ถ้าใครที่ยังไม่รู้จักต้นทองหลาง วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับต้นไม้ชนิดนี้ให้มากขึ้น นอกจากชื่อต้นทองหลางแล้วยังมีชื่ออื่นๆ เช่น ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย, ปาริชาติ, ประวาลพฤกษ์ เป็นต้น
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นทองหลาง
ต้นทองหลางเป็นต้นไม้มงคลที่ชาวไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพราะเชื่อว่าถ้าบ้านไหนที่มีต้นทองหลางจะมีแต่ความร่ำรวย เฮง เงินทองไหลมากองไว้ที่บ้านหลังนั้น เต็มไปด้วยสินทรัพย์มากมาย อีกทั้งยังเชื่อว่าต้นทองหลางได้ถูกปลูกไว้ที่บนสวรรค์ ถ้าผู้ใดที่ได้กลิ่นของต้นทองหลาง ผู้นั้นจะสามารถระลึกอดีตชาติได้ ด้วยใบของต้นทองหลางเป็นสีทอง ทำให้เกิดความเชื่อแบบนี้ขึ้น ในสมัยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า ใบของต้นทองหลางนั้นสามารถนำไปประกอบพิธีกรรมที่สำคัญเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลอีกด้วย เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ควรปลูกต้นทองหลางบริเวณใดของบ้าน
ต้นทองหลางมีความเชื่อว่าถ้าได้ถูกปลูกไว้ในทิศทางเหนือของบ้านหรือสถานที่ต่างๆ จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้อาศัย และยิ่งถ้าให้ผู้ที่เกิดในปีมะแม จะยิ่งทำให้ต้นทองหลางเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลแก่ผู้ที่อาศัยในที่มีต้นทองหลางดียิ่งขึ้นไป ควรจะปลูกในวันเสาร์อีกด้วย ในส่วนที่ปลูกนั้นจะช่วยให้ร่มเงาแก่บ้านเรือนหรือสถานที่นั้นๆได้ดีอีกด้วย
59 ไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย
ส่วนประกอบของต้นทองหลาง
ใบต้นทองหลาง
ใบเป็นใบที่ออกเป็นช่อ ในแต่ละก้านใบจะมีประมาณ 3 ใบ มีลักษณะรูปร่างที่มน บริเวณปลายใบจะแหลมยาวคล้ายกับใบโพธิ์ ใบมีความกว้างประมาณ 2-4 นิ้ว มีความประมาณ 2-5 นิ้ว บริเวณหลังใบจะเป็นสีด่างเหลืองอมเขียว
ดอกต้นทองหลาง
ต้นทองหลางจะออกดอกเป็นช่อเป็นกลุ่ม จะออกในบริเวณข้อต้นหรือโคนก้านใบ ในแต่ละช่อจะมีความยาวประมาณ 4-9 นิ้ว ในแต่ละดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1-1.4 นิ้ว มีความยาวประมาณ 2-2.5 นิ้ว ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ผลของต้นทองหลาง
ออกผลเป็นฝัก มีลักษณะแบน โคนฝักจะเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักจะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม
สายพันธุ์ต้นทองหลาง
ทองหลางลาย,ทองหลางกินใบ, ทองหลางป่า,ทองหลางใบมน
วิธีการปลูกต้นทองหลาง
เมื่อก่อนนิยมนำเมล็ดมาเพราะปลูกและปักชำกิ่งเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันโดยทั่วไป ต้นทองหลางจะร่วงด้วยตนเองเมื่อมีอายุแก่ขึ้น เมื่อร่วงแล้วมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็จะสามารถเกิดต้นใหม่ได้ อีกทั้งต้นทองหลางมักจะเกิดริมแม่น้ำหรือคลอง เมื่อร่วงก็อาจจะตกลงในแม่น้ำลำคลอง แต่พวกเมล็ดเหล่านั้นจะไม่ตกลงพื้นน้ำ แต่จะลอยซึ่งไปติดกับรอมแม่น้ำจนเกิดต้นใหม่ได้อีกด้วย สิ่งนี้ช่วยขยายพันธุ์ให้ได้ง่ายและในวงกว้างอีกด้วย
วิธีการดูแลต้นทองหลาง
แสง
ต้นทองหลางชอบแสงแดดที่จัดไปจนแดดปานกลาง จึงนิยมปลูกกลางแจ้ง
น้ำ
ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง
ดิน
ชอบดินร่วนซุย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเยี่ยม
ประโยชน์หรือสรรพคุณของต้นทองหลาง
- สรรพคุณทางสมุนไพร ใบสดตำพอกแผลดูดหนองทำให้แผลแห้งหายเร็วขึ้น ใบผสมใบของต้น หนามแน่ ตำกับปูนแดงสุมไฟแก้ปวดศีรษะ ชาวเขาเผ่าเย้า ใช้ใบตำพอกรักษากระดูกหัก และแก้ปวดกระดูก เปลือก กับ แก่น และ ใบ ให้หมู ไก่ กินเป็นยาแก้
- ส่วนของต้นเปลือกและราก มีสรรพคุณให้นอนหลับสบาย
- ส่วนของแก่น เปลือกต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- แก่นของต้นทองหลาง มีสรรพคุณช่วยแก้ฝีในท้อง
- ส่วนของใบนำมาต้ม แล้วดื่มจะช่วยแก้โรคนิ่ว ขับนิ่วออกมา
- ดอกมีสรรพคุณเป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวง
- ใบเป็นยาแก้ริดสีดวง
- ฝักมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำดี
- ใบของต้นทองหลางนั้นสามารถนำไปประกอบพิธีกรรมที่สำคัญเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลอีกด้วย เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
- เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีใบจำนวนมาก
ราคาต้นทองหลางโดยประมาณ
จากการที่ต้นทองหลางมีวิธีที่ปลูกได้หลายวิธี ทำให้แต่ละวิธีมีข้อโดดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งราคาที่จำหน่ายจะอยู่ที่ ต้นทองหลางมีความสูง 50-70 เซนติเมตร โดยทำการเพาะจากเมล็ด ราคา 20บาท ส่วนต้นมีที่ความสูง 60-70 เซนติเมตร โดยทำการปักกิ่งชำ จำหน่ายต้นละ 100 บาท