไว้ในห้องที่แสงสว่างเข้าถึง หรือมุมแดดรำไร เพราะน้องไม่ชอบแดดจัดๆ นั่นเอง

แก้วสารพัดนึก เป็นต้นไม้ฟอกอากาศ ที่มีชื่อเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับเจ้าของบ้านและสมาชิกในครอบครัว สารพัดนึก คิดหวังอะไร ได้สมดังที่หวังที่ตั้งใจ ซึ่งมีหลายเรทราคา ตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึง 20,000 กว่าบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งหากใบยิ่งใหญ่ ราคาจะยิ่งแพงขึ้นด้วยเช่นกัน และปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย

การปลูกแก้วสารพัดนึก
www.1000maidee.com

คุณประโยชน์ที่ได้จากต้นแก้วสารพัดนึก

นับเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ไม้ใบที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากรูปร่างใบค่อนข้างแปลกตา และปลูกในร่มได้ดีแม้แต่ในห้องนอน มีคุณสมบัติเป็นไม้ฟอกอากาศขนาดกลาง ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มากขึ้น พร้อมกับดูดซับสารพิษบางชนิดที่ปะปนอยู่ในอากาศได้ หากต้องการลดกลิ่นอับชื้นหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่เกิดจากการใช้งานพื้นที่ ก็สามารถปลูกไม้ชนิดนี้เพื่อช่วยดูดซับกลิ่นได้เช่นกัน

ต้นแก้วสารพัดนึกแต่ละต้นมีการแยกเพศชัดเจน

ในบรรดาต้นแก้วสารพัดนึกที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด จะมีทั้งแบบที่เป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย ซึ่งมีวิธีการเพาะเลี้ยง อัตราการเติบโต และการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย การสังเกตเพื่อเลือกเพศจึงค่อนข้างสำคัญ​ เพราะจะช่วยให้เราได้พันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ โดยจุดที่เราต้องพิจารณาก็คือส่วนใบ ต้นเพศผู้จะมีใบใหญ่ หน้าใบกว้าง สีเข้มชัดเสมอกันทั้งใบ และขอบใบหยักเป็นเส้นคลื่นชัดเจน ขณะที่ต้นเพศเมียจะมีหน้าใบแคบกว่า ใบเป็นทรงเรียวยาวและมีขอบใบเรียบ หากวางเทียบกันก็จะเห็นว่าเนื้อใบมีสีที่อ่อนกว่าต้นเพศผู้ด้วย

ประโยชน์ต้นแก้วสารพัดนึก
somchoon.com

แหล่งที่มา

https://kukr2.lib.ku.ac.th

https://www.sac.or.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้