ใบบัวบก (gotu kola) ผักสวนครัวใบรูปไต ขอบใบหยัก ใครกำลังนึกภาพตามอยู่คงรู้สึกว่า ผักสวนครัวชนิดนี้มีรูปทรงน่ารักจัง แต่ใบบัวบกไม่ได้มีดีแค่นี้ แต่ในเรื่องสรรพคุณก็เป็นที่โด่งดังเช่นกัน เพราะเป็นทั้งผักและสมุนไพรที่โดดเด่ดในเรื่อง “เสริมสร้างความจำ ลดอาการเกิดสมองเสื่อม” ในบทความนี้ Kaset today มีเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับใบบัวบก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ควรรู้ บริเวณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และวิธีการปลูกที่เราจะมาเผยเคล็บลับดีๆในการปลูก
ใบบัวบก ชื่อนี้ได้มาจากรูปพรรณสัณฐานที่คล้ายกับใบบัว ใบของใบบัวบก เรียกไก้ว่า "เกือบกลม" และบังมีก้านบที่เรียวยาวคล้ายก้านของใบบัว แต่เนื่องจากปลูกในดิน จึงเรียกว่า "ใบบัวบก" และคุณสังสัยไหมว่าทำไมชื่อภาษาอังกฤษของใบบัวบก หนึ่งในนั้นถึงได้ชื่อว่า "Indian pennywort" นั้นก็เพราะว่า อินเดียเป็นหนึ่งในประเทศต้นกำเนิดต้นใบบัวบก และยังพบอีกด้วยว่าใบบัวบกถูกบันทึกสรรพคุณทางยาใน "คัมภีร์อายุรเวช" ของอินเดียอีกด้วย และนี้ก็เป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่เราอยากให้คุณรู้
ข้อมูลทั่วไปของใบบัวบก
ชื่อภาษาไทย : ใบบัวบก
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : บัวบก (ภาคกลาง), ผักหนอก จำปาเครือ (ภาคเหนือ) แว่นโคก (ภาคอีสาน) ผักแว่น (ภาคใต้) ปะหะ, เอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง) เดียกำเช่า, ฮมคัก (จีน)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Gotu Kola, Asiatic pennywort, Indian pennywort, Woter pennywort, Artayniya-E Hindi, Jal Brahmi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica
(Linn.) Urban
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออนุวงศ์ : Mackinlayaceae
ชื่อตระกูล : Mackinlayoideae
ชื่อสกุล : Apiaceae
ถิ่นกำเนิด
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ บัวบก อยู่ในทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และเอเซีย โดยมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ศรีลังกา ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อิหร่าน นิวกินี
และมีการกระจายสายพันธุ์ไปนประเทศในแถบอเมริกาใต้ อเมริกากลาง จนถึงในทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียเหนือ โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค และทุกสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบร้อนชื้น
พบทั่วไปในเขตร้อน บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะหรือริมน้ำออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคมพบทั่วไปในเขตร้อน บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะหรือริมน้ำออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม
ลักษณะทั่วไปของใบบัวบก
- ลำต้น
จะเลื้อยไปตามพื้นดินที่มีลักษณะชื้นแฉะ และมีรากงอกออกตามส่วนข้อของลำต้น โดยจะเรียกลักษณะแบบนี้ว่า “ไหล“
- ใบ
จะเป็นใบเดี่ยวที่ออกแบบเรียงสลับ และงอกออกเป็นกระจุกจากข้อ โดยจะงอกข้อละ 2-10 ใบ ลักษณะของใบจะคล้ายๆ รูปไต เป็นทรงกลม ฐานของใบจะโค้งเข้าหากัน ขอบใบจะเป็นหยักคลื่นน้อยๆ แผ่นใบมีสีเขียวและมีขนเล็กๆ ก้านของใบจะเป็นสีเขียวลักษณะยาวเรียว
