คะน้า (Collard greens) เป็นผักที่เรามักจะเห็นชินตาตามท้องตลาดและในซุปเปอร์มาเก็ตแถวบ้าน คะน้าสามารถปลูกและขายได้ตลอดปีถ้ายังมีน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นผักที่กินได้ทั้งใบและลำต้น มีเกษตรกรทั่วประเทศนิยมปลูกเพราะมันเป็นผักที่เป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ แต่ถ้าคุณอยากปลูกคะน้าเพื่อส่งออก คุณควรอ่านบทความต่อไปนี้นะ
เชื่อได้เลยว่าหากใครชอบกินผัก ต้องรู้จักคะน้าอย่างแน่นอน คะน้าถือเป็น1ในผักเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเพราะมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่บริโภคคะน้าในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาถูก เอาไปทำอาหารได้หลากหลาย คะน้ายังเป็นผักที่อยู่ในกลุ่มสินค้าส่งออกต่างประเทศอีกด้วย และยังเป็นผักที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กระหล่ำปลี และผักอื่น ๆ แต่การจะส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย อาหารหรือสินค้าที่มีการการันตีความปลอดภัยย่อมเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคทั่วโลกต้องการ มีเกณฑ์การตรวจทั้งโรคจากพืช สารเคมีที่ได้จากการใส่ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่เหล่าเกษตรกรต้องข้ามไป โดยเฉพาะคะน้า ผักที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาแมลง และโรคพืชที่มาตอนฤดูฝน เกษตรกรต่างใช้สารพัดวิธีในการปลูกและดูแลคะน้าของพวกเขา นั้นทำให้เป็นปัญหาในการส่งออก อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ไม่อนุญาติการนำเข้าคะน้าจากไทยเพราะเรื่องสารเคมีตกค้างที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมี และนั้นเป็นประเด็นหลักที่ kaset.today อยากจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับคะน้า วิธีการเลี้ยงและดูแลที่จะทำให้คะน้าปลอดภัยไร้สารพิษ และนั้นอาจจะแก้ไขปัญหาในการส่งออกสินค้าของคุณได้
ข้อมูลทั่วไปของคะน้า
ชื่อภาษาไทย: คะน้า
ชื่อภาษาอังกฤษ: Collard greens, Chinese broccoli
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Brassica oleraces Var.alboglabra
พืชตระกูล: Cruciferae
คะน้าคืออะไร
คะน้าเป็นพืชตระกูลกะหล่ำที่เป็นที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน กินได้ทั้งใบและลำต้น ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย เช่น วิตามินA วิตามินC แคลเซียม และ thiamine คะน้าสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ยกตัวอย่าง 10 จังหวัดแรกที่มีการปลูกมากที่สุด ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี สมุทรสาคร กําแพงเพชร พิษณุโลก สุพรรณบุร นครราชสีมา เชียงใหม ชลบุร ศรีสะเกษ แค่เห็นก็รู้แล้วว่าคนไทยคงมีคะน้ากินทั้งปีแน่นอน
คะน้าแท้จริงแล้วเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยข้อมูลจากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ว่าด้วยเรื่อง “น้า คะน้า ฮวยน้า แกะน้า” ผักกับตะกร้า คำจีน ในถิ่นบางกะจะ ชุมชนที่จีนกลายเป็นไทย และไทยที่ยังหลงเหลือร่องรอยความเป็นจีน ได้ให้ข้อมูลว่า คำว่า “น้า” แปลว่า ตะกร้า และมีตำนานเกี่ยวกับ พระโพธิสัตว์กวนอิมน่ำไห่ ท่องไปถึงหมู่บ้านท้อซัว เกิดหิวจึงคัดเลือกของป่า แต่เพราะไม่ทานของสดของคาว จึงจัดผักใส่ในตะกร้าไผ่แล้วนำไปต้มในหม้อชาวบ้านเพื่อแยกของเจของชอ (ชอ แปลว่า อาหารปกติอาหารที่มีเนื้อหรือกลิ่นเนื้อ) ผักที่ว่านี้จึงได้ชื่อ คะน้า มีที่มาจากเป็นคำพ้องเสียงกับ แกะน้า (格蓝) แปลว่า ตะกร้าแยกของเจของชอ”
ถิ่นกำเนิด และ การกระจายตัว
จากการค้นหาข้อมูลจาก คู่มือวิชาการส่งเสริมการเกษตร คะน้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียและประเทศไทย อยู่ในเขตร้อนชื้นกึ่งร้อนกึ่งหนาว ละติจูดระหว่างเส้นรุ้ง 45 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
มีการกระจายตัวและปรับตัวให้สามารถปลูกได้ทุกฤดู และทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถปลูกคะน้าได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการปลูกคือ เดือนตุลาคมถึงเมษายน อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอกเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน โดยตามหลักคะน้าเป็นผักที่มีอายุ 2 ปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชปีเดียว สามารถปลูกในอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส มีความทนทานต่อความเค็มของดินสูง ทนทานต่อความเป็นกรดในดินปานกลาง เป็นผักประเภทรากตื้น ชอบแดดตลอดทั้งวัน และความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของคะน้า
