มะพลับป่า ไม่มงคลเสริมความรุ่งเรือง ผลสวยสีสด มีลักษณะยังไง

มะพลับป่า (Bo tree) ใครที่กำลังสงสัยว่า มะพลับที่เรากำลังพูดถึงกันใช้ลูกพลับที่เราเอาไว้ไหว้เจ้ากันรึเปล่า เราอยากให้คุณแยกกันก่อนเพราะทั้งมะพลับ และลูกพลับ หรือที่เรารู้จักกันคือ ลูกพลับจีน พวกมันอยู่ในวงศ์เดี่ยวกัน แต่คนละสายพันธุ์ ซึ่งมะพลับที่เรากำลังจะมาพูดกันในวันนี้ เป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อเน้นนำไป “ปลูกป่า” และ เน้นปลูกเพื่อ “ขายเนื้อไม้” และอีกเหตุผลที่คนเริ่มนำมาปลูกเพื่อนำมาเป็นไม้ประดับนั้นก็เพราะว่า ต้นมะพลับเป็น “ไม้มงคล”

มะพลับป่า
มะพลับป่า นับว่าเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีจุดกำเนิดในป่า แต่คนเราเมื่อเข้าไปในป่า และได้พบเห็นเนื้อไม้ที่พอจะสร้างบ้านได้ ก็นำออกมาใช้งาน พอมากเข้าก็เริ่มมีการนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกเพื่อขยายพันธุ์เพื่อให้พอต่อการทำธุรกิจขายเนื้อไม้ในปัจจุบัน

ซึ่งมะพลับป่าก็ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างโดยเฉพาะใชในงานฝีมือ วันนี้ Kaset today จึงอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของต้นมะพลับป่า ไม่ว่าจะเป็ย ใบ ดอก ผล และยังมี ข้อมูลการขยายพันธุ์ หรือการดูแล ถ้าคุณอยากรู้ข้อมูลดี ๆ เหล่านี้ ก็ตามมาเลย

ข้อมูลทั่วไปของมะพลับป่า

ชื่อภาษาไทย : มะพลับ หรือ มะพลับป่า

ชื่ออื่น ๆ :

  • ขะนิง ถะยิง (นครราชสีมา)
  • มะเขื่อเถื่อน (สกลนคร)
  • ตะโกสวน ปลาบ (เพชรบุรี)
  • ตะโกไทย (ภาคกลาง)
  • ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่ (ทั่วไปเรียก)
  • มะสุลัวะ (ลำปาง-กะเหรี่ยง)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Bo tree, Sacred fig tree, Pipal tree, Peepul tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Diospyros siamensis Hochr.

ชื่อวงศ์ : Ebenaceae

ชื่อสกุล : Ebenaceae


ความเชื่อและความมงคล

สำหรับผู้ที่ต้องการจะปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ที่บ้าน ตามความเชื่อของคนโบราณจะเชื่อว่า ต้นมะพลับเป็นไม้มงคลที่จะช่วยส่งเสริมให้มีความ “เจริญรุ่งเรืองและร่ำรวย” หากปลูกไว้ในบริเวณอาคารบ้านเรือนในทางทิศใต้ ก็จะเสริมสิริมงคลทั้งคนปลูกและคนที่อาศัยในบ้านเช่นกัน


แหล่งกำเนิด

เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย ไทย มาเลเซีย และที่เกาะเซลีเบส ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบที่มีความลุ่มต่ำ หรือขึ้นตามป่าดิบที่ใกล้แหล่งน้ำ ป่าละเมาะริมทะเล


ลักษณะทั่วไปของมะพลับป่า

  • ลำต้น

เป็นประเภทไม้ยืนต้นที่มีขนาดปานกลาง ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและเป็นทรงพุ่มทึบออกกลม ความสูงราวๆ 8-15 เมตร เปลือกของต้นมีสีเทาปนดำและมีความเรียบ แต่บางทีอาจจะมีแตกเป็นร่องบ้าง เนื้อไม้มีสีขาว 

มะพลับป่า
credit : The Thai Red Cross Society
  • ใบ

จะเป็นใบเดี่ยวออกเรียงแบบสลับกัน ใบมีลักษณะรูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมหอกกลับ ปลายใบมีความแหลมทู่ๆ โคนใบออกมน ขอบใบมีความเรียบ ขนาดของใบจะกว้าง 2.5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เนื้อของใบมีความหนา ด้านหลังใบจะเรียบมัน ท้องใบมีสีอ่อนและเรียบ มีขนเล็กน้อยอยู่ตามเส้นกลางใบ ซึ่งเส้นใบจะมีประมาณ 6-12 คู่ อยู่ในลักษณะคดงอ ก้านใบมีความยาว 1-1.5 เซนติเมตร 