- ดอก
ดอกมีสีชมพูถึงแดง เกิดเป็นช่อเล็กๆ (umbels) กลมๆ ตามวอกบใกล้ผิวดิน โดยในช่อหนึ่งมีดอกย่อยราวๆ 4-5 ดอก ดอกไม้แต่ละดอกล้อมรอบด้วยกาบสีเขียวบางส่วน ดอกกระเทยมีขนาดเล็ก (น้อยกว่า 3 มม.) มีกลีบดอก 5-6 กลีบต่อดอก ดอกไม้แต่ละดอกมีเกสรตัวผู้มีลักษณะสั้นมีทั้งหมดห้าอันและก้านช่อของดอกมีความยาว 0.5-5
- ผล
มีลักษณะแบนและเป็นผลแบบแห้งแตก โดยจะมีความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร และเมล็ดของผลจะมีสีดำ
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ต้นใบบัวบกนั้น เป็นอะไรที่ต้องบอกว่าง่ายมาก ซึ่งวิธีขยายพันธุ์ต้นใบบัวบกที่นิยมกันมี 2 วิธีหลักๆ คือ
การเพาะเมล็ด
- เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ เราต้องเตรียมถ้วยพลาสติกหรือกระถางใบใส ทรายละเอียด ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำแล้ว
- นำน้ำธรรมดา : น้ำอุ่น ในอัตราส่วน 1:2 ผสมให้เข้ากัน และนำเมล็ดไปแช่ 1 คืน
- เอาทรายละเอียดใส่ไปในแก้วพลาสติกใส 3 ใน 4 ส่วน แล้วนำเมล็ดที่แช่ไว้ 1 คืน วางไปบนผิวทราย
- นำขุยมะพร้าวที่แช่น้ำแล้ว มากลบทับเมล็ด แล้วรดน้ำ พยายามรดน้ำเสมอ ๆ ไม่ให้วัสดุปลูกแห้ง
- เมื่อเวลาผ่านไป 40-45 วัน ต้นอ่อนจะงอก และพร้อมนำไปปลูกต่อในดิน ที่ไม่ต้องโปรงมาก แต่สามารถกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้นได้ดี
การปักชำ “ไหล”
- ขุดต้นใบบัวบกออกมาจากดินเพื่อเอาลำต้นที่เป็นข้อ ซึ่งบริเวณข้อจะมีรากงอกออกมา หรือ มองหาลำต้นที่เลื้อยอยู่บนดิน ซึ่งเราจะเห็นข้อเป็นช่วง ๆ ซึ่งนั้นจะเรียกว่า “ไหล”
- ตัดแยกไหลที่มีต้นอ่อน ๆ และ รากเล็กน้อย แล้วน้ำไปปักชำ ในวัสดุที่เป็นดินปนทราย หรือ ดินธรรมดาที่กักเก็บความชื้นได้ดี
- ควรนำมาว่างในที่ร่มหรือที่ที่มีแสงแดดรำไรก่อน ซึ่งเราจะใช้เวลาในการเพาะชำจนรากเดินดี ต้นแข็งแรงแล้วเป็นเวลา 10-15 วัน แล้วจึงนำออกไปเจอแสงแดด แต่ก็ไม่ควรเป็นแสงที่เข้มมากเกินไป
เกร็ดความรู้ ! ไหลคืออะไร คำว่า "ไหล" เป็นคำที่บ่อบอกถึงวิธีการขยายพันธุ์หรือการเจริญเติบโตของต้นใบบัวบก ที่จะยืดลำต้น ไหลไปตามใต้ดิน หรือ ผิวดิน เราจะสังเกตุได้จาก ข้อตามลำต้นที่จะพบเป็นช่วง ๆ และตรงข้อนั้นก็จะมีรากงอกออกมา ทำให้ต้นใบบัวบกโตต่อไปได้เรื่อย ๆ
ใบบัวบก ผักแว่น…เอะ! ต่างกันอย่างไร
ใบ
หากดูผ่าน ๆ เราคงจะเห็นว่าใบของต้นใบบัวบกกับใบผักแว่น มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอยู่ 2 ข้อ คือ
- ใบของใบบัวบกจะมีร่องลึกจากปลายใบสู่กลางใบ ทำให้ดูเหมือนรูปไต แต่ใบของผักแว่นจะเป็นใบกลมเต็มแผ่น ตรงกลางจะเป็นจุดสีขาว
- ขอบใบของใบบัวบกจะเป็นหยักแหลม ๆ ลายใบและความนูนมีความชัดเจน แต่ขอบของใบผักแว่นจะเป็นคลื่นมน ๆ ลายใบแตกออกไปเป็นรัศมี เส้นตรงคล้ายร่ม แต่ลายใบไม่ชัดมาก และลายใบไม่นูน
ดอก
หากพูดถึงดอกของต้นใบบัวบกและต้นผักแว่นแล้วเป็นส่วนที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นกัน แต่เราสามารถจำแนกความต่างได้จากดอก หากเราแยกความต่างจากใบไม่ได้ ซึ่งความต่างคือ “สี” และ “ช่อดอก”
เกร็ดความรู้ ! ใบบัวบกเวลาแห้ง...เหมือนอะไร? คุณเคยเห็นใบของต้นใบบัวบกแห้งไหม...คุณคิดว่ามันเหมือนอะไร แต่เราคิดว่าคุณน่าจะนึกถึงใบ "แปะก๊วย" แน่นอน เพราะตอนที่ใบบัวบกยังสดนั้นจะแผ่เป็นวงกลม แต่พอมันแห้งแล้ว ใบของต้นใบบัวบกจะพับครึ่ง ทำให้ดูเหมือนใบแปะก๊วย
