ต้นตะเคียนหรือต้นตะเคียนทอง ไม้ศักดิ์สิทธิ์ ลำต้นขนาดใหญ่ มีราคาสูง

ชื่อภาษาอังกฤษ

Iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian, Malabar iron wood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Hopea odorata Roxb

ความหมาย

ตะเคียน คือ ต้นไม้ผลัดใบที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูง และเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

ความเชื่อ

ต้นตะเคียนเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านหรือคนไทยสมัยก่อนนิยมสักการบูชา เพื่อขอโชคลาภ โดยเฉพาะเรื่องของการเสี่ยงโชค

ตะเคียนหรือตะเคียนทอง   

หากพูดถึงต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ โดยเฉพาะเรื่องการขอการโชคลาภต่างๆ ต้นตะเคียนหรือตะเคียนทองเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่คนโบราณเชื่อว่าจะให้โชค สำหรับคนที่สักการบูชา โดยเฉพาะเรื่องการเสี่ยงโชค เสี่ยงดวงจะช่วยให้สมหวังได้ดังใจปรารถนา นอกจากต้นตะเคียนจะเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญในด้านความเชื่อของคนโบราณแล้วไม้ตะเคียนยังเป็นไม้ที่นิยมนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

ข้อมูลทั่วไปของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง 

  • มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Hopea odorata Roxb
  • ตะเคียนทองหรือตะเคียน ภาษาอังกฤษหรือชื่อสามัญคือ Iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian, Malabar iron wood
  • จัดอยู่ในวงศ์ของ “DIPTEROCARPACEAE”

ลักษณะของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง

ต้น

ตะเคียน จัดเป็นต้นไม้ผลัดใบที่มีขนาดใหญ่ลำต้นตรงสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่ม กลม ทึบ บางครั้งอาจเป็นรูปทรงเจดีย์ต่ำ เปลือกบริเวณลำต้น มีสีน้ำตาลดำและหนาแตกออกเป็นสะเก็ด แก่นไม้ตะเคียนมีสีน้ำตาลแดง ส่วนเนื้อไม้จะมีสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลืองมักมีเส้นสีขาวหรือเส้นสีเทาขาวผ่านเสมอ ไม้ตะเคียนเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานและเหนียว

ใบ

ต้นตะเคียน คือ

 

https://medthai.com

ตะเคียน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะเป็นรูปไข่หรือรูปหอกแหลม โคนใบมน ปลายใบเรียว โดยใบมีขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาว 10-15 เซนติเมตร แม้ผิวใบจะบาง แต่เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ขอบใบมีตุ่มหูดอยู่ตามง่ามแขนง ใบมีแขนงประมาณ 9-13 คู่  ส่วนหลังใบจะเกลี้ยง

 ดอก

ต้นตะเคียน ความเชื่อ

ต้นตะเคียนจะออกดอกเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนง ซึ่งจะออกที่บริเวณง่ามใบหรือบริเวณปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 40-50 ดอก โดยช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอม อีกทั้งยังมีขนที่นุ่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ หากดอกบานเต็มที่ กลีบดอกจะบิดเป็นกงจักร ดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน อับเรณูยอดแหลม ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่เหนือวงกลีบ ลักษณะเล็ก ซึ่งมีความยาวเท่ากับรังไข่ ต้นตะเคียนจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แต่จะไม่ออกดอกทุกปีเสมอไป

ผล

ต้นตะเคียน ออกดอก

 

https://medthai.com

ผลของต้นตะเคียนทอง จะมีลักษณะเป็นผลแห้ง มีสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกจะมีสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของผลเป็นลูกไข่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว 1 คู่ และมีปีกสั้นอีก 3 ปีกซ้อนกัน โดยปีกจะซ้อนกันอยู่แต่จะหุ้นส่วนกลางผลไม่มิด ใน 1 ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลมมีสีน้ำตาล 

ประโยชน์ของของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง

  • ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทนต่อปลวกหรือแมลงต่างๆ ได้ดี หากนำมาเลื่อย ใส่กบหรือตกแต่ง ชักเงาให้สวยงามสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนใช้ทำเครื่องเรือนต่างๆ ได้
  • ใบและต้นของตะเคียน มีสารแทนนินเป็นส่วนประกอบ สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังหรือช่วยทำให้แผ่นหนังมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นกว่าเดิม
  • ตะเคียนเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ มีสรรพคุณทางด้านยาสมุนไพรสามารถรักษาโรคได้หลายอาการ 

สรรพคุณของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง

  • แก่นไม้ สามารถนำมาใช้เป็นยาช่วยขับเสมหะ
  • เปลือกและเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้เป็นยาช่วยห้ามเลือด และแก้อาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้
  • เปลือกและเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะช่วยฆ่าเชื้อโรค
  • เมื่อนำเปลือกมาต้มผสมเกลือจะช่วยป้องกันฟันผุ และช่วยรักษาแผลในช่องปาก
  • เปลือก สามารถช่วยห้ามเลือดได้
  • ยางของต้นตะเคียน ใช้ในการรักษาบาดแผล โดยเฉพาะแผลพุพองเกี่ยวกับไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
  • ยางของต้นตะเคียนใช้รักษาอาการฟกช้ำตามร่างกาย