ราก
(ระบบราก/ความลึกของราก) ผักคะน้ามีระบบรากแบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น มีความลึก 18-24 นิ้ว ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของรากแก้วประมาณ 1.50 เซนติเมตร มีแรกแขนงแตกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน
ลำต้น
ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูง 20-33.40 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือ 3.00 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะแข็งแรง อวบใหญ่ มีสีเขียวนวล นิยมนำมาบริโภคมาก รองลงมาจากยอดอ่อน น้ำหนักต่อต้นเฉลี่ย 150 กรัม
ใบ
ลักษณะใบของคะน้ามีหลายลักษณะตามสายพันธุ์ที่ปลูก อาทิ คะน้าใบกลม คะน้าใบแหลม บางพันธุ์มีลักษณะก้านใบยาวหรือสั้น การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน 4-9 ใบ/ลำต้น ผิวใบมีลักษณะเป็นคลืน ผิวเป็นมัน สีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ ถือเป็นส่วนี่นิยมนำมาบริโภครองลงมาจากส่วนยอด
ยอด และดอก
บริเวณที่ถัดจากใบสุดท้ายที่เติบโตแยกออกมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเป็นส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีลักษณะคล้ายบัวตุม ขนาดเล็กสีเขียวอ่อนรอที่จะเติบโตเป็นใบแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนำมาบริโภคมากที่สุด
เมล็ด
เมล็ดค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดเรียบ น้ำหนัก 1 กรัม มีเมล็ดประมาณ 200-300 เมล็ด
คะน้ามีกี่สายพันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นพันธุ์คะน้าดอกขาว โดยสั่งเมล็ดจากต่างประเทศเข้ามาปลูกและปรับปรุงสายพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์คะน้าที่นิยมนำมาปลูกในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 พันธุ์ด้วยกันคือ
พันธุ์ใบกลม
มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1 พันธุ์บางบัวทอง 35 เป็นต้น
พันธุ์ใบแหลม
เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่างผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L. 20 คะน้าไอริส 012 คะน้าเบอร์ 066 เป็นต้น
พันธุ์ยอดหรือก้าน
มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่าปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1 คะน้ายอดไต้หวัน เป็นต้น พันธุ์แม่โจ้ 1 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะตรงกับความนิยมของผู้บริโภคลำต้น เป็นลำต้นเดี่ยวอวบ ให้ผลผลิตสูงทุกภาคตลอดปี ผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นจะนิยมบริโภคพันธุ์คะน้าที่ไม่เหมือนกัน จึงควรปลูกตามความต้องการของตลาด
ปัจจัยในการปลูกคะน้ายังไงให้ปลอดภัย
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
จากการค้นคว้าโดย คู่มือวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้ให้คำตอบว่า คะน้าเป็นผักที่สามารถเจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีค่าความเป็น กรด-ด่าง ในดินระหว่าง 5.5-6.8 และในดินต้องมีความชื้นสม่ำเสมอ สามารถเติบโตได้ในที่ที่มีแสงแดดตลอดเวลา อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส แต่คะน้าเป็นผักที่ทนต่อความร้อน ให้ผลผลิตมาก ทั้งนี้เพราะคะน้ามีข้อได้เปรียบว่าผักตระกูลกะหล่ำอย่างอื่นที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการห่อหัว หรือออกดอกก่อนการเก็บเกี่ยว
การเตรียมดินและระบบการปลูก
การเตรียมดิน
เนื่องจากคะน้าเป็นผักรากตื้นจึงต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน โรยปูนขาวลงไปนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้ากับให้เข้ากัน เพื่อปรับสภาพของดินให้สมบูรณ์ พรวนย่อยหน้าดินให้ย่อยเล็กลงให้ดินมีสภาพนุ่มร่วนซุย เพื่อมิให้เมล็ดตกลึกลงไปในดิน เหตุเพราะจะทำให้ไม่งอกหรืองอกได้ยาก ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ระบบปลูกและระยะปลูก
นิยมใช้ระบบปลูกแบบหว่านเมล็ดกระจ่ายทั่วแปลงเพราะเหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่เป็นการค้า เช่น แปลงยกร่องแถบภาคกลางที่นิยมเตรียมดินโดยใช้แรงงานเครื่องจักรและให้น้ำแบบลากเรือพ่นรด