การปลูกและการดูแล
การปลูก
- แสงแดด
ต้นใบบัวบกชอบแสงแดดครึ่งวัน หรือแสงเต็มวันแบบแสงฟุ้งกระจาย และถ้าอุณหภูมิประมาณ 27-37 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้ต้นใบบัวบกเจริญเติบโตได้ดี
- น้ำ
การรดน้ำ เนื่องจากใบบัวบกเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้น จึงควรรดน้ำชุ่มๆ ทุกวัน เช้า-เย็น หรือ รดแบบละอองฝนก็ได้
- ดิน
ดินหรือวัสดุปลูก ควรเป็นอะไรที่กักเก็บความชุ่มชื้นดี ไม่จำเป็นต้องระบายน้ำดีมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติแล้วใบบัวบกความ “ดินเปียกแฉะมาก”
- ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกได้ประมาณ 30 วัน โดยให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน และให้หลีกเลี่ยง “ปุ๋ยมูลไก่” เพราะอาจจะมีโลหะหนักปนเปื้อนได้
การดูแล
บริเวณที่ควรปลูก
- ริมน้ำ, บริเวณที่ติดแหล่งน้ำ
- พื้นที่ที่โดนแสงแดดครึ่งวัน หรือเต็มวันแต่แสงแดดต้องไม่แรง
- สามารถปลูกในกระบะได้
เกร็ดความรู้ ! รู้ไหมว่าใบบัวบกปลูกเป็นไม้ประดับได้... นอกจากชื่อที่ชื่อว่า "บัวบก" แล้ว ผักสวนครัวชนิดนี้ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับในโอ่งมังกรได้อีกด้วย เพราะจ้าวต้นใบบัวบกสามารถปลูกลงใน "ดินเหนียว" ในโอ่งมังกร เพิ่มความสวยงามแถมกินได้ และขอบอกเลยว่า ต้นใบบัวบก สามารถปลูกในดินเหนียวได้ดีมาก ๆ
โรคและศัตรูพืช
ในระยะแรก ควรจะกำจัดวัชพืชโดยการถอนทุกๆ 14 วัน กระทั่ง บัวบก โตและขึ้นจนคลุมแปลงปลูก โรคและศัตรูที่เป็นอันตราย บัวบก มีโรคที่เป็นปัญหา ได้แก่
- โรคโคนเน่ารากเน่า วิธีป้องกันโรคนี้จะต้องฉีดพ่นเชื้อไตรโครเดอร์มาลงบนแปลงปลูก
- หนอนกินใบ เป็นแมลงที่เป็นอันตรายหากพบหนอนจำพวกนี้จะต้องรีบกำจัดออกไปให้หมด
ประโยชน์และสรรพคุณทางยา
ประโยชน์ของ บัวบก นั้นมีมากมายยิ่งนัก เราขอนำเสนอประโยชน์เด่นๆ ที่เห็นผลได้ชัดในชีวิตประจำวันของทุกคน ตามนี้
- สามารถช่วยรักษาอาการติดเชื้อ
ส่วนใบของ บัวบก สามารถรักษาไข้หวัดได้ดีแถมยังช่วยรักษาอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และอาการติดเชื้อแบคทีเรียกับไวรัสต่างๆ ได้ด้วย (หมายเหตุ : ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และควรจะปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย)
- สามารถช่วยลดอาการบวม
เนื่องจากอาการบวมหรือช้ำมักจะเกิดจากระบบการไหลเวียนเลือดผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของเลือด การดื่มน้ำบัวบกคั้นหรือการรับประทานสารสกัดแบบแคปซูล จะสามารถช่วยลดอาการบวมช้ำที่บาดแผลต่างๆ ได้
- สามารถช่วยลดความดันโลหิต
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำให้ใช้ใบบัวบกในการช่วยลดความดันโลหิต ทั้งนี้เพราะใบบัวบกจะช่วยทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงรวมถึงช่วยลดภาวะความเครียดอันเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง
- สามารถช่วยขับพิษร้อนและความชื้น
ใบบัวบกมีฤทธิ์ขมและเย็น จึงสามารถช่วยลดความชื้นในร่างกายพร้อมกับขับความร้อนออกจากร่างกายได้ แต่ไม่ควรจะรับประทานในปริมาณสูง เพราะอาจจะเป็นอันตรายจากร่างกายเย็นจนเกินไปได้
- สามารถบำรุงสมอง
