ตำลึงหวาน พืชสารพัดประโยชน์

ตำลึงหวาน ภาษาอังกฤษ: Chinese violet

ตำลึงหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์: Asystasia gangetica (L.) T. Anders.

วงศ์ของตำลึงหวาน: Acanthaceae

ตำลึงหวาน ชื่อท้องถิ่น: อ่อมแซบ, เบญจรงค์ 5 สี, ลืมผัว, บุษบาริมทาง, บาหยา, ย่าหยา, บุษบาฮาวาย, บุษบาริมทาง(กรุงเทพฯ), ผักกูดเน่า (เชียงใหม่), อังกาบ

ความเป็นมา

ตำลึงหวาน ภาษาอังกฤษ

ตำลึงหวานเป็นพืชผักที่นิยมปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งนิยมรับประทานส่วนของยอดอ่อนตำลึงหวานกัน เนื่องจากมีความหวานที่เป็นธรรมชาติ จึงใช้แทนน้ำตาลหรือผงชูรสเลยก็ว่าได้ อีกทั้งมักรับประทานเพื่อบำรุงเลือด กำลังและบำรุงสายตาอีกด้วย เป็นพันธุ์ไม้ที่หายาก เมื่อครั้งอดีตจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย แอฟริกากลาง ฟิลิปปินส์ แอฟริกาตะวันตก เป็นต้น  

ลักษณะของตำลึงหวาน

ลำต้น

ลำต้นของตำลึงหวานเป็นไม้เถาหรือไม้ล้มลุก มีรูปร่างลักษณะเป็นเหลี่ยม ทั้งลำต้นและกิ่ง

ดอก

ตำลึงหวานมักออกดอกเป็นช่อชนิดช่อกระจะด้านเดียว มีใบประดับที่คล้ายกับใบหอก ที่มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ภายในมีขนที่ยาว มีกลีบดอกที่รูปร่างคล้ายกับรูปแตร ปลายจะบานออกมีด้วยกัน 5 กลีบ เรียงซ้อนแต่เหลื่อมกัน มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเหลืองอ่อน สีขาว สีขาวครีม สีชมพู สีม่วง เป็นต้น มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นกลีบเลี้ยงที่แฉกลึก มีความยาวโดยประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ภายในหลอดกลีบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปากหลอดกลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ภายนอกจะมีขน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ซึ่งแบ่งออกเป็นเกสรตัวผู้ที่สั้น 2 อัน ส่วนเกสรตัวผู้ที่ยาวอีก 2 อัน โดยจะไม่ยื่นออกมาเกินปากหลอดกลีบดอก อับเรณูเป็นรูปขอบขนาน แต่ละอันจะยาวไม่เท่ากัน มีความยาวตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตร มีรังไข่ 2 ช่อง เป็นรูปขอบขนานและมีขนปกคลุม ในแต่ละช่องของรังไข่จะมีออวุลอย่างละ 2 เม็ด ด้านเกสรตัวเมียจะรูปร่างเรียวยาว ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีขนที่โคน และยอดเกสรตัวเมียจะเล็ก

ตำลึงหวาน เมนู

ใบ

เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงข้าม รูปร่างคล้ายรูปรี่หรือรูปไข่หรือสามเหลี่ยม มีขนาดความยาว 2-5 เซนติเมตร บริเวณขอบหรือหลายใบจะแหลม บริเวณโคนใบจะกลม ขอบใบเรียบหรือหยัก ก้านใบมีความยาวกว่า 2 เซนติเมตร

ตำลึงหวาน เเกงจืด

ผล

ผลของตำลึงหวานจะมีรูปร่างลักษณะเป็นแคปซูล รูปขอบขนาน มีความยาวกว่า 2-3 เซนติเมตร ซึ่งรวมความยาวของก้านผลแล้ว มีขนสั้นที่นุ่ม ภายในผลจะมีเมล็ด 4 เมล็ดด้วยกัน