ส่วนการปลูกแบบแถวเป็นการปลูกแบบมีการจัดเรียงแถวและมีระเบียบกว่าการปลูกแบบหว่านมักจะปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กหรือเป็นผักสวนครัว หรือจะเป็นการปลูกเพื่อเป็นสวนประดับ และควรมีระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร ให้น้ำแบบใช้บัวรดน้ำหรือลากสายยางติดฝักบัวพ่นรด
การปลูกและดูแลต้นคะน้าให้แข็งแรงและปลอดภัย
การเริ่มต้นการปลูกคะน้าควรรู้ตั้งแต่การปลูกต้นกล้าให้แข็งแรง รู้วิธีการเตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของคะน้าว่าเป็นพืชผักที่ต้องการอะไรบ้าง ใน คู่มือการเฝ้าระวังความปลอดภัยสารเคมีในพื้นที่ปลูกผักคะน้า ด้วยชุดทดสอบและองค์ความรู้ ได้บอกวิธีการปลูกไว้ว่า
- แปลงเพาะควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวดูตามความเหมาะสมกับพื้นที่ของผู้ปลูก หรือ เตรียมแปลงในพื้นที่ใหญ่ควรมีขนาดกว้างมากกว่า 1 เมตร ควรไถตากดิน 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 2 ครั้ง เพื่อกำจัดแมลงโรคและวัชพืช หว่านปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ที่ย่อยสลายดีแล้ว แล้วไถกลบบำรุงดินก่อนปลูก
- เลือกเมล็ดพันธุ์ที่แข็งแรง โดยแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที จึงจะสามารถกำจัดเชื้อราได้มากอาจถึงร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ แล้วเลือกเมล็ดที่ลีบลอยน้ำไม่แข็งแรงทิ้งไป แล้วนำเมล็ดที่จมน้ำที่บ่งบอกว่าเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ นำไปหว่านลงในแปลงปลูก
- กลบเมล็ดด้วยดินผสม หรือปุ๋ยคอกให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร กลบด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวฝอยละเอียด ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน
- เพื่อป้องกันโรคพืชและศัตรูพืชได้แก่ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หนอนใยผักดวงหมัดผัก หนอนกระทู้ หนอนเจาะยอดกระหล่ำ ให้ถอนแยกกล้าออก เมื่ออายุ 20 วันไม่ให้แน่นไป ให้มีระยะห่าง 15 เซนติเมตร
- ให้ปุ๋ยบำรุงดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000- 2,000 กิโลกรัม/ไร่ จะช่วยให้ผักมีความแข็งแรง สามารถต้านทานต่อโรคและแมลงได้ ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืชเมื่อยังเล็ก เพื่อไม่ให้ไปแย้งสารอาหารกับต้นคะน้าที่แข็งแรง เก็บเศษพืชที่เป็นโรคแล้วทำลายให้หมด พร้อมตัดใบแก่เน่าเสียทิ้ง
การเก็บเกี่ยวผักที่ดีและการปฏิบัติที่ดีหลังการเก็บเกี่ยว
ถอนแยกและเก็บเกี่ยวลูกคะน้าเมื่ออายุ 20 วัน ใช้มีดคมตัดที่โคนต้นซึ่งมีอายเก็บเกี่ยวประมาณ 45-50วัน หรือเมื่อใบคะน้ามีสีเขียวนวล ตัดใบ
ที่แก่และเน่าเสียออกจากแปลง
การเก็บรักษาผลผลิตและการบรรจุหลังเก็บเกี่ยว ต้องนำเข้าร่มทันที ไม่ควรวางกลางแดดหรือบนพื้นผิวดินโดยไม่มีวัสดุรองรับ ตัดแยกผักคะนาจำหน่ายตามขนาดและคุณภาพของผัก โดยบรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูรอบด้าน หรือในตะกร้าเข่งที่บุด้วยใบตองหรือวัสดุกันขูดขีดอื่น ไม่ควรบรรจุปริมาณมากไป เพราะจะทำให้ผักคะน้าบอบช้ำ เสียหายได้ สถานที่วางผักหรือบรรจุต้องมีอากาศถ่ายเทดีอยู่ห่างจากสิ่งปฏิกูล เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
การขนส่ง ต้องเตรียมเรื่องตลาดรับซื้อคะน้าและพาหนะขนส่งไว้ล่วงหน้า ต้องไม่กองผลผลิตบนพื้นรถบรรทุก ควรใส่ภาชนะสำหรับการขนส่งระยะทางไกล และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องส่งใหถึงเร็วที่สุดเพื่อความสดของสินค้า
การบันทึข้อมูล เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในขั้นตอนการผลิต ต้องสามารถให้สอบกลับได้หากเกิดขอบกพร่องขึ้น ต้องสามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที เช่นสภาวะแวดล้อม (อุณหภูมิความชื้น และ ปริมาณน้ำฝน) สายพันธุ์ที่ใช้ วันปลูก-ถอนแยกวันใส่ปุ๋ย สารเคมีและชีวินทรีย์ พร้อมอัตราการใช้ ค่าใช้จาย ปริมาณวันที่ศตัรูพืชระบาด ผลผลิตและรายได้พร้อมอธิบายปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อเอาไว้แก้ไขปัญหาได้ในอนาตค
แมลงศัตรูพืชสำหรับคะน้าที่คุณควรรู้
การรู้จักศัตรูตัวร้ายที่มาทำลายต้นคะน้าของเราเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยคุณลักษณา ลือประเสริฐ และว่าที่ พต.ณรงค์ชัย ค่ายโส. (10) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชของคะน้าพร้อมวิธีป้องกันไว้ว่า