เนื่องด้วย บัวบก อุดมไปด้วยสารต้นอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์สมอง แล้วยังช่วยเพิ่มการทำงานของสมองและความจำได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะซึมเศร้า และช่วยยับยั้งอาการโรคอัลไซเมอร์ด้วย
- สามารถบำรุงผิวพรรณ
ในใบบัวบกมีสารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดความชุ่มชื้นและอ่อนเยาว์ ดังนั้นการรับประทานใบบัวบกจึงเป็นการบำรุงผิวพรรณให้ดีได้
- สามารถบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของใบบัวบก ก็คือ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะ การรับประทานใบบัวบกจึงช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะพร้อมกับช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรงด้วย
ใบ
- มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด
- เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
- ปวดศีรษะข้างเดียว
- ขับปัสสาวะ
- แก้เจ็บคอ
- เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
- ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด
- แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
เกร็ดความรู้ ! มีอะไรอยู่ในใบบัวบก สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย 1. madecassoside asiatic acid 2. asiaticoside 3. centelloside 4. centellic acid brahminoside. 5. brahmic acid. แต่มีสารสำคัญ 2 ชนิดที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม Triterpenoid glycosides ได้แก่ 1. เอเซียติโคไซด์ (Asiaticoside) 2. มาเดแคสโซไซด์ (Madecassoside) มีงานวิจัยในหลายประเทศพบการนำสารทั้ง 2 ชนิดจากบัวบกไปใช้ในการสมานแผล กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน Type 1 และลดการอักเสบของผิว โดยยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้
ใบบัวบก…เมนูดีต่อสุขภาพ
- Gotu kola sambol
Gotu kola sambol เป็นสลัดมะพร้าวสมุนไพรที่นิยมในศรีลังกา เข้ากันได้ดีกับอาหารรสจัดจ้านและเข้มข้น
- Gotu Kola Soup
Gotu Kola Soup เป็นอีกหนึ่งเมนูที่มีต้นตำหรับมาจากอินเดีย แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการปรับสูตรในเรื่องของเครื่องเทศตามความชอบของแต่ละคน และสามารถจัดเป็นอาหารมื้อเช้าได้เลย อร่อย กินแล้วสุขภาพดีอีกด้วย
ราคาเฉลี่ย
เริ่มตั้งแต่ 10 บาท เป็นต้นไป (ราคาขายจะเพิ่มตามจำนวนปริมาณของต้น) หรือสนใจซื้อเมล็ดไปปลูกก็มีขาย ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 10-25 บาท ก็จะได้ประมาณ 20-50 เมล็ด แต่ถ้าราคา 100-200 บาท จะมีประมาณ 1000 เมล็ด นอกจากนี้ ถ้าคุณต้องการเพียงรับประทานก็สามารถไปเลือกซื้อตามตลาดใกล้บ้านได้เลย ราคาก็เริ่มตั้งแต่ 10 บาท เช่นกัน
จบกันไปแล้วสำหรับบทความดี ๆ เกี่ยวกับต้นใบบัวบก Kaset today แน่ใจว่าคุณคนที่อ่านจบแล้วก็เริ่มอยากปลูกต้นใบบัวบก หรือ หันมาดูแลสุขภาพตัวเองโดยการหันมากินใบบัวบกมากขึ้น และในบทความนี้คุณยังได้รู้ความต่างระหว่าง “ใบบัวบก และ ผักแว่น” อีกด้วย
ทั้งนี้หากคุณสนใจบทความเกี่ยวกับ ผักสวนครัว สมุนไพร หรือ พันธุ์ไม้อื่น ๆ เราก็มีบทความมากมายให้คุณได้อ่านอย่างจุใจ อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาดี ๆ เพิ่มไอเดียให้คุณอีกเยอะ
แหล่งอ้างอิง CABI (การแพทย์) Centella Asiatica ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร