กะหล่ำดอก ผักรสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

กะหล่ำดอก ภาษาอังกฤษ Cauliflower

กะหล่ำดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Brassica oleracea

กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัวกันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ หากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะหลายเป็นช่อดอก และติดเมล็ดได้

ดอกกะหล่ำไทย

ลักษณะของกะหล่ำดอก

ต้น

กะหล่ำดอกมีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียวหรือสองปี ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของลำต้นประมาณ 50–80 เซนติเมตร เมื่อเติบโตเต็มที่จะออกดอกและสูงได้ประมาณ 90–150 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5–1.2 กิโลกรัม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร และมีอายุการเก็บเก็บเกี่ยวที่ประมาณ 60–90 วัน ระบบรากแผ่กระจายบนชั้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร มีรากแขนงขนาดใหญ่ ที่อาจชอนไชลงไปในดินได้ลึก ลำต้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนของลำต้นยาวได้ประมาณ 20–30 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 14–20 องศาเซลเซียส

ใบ

เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนอันกันเป็นกระจุกคล้ายดอกกุหลาบซ้อน มีใบประมาณ 15 -25 ใบ อยู่เรียงโดยรอบช่อดอก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ใบกว้างที่ขอบใบเป็นคลื่นจะมีขนาดกว้างประมาณ 30–40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 40–50 เซนติเมตร ส่วนใบผอมเรียวนั้นขอบใบจะเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 20–30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 70–80 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมีชั้นของไขห่อหุ้มผิวใบอยู่ แผ่นใบเป็นสีเทาจนถึงเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบเป็นสีขาว ไม่มีก้านใบ

เมนูดอกกะหล่ำปลี
https://medthai.com

ดอก

พืชผักชนิดนี้ผู้บริโภคจะใช้ส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ช่อดอกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายโดม ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองอัดกันแน่นจนแยกจากกันเป็นดอกเดี่ยวไม่ได้ ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ช่อดอกมีลักษณะหลวมหรือเบียดกันแน่น อาจมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-40 เซนติเมตร กระจุกช่อดอกประกอบไปด้วยช่อดอกหลายช่อ ในแต่ละช่อจะเป็นช่อแบบกระจะยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ดอกมีครบทั้ง 4 ส่วน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงตั้งตรงสีเขียว กลีบดอกเป็นรูปช้อนสีเหลืองจนถึงสีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน แบ่งเป็นขนาดสั้น 2 อัน และยาว 4 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 2 รังไข่เชื่อมติดกัน มีผนังเทียมกั้นอยู่ตรงกลาง มีต่อมน้ำ 2 อัน อยู่ระหว่างรังไข่ และเกสรเพศผู้ที่มีลักษณะสั้น ส่วนก้านช่อดอกและก้านดอกพองขยายออกรองรับกระจุกดอก ขนาดและลักษณะของช่อดอกจะแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์

ผล

ผลแตกแบบผักกาด มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5–10 เซนติเมตร มีเมล็ดประมาณ 10–30 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2–4 มิลลิเมตร

ดอกกะหล่ำปลี

สายพันธุ์กะหล่ำดอก

แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ ตามอายุการเก็บเกี่ยว คือ

  • พันธุ์เบา (Early Snowfall, Burpeeana, Snow Drift)
  • พันธุ์กลาง (Snowfall, Halland Erfurt Improve, Cauliflower Main Crop Snowfall)
  • พันธุ์หนัก (Winler, Putna)

ดอกกะหล่ำมีลักษณะอวบและกรอบ ซึ่งเราจะเรียกส่วนนี้ว่า “ดอกกะหล่ำ” ถ้าหากให้ปล่อยเจริญเติบโตต่อไป ก็จะพัฒนากลายเป็นช่อดอกและติดเมล็ดได้ต่อไป

ดอกกะหล่ำกับกะหล่ำปลี

การปลูก

กะหล่ำดอกปลูก เตรียมดินดอกกะหล่ำกับกะหล่ำปลีมีหลักเกณฑ์ในการเตรียมดินเหมือนกัน แต่ควรให้มีหน้าดินลึกกว่ากะหล่ำปลีเล็กน้อย หากเป็นพื้นที่ลุ่มควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง กะหล่ำดอกพันธุ์เบาจะทนความเค็มของดินได้ไม่ดี การปลูกทำโดยการย้ายกล้า และจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง เมื่อกล้าในแปลงอายุประมาณ 6 สัปดาห์ ควรทำการย้ายกล้าไปปลูกให้หมด ไม่ควรทิ้งกล้าให้อายุมากกว่านี้ ส่วนอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงกล้าแต่ละแปลงควรอยู่ที่ประมาณ 35-45 กรัม ต่อขนาดพื้นที่ 3-4 ตารางเมตร

ระยะห่างของกล้าที่นำไปปลูกในแปลงแต่ละแปลงควรเว้นระยะห่างประมาณ 50-75 เซนติเมตร ส่วนการเพาะกล้า การย้ายกล้า และการปลูกก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกกะหล่ำปลี หลังจากปลูกควรให้น้ำให้ดินชื้นเสมอ อาจใช้ฟางคลุมเพื่อลดการระเหยของน้ำจากหน้าดินก็ดี ความต้องการปุ๋ย กะหล่ำดอกต้องการปุ๋ยไนโตรเจนและพบว่าในรูปของ แอมโมเนียมไนเตรดและยูเรีย จะเพิ่มผลผลิตได้ดี การพรวนดินจะช่วยกำจัดวัชพืชในระยะแรกด้วย แต่ต้องระวังมิให้รากได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก

การคลุมดอก เมื่อกะหล่ำดอกเริ่มมีดอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตรแล้ว ต้องรวบในบนๆ ห่อดอกหลวมๆ แล้วใช้เชือกมัดไว้ประมาณ 3-7 วัน ก็จะตัดดอกได้ สาเหตุที่ต้องทำดังนี้เพื่อให้ดอกกะหล่ำไม่ถูกแสงแดดและจะทำให้มีสีขาว เป็นที่ต้องการของตลาด หากปล่อยให้ดอกกะหล่ำโดนแสงแดด จะมีสีเหลือง ในปัจจุบันมีกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะใบห่อดอก ซึ่งจะทำให้ลดแรงงานในการคลุมดอกได้มาก

กะหล่ำดอกปลูก

สรรพคุณ

ช่วยแก้อาการปวดศีรษะชนิดเรื้อรัง ช่วยรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ช่วยรักษาแผลในปาก รักษาอาการเจ็บคอ แก้คออักเสบ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง และโรคเรื้อนกวางได้อีกด้วย

ประโยชน์

กะหล่ำดอก มีสารเอนไซม์ที่ช่วยต่อสู่กับมะเร็ง ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยในการขับถ่าย ขับล้างสารพิษในร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งในเพศหญิง ได้อีกด้วย

ที่มา

https://www.pobpad.com

http://www.the-than.com

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้