กลุ่มหนอนใยผักและด้วงหมัดผัก
หนอนใยผัก ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กวางไข่สีเหลืองอ่อนบนใบและใต้ใบ หนอนมีลำตัวยาวเรียวหัวท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก มีสีเขียวอ่อน เทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นและทิ้งตัวลงดิน โดยการชักใยหนอนเข้าดักแด้ตามใบพืช หนอนใยผักจะกัดกินใบ และยอดผัก ตั้งแต่ต้นเริ่มงอกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
ด้วงหมัดผัก ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็ก หนอนกัดกินโคนต้น และราก ทำให้ผักเหี่ยวไม่เจริญเติบโตและตาย ตัวเต็มวัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกัดกินผิวใบด้านล่างทำให้ใบผักเป็นรูพรุน เมื่อถูกรบกวน จะกระโดดและบินได้ไกล
การป้องกันกำจัดหนอนใยผัก และ ด้วงหมัดผัก ไถพรวนตากดินก่อนปลูก เพื่อกำจัดหนอนและดักแด้ ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง อัตรา 80 เปอร์เซ็นต์ต่อกับดัก 1 อัน และต่อไร่ตลอดฤดูปลูกเพื่อกำจัดตัวเต็มวัยของหนอนใยผัก เก็บเศษใบผักคะน้า ทำลายเพื่อกำจัดหนอน และดักแด้ การลดสารเคมีจะช่วยอนุรักษศัตรูธรรมชาติเช่น แตนเบียน และ ตัวห้ำ ที่จะช่วย
ทำลายไข่ ตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัยของหนอน
กลุ่มหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ
หนอนกระทู้หอม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วางไข่เป็นกลุ่มสีขาว มีขนปกคลุมตามใต้ใบพืช หนอนกัดกินใบอ่อนและยอดผัก หนอนตัวเต็มวัยกัดกินทุกส่วนของต้น ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง และเมื่อหนอนโตเต็มที่ก็จะเข้าดักแด้ในดิน
หนอนกระทู้ผัก ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่สีน้ำตาล คล้ายกับฟางข้าวใต้ใบผัก หนอนวัยแรกอยู่รวมเป็นกลุ่มแทะกินผิวใบ วัยต่อมาเคลื่อนย้ายกัดกินใบ ยอดและทุกส่วนของพืช เป็นหนอนขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก ทำให้ผักเสียหาย เมื่อหนอนโตเต็มที่ จะเข้าดักแด้ในดิน
หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นแบบฟองเดี่ยว มีสีขาวนวลตามยอดพืช ตัวหนอนจะเจาะเขาไปกัดกิน และถักใยคลุมตัว ขณะเข้า
ไปอยู่ภายในยอดและลำตนพืช สังเกตจากรอยกินเป็นทางหรือมูลหนอนที่ถ่ายทิ้งไว แล้วเข้าดักแด้ตามเศษพืชบนดิน หรือในดินโดยมีใยห่อหุ้มไว้
การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้และหนอนเจาะยอดกะหล่ำ ให้ไถพรวนตากดินก่อนปลูก และเก็บเศษใบผักคะน้าทำลายเพื่อกำจัดหนอนและดักแด้ เก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนพร้อมทำลายให้หมด
เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดในคะน้า
โรคกล้าเน่าจากเชื้อรา เกิดจากเมล็ดผักเน่าก่อนงอก หรืองอกออกมาเล็กน้อยแล้วเน่าตายก่อนที่จะโผล่พ้นดิน และระยะหลังงอก ซึ่งต้นกล้าที่งอกพ้นดินขึ้นมาแล้ว มีแผลที่โคนต้น ต้นหักพับ ที่ระดับผิวดิน หรือเกิดการเหี่ยวเฉาตาย เชื้อที่เป็นสาเหตุอาจปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์หรืออาศัยอยู่ในดินบริเวณที่ปลูก
โรคใบจุด เกิดจุดเล็กๆ บนต้นกล้าที่งอกใหม่อาการที่ใบเริ่มจากเกิดเป็นจุดเล็ก ๆต่อมาแผลขยายออกเป็นวงกลมสีน้าตาล หรือดำซ้อนกัน หลายช้้น เนื้อเยื่อรอบ ๆ แผลเป็นสีเหลือง เมื่อระบาดมากขึ้น เนื้อใบจะแห้งกรอบ เป็นสีน้าตาล
โรคราน้ำค้าง มีลักษณะเป็นจุดช้ำ ที่ใบเลี้ยงของต้นกล้าและต้นกล้าเน่ายุบ ด้านบนใบเป็นปื้นเหลือง ด้านหลังใบมีเส้นใยสีขาวเป็นกระจุกเมื่อมีการระบาดมากขึ้นแผลจะขยายขนาดออกไป เนื้อเยื่อ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแหงกรอบ เชื้อที่เป็นสาเหตุสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้
โรคใบแห้งหรือโรคเน่าดำจากแบคทีเรีย จะเริ่มเกิดที่ขอบใบโดยเนื้อใบจะเปลี่ยนเป็น สีเหลืองและลุกลามเข้าไปยังส่วนกลางของใบ อาการอาจเริ่มแสดงที่ปากใบพืช ทำให้เกิดปื้นเหลืองบนใบ เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะค่อยๆ ตายเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล เชื้อสาเหตุของโรคสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีชีวติอยู่บนเศษซากพืชในดินได้นาน