มะพลับป่า
credit : The Thai Red Cross Society
  • ดอก

ระยะออกดอกคือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ดอกจะเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้มีลักษณะช่อสั้นอยู่ตามซอกใบ ก้านดอกมีความยาว 2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีจำนวน 4-5 กลีบ และยาว 7-15 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียจะเป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลือง ก้านดอกยาวราวๆ 5-10 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ส่วนโคนจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายจะแยกเป็นแฉกๆ

มะพลับป่า
credit : The Thai Red Cross Society
  • ผล

ช่วงเวลาติดผลจะอยู่ช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม ผลมีลักษณะเป็นทรงกลม โคนและปลายของผลมีความบุ๋ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5 เซนติเมตร ตรงขั้วของผลจะมีกลีบเลี้ยงและมีขนสีน้ำตาล ขอบกลีบจะเป็นคลื่น กลีบไม่พับ เมื่อผลสุกจะเป็นสีส้มอมเหลือง ผลที่สุกหรือแก่จะนุ่มๆ ส่วนผิวมีเกล็ดเป็นสีน้ำตาลปนแดง ซึ่งจะหลุดง่าย

มะพลับป่า
credit : medthai
  • เมล็ด

ข้างในผลมีเมล็ดรูปทรงรีแป้นๆ ถ้าเป็นผลสุกจะมีเมล็ดสีส้มอมแดงอยู่ 5-8 เมล็ด ความกว้างของเมล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร และความยาว 2-3 เซนติเมตร  

มะพลับป่า
credit : สร้างโอกาส TV

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ ต้นมะพลับป่า จะใช้ การเพาะเมล็ด โดยมีวิธีคือ

  • แกะผลมะพลับป่าเพื่อเอาเมล็ดข้างใน แล้วนำไปตากแห้ง
  • นำเมล็ดที่ตากจนแห้งไปปลูกลงดิน
  • ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง 1 เมตร จากนั้นให้แยกดินชั้นล่างและด้านบนออกเป็น 2 ส่วน และตากแดดไว้ 5-7 วัน
  • ให้รองก้นหลุมด้วยฟางข้าว หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้ง และนำดินปลูกที่ผสมปุ๋ยคอกใส่ลงไปประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดลงปลูก
  • ให้เติมดินปลูกที่ผสมปุ๋ยคอกลงไปอีก ก่อนจะปิดด้านบนด้วยดินปลูกตัวเดิมให้เต็มหลุมพร้อมกับปกคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
  • รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น จากนั้นให้หมั่นดูแลกับสังเกตการเจริญเติบโต

การปลูกและการดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

มะพลับป่าเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดค่อนข้างจัด พื้นที่ปลูกจึงควรจะมีแสงแดดส่องถึงได้ครึ่งวันหรือตลอดทั้งวัน

  • น้ำ

มะพลับป่าชอบน้ำในระดับปานกลางแบบพอเหมาะพอดี ไม่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ดังนั้นจึงควรรดน้ำสม่ำเสมอในเวลาเช้าและเย็น

  • ดิน

มะพลับป่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยหรือดินเหนียวที่มีความชุ่มชื้น มีน้ำและความชื้นระดับปานกลาง (ต้นไม้ชนิดนี้มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ค่อนข้างดี)

  • ปุ๋ย

ปุ๋ยที่เหมาะกับการปลูกต้นไม้ชนิดนี้จะเป็นปุ๋ยจากใบไม้ ฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง แล้วก็ปุ๋ยคอก

การดูแล

เนื่องจากมะพลับป่าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตดีในป่าทำให้ไม่ค่อยมีโรชพืช หรือแมลงที่จะทำให้เป็นกังวลมากนัก เพราะเป็นต้นไม้ที่ทนต่อสภาพอากาศได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย และเจริญเติบโตดีทีเดียว


ทำไมต้องปลูก

ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

  • เนื้อไม้สามารถใช้ทำเครื่องมือการเกษตรและใช้ในงานแกะสลัก
  • เปลือกของต้นใช้สำหรับการฟอกหนัง
  • ยางสามารถใช้ย้อมผ้า แห และอวน เพื่อเพิ่มความทนทาน
  • ต้นที่โตเต็มที่สามารถให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี
  • ผลแก่มีรสชาติอร่อย สามารถรับประทานได้

สรรพคุณด้านยาน่ารู้

  • เปลือกและเนื้อไม้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ลดไข้ แก้อาการบิด แก้อาการท้องร่วง ขับลม เป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด
  • เปลือกและผลอ่อน ใช้เป็นยาแก้ไขมาลาเรีย
  • เปลือกและผลแก่ ใช้รักษาแผลในปาก แก้อาการคออักเสบ

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์การเรียนรู้อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา
The Thai Red Cross Society

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้