มะรุม ผักพื้นบ้านของไทย

มะรุม ภาษาอังกฤษ Horse radish tree, Drumstick ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam วงศ์ Moringaceae มีที่มาของชื่อมาจากภาษาทมิฬ ซึ่งมีความหมายว่า “ฝักบิด” ซึ่งมะรุมเป็นพืชพื้นบ้านที่รู้จักกันมากว่า 4000 ปี มีประโยชน์ ทั้งทางด้านอาหาร ยา และอุตสาหกรรม ในต่างประเทศทำการวิจัย และสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงร่างกายมาหลายปีแล้ว ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในยุโรป และอเมริกา เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำบัดโรคได้กว่า 300 ชนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญ ๆ ของมนุษย์ เช่น มะเร็ง ,ขาดสารอาหาร และเอดส์ สำหรับในประเทศไทยรู้จักกันดีในลักษณะของ “แกงส้มมะรุม” ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่ทานกันทั่วทุกภาคของไทย แต่นอกจากเป็นเมนูอาหารที่ขึ้นชื่อแล้ว ใบและส่วนอื่นๆของมะรุม นอกจากจะอร่อยแล้วยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี

มะรุม ภาษาอังกฤษ

ลักษณะของมะรุม

มะรุม ลักษณะ มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน สามารถออกดอกและผลได้ภายในปีแรกที่ปลูก มะรุมสามารถสูงได้ถึง 4 เมตร ลักษณะใบมะรุมเป็นใบประกอบรูปขนนก ชนิดแตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 เซนติเมตร ออกเรียงใบสลับกัน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางสายพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อสีขาว กลีบเรียงกันมี 5 กลีบ รสขม หวาน มัน ผลเป็นฝักยาว เปลือกมีสีเขียว คอนและส่วนมนสลับกันไปเป็นปล้องๆ ฝักมะรุมยาว 20-50 เซนติเมตร มีรสชาติหวาน มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ด 1 เซนติเมตร

มะรุม ลักษณะ
https://www.teaoilcenter.org

สายพันธุ์ของมะรุม

มะรุม มีถิ่นกำเนิดแถบใต้เทือกเขาหิมาลัย แถบอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย รวมถึงแถบเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา มีทั้งสิ้น 13-14 สายพันธุ์ และ 10 ใน 13 สายพันธุ์จะขึ้นเฉพาะในถิ่นที่แล้งจัด เช่น ทะเลทราย แต่มีเพียง 2 สายพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์ข้าวเหนียว (Moring Oleifera) มีฝักยาว อวบอ้วน เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เป็นที่นิยมปลูก ออกผลช่วงต้นฤดูหนาว ปลูกใกล้น้ำจะให้ผลตลอดทั้งปี และพันธุ์กระดูก (Moringa Stenopetala) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการบริโภคและวิจัยทดลองมากที่สุดอีกด้วย

เมล็ดมะรุม สรรพคุณ
https://health.kapook.com

สรรพคุณของมะรุม

“มะรุม” ต้นไม้มหัศจรรย์ที่เรียกได้ว่า “โรงงานยาในบ้าน” ก็ว่าได้ เพราะมะรุม สรรพคุณใช้เป็นยาทั้งภายนอกและภายในร่างกาย มีคุณประโยชน์ที่สามารถใช้สามารถรักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี และยังสามารถนำทุกส่วนมาใช้เป็นยาได้ ไม่ว่าจะเป็น ใบ เปลือก ฝัก เมล็ด หรือน้ำมัน

ใบ

ใบสดใช้เป็นอาหาร ใบแห้งสามารถทำเป็นผง เก็บไว้ได้นาน สรรพคุณ บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าส์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม โรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้ โรคทางเดินของลมหายใจ โรคปอดอักเสบ รักษาโรคตา

ยอดอ่อน

ใช้ถอนพิษไข้

ดอก

สรรพคุณ ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก

สรรพคุณ แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ด

สรรพคุณ ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก

สรรพคุณ รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น

สรรพคุณ รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยาง (gum)

สรรพคุณ ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน 

น้ำมันมะรุม

ใช้ปรุงอาหารได้ดีกว่าน้ำมันมะกอก เพราะไม่เหม็นหืนในภายหลัง สรรพคุณ ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งใช้ชุ่มชื่นชะลอความเหี่ยวย่นของผิว ช่วยรักษาแผลสด ถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ ลดอาการผื่นผ้าอ้อมในเด็ก ลดอาการปวดบวมของโรคไขข้ออักเสบ เก๊าส์ รักษาแผลใบปาก ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิว ช่วยลดจุดด่างดำหลังจากโดนแดด หรือการเสื่อมตามวับ ใช้นวดศีรษะ รักษาราผิวหนัง บรรเทาอาการผมร่วง คันศีรษะ

มะรุม สรรพคุณ

วิธีการปลูก

มะรุมนั้น ถือว่าเป็นเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย อายุยืน เพราะสามารถอยู่ได้ในพื้นที่แห้งแล้ง และต้องการเพียงแค่แสงแดดเพียงพอ อีกทั้งยังสามารถนำมาปลูกในบ้านได้เป็นอย่างดี แต่มะรุมนั้นเป็นพืชไม้เนื้ออ่อน และต้นสูงใหญ่ แต่มะรุมก็เป็นพืชที่เปราะบาง หักง่าย และมีประสิทธิภาพในการแตกใบได้เร็ว จึงต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ การปลูกมะรุมสามารถทำได้สองวิธี คือ เพาะเมล็ด และเพาะชำ

การปลูกโดยวิธีเพาะเมล็ด

นำเมล็ดมะรุมแช่น้ำ 1 คืน แต่ไม่ควรใช้น้ำที่แชะจนเกินไป เลือกสถานที่ทำแปลงปลูกที่มีแสงแดดเพียงพอ โดยขุดหลุมลึก 30-60 เซนติเมตร ขนาด 30×30 เซนติเมตร จากนั้นผสมดิน และปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ลงในหลุม 3:4 ของความลึก  ตามด้วยใส่เมล็ด ลึกลงไป 1 เซนติเมตร และกลบให้เรียบร้อย รอประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมล็ดมะรุมก็จะงอกอกมา.

การปลูกโดยวิธีเพาะชำ

ใช้กิ่งมะรุมที่ค่อนข้างแก่นำมาเพาะชำ โดยการเพาะชำจะต้องทำสภาวะที่มีแดดอุ่นตลอดทั้งวัน และมีความชุ่มชื้นเพียงพอ เพราะเมืองไทยมีความชื้นค่อนข้างสูง เชื้อราจึงแทรกซึมได้ง่าย และเป็นอันตรายต่อการปลุกมะรุมเป็นอย่างยิ่ง นำกิ่งมะรุมยาวประมาณ 1 ฟุต นำไปแช่กับฮอร์โมนเร่งราก จากนั้นปักลงในกระถางหรือดิน ที่ความลึก 3-4 นิ้ว เอน 45 องศา และเมื้อต้นสูง 2 ฟุต ให้ตัดทอนต้นลงเหลือแค่ฟุตครึ่ง กิ่งใหม่ๆจะแตกภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

โทษ ของมะรุม
http://www.nongbell.com

ที่มา

https://www.teaoilcenter.org

https://prayod.com

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้