ต้นตะเคียน หรือตะเคียนทองสามารถพบเจอได้มาก ในทางตอนใต้หรือภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย นอกจากนั้น ยังรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของเรา ได้แก่ ประเทศลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชาและมาเลเซีย เป็นต้น โดยต้นตะเคียนเป็นไม้ที่ขึ้นในป่าดงดิบและกระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบ หรือใกล้ฝั่งแม่น้ำที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 ถึง 800 เมตร

ไม้ตะเคียน เนื้อไม้

การขยายพันธุ์และการปลูกของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง

ต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง นิยมการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด  สำหรับวิธีการปลูกต้นตะเคียนก็เหมือนกับการปลูกไม้ป่าชนิดทั่วไป ซึ่งกล้าที่จะย้ายลงมาปลูกในแปลงดินได้นั้นจะต้องมีความแข็งแรง โดยกล้าควรได้รับแสงเต็มที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นให้ย้ายไปปลูกลงแปลงดินได้ แนะนำให้ปลูกหลังจากฝนตก เทคนิคคือ นำกล้าตะเคียนทองจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้รากดูดซับน้ำจนอิ่มตัว จึงแกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มรากไว้ออก ก่อนนำลงหลุมปลูก วิธีนี้จะช่วยให้กล้าตะเคียนมีโอกาสรอดตายได้สูง ในกรณีที่ฝนเกิดการทิ้งช่วง ระยะการปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 4 เมตร เพราะจะทำให้ไม้โตเร็วยิ่งขึ้น

การบำรุงรักษาต้นตะเคียนหรือตะเคียนทอง

สำหรับการปลูกในระยะแรก จะต้องบำรุงรักษาหรือให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรเน้นปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนและฟอสฟอรัส สำหรับการกำจัดโรคหรือแมลง แนะนำให้ใช้ยาเคมีเซฟวิน หรือ ทามารอน 50% อีซี ทำการฉีดพ่น และทำการถางวัชพืชบริเวณรอบแปลงให้โล่งเตียนจะช่วยทำลายที่อยู่อาศัยของตัวด้วง

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกดิน ควรเป็นดินร่วนปนดินทรายหรือดินเหนียวปนทราย ส่วนความชื้นตะเคียนทองเป็นต้นไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นปานกลางจนถึงมาก สำหรับแสงนั้น ต้นตะเคียนทองค่อนข้างชอบแสงมากจึงเหมาะสมแก่การปลูกในประเทศไทย เทคนิคอีกอย่างหนึ่งในการปลูกต้นตะเคียน ควรปลูกร่วมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่ว ด้วยระยะการปลูกที่เหมาะสม ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นคือ 4×4 เมตร จะทำให้ต้นตะเคียนสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีอัตราการตายต่ำ

แม้ว่าต้นตะเคียนทองจะเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้า แต่ตะเคียนทองก็จัดเป็น 1 ใน 5 ของชนิดไม้ ที่มีราคาแพงที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย พยุง ประดู่ป่า ชิงชัน สักทอง และตะเคียนทองหากไม้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตรขึ้นไปและมีความยาว 2 เมตร ไม้ตะเคียนทอง อาจมีราคาสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว

ต้นตะเคียนทอง ราคา

ต้นตะเคียนหรือตะเคียนทองกับความเชื่อของคนไทย

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าต้นตะเคียนเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านหรือคนไทยสมัยก่อนนิยมสักการบูชา เพื่อขอโชคลาภ โดยเฉพาะเรื่องของการเสี่ยงโชค คนโบราณมีความเชื่อว่ามีภูตผีสิงอยู่ในไม้ตะเคียนหรือเรียกว่า “นางตะเคียน” แต่บางคนก็มีความเชื่อว่าเจ้าแม่ตะเคียนคือ ผู้ที่บำเพ็ญเพียรมายาวนาน และจะให้โชคกับคนที่สักการบูชา ในทางตรงกันข้าม หากผู้ใดลบหลู่ก็อาจมีอันเป็นไปทำให้ชีวิตพบเจอสิ่งไม่ดีหรือมีภัยอันตรายได้ หากมีการตัดไม้ตะเคียน ชาวบ้านจะต้องมีการขออนุญาตหรือทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่นางตะเคียนก่อน เนื่องจากเจ้าแม่ตะเคียนมีความดุร้าย ถ้าหากใครคิดลุกลามหรือนำไปแปรสภาพ อาจทำให้เจ้าแม่โกรธและส่งผลร้ายต่อผู้ตัดได้

ทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวที่น่าสนใจ ลักษณะของต้นตะเคียน ประโยชน์ การปลูก เทคนิคต่างๆ ในการปลูก รวมถึงการดูแลรักษา และเรื่องราวความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับต้นตะเคียน หรือตะเคียนทอง ข้อมูลต่างๆ ของต้นตะเคียนหรือตะเคียนทองเหล่านี้ หวังว่าจะมีประโยชนต่อทุกคน ที่กำลังศึกษา หรือให้ความสนใจกับต้นไม้ชนิดนี้ ต้นไม้ที่ส่งผลในด้านความเชื่อของคนไทยเป็นอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน เมื่อมีคนเชื่อ ก็ต้องมีคนไม่เชื่อปะปนกันไป ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามตะเคียนทองจัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีราคาสูง เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังมีรวดลายที่สวยงาม จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในเรื่องของการก่อสร้าง การทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เพื่อตกแต่งที่อยู่อาศัยให้ดูสวยงาม และทำให้สิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้น แข็งแรงทนทานมีอายุการใช้งานได้เป็นหลายๆ สิบปีเลยทีเดียว

  ไม้ตะเคียน

ไม้ตะเคียน เป็นไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ

ไม้ตะเคียน เป็นไม้เด่นของป่าดิบชื้น ชอบแสงแดด ลักษณะของเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียด ไม้แข็ง เหนียว ทนทาน และเด้งตัวได้มาก เนื้อไม้ตะเคียนนั้นอาจมีตำหนิ เรียกว่า รูมอด ซึ่งมีลักษณะเป็นรูเล็กๆ อยู่ในเนื้อไม้ ซึ่งเป็นลักษณะตามธรรมชาติของไม้ชนิดนี้ แต่ไม่มีผลต่อความแข็งแรงของไม้แต่อย่างใด รูมอดพวกนี้สามารถใช้กาวร้อนผสมขี้เลื่อยอุดรูได้ หรือ กระบวนการแปรรูปต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของไม้ตะเคียนให้มีมูลค่าและคุณภาพของไม้ต่อการใช้งานทุกรูปแบบ โดยศึกษาต่อจากย่อหน้าถัดไปในส่วนของการนำไปใช้ประโยชน์นั้นเอง

  ไม้ตะเคียน

ไม้ตะเคียนแปรรูป

ไม้ตะเคียนจัดเป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานกรมป่าไม้ มีหลายชนิดทั้ง ตะเคียนทอง ตะเคียนลาว ตะเคียนหย่อง ตะเคียนหิน โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเล็กน้อย
มีความโดดเด่นด้านความทนทาน เนื้อละเอียด ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งหรือชักเงาได้ดีมาก นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ไม้พื้น ไม้ฝา เสา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่างๆ พานท้ายรถและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เสาโป๊ะ ทำหมอนรางรถไฟ เป็นต้น ไม้ตะเคียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง สามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก โดยผ่านการทดสอบค่าความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กก./ซมได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่แน่ชัดอย่างเดียวกันว่าไม้ตะเคียนอยู่ในกลุ่มไม้เนื้อแข็งซึ่งกรมป่าไม้ได้เห็นชอบในเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง

ไม้เก่า

ไม้ตะเคียนประเภทและขนาดที่จำหน่าย

ไม้พื้น เป็นส่วนสำคัญภายในบ้านที่เราต้องสัมผัส เราก็ต้องเลือกให้เหมาะกับบ้านด้วยลายไม้ธรรมชาติ ให้ความอบอุ่น สร้างสรรค์ ด้วยไม้ตะเคียนที่เป็นไม้เนื้อแข็งทาทานต่อรอยขูดขีด ปลวก และการผุพัง มีอัตราการยืดหดตัวต่ำ เหมาะกับการนำมาทำไม้พื้น โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายไม้พื้นขนาดมาตรฐาน 2 นิ้ว 1.5นิ้ว และ 1 นิ้ว

ไม้ฝา เป็นส่วนที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ เพราะช่วยป้องกันแดด กันฝน กันลม สร้างความสวยงามให้กับบ้านของเรา ด้วยไม้ตะเคียนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ทนต่อปลวกแมลงต่างๆและในสภาพอากาศที่มีความชื้น เหมาะกับการนำมาทำไม้ฝา โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายไม้ฝาขนาดมาตรฐาน 2 นิ้ว 1.5 นิ้ว และ 1 นิ้ว

เสา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแรง รับน้ำหนักต่างๆตามการออกแบบและใช้งานทั่วไป ในส่วนของเสาเป็นส่วนที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งไม้พะยอมมีคุณสมบัติที่จะนำมาใช้งานได้ และยังให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับไม้ชนิดอื่นๆ โดยที่ทางร้านมีจำหน่ายเสาไม้ขนาดมาตรฐาน 4 นิ้ว 5 นิ้ว และ 6 นิ้วสินค้าที่ทางร้านของเราจำหน่ายมีหลายเกรดหลายขนาดพร้อมบริการลูกค้าทุกท่าน ถ้าหากท่านใดมีไม้ตะเคียนสามารถติดต่อเข้ามาได้ ทางเรามีบริการทั้งขายไม้ตะเคียนและรับซื้อไม้ตะเคียน

ที่มา

https://medthai.com

ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้

https://twomenwood.com/ชนิด-ของ-ไม้/เนื้อแข็ง

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