การกำจัดโรคจากเชื้อราและแบคทีเรีย สามารถทำด้วยการเก็บเศษซากพืชออกจากแปลงและทำลายให้หมด เตรียมแปลงเพาะผักโดยย่อยดินให้ละเอียด ปรับดินด้วยปูนขาวอัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ไม่ควรเพาะกล้าแน่นเกินไป ไม่ควรรดน้าในแปลงกล้ามากเกินไป และแปลงกล้าควรมีการระบายน้ำดีก่อนเพาะ ต้องแช่เมลดพนัธุ์ในน้า อุ่นประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 15-20 นาท เพื่อทำความสะอาดสิ่งที่อาจเป็นเชื้อโรคออกไป
การป้องกันโรคและศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
ในปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูพืชยังคงเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับเกษรตรกรชาวไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเกษรตรกรที่ปลูกคะน้าซึ่งเป็นผักที่ขึ้นชื่อด้านโรคมากแมลงเยอะ แต่ก็ยังคงเป็นผักที่นิยมกินกันในปัจจุบันจึงทำให้พวกเขาต้องหาวิธีมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาเหลานี้ ทำให้ kaset.today นำเอาข้อมูลดี ๆ จาก คู่มือการเฝ้าระวังความปลอดภัยสารเคมีในพื้นที่ปลูกผักคะน้า ด้วยชุดทดสอบและองค์ความรู้ มาแบ่งกันแนวทางแก้ไขกับนักอ่านทุกคนกัน
การป้องกันควบคุมกำจัดศัตรูพืช
ใช้แมลงกินศัตรูพืช
หากต้องการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน และให้พืชผักแข็งแรง คุณควรปลูกพืชหมุนเวียนในแปลงเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของศัตรูพืช และต้องดูแลแปลงผักให้สะอาด ควรหาวิธีกีดขวางศัตรูพืช เช่น การใช้มุ้งตาข่าย แผ่นกาวดัก หรือ การกำจัดหอยเชอรี่ที่เป็นศัตรูพืช ให้จับพวกมันไปทำปุ๋ยหมักแทนการใช้สารเคมี การใช้สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช เช่น จุลินทรีย์ ตัวห้ำ (มวนพิฆาต, มวนเพชรฆาต, แมลงหางหนีบ, แมลงข้างปีกใส, ด้วงเต่าตัวห้ำ) แตนเบียน และ ไส้เดือนฝอยที่สามารถควบคุมด้วงหมักผัก โดยจะแสดงตัวอย่างเช่น
โดย ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC) ได้กล่าวถึง "มวนพิฆาต" ว่าเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ หนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบกะหล่ำ หนอนคืบละหุ่ง หนอนแก้วส้ม หนอนร่าน ฯลฯ มวนพิฆาต มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำตั้งแต่ตัวอ่อนวัย 2 จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย มวนพิฆาต ทำลายหนอนทุกขนาด ตลอดชีวิตมวนพิฆาต 1 ตัว ทำลายหนอน ศัตรูพืชได้ 214 -258 ตัวเฉลี่ย 6 ตัวต่อวัน ตัวอ่อนวัย 2-5 ทำลายหนอน ได้ 80 ตัว
ซึ่ง มวนพิฆาต มีลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช โดยใช้อวัยวะที่เป็นปากแบบแทงดูด ลักษณะคล้ายเข็ม ปกติจะพับเก็บไว้ใต้อก แต่เมื่อพบหนอนก็จะใช้ปากแทงเข้าไปในลำตัวหนอนศัตรูพืช แล้วปล่อยสารพิษทำให้หนอนเป็นอัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จากนั้น จึงดูดกินของเหลวจากตัวหนอนจนหนอนแห้งตาย แล้วมวนพิฆาตจะไปหาหนอนตัวใหม่
วิธีง่ายๆในการใช้มวนพิฆาตคือ เมื่อสำรวจพบหนอนศัตรูพืช ให้ปล่อยมวนพิฆาต ตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัย อัตรา 100 ตัวต่อไร่ ในพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก และในไม้ผล ปล่อย 100 ตัวต่อต้น เพื่อควบคุมปริมาณหนอนให้อยู่ในระดับต่ำ หากพบหนอนปริมาณมาก ปล่อยมวนพิฆาต 2,000 ตัวต่อไร่ โดยปล่อยเป็นจุดๆ ให้กระจายทั่วแปลง และปล่อยซ้ำจนกว่ามวนพิฆาตจะตั้งรกรากได้ ควรงดพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลง จากการปล่อยมวนพิฆาตตัวอ่อนวัย 3-4 ในแปลงหน่อไม้ฝรั่งและถั่วฝักยาว 3,200 ตัวต่อไร่ ต่อครั้งต่อการระบาด 1 ครั้ง และปล่อยในไร่องุ่น 2,400 ตัวต่อไร่ สามารถควบคุมและลดการระบาดของ หนอนได้ 80-90%
ใช้อุปกรณ์ดัก
เป็นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีฟิสิกส์ ซึ่งใช้แสง เสียง ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟนีออนสีขาว หลอดไฟสีม่วง หรือสีดำ เปิดในเวลากลางคืนดักจับแมลง หรือใช้ภาชนะใส่น้ำ เช่น กะละมังใส่น้ำผสมผงซักฟอกรองไว้ด้านล่างหรือ วางให้ห่างหลอดไฟ 5-10 เซนติเมตร
ใช้สารเคมีที่ปลอดภัยเท่านั้น
วิธีสุดท้ายและแนะนำให้ทำน้อยที่สุดคือการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเกษตรกร สารเคมีที่จะเลือกใช้เลือกให้ออกฤทธิ์เฉพาะ เจาะจง ตามชนิดของศตัรูพืช แต่ไม่ทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในธรรมชาติ หรือทำลายน้อยที่สุด และเป็นสารเคมี ที่มีพิษตกค้างระยะสั้นในสิ่งแวดล้อม และให้เลือกใช้สารเคมีที่มีระดับพิษต่ำ หรือที่คู่ค้าหรือผู้ซื้อผลิตผลยอมรับให้มีตกค้างได้ตามเกณฑ์กำหนด
หรือหากหันมาใช้ น้ำหมักชีวภาพ ที่สามารถกำจัดหรือไล่ศัตรูพืชและป้องกันโรคพืชได้ก็จะดีมากเลย
การป้องกันควบคุมกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
การจัดการป้องกันควบคุมกำจัดศัตรูพืช ด้วยการผสมผสานตั้งแต่สองเทคนิควิธีที่เหมาะสม และเข้ากันได้ดีที่สุดมาใช้ร่วมกันเพื่อลดปริมาณของศัตรูพืช ให้อยู่ในระดับ ที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ (FAO 2002) เช่นการเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ผสมผสานกับการคัดเลือกวิธีควบคุมศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมีอย่างเหมาะสมและสนับสนุนกลไกการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช เป็นต้น
- การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรม : ปลูกพืชให้เหมาะสมตามฤดูกาล
- การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล : ใช้มุ้ง หรือ กาวดักแมลง
- การป้องกันกำจัดโดยวิธีธรรมชาติ : การใช้แมลงปราบแมลงด้วยกันเอง เช่น ใช้ตัวห้ำ
- การป้องกันกำจัดโดยวิธีฟิสิกส์ : การใช้ แสง เสียง ไฟฟ้าล้อแมลง
- การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีทางการเกษตร : ควรเลือกใช้สารเคมีที่ปลอดภัยเท่านั้น
ประโยชน์ของการป้องกันควบคุมกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
- ลดต้นทุนการผลิต
- รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะและพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
- ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดน้อยลง
- ลดควานรุนแรงของการระบาดต่อสารเคมีทางการเกษตร
- ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย
- ชะลอหรือไม่ก่อให้เกิดศัตรูพืชที่มีความต้านทานสูงขึ้น
- ปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนในที่ปลูกหรือบริเวณ
ป้องกันคะน้าของคุณด้วยวิธีธรรมชาติ 100%
- ใช้แรงงาน หรือเครื่องมือต่างๆ ป้องกันกำ จัดศัตรูพืชโดยตรง เช่นใช้มือจับหอยเชอรี่นำไปทำปุ๋ยหมักจับแมลง/หนอนไปกำจัดทำลายนอกแปลง
- การเปิดไฟล่อแมลงเวลากลางคืน เหมาะสำหรับกำจัด หนอนกระทูตัวเต็มวัย หรือเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด
- การใช้กับดักกาวเหนียว ทำโดยใช้กาวเหนียวทาบนแผ่นวัสดุที่มีสีเหลือง นำไปปักให้ทั่วแปลงผัก วิธีนี้ควรใช้ต่อเมื่อมีการระบาดของแมลงศัตรูเป็นจำนวนมาก แต่มีข้อเสียที่อาจมีแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมาติดกับดักได้
- ปลูกพืชผักสลับชนิดในแต่ละฤดู ศัตรูพืชจะเปลี่ยนไปหาแหล่งอาหารที่อื่น
- การใช้สิ่งมีชีวิตมากำจัดศัตรูพืช เช่น แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน มวนเพชฌฆาตต่อ แมลงขาหนีบ ด้วงดิน ตั๊กแตนตำข้าว แมลงช้างปีกใส
- วิธีทางสมุนไพร โดยใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถไล่แมลงหรือฆ่าศัตรูพืชได้ เช่น สะเดา คูน ผกากรอง ดีปลี ยี่โถ พริกไทย บอระเพ็ด สาปเสือ ขมิ้นชัน นำมาตำผสมน้ำแล้วฉีดพ่นไล่แมลง หรือปลูกไว้ส่งกลิ่นไล่แมลงได้ หรือ จะเป็นน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ได้ทั้งไล่แมลงและบำรุงคะน้า ก็เป็นวิธีทางสมุนไพรหนึ่งที่ควรลองใช้ดู
การส่งออกผัก และ ผลไม้สดไทยไปสหภาพยุ
โรป
คะน้าถือเป็นผักเศรษฐกิจที่มีผู้บริโภคต้องการทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยเจอเกี่ยวกับคะน้า หรือจะเป็นผักผลไม้ชนิดอื่นก็ตาม นั้นก็คือ ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ปัญหาด้านสุขอนามัย ปัญหาการแข่งขัน ปัญหาการขนส่ง และตลาดที่ผู้ประกอบการไทยนิยมส่งออกคือตลาดยุโรป
คุณสิรินาฏ พรศิริประทาน สถาบนระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(ITD) ได้อธิบายไว้ว่า เนื่องจากสหภาพยุโรปขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าตำรับของมาตรการและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures and Non-Tariff Barriers: NTMs และ NTBs) ในรูปแบบต่าง ๆโดยเฉพาะในด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ของสินค้าอาหารสด จำพวกเนื้อสัตว์ผักและผลไม้สดที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเข้มงวดกวดขันกับการตรวจสอบสินค้าผักผลไม้สดจากไทยที่จะส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปมาก โดยเน้นเรื่องการตรวจสอบปริมาณสารพิษหรือยาฆ่าแมลงตกค้างและเชื้อจุลินทรียที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในผักผลไม้ เพื่อความปลอดภยของผู้บริโภคและเน้นการตรวจโรค พืชและแมลงศัตรูพืชที่อาจติดมากบผักและผลไม้ไทย เพื่อป้องกันการแพร่ขยายพันธุ์ ในสหภาพยุโรป
