มะยมแดง ไม้มหานิยม ผลไม้มีฤทธิ์ทางยา สามารถรักษาได้สารพัดโรค

ชื่อสามัญหรือชื่อภาษาอังกฤษ SURINAM CHERRY, CAYENNE CHERRY, PITANGA

ชื่อวิทยาศาสตร์ EUGENIA UNIFLORA LINN.

ชื่อวงศ์ MYTACEAE

ชื่ออื่น ๆ มะยมฝรั่ง,เชอร์รี่สเปน,มะยมหวาน,หมักยม,หมากยม,ยม

มะยมแดง ไม้มงคล

ต้นมะยมแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ บราซิล เป็นไม้พื้นเมืองในบริเวณสุรินัมในอเมริกาใต้ ไปจนถึงกายอานาและปารากวัย ปัจจุบันมีปลูกทั่วไป ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกที่เกาะชวา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ไม่มากนัก ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานแล้ว มีลักษณะพิเศษคือ ติดผลดกและผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้ม ผลสุกมีรสเปรี้ยวจัด รับประทานได้ ส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเป็นน้ำผลไม้ปั่นใส่น้ำเชื่อม บางพื้นที่นำไปรับประทานเป็นผักสด ทานคู่กับน้ำพริก รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา หรือนำยอดอ่อนไปประกอบอาหารอย่างเช่น แกงเลียง หรือนำผลแก่มาแกงคั่วได้ บางพื้นที่นำยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับส้มตำ ลาบ ก้อย ป่น และหมูสับ และยังนำผลแก่ไปปรุงกับส้มตำ บางพื้นที่ก็รับประทานเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม คนไทยเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่ามะยมแดงเป็นไม้มงคล นิยมปลูกกันไว้ในบริเวณบ้าน เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่มีหนาม ชอบแดดที่สำคัญคือปลูกง่าย

ควรปลูกบริเวณใดของบ้าน

นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน และบางคนปลูกไว้ในทิศตะวันตกตามความเชื่อโบราณ และหากที่บ้านไม่มีพื้นที่ ต้นมะยมแดงก็สามารถปลูกไว้ในกระถางได้

มะยมแดง นำโชค

ลักษณะทั่วไป

  • ลำต้น มะยมแดงเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น สูง 3-8 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบ ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ
  • ดอก จะออกเป็นช่อตามซอกใบตามกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วย ดอกสีขาวอมชมพูย่อยขนาดเล็กจำนวนหลายดอก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอม
  • ผล มีลักษณะกลมแป้นเป็นพู 7-8 พู คล้ายผลมะยมทั่วไป มีเมล็ด 1 เมล็ด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง แก่แล้วเป็นสีส้ม แก่สีแดงสุดและค่อนข้างดำ เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด และติดผลปีละ 2 ครั้ง
มะยมแดง เชอรี่

สายพันธุ์

ปัจจุบันที่พบในประเทศไทย มีแค่สายพันธุ์เดียว นั่นคือสายพันธุ์บราซิล

วิธีการปลูกต้นมะยมแดง

ด้วยมะยมแดง เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดหุ้มเปลือกหนาเพาะแบบธรรมดาน้ำจะซึมเข้าเมล็ดลำบากมาก ทำให้โอกาสน้อยที่จะงอก ซึ่งตามหลักแล้วจะนำเมล็ดไปแช่ในด่าง เช่น โซดาไฟ หรือกรดเพื่อให้กัดเปลือกหุ้มเมล็ดเสียก่อน หรืออีกวิธี คือ ฝนเปลือกหุ้มเมล็ดให้บาง แล้วนำไปแช่น้ำก่อนนำไปเพาะอีกที เหมือนกับเมล็ดพืชที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนา ๆ ส่วนมากก็ต้องใช้วิธีแบบนี้

การขยายพันธุ์

ต้นมะยมแดงมีวิธีการขยายพันธุ์คือ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

วิธีปลูกมะยมแดง

ประโยชน์และสรรพคุณ

ต้นมะยมแดงนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ยอดอ่อนยังนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่วได้ ชาวเหนือใช้ยอดมะยมเป็นผักแกล้มรับประทานกับลาบ ส่วนชาวอีสาน นำยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานกับส้มตำ ลาบ ก้อย ป่น และหมูสับ (แหนมสด) และนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ สำหรับผลมะยมแก่ นอกจากทำแกงได้แล้ว ผลมะยมแก่ยังเป็นผลไม้ โดยรับประทานสดเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน และสามารถปรุงเป็นน้ำมะยม แยมมะยม มะยมดอง มะยมกวน มะยมเชื่อมได้อีกด้วย รับประทานผลสดหรือแปรรูปเป็นแยม เยลลี่ หรือดอง ในบราซิลใช้ผลิตน้ำส้มสายชูหรือไวน์ ใช้เป็นไม้ประดับ ใบมีน้ำมันเมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน ใช้ไล่แมลง เปลือกลำต้นมีแทนนินใช้ฟอกหนัง ในสุรินัมและบราซิลใช้ใบบดละเอียดเป็นยาเจริญอาหาร ในชวาใช้ผลเป็นยาลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย

  • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
  • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
สรรพคุณของมะยมแดง
Surinamkirsche (Eugenia uniflora), auch Pitanga

แหล่งอ้างอิง

http://www.aopdb03.doae.go.th/

www.lib.kps.ku.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้