วิธีการปลูกตำลึงหวาน

ตำลึงหวานหรืออ่อมแซบ วิธีปลูกมีดังนี้

1. เลือกกิ่งของตำลึงหวานที่แก่จัด ให้ทำการริดใบที่แก่จัดออก แล้วเหลือไว้แค่เพียงใบที่อ่อน ตามจำนวนที่เราต้องการ

2. เลือกพื้นที่ที่ต้องการปลูกตำลึงหวาน โดยควรเป็นกระถางขนาดที่พอเหมาะหรือสามารถปลูกลงดินได้โดยตรง นิยมเป็นกระถางที่เป็นกระดาษ เนื่องจากทำให้น้ำระบายได้ดี จากนั้นให้เจาะรูที่บริเวณก้นของกระถาง 

3. ใส่ดินลงในกระถางที่เจาะรูแล้ว เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ซึ่งกรณีที่ปลูกลงดินโดยตรงให้ทำการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ดิน

4. นำกิ่งตำลึงหวานที่แก่จัดที่ได้เตรียมไว้ มาปักลงดินเลย

5. หมั่นดูแลรักษาต้นตำลึงหวานที่ปลูกไว้ โดยการรดน้ำให้ชุ่มวันละ 1 ครั้ง ให้โดดแดดในปริมาณที่พอเหมาะไม่แรงหรืออ่อนแสงเกินไป 

อ่อมแซ่บ วิธีปลูก

ประโยชน์ของตำลึงหวาน

  • ตำลึงหวานยังนำมาเป็นสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆได้อีกด้วย เช่น บริเวณรากมีสรรพคุณในการแก้ไข้ แก้ฝีภายใน แก้ไขเหนือ สามารถขับลมภายในร่างกาย บริเวณใบของตำลึงหวาน สามารถรักษาอาการปวดบวม ขับพยาธิ ซึ่งให้นำใบมาคั้นเพื่อเอาน้ำมารับประทานหรือทาบริเวณที่ต้องการลดบวม บริเวณดอกของตำลึงหวาน ช่วยสมานลำไส้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก ช่วยบำรุงเลือก กำลัง สายตา สามารถใช้ในการแก้พิษงูได้อีกด้วย โดยการนำดอกมาต้มกินเพื่อลดอาการต่างๆได้ เนื่องจากดอกและใบมีสเตอรอลและโพแทสเซียมที่สูง
  • สามารถนำมาประกอบเมนูอาหารได้หลากหลาย สามารถนำส่วนดอก ยอดใบอ่อน และก้านใบมารับแระทานได้ ตำลึงหวาน เมนูสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ต้มจืดตำลึงหวาน ไข่เจียวอ่อมแซบ ตำลึงหวานแกงจืด อ่อมแซบผัดน้ำมันหอย ลวกหรือกินสดเป็นผักเคียงน้ำพริก หรือนำมาเป็นผักสลัดกินเพื่อลดน้ำหนักได้อีกด้วย 
  • เหมาะสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น ยาสีฟันที่ไม่มีฟอง ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง สบู่ แก้ผื่นคัน ครีมบำรุงกลางวัน โทนเนอร์เช็ดเครื่องสำอางหรือใบหน้า เป็นต้น
  • เป็นพืชที่สามารถออกดอกได้ทั้งปี ทำให้สามารถนำดอกของตำลึงหวานมาจำหน่ายได้ เพื่อนำไปเป็นสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือจำหน่ายเพื่อนำไปประกอบอาหารในเมนูที่อร่อยๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้จากพืชผักสวนครัวที่เราปลูกเอง ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายและกำไรเห็นๆ.
ต้มจืดตำลึงหวาน

สรรพคุณของตำลึงหวาน

  • ราก – มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อโลหิต แก้พิษฝีภายใน แก้ไข้เหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว
  • ใบ – แก้อาการปวดบวม ปวดตามข้อ ขับพยาธิ และเป็นพืชอาหาร ใช้กินเป็นผัก
  • ใบและดอก – ช่วยสมานลำไส้ ลดไข้ บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดลูก บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา แก้พิษงู และแก้ม้ามโตในเด็กที่เกิดใหม่

ที่มา

https://www.xn--42cg8cuanoj5b9czdzg.com

https://www.teaoilcenter.org

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้