ซึ่งสหภาพยุโรปให้ความสําคญในทุก ๆขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การเพาะปลูกการเก็บเกี่ยวการจดบันทึกการหลังเก็บเกี่ยว การบรรจุภัณฑ์ การขนส่งและการจัดจำหน่าย จนกระทั้งถึงมือผู้บริโภค หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “From Farm to Fork” (จากฟาร์มเพาะปลูกสู่ส้อม) หรือ “From Farm to Table” (จากฟาร์มเพาะปลูกสู่โต๊ะอาหาร) ตลอดจนการผลิตอย่างยั้งยืนหรือ “From Table to Stable”
ในบทความนี้จะมาอธิบายถึงเนื้อหาสำคัญ 4 ส่วน โดยเริ่มจาก 1) มาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 2) มาตรฐานการส่งออกผักผลไม้ที่ผู้ประกอบการไทยควรได้รับรอง 3) ปัญหาการส่งออกผักผลไม้สดของไทย และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหา
มาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
มาตรการ SPS ของสหภาพยุโรป ให้เข้าใจง่าย ๆคือ มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมสินค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เกิดโทษต่อชีวิตหรือผลเสียต่อสุขภาพของชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์ ซึ่งนั้นเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทั้งในด้านกฎหมาย กฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงขั้นตอนวิธีการผลิต การตรวจสอบวิเคราะห์ และการพิจารณาอนุมัติ ออกใบรับรองการกักกันต่าง ๆ โดยข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบได้ถูกประเมินข้อมูลที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และ ใช้ข้อบังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) มาเป็นเกณฑ์
มาตรการที่เกี่ยวข้องกับพืช ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชจะครอบคลุมถึง
สุขภาพพืชและสารอารักขาพืช คือ
สุขภาพพืช เป็นกระบวนการเพื่อป้องกันการนำเข้าสิ่งมีชีวตที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อระบบการผลิตพืชจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง ดังนั้น ในการนำเข้าจึงมีขอกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพพืชที่ต้องปฏิบัติได้แก่
- ต้องใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate)
- ต้องมีการระบุแหล่งที่มาซึ่งปราศจากโรคชัดเจน (Pest free area)
- ต้องไม่ใช่พืชที่เป็นพืชต้องห้าม(Restricted Quarantine Plant)
- ต้องจดทะเบียนผู้นำเข้า หรือการแจ้งล้วงหน้าเพื่อการนำเข้าเป็นต้น
สารอารักขาพืช ในสหภาพยุโรปจะมีการอนุญาตและเพิกถอนสารอารักขาพืชหลายชนิด เนื่องจากมี
การเปลี่ยนแปลงแนวทางการพิจารณาการอนุญาตของสารอารักขาพืชตลอก ดังนั้น ในการผลิตเพื่อตลาดยุโรปผู้ผลิตจะต้องทราบรายการสารอารักขาพืชที่สหภาพยุโรปอนุญาตให้ใช้และห้ามใช้โดยสหภาพยุโรป จะมีการออกเอกสารเพื่อประกาศเป็นระยะๆ ดังนั้นผู้ผลิตหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของรายการสารอารักขาพืชที่อนุญาตให้ใช้ในระบบการเกษตรอย่างต่อเนื่อง
อธิบายมาถึงตรงนี้ทุกคนอาจจะกำลังงงว่า สารอารักขาพืชคืออะไร เอาที่เข้าใจง่าย ๆ คือ สารที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการลด หรือหยุดยั้ง หรือทำลายหรือขัดขวางการก่อความเสียหายของศัตรูพืช ซึ่งความสำคัญของสารอารักขาพืช คือ เพื่อให้สามารถผลิตพืชที่มีคุณภาพสูง ที่มีการสูญเสียน้อยที่สุด (อาจจะเป็นสารเคมีหรือสารที่มนุษย์คิดค้น ที่เอาไว้กำจัดศัตรูพืชที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือพืชที่ได้รับในสารในปริมาณที่มากก็ตาม และหากคนรับประทานพืชผักที่ใช้สารอารักขาพืชก็จะปลอดภัยแม้จะกินตลอดชีวิต) ซึ่งเราจะเห็นคนในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้สารอารักขาในปัจจุบัน
มาตรฐานการส่งออกผักผลไม้ที่ผู้ประกอบการไทยควรได้รับรอง
ผักสดที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยต้องการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปจะต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการส่งออกของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากสหภาพยุโรปเข้มงวดกับมาตรการสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารมาก ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส้่งออก ไทยจะต้องควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ตั้งแต่กระบวนการการจัดหาวัตถุดิบ การเพาะปลูกการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งเพื่อจำหน่าย โดยมีมาตราฐานรับรองดังนี้
- มาตรฐานที่บังคับใช้ โดยภาครัฐของไทย : มาตรฐาน GAP หรือ Q-GAP
- มาตรฐานของภาคเอกชนไทย : มาตรฐาน ThaiGAP
- มาตรฐาน Codex หรือ Codex Alimentarius Commission
- มาตรฐาน IPPC หรือ International Plant Protection Convention
- มาตรฐาน HACCP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point System
- มาตรฐาน GMP หรือ Good Manufacturing Practice หรือ หลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต
- มาตรฐาน GlobalGAP
- มาตรฐาน BRC หรือ British Retail Consortium
- มาตรฐาน IFS หรือ International Food Standard
- มาตรฐาน Tesco Nature’s Choice
- มาตรฐาน Field to Fork
ปัญหาการส่งออกผักผลไม้สดของไทย
โดยปกติสินค้าที่จะนำเข้าไปขายในตลาดสหภาพยุโรปจะต้องผ่านการสุ่มตรวจที่ด่าน เพื่อเป็นการควบคุมเรื่องความปลอดภัยของอาหารสุขอนามัยของผู้บริโภค และตรวจสอบแมลงศัตรูพืชที่อาจเขามาในสหภาพยุโรปได้ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบและควบคุมซ้ำอีกคร้้งแม้ว่าภาครัฐของประเทศผู้ส่งออกจะให้การรับรองมาตรฐานมาแล้วก็ตาม และปัญหาที่มักจะเจอมีสาเหตุได้ 3 ประการคือ
- การใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณมากจนก่อให้เกิดสารตกค้างในระดับที่เกินกำหนดและใช้ยาฆ่าแมลงชนิดที่สหภาพยุโรปห้ามใช้
- การสวมชื่อเกษตรกรและการปลอมแปลงการรับรองมาตรฐาน GAP ของภาครัฐเพื่อการส่งออก
- การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลในสหภาพยุโรป
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ภาครัฐควรดำเนินการควบคุมการนำเข้าสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชและควบคุมไม่ให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกนำยาฆ่าแมลงชนิดอันตรายร้ายแรงที่ทางสหภาพยุโรปห้ามใช้สำหรับผักนำเข้ามาใช้อย่างเด็ดขาด รวมถึงให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ สารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืชที่ถูกวิธีและถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสุ่มตรวจ และป้องกันสารตกค้างในสินค้า
- ภาครัฐควรพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพผักผลไม้ส่งออกของไทย เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในต่างประเทศ
- ภาครัฐควรจัดแบ่งเกรดและจัดลำดับ (Grading & Ranking) ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าผักผลไม้สด โดยแยกผู้ส่งออกชั้นดี ที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP มาโดยตลอดออกจากผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและใช้มาตรการที่มีระดับความเข้มงวดแตกต่างออกไป ทั้งนี้ในการจัดแบ่งเกรดผู้ประกอบการควรต้องใช้ชื่อบุคคลเจ้าของกิจการเป็นหลัก เพื่อเป็นการป้องกันผู้กระทำผิดลักลอบส่งออกสินค้าโดยอาศัยการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่
- ภาครัฐควรมีมาตรการลงโทษผู้เกี่ยวข้องที่ขาดความรับผิดชอบจนมีส่วนในการทำลายความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของสินค้าผักผลไม้ไทยอย่างจริงจัง ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องจะเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐเองที่เกี่ยวข้อง
เป็นยังไงบ้างหากใครอ่านมาถึงตรงนี้ คุณจะต้องมีความสนใจเรื่องคะน้าพอสมควรเลย เพราะเนื้อหาอัดแน่นและบางส่วนยังออกแนววิชาการด้วย แต่ถ้าคุณอ่านจนจบ kaset.today รับรองได้เลยว่าคุณต้องปลูกคะน้าได้อย่างแน่นอน และต้องได้ความรู้เกี่ยวกับการส่งออกผักผลไม้เอาไปประยุกต์กับสินค้าของคุณแน่นอน และเรายังมีบทความดี ๆเกี่ยวกับพันธุ์พืชอีกมากมายที่อยากให้คุณได้อ่านและหาความรู้กัน
แหล่งอ้างอิง
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
คู่มือการเฝ้าระวังความปลอดภัยสารเคมีในพื้นที่ปลูกผักคะน้า ด้วยชุดทดสอบและองค์ความรู้
ลือประเสริฐ และว่าที่ พต.ณรงค์ชัย ค่ายโส. (10)
ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
คุณสิรินาฏ พรศิริประทาน สถาบนระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(ITD)